Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 สิงหาคม 2546
กฟผ.บุกธุรกิจขั้นต้นออริมัลชั่น-ถ่านหิน             
 


   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Bitor
สิทธิพร รัตโนภาส
Energy




การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เตรียมปรับบทบาทเข้าสู่ธุรกิจขั้นต้น (Up Steam) ด้วยการพิจารณาแผนลงทุนด้านการผลิตเชื้อเพลิงที่ไม่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน เพื่อไม่ให้ซ้ำกับการทำธุรกิจของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อที่จะรองรับกับแผนแปรรูปในต้นปีหน้า

ปัจจุบันกฟผ.คือผู้ผลิตไฟฟ้าป้อนกับผู้บริโภคคนไทย รายใหญ่สุดของประเทศและเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะรับซื้อผ่านปตท.ซึ่งเป็นก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเป็นหลัก ขณะที่ถ่านหินมีเพียงที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเท่านั้น ด้านเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่จะเข้ามาแข่งขันยังมีปัจจัยเรื่อง ราคาที่สูงไม่สามารถแข่งขันกับก๊าซฯ น้ำมัน ถ่านหินได้

"เรากำลังศึกษาถึงแนวทางการหาเชื้อเพลิงที่จะรองรับความต้องการพลังงานในอนาคตเพื่อลดการใช้ก๊าซฯลงเพราะเห็นว่าก๊าซฯน่าจะใช้ประโยชน์อื่นๆ ดีกว่าการนำมาผลิตไฟฟ้าและอนาคตก๊าซฯในไทยก็จะลดลงโดยขณะนี้กฟผ.ไปดูงานที่เวเนซุเอลา ซึ่งมีเชื้อเพลิงตัวใหม่คือ ออริมัลชั่น และถ่านหินที่รัสเซีย"นายสิทธิพร รัตโนภาส ผู้ว่าฯกฟผ.กล่าว

ทั้งนี้บริษัท bitor ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของเวเนซูเอล่าได้เชิญชวนกฟผ.เข้าร่วมลงทุนในการพัฒนาแหล่ง ออริมัลชั่น ซึ่งกฟผ.พิจารณาเบื้องต้นมีความเป็นไปได้สูงเพราะเชื้อเพลิงดังกล่าวจะมีราคาอยู่ที่ 32 เหรียญต่อตันซึ่งถือว่าต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน 2-3 % แต่ใกล้เคียงกว่าถ่านหินแต่อนาคตมีแนวโน้มต่ำกว่าเพราะมีผู้ใช้กว้างขวางขึ้นทั้งจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฯลฯ

นายสิทธิพรกล่าวว่า เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ที่กฟผ. จะเข้าร่วมทุนกับบริษัท bitor ของเวเนซุเอลา และบริษัทญี่ปุ่น โดยทาง bitor จะเป็นผู้ผลิต บริษัทญี่ปุ่นจะเป็นเทรดเดอร์ และกฟผ.เป็นผู้ซื้อเข้ามาผลิตไฟฟ้า โดยหากนำออริมัลชั่นมาผลิตไฟฟ้าน่าจะเป็นที่โรงไฟฟ้าบางปะกงในส่วนของ 2,300 เมกะวัตต์ที่ล่าสุด เอกชนก็แสดงความสนใจจะเข้ามาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือรีเพาเวอร์ริ่งอยู่แล้ว

ขณะเดียวกันกฟผ.ยังมีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนพัฒนาแหล่งถ่านหินที่รัสเซีย โดยในเดือนกันยายน กฟผ.จะเดินทางไปดูในรายละเอียดอีกครั้งทั้งนี้เนื่องจากเห็นในอนาคตแล้วไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินได้เพราะหลายประเทศก็ผลิตเช่นกันเพราะมีต้นทุนต่ำและแหล่งถ่านหินที่มีสำรองปริมาณมากขณะที่ก๊าซฯในไทยเริ่มลดลง

ปัจจุบัน กฟผ. ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า 72% และหากบ่อนอกและหินกรูดหันมาผลิตไฟฟ้าจากก๊าซฯจะทำให้สัดส่วนเพิ่มเป็น 75% โดยล่าสุดโครงการถ่านหินได้ผ่านการพิจารณาจาก บอร์ดกฟผ.ที่มีนายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานเมื่อวันที่ 19 ส.ค.ในการให้กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าที่ราคา 1.715 บาทต่อหน่วย(ณ ราคาก๊าซ 148 บาท/ล้านบีทียู) ซึ่งเป็นราคาที่รวมค่าเคลมจากหินกรูดเสร็จเรียบร้อยโดยเมื่อบริษัทมีความพร้อมก็จะเซ็นสัญญาซื้อขายต่อไป

ส่วนกรณีของบ่อนอกอยู่ระหว่างการเจรจาแต่ กฟผ.จะพิจารณาเฉพาะการผลิต 700 เมกะวัตต์เท่านั้นส่วนบริษัทสนใจจะขายเพิ่มอีก 700 เมกะวัตต์จะไว้พิจารณาภายหลังโดยการผลิตทั้ง 2 โครงการจะเริ่มป้อนเข้าสู่ระบบได้ภายในมีนาคม 2551

นายสิทธิพรกล่าวว่า วันที่ 29 ก.ย.กฟผ.จะทำการพรีเซนต์แผนการทำธุรกิจต่างๆ ของกฟผ.ที่สหรัฐอเมริกาให้กับนักลงทุนได้รับทราบถึงทิศทางต่างๆ โดยเฉพาะเป็นการกรุยทางการโรดโชว์ที่กฟผ. มีแผนที่จะแปรรูปและกระจายหุ้นในตลาดหลัก ทรัพย์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้จะไม่มีข้อตกลงซื้อขายหุ้นกันแต่อย่างใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us