|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
วีระศักดิ์ ไฟเขียวการท่องเที่ยวฯโดดเล่นสงครามราคา แข่งในอาเซียน หวังเปิดศึกชิงนักท่องเที่ยวต่างประเทศและคนไทย พร้อมปรับลดเป้าปี 2552 เหลือ 14.5 ล้านคน ส่วนรายได้ ลด 7-10% จากรายได้ 5.7 แสนล้านบาทในปี 2550 ชูแผนร่วมด้วยช่วยกันลดทั้งรัฐและเอกชน พร้อมออกคำสั่ง ห้าม ททท.เสนอวาระจร เข้าประชุมบอร์ด กันหมกเม็ด
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ด ททท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด ททท. วันที่ 21 ม.ค. 52 นี้ เตรียมเสนอให้มีการพิจารณาปรับลดเป้าหมายนักท่องเที่ยว ทั้งจำนวนและรายได้ ของปี 2552 ให้เหลือประมาณ 14.5 ล้านคน เท่ากับจำนวนที่ได้ในปี 2550 ส่วนรายได้ อาจลดลง 7-10% จากปี 2550 ที่ ทำรายได้เข้าประเทศจำนวน 5.7 แสนล้านบาท ทั้งนี้เพราะ จะเสนอให้ใช้กลยุทธ์ สงครามราคา หรือ ไพรซ์ วอร์ เข้ามาใช้ในการแข่งขัน เพื่อ ดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เดินทางเข้ามาประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก ของปีนี้ ซึ่งการกระตุ้นนี้จะทำทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ จึงเป็นเหตุให้รายได้ ครึ่งปีแรก อาจลดลง และจะปรับตัวดีขึ้นในครึ่งปีหลัง
“จากแผนการตลาดเดิม ททท. ได้กำหนดให้ ปี 2552 มีอัตราการเติบโต 5% จากปี 2551 ทั้งด้านจำนวนและรายได้ แต่ ในปี 2551 สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไม่ปกติ ประกอบกับ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้ จำนวนและรายได้ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ว่า จะ นำนักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้ที่ 15.7 ล้านคน รายได้ 6 แสนล้านบาท โดยจากตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ ขณะนี้คาดว่า ในปีทีผ่านมา ตัวเลขนักท่องเที่ยว จะอยู่ที่ 14.5 ล้านคน รายได้ ก็ประมาณ 5.7 แสนล้านบาท เท่ากับปี 2550 เช่นกัน”
นายวีระศักดิ์ กล่าว เพิ่มเติมว่า การที่ต้องโดดเข้าไปเล่นสงครามราคาด้วยนั้น เพราะ ขณะนี้ จากภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้ ทุกประเทศเริ่มเข้ามาสู่การเปิดเวทีสงครามราคา โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน เช่น เวียดนาม จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยก็ต้องเข้าร่วมการแข่งขันในรูปแบบนี้ เพื่อความอยู่รอดของภาคเอกชน เช่นกัน แต่วิธีการ จะ จัดทำให้เป็นภาพใหญ่ โดย หลังการประชุมบอร์ด ททท. ก็จะเรียกภาคเอกชน เช่น ทั้งหลุ่ม บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ที่พัก สายการบิน ร้านอาหาร สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ เข้ามาหารือ เรื่องการจัดทำแพกเกจ ให้มีราคา ที่น่าสนใจ และไม่มีผลเสียกับโครงสร้างราคาในระยะยาว ที่สำคัญ ยังต้องคงไว้ในเรื่องของความคุ้มค่าเงิน ซึ่งเป็นแนวทาง ที่เราดำเนินการมาตลอด และ หลายประเทศในอาเซียน ก็เริ่มเห็นด้วยกับแนวทางนี้
นอกจากนั้น ในส่วนของภาครัฐ จะต้องมีการให้อินเซนทีฟ เป็นการดึงดูดนักเดินทาง เช่น การ ยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า ในบางประเทศ เช่น จีน อินเดีย , ยกเลิกค่าจอดเครื่องบิน(แลนดิ้งฟี) โดยจะทำในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ครึ่งปีแรก เพื่อเรียกนักท่องเที่ยว และ ความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาพร้อมกัน ส่วน ตลาดในประเทศ ต้องมีการสร้างดีมานด์เทียม ด้วยการ เร่งให้หน่วยง่านภาครัฐ และ องค์กรส่วนท้องถิ่นเกิดการเดินทางด้วยการ จัดอบรมสัมมนา หรือ โดเมสติกไมซ์ กระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศกันอย่างคึกคัก และ ยังขยายผลการจับมือกับพันธมิตร เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย ,บมจ. ท่าอากาศยานไทย ทำโคแบรนดิ้ง เพื่อดำเนินกิจกรรมการตลาด การ โฆษณาประชาสัมพันธ์ร่วมกัน จากปีก่อน ททท.ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับการบินไทย
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ ( 13 ม.ค.52) จะเสนอเรื่อง การขออนุมัติวงเงินฉุกเฉิน 1,900 ล้านบาท ต่อที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เพื่อนำมาดำเนินการตามแผนกระตุ้นตลาดฉุกเฉิน ถ้าได้รับการอนุมัติ ก็จะนำวงเงินดังกล่าว มาเร่งใช้กระตุ้นตลาดตามแผน นอกจากนั้น ยังเตรียมร่วมเดินทางกับ ทีมไทยแลนด์ ไปประเทศจีน ในปลายเดือนนี้ เพื่อ เจรจากับผู้นำประเทศของจีน ในเรื่อง การค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว แบบภาพใหญ่ ซึ่งจีนถือเป็นประเทศยุทธศาสตร์สำคัญของไทย
สำหรับแนวทางการทำงาน ได้ เสนอให้ ในการประชุมบอร์ด ทุกครั้งของ ททท. ไม่ให้มีวาระจร เพื่อต้องการให้ ผู้ใหญ่ ในหลายหน่วยงาน ที่ ร่วมเป็นกรรมการในบอร์ด ได้อ่านรายละเอียด ก่อน ที่จะมีการพิจารณา และ ให้มีการกำหนด งานสำคัญที่จะส่งผลกระตุ้นตลาดไว้ในกิจกรรมล่วงหน้านานๆ เช่น งานไทยแลนด์แกรนด์เซลส์ เพื่อเอกชน และ นักท่องเที่ยว จะได้ นำไปกำหนดในแผนการเดินทาง หรือ แผนธุรกิจได้
|
|
|
|
|