Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 มกราคม 2552
นักลงทุนทิ้งหุ้น"ปตท."กดดัชนีร่วง             
 


   
search resources

Stock Exchange




นักลงทุนแห่ทิ้งหุ้นขนาดใหญ่กดดันดัชนีร่วงกว่า 6 จุด หวั่นผลประกอบการกลุ่มปตท. ไตรมาส 4/51 ทรุดหนัก ซ้ำเติมวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังหดตัวจากตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ด้านโบรกเกอร์ แนะจับตาผลการดำเนินงานกลุ่มสถาบันการเงินทั่วโลกที่จะทยอยประกาศเร็วๆ นี้ จะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก แม้ตลาดหุ้นไทยจะได้รับผลดีจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงในการประชุม กนง. ของแบงก์ชาติ 14 ม.ค.นี้

บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (12 ม.ค.) ยังถูกปกคลุมด้วยปัจจัยลบทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีส่งสัญญาณชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จากตัวเลขอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น จนส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงนักลงทุนเริ่มกังวลถึงผลประกอบการของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ไตรมาส 4 ปี 2551 ที่กำลังจะทยอยประกาศออกมาน่าจะยังประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง

ขณะที่ ปัจจัยในประเทศนั้น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเอง หลายฝ่ายเริ่มมีการคาดการณ์ว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 4/51 คงจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่จะประสบปัญหาผลการขาดทุนอย่างหนัก

จากปัจจัยดังกล่าวกดดันให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่การซื้อขายภาคเช้า แม้ช่วงเปิดตลาดจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นจากวันก่อนได้เล็กน้อย โดยมีราคาสูงสุดที่ 460.82 จุด ต่ำสุดที่ 451.10 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 452.80 จุด ลดลงจากวันก่อนหน้า 6.26 จุด หรือคิดเป็น 1.36% มูลค่าการซื้อขายรวม 9,352.57 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศมียอดขายสุทธิ 684.63 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 530.14 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,214.77 ล้านบาท

สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย บมจ. ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 168 บาท ลดลงจากวันก่อน 9 บาท หรือคิดเป็น 5.08% มูลค่าการซื้อขาย 1,427.42 ล้านบาท บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 108 บาท ลดลง 5 บาท หรือ 4.42% มูลค่าการซื้อขาย 909.80 ล้านบาท และบมจ. บ้านปู (BANPU) ปิดที่ 240 บาท ลดลง 6 บาท หรือ 2.44% มูลค่าการซื้อขาย 433.60 ล้านบาท

นางสาวปองรัตน์ รัตนะตวณานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ BLS กล่าวว่า บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้ (12 ม.ค.) มีแรงเทขายออกมาในหุ้นลุ่มพลังงานตลอดทั้งวัน เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ผลประกอบในไตรมาส 4/2551 ของกลุ่มบมจ. ปตท. (PTT) จะประสบปัญหาการขาดทุนหลังจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2551

ขณะที่มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์บ้าง แต่ไม่ได้ส่งผลต่อดัชนีตลาดหุ้นมากนัก เพราะมูลค่าตลาดราคาตลาดรวมของหุ้นในกลุ่มนี้มีสัดส่วนน้อยกว่าหุ้นในกลุ่มปตท. บวกกับปัจจัยต่างประเทศยังถูกปกคลุมจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ (13 ม.ค.) คาดว่าจะทรงตัว โดยนักลงทุนควรจับตาการประมูลงานของกลุ่มธุรกิจรับเหมาในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงในเส้นทางที่ 2-3 ส่วนกลยุทธ์การลงทุนแนะเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงาน ทั้งนี้ประเมินแนวรับอยู่ที่ 446 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 460 จุด

นายเจริญ เอี่ยมพัฒนธรรม รองกรรมการผู้จัดการ บล. เคทีบี จำกัด กล่าวว่า จากการที่ตลาดคาดการณ์ผลการดำเนินงานกลุ่มบมจ. ปตท. มีแนวโน้มปรับลดลงจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ส่งผลมีแรงเทขายหุ้นของกลุ่มปตท. กดดันให้ตลาดหุ้นปิดตลาดในแดนลบ แม้จะมีแรงซื้อของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอานิสงส์มาตรการภาษีของรัฐบาล แต่ไม่ส่งผลต่อดัชนีตลาดหุ้นมากนัก

“ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่ดี ได้ส่งผลทางด้านจิตวิทยาต่อผู้ลงทุน บวกกับไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุนตลาดหุ้น ทำให้ปริมาณการซื้อขายไม่มาก”

ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยน่าจะเคลื่อนไหวอยุ่ในกรอบแคบๆ จากราคาน้ำมันยังร่วงลงอย่างต่อเนื่องที่จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมสูงสุดในตลาดหุ้นไทย แต่นักลงทุนควรติดตามความเคลื่อนไหวดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐฯ และตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงราคาน้ำมันโลก ดังนั้นจึงแนะนำให้ซื้อเก็งกำไรระยะสั้นในหุ้นขนาดเล็กที่ได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

ด้านนายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวย ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงจากความวิตกกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการคาดการณ์ผลการดำเนินงานของบริษัทเอกชนต่างๆ ในสหรัฐฯ ที่กำลังจะทยอยประกาศออกมายังประสบปัญหาการขาดทุน

ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ยังไม่คลี่คลาย หลังจากมีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จึงเป็นอีกสาเหตุที่สงผลต่อดัชนีตลาดหุ้น

สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ วันนี้ น่าจะแกว่งตัวอยู่กรอบแคบๆ และนักลงทุนควรติดตามราคาน้ำมันโลก ตลอดจนผลการดำเนินงานของกลุ่มพลังงานไตรมาส 4/51 ทั้งนี้ จึงแนะนำให้ควรซื้อเมื่อดัชนีอ่อนตัวในกลุ่มพลังงาน โดยมีแนวรับอยู่ที่ 445 จุด และแนวต้านที่ 466 จุด

นางสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่ปรับตัวลงตามดาวโจนส์ เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอย ภายหลังจากที่สหรัฐฯ มีตัวเลขการว่างงานที่สูง

ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานไตรมาส 4/51 ของกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ บมจ.ปตท. ที่คาดว่าจะขาดทุนจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วม แม้จะมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่สามารถที่จะช่วยพยุงดัชนีตลาดหุ้นได้

“ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้อีก แต่นักลงทุนต้องติดตามความเคลื่อนไหวจากต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ สัปดาห์นี้ให้กรอบแนวรับไว้ที่ 450-430 จุด ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 470, 480 จุด”

ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงขาลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากนักลงทุนต่างคาดการณ์ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 4/51 ไม่สดใสมากนัก บวกกับดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจโลกและในประเทศเองจะยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุน อย่างไรก็ตาม อาจจะมีแรงซื้อเก็งกำไรจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 14 มกราคมนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us