|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
TYM เตรียมทุ่มงบ 50 ล้าน บาท เพื่อปรับปรุงเครื่องจักรผลิตและโครงสร้างโรงงาน พร้อมเข้มงวดศักยภาพของพนักงาน หวังเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่แผนเทกโอเวอร์โรงเหล็กอยู่ระหว่างรอคำตอบจากพันธมิตร 2-3 รายในประเทศ ส่วนผลงานไตรมาส 4 ปี 51 คาดรายได้อยู่ที่ 1,250 ล้านบาท ผลจากราคาเหล็กตก
นายบุญชัย จิระพงษ์ตระกูล กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ไทยง้วนเมทัล จำกัด (มหาชน) หรือ TYM เปิดเผยว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่หดตัวและความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในประเทศ บริษัทจึงถือโอกาสนี้ซ่อมแซมเครื่องจักรและโครงสร้างโรงงาน โดยตั้งงบส่วนนี้ไว้ประมาณ 50 ล้านบาท อีกทั้งเตรียมขยายฐานลูกค้าในประเทศให้มากขึ้น เพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงตามทิศทางราคาเหล็กที่ปรับลด ขณะที่ปัจจุบัน บริษัทมีคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (ออเดอร์) มูลค่าประมาณ 400-500 ล้านบาท โดยลักษณะการรับงานของบริษัทจะเป็นเดือนต่อเดือน
ขณะที่แผนขยายกำลังการผลิตหรือ/และเข้าซื้อกิจการ (เทกโอเวอร์) โรงเหล็กที่มีแผนไว้นั้น ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปและอยู่ระหว่างรอคำตอบจากพันธมิตรในประเทศที่ได้เจรจาไว้ 2-3 ราย ขณะที่แผนการเพิ่มทุนจำนวน 2,000 ล้านบาทก็ยังไม่อาจได้ข้อสรุปหรือดำเนินการได้ ซึ่งปัจจุบันกระแสเงินสดของบริษัทยังอยู่ในเกณฑ์ดี
สำหรับปี 52 บริษัทยังไม่มีแผนงานอื่นๆ เพิ่มเติม เนื่องจากต้องการรักษากระแสเงินสด เพื่อรองรับวิกฤตเศรษฐกิจในปีนี้ ทั้งนี้จะเพิ่มเข้มงวดเกี่ยวกับศักยภาพของพนักงาน เพื่อให้การบริหารงานต่างๆ มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยยังมีแผนปลด พนักงาน แต่ถ้าพนักงานรายใดไม่สามารถทำงานได้ ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็อาจต้องมีการเจรจาเป็นราย บุคคลเพื่อเป็นการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการทำงานเป็นรายบุคคล
นายบุญชัยกล่าวว่า จากราคาเหล็กที่ผันผวน ในปี 51 ไม่ส่งผลต่อรายได้มากนัก เนื่องจากบริษัท มีสต๊อกในส่วนนี้เพียงช่วงสั้นประมาณ 45 วัน แต่ราคาเหล็กที่ร่วงลงในช่วงปลายปีจะมีผลกระทบสิ้นสุดเพียงแค่รายได้ของบริษัทในไตรมาส 4/ 51 จึงประเมินว่าจะมีรายได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 51 น่าจะอยู่ที่ 1,250 ล้านบาท ใกล้เคียงกับรายได้ในไตรมาส 3/51 โดยเป็นรายได้จากการขายเหล็กรูปพรรณที่บริษัทผลิตเอง และการรับซื้อจากผู้ผลิต รายอื่น ทั้งนี้ฐานรายได้ของบริษัทปัจจุบัน มาจากลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยในประเทศเท่านั้น
|
|
|
|
|