|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
หน่วยงานรัฐระดมรับมือเศรษฐกิจตกสะเก็ด ธอส.เข็นแพ็คเก็จเงินกู้ซื้อบ้านคิดดอกเบี้ยต่ำกว่า 5% หลังได้เงินเพิ่มทุน 2,000 ล้าน เพิ่มพนักงานเกาะติดหนี้เสีย สั่งสาขารายงานตรงสำนักงานใหญ่ ส่วนลูกค้าที่ตกงาน-ถูกลดเงินเดือนมีเฮ ได้ลดดอกเบี้ย-ยืดหนี้พิจารณารายกรณี ขณะที่ “พาณิชย์” กางแผนสร้างอาชีพคนตกงาน 1 แสนราย-กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการฝึกอบรมทำธุรกิจแฟรนไชส์ เปิดพื้นที่ทั่วประเทศเจาะลึกทุกอำเภอเปิดตลาดนัดจตุจักร
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลต้องการให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐโดยเฉพาะ ธอส. ในการเป็นแกนนำปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนกู้ซื้อบ้านในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งในเร็วๆ นี้คาดว่านายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้มีมมติเพิ่มทุนให้กับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐสองแห่ง คือธนาคารออมสิน และ ธอส. เป็นวงเงิน 5,000 ล้านบาท ซึ่ง ธอส.จะได้เม็ดเงินตามวงเดิมที่รัฐบาลชุดที่แล้วอนุมัติในวงเงิน 2,000 ล้านบาท
“วงเงินที่ได้ถึงแม้จะเป็นจำนวนที่น้อยกว่าที่ ธอส.ต้องการมาก แต่เมื่อได้มาจะทำให้อัตราเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงดีขึ้น และจะต้องมาคำนวณว่า จะนำเงินดังกล่าวจะนำไปรวมกับสภาพคล่องของธนาคารที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 60,000 ล้านบาท เช่น ออกพันธบัตร 3-5 ปี หรือทำอย่างอื่นให้ได้ต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุด เพื่อให้สามารถนำเงินมาปล่อยกู้แก่ประชาชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 5% ได้”
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย 3 สมาคมหลักคือสมาคมอาคารชุดไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมรับสร้างบ้านและสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย เพื่อสอบถามถึงความต้องการ รวมถึงปัญหา เพื่อนำมากำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจอสังหาฯครอบคลุมทั้งระบบ ทั้งบ้านหลังแรกและบ้านมือสอง ส่วนในวันนี้ (12 ม.ค.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเรียกคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจเข้าร่วมหารือ
สำหรับการดำเนินงานของ ธอส. ในปีนี้จะปรับลดเป้าหมายการดำเนินงานลงจากปีที่ผ่านมา ตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตไม่เกิน 2% โดยเป้าหมายการปล่อยกู้ลงเหลือ 7.5 หมื่นล้าน น้อยลงจากสิ้นปีที่ผ่านมาปล่อยกู้ได้ 8.1 หมื่นล้านบาท แต่หากมีความต้องการก็พร้อมจะปล่อยกู้ เพราะมีสภาพคล่องที่เหลือเพียงพอ
นอกจากนี้ ธอส. ยังจับตามปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในกลุ่มของลูกค้าสวัสดิการที่หักค่างวดผ่อนชำระสินเชื่อบ้านจากเงินเดือนโดยตรง โดยทำการแบ่งประเภทตามกลุ่มธุรกิจ เช่น ภาคการผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์ ท่องเที่ยว รวมทั้งหน่วยงานราชการ เป็นต้น ซึ่งมีสัดส่วน 60% ของพอร์ตลูกค้าทั้งหมด
อีกทั้งยังได้ให้ความสำคัญกับการติดตามหนี้เป็นพิเศษ โดยเพิ่มพนักงานในส่วนของแบดแบงก์ และให้แต่ละสาขารายงานปัญหาหนี้เอ็นพีแอลของลูกค้าขึ้นตรงต่อสำนักงานใหญ่ จากเดิมจะรายงานต่อผู้จัดการแต่ละสาขา และเป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วง 4 เดือนหลัง ปี 51 นั้นจำนวนเอ็นพีแอลของธอส.ลดลงมากคือประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากการปรับมาคิดเอ็นพีแอลแบบขั้นบันใดเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ส่วนมาตรการที่ ธอส.จะนำมาใช้ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวจนส่งผลกระทบต่อรายได้ของลูกค้าธนาคารนั้น จะให้การพิจารณาเป็นรายกรณีไป ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นจริงของลูกค้า อาทิ ลูกค้าที่ถูกเลิกจ้างหรือถูกลดเงินเดือน ลดเวลาการทำงาน ไม่มีเงินผ่อนชำระค่างวดตามที่กำหนดไว้เดิม ธอส.จะไม่ยึดบ้านโดยทันแต่อาจจะให้ผ่อนชำระตามกำลังรายได้ที่แท้จริง โดยใช้มาตรการเช่น ลดดอกเบี้ย กรณีที่ลูกค้าได้ผ่อนชำระมาแล้วหลายปีอาจทำการยืดระยะเวลาผ่อนออกไปเพื่อให้ค่างวดรายเดือนน้อยลง
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเชื่อว่าจะเป็นช่วงขาลง โดยคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดลดลงดอกเบี้ยอีกประมาณ 0.75-1%จนดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1.75% หรือ 1% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.75% ซึ่งผู้ที่ต้องการของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยควรเลือกแพ็คเกจอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เอ็มอาร์อาร์ลบ ในช่วงแรกเพราะจะได้รับประโยชน์จากการลดลงของดอกเบี้ย แต่หากเป็นอัตราดอกเบี้ยช่วงขาขึ้นควรเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่เพื่อให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายไม่ต้องปรับขึ้นตามภาวะตลาดได้
“พาณิชย์” ลุยสร้างอาชีพคนตกงาน
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมรับมือวิกฤตเศรษฐกิจที่มีการประเมินว่าจะมีนตกงานขั้นต่ำ 1 ล้านคน และขั้นสูง 2 ล้านคนในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ว่า ได้ตั้งเป้าหมายในการช่วยเหลือผู้ตกงานประมาณ 1 แสนคนให้มีงานทำ มีอาชีพ ในการเลี้ยงชีพ โดยจะช่วยฝึก ช่วยสอน ช่วยอบรม ให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่วงการธุรกิจ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาคนตกงาน และยังช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้ ซึ่งจะของบประมาณจำนวน 1,200 ล้านบาทจากงบประมาณกลางปี
ทั้งนี้ แนวทางแรกจะดำเนินการ ได้แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการหน้าใหม่ ตั้งเป้าไว้จำนวน 8 หมื่นราย โดยการเชื่อมโยงผู้ที่สนใจทำธุรกิจกับเจ้าของแฟรนไชส์ต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีธุรกิจหลากหลายมากที่ผ่านการฝึกอบรมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหลายๆ รายก็ประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ และหากตกลงกันได้แล้ว ก็จะขอให้พันธมิตร ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โดยเบื้องต้นจะมีธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มาช่วยปล่อยกู้
“เราจะไปคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์ว่าในสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ เราต้องช่วยกัน ค่าแฟรนไชส์ที่เคยเรียกเก็บเต็มราคา ก็ขอให้ลดลงครึ่งนึง เช่น จาก 3 หมื่นบาท เหลือ 1.5 หมื่นบาท แล้วคนที่จะทำธุรกิจโดยซื้อแฟรนไชส์ เราก็จะขอให้แบงก์ปล่อยกู้เป็นเงินทุนไปซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งจะให้รายละ 2 หมื่นบาท ซึ่งจะช่วยให้มีธุรกิจเกิดใหม่อีกจำนวนมาก”นายอลงกรณ์กล่าว
ผลที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการ จะช่วยให้ระบบธุรกิจแฟรนไชส์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ธุรกิจเกี่ยวเนื่องจะขยายตัวตามไปด้วย เช่น หากเป็นสินค้าอาหาร สินค้าที่เป็นวัตถุดิบทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ก็จะมีความต้องการใช้มากขึ้น เกษตรกรก็จะได้รับผลดีจากการขายสินค้าได้ในราคาที่ดีขึ้น
นายอลงกรณ์กล่าวว่า ส่วนที่ 2 จะพัฒนาให้เกิดผู้ประกอบการรายย่อยในจังหวัดต่างๆ ตั้งเป้าไว้จำนวน 2 หมื่นราย โดยมีรูปแบบดำเนินการ 3 รูปแบบ คือ จะพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นไนท์พลาซ่า แล้วเชื่อมโยงการค้ากับการท่องเที่ยว โครงการจตุจักร วอกกิ่ง สตรีท และจตุจักร ลานคนเดิน โดยจะยึดคอนเซ็ปต์ตลาดนัดจตุจักร และจะจัดให้มีใน 75 จังหวัดทั่วประเทศ โดยสินค้าที่จะนำมาขาย จะเป็นสินค้าจากผู้ส่งออกที่มีปัญหาเรื่องคำสั่งซื้อชะลอตัว มาจัดจำหน่าย เพื่อให้คนไทยได้ใช้สินค้าส่งออกที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับโลก แต่ราคาถูก
“จะจัดทั้งหมด 1 พันจุดทั่วประเทศ สรุปคือจะมีอำเภอละจุด และเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวจะมีมากหน่อย แล้วเราจะรับสมัครคนว่างงานประมาณ 2 หมื่นคน ให้เข้ามาขายสินค้าในพื้นที่ๆ เราได้เลือกไว้ ซึ่งจะช่วยทำให้คนมีงานทำ และช่วยให้ประชาชนลดค่าครองชีพอีก”นายอลงกรณ์กล่าว
นายอลงกรณ์กล่าวว่า ยังได้ขอให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปรับรูปแบบการศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจ เป็นศูนย์พัฒนาธุรกิจแทน เพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ต้องการจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หรือคนตกงาน ที่อยากจะทำธุรกิจ โดยสามารถเข้ามาขอรับคำปรึกษาได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะมีคำแนะนำและแนวทางในการทำธุรกิจต่างๆ มากมาย
นอกจากนี้ ยังจะได้เปิดคลีนิกให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจในพื้นที่สำคัญ เช่น ตลาดนัดจตุจักร และในจังหวัดสำคัญๆ ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคต่างๆ ด้วย เพื่อรับมือกับปัญหาคนตกงานที่ต้องการจะทำธุรกิจให้ครอบคลุมทั้งประเทศ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า กระทรวงฯ จะของบประมาณจากงบกลางปี 1 แสนล้านบาท จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท แยกเป็น 3 พันล้านบาท สำหรับจัดทำโครงการกระตุ้นการส่งออก และอีก 9 พันล้านบาท เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งการแก้ไขปัญหาคนตกงาน การช่วยเหลือสินค้าเกษตร และช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน
|
|
 |
|
|