Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์12 มกราคม 2552
"เศรษฐกิจอัสดง"ประกันวินาศภัยดิ่งเหวกุมพอร์ต"อัคคีภัย"เท่ากับอุ้มความเสี่ยง"เผาจริง"!!             
 


   
search resources

Insurance
กี่เดช อนันต์ศิริประภา




ธุรกิจประกันวินาศภัยหลายต่อหลายราย เคยทำนายทายทักสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน มาตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อนว่า ปีฉลู...วัวเพลิง... "ประกันอัคคีภัย" จะเข้าสู่ประเภท "ธุรกิจอัสดง" ไม่ต่างจาก อุตสาหกรรมต่างๆที่เริ่มลอยแพพนักงานบ้างแล้ว นั่นก็คือ ธุรกิจประกันวินาศภัยรายใดที่กุมพอร์ตประกันอัคคีภัยอยู่มาก จึงเท่ากับ ตกอยู่ในสถานการณ์ "น่าห่วง" เพราะต้องเฝ้าจับตา ระวังเหตุการณ์ไฟไหม้ที่จะมีมากขึ้น หรือ บางรายอาจมีการสร้างสถานการณ์ "เผาเอาประกันภัย" ที่จะทำให้เกิดความสูญเสียมหาศาล ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน...

บทสรุปจากวิกฤตแฮมเบเกอร์ และการเมืองภายในประเทศที่กลายเป็นตัวแปร ฉุดภาวะเศรษฐกิจให้ดำดิ่งนรกมาตั้งแต่ปลายปี 2551 คือ เหตุการณ์ด้านมืด ทำให้ธุรกิจประกันวินาศภัยที่เคยเติบโตเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ จีดีพี ในแต่ละปีต้องหันมาทบทวน ทิศทางเดินของธุรกิจในปี 2552 ใหม่ทั้งหมด

นับตั้งแต่ การเริ่มหันมาหารายได้จากการรับประกันภัย ให้มากกว่า การทุ่มเทน้ำหนักให้กับรายได้ และกำไรจากพอร์ตลงทุน ที่เคยให้ผลตอบแทนมหาศาล นับจากยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ในอเมริกาฟูฟ่อง

แต่หลังจาก "วิกฤตแฮมเบเกอร์" เป็นต้นมา แทบทุกบริษัทก็ต้องประสบชะตากรรมเดียวกันคือ ขาดทุนจากพอร์ตลงทุนกันถ้วนหน้า แบบไม่ทันตั้งตัว...

ตัวเลขสถิติ ในรอบ 9 เดือนปี 2551 รายงานว่า ทั้ง อุตสาหกรรม ขยายตัวเพียง 5.39% โดยเฉลี่ยไม่น่าเติบโตเกิน 4-5% คิดเป็นมูลค่า 105,000 ล้านบาท หรือ ตกต่ำที่สุดในรอบ 8 ปีของอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย

กี่เดช อนันต์ศิริประภา กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.แอกซ่าประกันภัย อธิบายให้เห็นภาพว่า มูลค่าเงินลงทุนของธุรกิจประกันวินาศภัยที่ลงทุนผ่านตลาดหุ้นไทย หายวับไปกับตาถึง 15,000 ล้านบาท จากทั้งเงินลงทุนทั้งระบบ 100,000 ล้านบาท

" ในจำนวนนี้ สัดส่วน 30% ลงทุนในตลาดหุ้น จึงน่าเป็นห่วงสำหรับบริษัทที่ลงทุนในตลาดหุ้นในปริมาณมาก หากดูจากงบการเงินสิ้นปีนี้ ก็น่าจะเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น"

ขณะที่ ประเภทประกันภัยรถยนต์ ที่พึ่งพิงยอดขายรถใหม่ ป้ายแดงมาตลอด ก็ถึงคราว "ดวงตก" เพราะทั้งยอดขายรถเก๋ง รถกระบะหรือแม้แต่ รถยนต์เชิงพาณิชย์ ต่างก็ร่วงกรูกันเป็นทิวแถว ไม่เลือกว่าจะเป็นค่ายไหน อเมริกัน ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น

หลายบริษัท จึงต้องหันมาหารายได้จาก ประกันภัย ประเภทนอน มอเตอร์มากขึ้น หรือ ไม่อย่างนั้น ก็ปรับเพิ่มเบี้ยรถยนต์เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงให้มากขึ้นไปอีก

ในที่สุด รถยนต์เครื่องยนต์ขนาดเล็ก ที่เรียกว่า "ซิตี้คาร์" ก็ "โดนแจ็คพอต" แบบมัดมือชก แทบทุกค่ายหันมาปรับเพิ่มเบี้ยประกันยาวเป็นหางว่าว

ส่วนหนึ่งก็เพื่อไล่พอร์ตรถเล็กให้พ้นบริษัท หรือ ไม่ก็จับตลาดที่ถูกมองว่ามีความเสี่ยงสูงไปเลย ดีกว่าจะหันไปต่อสู้ฟาดฟันกับ ตลาดรถยนต์เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ซึ่งทุกบริษัทต่างก็หมายตาไม่กระพริบ ราวกับเสื้อจ้องตะครุบเหยื่อ...

" ในปี 2002 ไม่มีบริษัทใดเลยทำกำไร เพราะมีการทำสงครามแย่งชิงเบี้ยกันอย่างรุนแรง จนขาดทุนกันถ้วนหน้า จนมาถึงปี 2007-2008เกือบทุกบริษัทต้องปรับเบี้ยขึ้นอีก 15-25% เพราะต้านทานกับผลขาดทุนไม่ไหวแล้ว"

การปรับเบี้ยเพิ่ม จึงเพื่อมาชดเชยผลประกอบการขาดทุน ไม่ใช่ปรับเพิ่มเพื่อทำกำไร...

กี่เดช บอกว่า ค่ายไหนที่รับรถเล็ก ต้องประสบกับปัญหาความเสี่ยงจากอัตราความเสียหายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะรถเล็ก คนขับมักจะเป็นกลุ่มวัยรุ่น การเคลมประกันจึงบ่อยกว่ารถเครื่องยนต์ขนาดใหญ่เป็นธรรมดา

นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง ก็ไม่แน่นอนว่า สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ จะปล่อยกู้มากขึ้น เพราะหลายแห่งยังกังวลกับปัญหาหนี้เสียหรือ เอ็นพีแอล ที่ตามหลอกหลอนอยู่ตลอดเวลา นับจาก "สัญญาณซัพไพร์ม" ส่งเสียงดังกังวาลไปทั่วโลก...

ยังไม่นับ กฎเหล็กของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่เข้มงวดกวดขันกับสภาพคล่อง และฐานะการเงินของธุรกิจประกันภัยมากกว่าในอดีต ที่จะมีผลอย่างมากต่อ สถานภาพและความคงอยู่ของธุรกิจประกันวินาศภัยในอนาคต

กี่เดชบอกว่า ธุรกิจหลายราย เริ่มหันมาจับตลาดลูกค้ารายย่อย และประกันภัยทรัพย์สินมากขึ้น ภายหลัง "ประกันอัคคีภัย" ซึ่งเคยทำกำไรมหาศาล กำลังถูกมองเป็น ประเภท "ธุรกิจอัสดง" ไปแล้ว

ว่ากันว่า หากจับสถิติ ในรอบ 10 ปี ประกันอัคคีภัย แทบไม่เคยเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เลย ทำให้ธุรกิจประกันวินาศภัยถูกมองว่า เก็บกินเบี้ยเป็นกอบเป็นกำมาตลอด

ดังนั้น หากจะขายประกันอัคคีภัยอย่างเดียวก็มักจะขายไม่ได้ ส่วนใหญ่จึงหันมาขายเป็น "แบบแพกเกจ" พ่วงกับกรมธรรม์อื่นไปด้วย เช่น อาจย้ายมาขาย แบบแพกเกจ "กรมธรรม์เอสเอ็มอี"...

สำคัญกว่านั้นคือ อุตสาหกรรมที่ถูกเรียกว่า "ธุรกิจอัสดง"อาทิ โรงงานรองเท้า กระเป๋า หรือ เสื้อผ้า รวมถึงหลายอุตสาหกรรมที่ ปลดป้าย เลิกกิจการ และ "ลอยแพ" พนักงานไปก่อนหน้านี้ ก็ถือว่าเข้าข่าย น่าเป็นห่วง !!! ...

ทำให้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจประกันวินาศภัย หลายราย เริ่มเฝ้าจับตา ระวัง เหตุการณ์ไฟไหม้ รวมถึงการวางเพลิง เผาเอาประกันไม่ให้คลาดสายตา

ผู้บริหารในแวดวงประกันวินาศภัยหลายราย ถึงกับ กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ในปีฉลู น่าจะเกิดเหตุการณ์ ไฟไหม้ วางเพลิง ให้เห็นกันจนเป็นเรื่องปกติ...

กี่เดช ถึงกับบอกว่า ถ้าค่ายไหน กำพอร์ตประกันอัคคีภัยไว้กับตัวมากๆ ก็เป็นไปได้ว่าในปีนี้อาจจะนอนสะดุ้ง จากเหตุการณ์ไฟไหม้ทั้งวันทั้งคืน

ผู้บริหาร บริษัทประกันวินาศภัย อีกหลายราย ก็เคยทำนายทายทักเหตุการณ์ เผาเอาประกันภัย ในช่วงปลายปี 2551 ว่า ในปี 2552 ธุรกิจประกันวินาศภัยอาจเสี่ยงต่อการเผชิญหน้ากับการขาดจริยธรรมของผู้เอาประกันภัยบางราย...

โดยยกกรณีในอดีต มีบทพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า เมื่อก่อนอาจมีการเผาบ้าน โกดัง บริษัท อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เพื่อเรียกค่าสินไหม แต่เนื่องจากการเรียกค่าสินไหมในแต่ละครั้ง จะมีการตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นไฟไหม้จากอุบัติเหตุหรือสร้างสถานการณ์ขึ้น

ซึ่งถ้าหลักฐานพิสูจน์ออกมาว่า เป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อเรียกเงินเอาประกันภัย ผู้ที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์ก็จะไม่ได้อะไรเลย คือสูญเสียทั้งสินทรัพย์ แถมยังไม่ได้เงินสินไหมจากบริษัทรับประกันภัยนั้นด้วย

หรือบางราย ก็เล่นแง่โดยการทำประกันภัยไว้กับหลายๆบริษัทเพื่อจะเรียกค่าสินไหมได้ในวงเงินที่สูง ซึ่งกว่าจะจับได้คาหนังคาเขาก็ ต้องสืบเสาะ สืบค้นประวัติ ผู้เอาประกันรายนั้น อยู่เป็นเวลานาน...

ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต มีลูกค้ารายหนึ่งทำประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย โดยการสร้างสถานการณ์ด้วยการเผาโกดัง

แต่ข้อพิสูจน์ออกมาพบว่า เป็น "อุบัติเหตุ" บริษัทก็จำเป็นต้องจ่ายสินไหมให้กับผู้เอาประกันภัยรายนั้น มิหนำซ้ำวงเงินที่เอาประกันก็ไม่สูงมากนัก จึงไม่สร้างความระแวง สงสัยให้บริษัทผู้เอาประกันภัยเลยแม้แต่น้อย

หลังจากนั้น ลูกค้ารายเดิม ก็มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ ทั้งครอบครัว แล้วมาทำประกันภัยโกดังดังกล่าวอีกครั้ง คราวนี้เหตุการณ์ไฟไหม้ ก็เกิดขึ้นเช่นเคย และวนเวียนเป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้ง ...

จนท้ายที่สุด เริ่มเกิดความเคลือบแคลง สงสัย จนกระทั่งบริษัทประกันภัยรายหนึ่ง ตัดสินใจ สืบค้น ประวัติถึงได้รู้ว่า มีการใช้วิธีการเดิมๆ คือ "เผาโกดัง" เพื่อเอาประกันภัยกับบริษัทหลายเจ้า แต่ด้วยเม็ดเงินไม่มาก ทำให้ไม่เกิดความสงสัย มาตั้งแต่ต้น...

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดความจริงก็ปรากฎ นั่นก็คือเหตุการณ์ที่เชื่อกันว่า อาจจะเกิดขึ้นได้อีก ในปี 2552 ...

ปีที่ถูกขนานนามว่า "ปีวัวเพลิง" เพราะมีเหตุการณ์ไฟไหม้มาตั้งแต่วันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีหม่ ด้วยคราบเลือด หยดน้ำตา ของผู้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงบรรดา ญาติ พี่น้อง ที่เกี่ยวข้อง...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us