Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์12 มกราคม 2552
ส่องตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ปี’ 52 ซัปพลายทะลักฉุดผลตอบแทนวูบ             
 


   
search resources

Real Estate




การลงทุนจากต่างชาติที่ไหลทะลักเข้าเมืองไทย และตลาดท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่อิงกับดีมานด์จากชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทย และนักท่องเที่ยวที่พำนักระยะยาวเติบโตขึ้นตามไปด้วย กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ดีเวลลอปเปอร์และแลนด์ลอร์ดสนใจ หรือแม้กระทั่งมือใหม่ที่มีฐานเงินทุนมาจากธุรกิจอื่นก็ยังแตกไลน์เข้ามาสู่ธุรกิจนี้ด้วย เพราะเป็นการลงทุนระยะยาวที่มีผลตอบแทนเป็นรายได้มาหล่อเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง

ย้อนหลังไปในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาพบว่า ซัปพลายเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานของคอลลิเออร์ส ระบุว่า ในปี 2550 เป็นปีที่มีซัปพลายเพิ่มเข้ามาในตลาดถึง 17.56% หรือ 1,596 ยูนิต ก้าวกระโดดจากปี 2549 ที่เพิ่มเพียง 597 ยูนิต แต่ในปี 2551 กลับเพิ่มขึ้นเพียง 1,227 ยูนิต หรือ 11.48% ต่ำกว่าเดิมที่คาดไว้ที่ 19-20% เนื่องจากต้นทุนก่อสร้างที่ปรับเพิ่มขึ้น จึงมีการชะลอการก่อสร้าง และคาดว่าปีนี้จะมีซัปพลายใหม่แล้วเสร็จเพิ่มอีก 2,082 ยูนิต หรือ 19.48% ซัปพลายที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางดีมานด์ที่ลดฮวบหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก กระทบการลงทุนเพิ่มของต่างชาติ รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง และเหตุการณ์ปิดสนามบินในช่วงปลายปี จนมีผลกระทบลามไปถึงตลาดท่องเที่ยวด้วย ทำให้ปีนี้อาจจะได้เห็นภาวะโอเวอร์ซัปพลายของตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ได้ ตามมาด้วยผลตอบแทนที่ลดลง จากเดิมเคยอยู่ที่ 8-9% ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องระวัง เพราะปีนี้จะไม่ใช่โอกาสในการเก็บเกี่ยวของตลาดนี้อีกต่อไป โดยในช่วงปีนี้ถึงปี 2554 มีเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในกรุงเทพฯ ที่จะเปิดตัว 26 โครงการ รวม 4,778 ยูนิต มูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท

ซัปพลายใหม่มาจากทั้งบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนเชื้อสายอินเดียที่นิยมลงทุนเก็บเกี่ยวรายได้ระยะยาวจากสินทรัพย์ และกลุ่มนักลงทุนที่มีประสบการณ์จากการพัฒนาโครงการแรกๆ มาแล้ว เช่น Jasmine Resort Park&Hotel ของบริษัท สุวรรณเอสเตท ร่วมทุนกับนักลงทุนไต้หวัน เคยมีประสบการณ์พัฒนา Jasmine สุขุมวิท 23 มาแล้ว, Admiral Suites II เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ของดีเวลลอปเปอร์เจ้าของโครงการ President Park เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ใน ซ.สุขุมวิท 22 ซึ่งเป็นนักธุรกิจสิ่งทอ เชื้อสายอินเดีย โครงการนี้เป็นระดับ 4 ดาว ภายใต้เชนบริหาร คือ Compass Hospitality รวมถึงหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาด เช่น กลุ่มเตียวฮง กลุ่ม Jaspal ฯลฯ รวมไปถึงบริษัท สินทรัพย์ช่างเหมาไทย ซึ่งมาจากสมาชิกในสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยรวมตัวกัน กลายเป็นดีเวลลอปเปอร์หน้าใหม่พัฒนาเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ขึ้น เพื่อหารายได้มาเป็นค่าเช่าที่ดิน ถ.วิทยุของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทำเลที่พัฒนานอกจากในย่านเดิมๆ แล้ว ยังมีการกระจายไปยังทำเลอื่นๆ เช่น ซ.แบริ่ง ของบริษัทผลิตเคมีภัณฑ์ชื่อ กิจมาร์เก็ตติ้ง เพื่อรองรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และดีมานด์จากนิคมอุตสาหกรรมบางปูและบางปะกง รวมถึงทำเลในย่านรัชดาภิเษก, ศรีนครินทร์

ซัปพลายในตลาดรวมขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นเกรด B มากที่สุด รวม 6,707 ยูนิต คิดเป็น 63% ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในย่านสุขุมวิทมากถึง 3,372 ยูนิต ที่เหลือเป็นเกรด A รวม 3,978 ยูนิต หรือ 37% อยู่ในย่าน Central Lumpini มากที่สุด หรือ 1,651 ยูนิต หากแยกตามทำเลพบว่า สุขุมวิทเป็นทำเลที่มีการลงทุนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์มากที่สุดเกือบครึ่งหนึ่ง เพราะเป็นทำเลที่ชาวต่างชาติรู้จักดี ทำให้เป็นย่านที่มีการแข่งขันสูงที่สุด และหนีไม่พ้นที่จะต้องทำสงครามราคาเพื่อความอยู่รอด คาดว่าในช่วง 3 ปีต่อจากนี้จะมีซัปพลายใหม่ในสุขุมวิทเพิ่มอีก 3,659 ยูนิต ซึ่งระยะหลังเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์เกรด B จะทำขนาดห้องให้เล็กลง เพื่อให้คุ้มทุนเร็วขึ้น และต้องแข่งขันกับโครงการเก่าที่เคยเป็นเกรด A แต่รีโนเวทใหม่เป็นเกรด B ล่าสุดกลุ่มบริษัทบูทิค เครือข่ายของทักราลแลนด์ ของนักลงทุนชาวอินเดีย ได้ร่วมทุนกับแอสคอท์ท กรุ๊ป พัฒนาซีทาดีนส์ อพาร์ท โฮเทล 4 โครงการ สูง 8 ชั้น รวม 474 ห้อง ได้แก่ สุขุมวิท 8, 11, 16 และ 23 โดยใช้แบรนด์ “ซีทาดีนส์” ของแอสคอท์ทเข้ามาบริหาร ขนาดเริ่มต้น 25 ตร.ม. อัตราค่าเช่าเริ่มต้น 1,625 บาทต่อคืน เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวที่ต้องการที่พักทำเลใจกลางเมืองในราคาประหยัด

นอกจากนี้ยังมีบางโครงการที่รีโนเวทตึกเก่าเข้ามาเป็นซัปพลายใหม่ เช่น กลุ่มเตชะอุบลรีโนเวทตึกเก่าหลังเจซี เควิน ทาวเวอร์ อาคารสำนักงานย่าน ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ เป็นโครงการ Radison Suite และ Somerset Amar Garden ซ.นานา ข้างโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ รีโนเวทจากอพาร์ตเมนต์เป็นเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์

ในขณะที่ย่าน Central Lumpini แม้จะเป็นทำเลที่นักลงทุนสนใจมาก แต่หาที่ดินได้ยาก ทำให้อัตราค่าเช่าและผลตอบแทนของเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์เกรด A ที่มีอยู่แล้วในย่านนี้ไม่ตกลงมากนัก เพราะไม่ค่อยมีซัปพลายใหม่เข้ามาแข่งในตลาด และยังสามารถรองรับดีมานด์นอกเหนือจากกลุ่มเดิม เช่น นักท่องเที่ยวที่มาพักระยะสั้นเป็นรายวันได้ อย่างไรก็ตามค่าเช่าเริ่มทรงตัว หลังจากมีคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่และอพาร์ตเมนต์ที่นำเสนอบริการครบรูปแบบเข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดเพิ่ม

อัตราเข้าพักพบว่า ลดลงมากในช่วงไตรมาส 3 ปีที่แล้ว หลังจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกตกต่ำ มีเหตุการณ์ปิดล้อมทำเนียบและสนามบิน ทำให้เฉลี่ยทั้งปีลดลง เกรด A อยู่ที่ 68% เกรด B อยู่ที่ 70% เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์บางแห่งที่เน้นรับลูกค้ารายวันมากๆ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด จากนักท่องเที่ยวที่หายไป ทำให้อัตราการเข้าพักจากเดิมที่เคยสูงถึง 93% ตกลงเหลือเพียงกว่า 40% เท่านั้น ในขณะที่บางแห่งซึ่งตั้งอยู่ในทำเลดี ติดถนนใหญ่ อัตราการเข้าพักจะตกลงไม่มากนัก

ชาวญี่ปุ่นถือเป็นดีมานด์ใหญ่ของตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ เพราะคาดว่ามีเม็ดเงินหมุนเวียนต่อปีสูงถึง 1,500 ล้านบาท ซึ่งคนที่เกี่ยวข้องกับตลาดนี้ก็มีการปรับตัวเรื่องช่องทางการตลาด รวมกลุ่มกันก่อตั้งเป็น “ชมรมบ้านเช่าชาวญี่ปุ่น” ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลตลาดระหว่างกัน มีสมาชิก 10 ราย ทั้งเจ้าของโครงการชาวไทย อินเดีย ญี่ปุ่น รวมถึงโบรกเกอร์ และบุคคลทั่วไปที่มีคอนโดมิเนียมเพื่อลงทุนปล่อยเช่า บุญเรือน แม่นมั่น ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท สยามโคโตบูกิ จำกัด โบรกเกอร์สัญชาติญี่ปุ่นที่เป็นสมาชิกของชมรมกล่าวว่า ขณะนี้ชมรมอยู่ระหว่างเจรจากับเครือข่ายที่ญี่ปุ่น เช่น บริษัทรับขนย้ายสิ่งของ เพื่อประสานงานส่งต่อลูกค้าที่ต้องการหาที่อยู่อาศัยในเมืองไทย

ซัปพลายที่ส่อแววล้นตลาด ดีมานด์ที่ยังไม่มีทีท่าจะหวนกลับมา ตราบใดที่การเมืองและเศรษฐกิจโลกยังมีปัญหา คงเป็นเรื่องยากที่ตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ปีนี้จะเป็นโอกาสทองที่นักลงทุนจะได้เก็บเกี่ยวอย่างเช่นที่เคยในอดีต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us