Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มกราคม 2552
มาม่างัดแผนสู้วิกฤติหลังยอดตกลุยดะทั้งไฟท์ติ้งแบรนด์-ไฮเอนด์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์

   
search resources

ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์, บมจ.
พิพัฒ พะเนียงเวทย์
Instant Food and Noodle




มาม่า เดินหน้าทำตลาดเชิงรุกต่อเนื่อง พร้อมกำเม็ดเงิน 2,000 ล้านบาท ลงทุนได้ทุกเมื่อ เผยปีนี้ตั้งงบ 700 ล้านบาท เตรียมออกไฟท์ติ้งแบรนด์ 5บาทเดือนมีนาคม รับวิกฤติเศรษฐกิจ ส่วนกลางปีเปิดตัวบะหมี่แบบอบไม่ทอด ขยายตลาดส่งออกเพิ่ม คาดทั้งปีนี้โต 9%

นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์มาม่า เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯ มีแผนการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่อเนื่องในเชิงรุกมากขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์เวเฟอร์และบิสกิตด้วย เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ปีนี้ตั้งงบประมาณการลงทุนรวมไว้ที่ 500-700 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว แต่จะเน้นหนักไปทางด้านการลงทุนใหม่ ส่วนการปรับปรุงเครื่องจักรการผลิตเก่าก็มีประจำอยู่แล้ว

"ตอนนี้ที่บริษัทฯ มีเงินสดสำรองไว้พร้อมที่จะลงทุนมากกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งแนวทางการลงทุนนั้นก็มีทั้ง 2 แบบคือ การลงทุนแบบแนวดิ่งและการลงทุนแบบแนวราบ"

โดยภายในไตรมาสแรก คือ เดือนมีนาคมบริษัทฯ เตรียมที่จะออกสินค้าแบรนด์ใหม่ที่จะมีราคาขายต่ำกว่า มาม่า ที่ขาย 6 บาท คือจะวางขายราคา 5 บาท หรือเป็นไฟท์ติ้งแบรนด์ เพื่อรองรับกำลังซื้อที่หดตัวลง โดยเบื้องต้นจะวางขายจำนวน 2 รสชาติก่อน ซึ่งอาจจะเป็นรสชาติเก่าๆ ที่เคยทำมา แต่จะไม่ทำรสชาติต้มยำเพราะจะไปซ้ำกับมาม่า ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมการว่าจะใช้แบรนด์อะไร และประสานกับทางหน่วยงานภาครัฐเนื่องจากเป็นสินค้าควบคุมราคา

"ผมเชื่อว่าปีนี้การแข่งขันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องราคา ทั้งลดแลกแจกแถม" นายพิพัฒกล่าว

ขณะที่ในช่วงกลางปีนี้ก็มีแผนที่จะเปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอบ โดยไม่ใช้วิธีการทอดเหมือนแบบเดิมที่ทำตลาดมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยจะเป็นการลงทุนซื้อเครื่องจักรจากประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า Vacuum Mixer ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการ หลังจากที่วางแผนโครงการนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เหตุผลหลักๆ ที่มาม่าใช้วิธีใหม่นี้ เนื่องจากว่าจะทำให้ต้นทุนลดลงส่วนหนึ่งและผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม เพราะปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น

นอกจากนั้นแล้วในปีนี้มีแผนที่จะให้ความสำคัญกับการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในระดับสูงหรือกลุ่มไฮเอนด์มากขึ้น เพื่อตอบรับกับเทรนด์การรักษาสุภาพ แม้ว่าตลาดพรีเมียมจะยังเป็นตลาดเล็กมากก็ตาม แต่ก็เป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี

สินค้าบิสกิต เวเฟอร์ และคุกกี้ ที่มีตลาดรวม 6,500 ล้านบาท ถือว่ามีอัตราเติบโตที่ดี จะมีการลงทุนด้านเครื่องจักรเพิ่มเพื่อเพิ่มกำลังผลิตและประเภทสินค้าให้มากขึ้น

สำหรับการรุกตลาดต่างประเทศนั้น ปีนี้จะมองหาการขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น หลังจากที่อเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของมาม่ามีสัดส่วนรายได้กว่า 50% จากมูลค่าส่งออกทั้งหมดของบริษัทฯ เหลือเพียง 25% ในขณะนี้ อีกทั้งอเมริกายังได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจอีกด้วย โดยตลาดใหม่เช่น เยอรมัน ไซปรัส เม็กซิโก สเปน แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะทำตลาดยาก โดยขณะนี้มีตลาดอยู่กว่า 30 ประเทศ และมีสัดส่วนรายได้ที่ 15%

อย่างไรก็ตามนายพิพัฒ กล่าวว่า ในปี 2551 ที่ผ่านมา จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกลางปีพุ่งสูงกว่า 40 บาทต่อลิตร ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าทุกประเภท ต้องปรับราคาขึ้น ซึ่งมาม่าเองก็หนึ่งในนั้นที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่ทางตรงแต่ทางอ้อม จนทำให้ต้องปรับราคาเพิ่มอีก 1 บาท เป็น 6 บาทในขนาดซอง เพราะถ้าหากไม่ปรับราคาขึ้น ก็ไม่รู้ว่าวันนี้มาม่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเราเคยปรับราคามาเมื่อปี 2540 และล่าสุดก็คือปีที่แล้วนี้เอง

ต้นทุนหลักๆ ของมาม่า คือ ข้าวสาลี สัดส่วน 30-40% น้ำมันปาล์ม สัดส่วน 17% ซึ่ง 2 ปัจจัยนี้ถือเป็นตัวกำหนดราคาขายปลีกก็ว่าได้ ส่วนที่เหลือเช่น เครื่องปรุงรส 10% แพกเกจจิ้ง 10% ที่เหลือเป็นอื่นๆ

นายพิพัฒ กล่าวว่า วางเป้าหมายผลประกอบการของปี 2552 จะต้องเติบโต 9% ( แบ่งเป็นสินค้าเดิมโต 6% และจากสินค้าใหม่ 3%) หรือมีรายได้รวมอยู่ที่ 7,700 ล้านบาท และคาดว่าวัตถุดิบปีนี้เช่น แป้งสาลีจะมีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค แต่พื้นที่เพาะปลูกลดลง ราคายังปรับตัวสูงอยู่ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีผลทำให้ราคานั้นลดลงไม่มากเท่าปีก่อน และน้ำมันปาล์มที่รัฐบาลประกันราคาขาย ทำให้ราคาขายในประเทศสูงกว่าสถานการณ์โลก

สำหรับผลประกอบการของบริษัทฯ เมื่อปี 2551 ช่วงครึ่งปีแรกยอดขายต่ำกว่าที่คาดไว้ เพราะเมื่อขึ้นราคา 1 บาท ตลาดหายไปส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะบางช่วงยอดตกไปกว่า 30% โดยตลาดรวมตกลงประมาณ 3.2% ส่วนของมาม่านั้นตกลง 2% แต่ก็ตกน้อยกว่าตลาดรวม โดยมีรายได้รวม 7,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนหน้า 15% และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 8% จากมูลค่าตลาดรวม 10,000 ล้านบาทขึ้นไป แต่มาม่าก็มีแชร์เพิ่มขึ้นจาก 51.8% เป็น 52.1% ล่าสุดอยู่ที่ 53% ทั้งนี้ตลาดประเภทซอง มีสัดส่วน 87% จากเดิม 88% ประเภทเส้นขาว 7% เท่าเดิม ส่วนแบบคัพจาก 5% เป็น 6%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us