Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 มกราคม 2552
แบรนด์ไอทีจากเอเชีย ลดช่องว่างเทียบสินค้าตะวันตก             
 


   
search resources

Branding




ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและถดถอยทั่วโลก อาจมองว่าเป็นข่าวร้ายและภัยคุกคามการดำเนินงานทางการตลาดของผู้ประกอบการประเภทต่างๆ และบรรดาแบรนด์ในเอเชียนั้น ก็ยังมีโอกาสทางธุรกิจที่ทอดมาให้แก่บรรดาแบรนด์จากเอเชียท่ามกลางมรสุมดังกล่าว และผลักดันให้บรรดาแบรนด์จากเอเชียทั้งหลายมีช่องว่างของการดำเนินงานทางการตลาดลดลง เมื่อเทียบกับบรรดาแบรนด์จากตะวันตกทั้งหลาย ที่ล้วนแต่เป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่และทรงอิทธิพลทางการตลาด

อย่างเช่นกรณีของแบรนด์จากเอเชียในด้านไอที ซึ่งจากการศึกษาและติดตามผลการดำเนินงานของ แซดดีเนท เอเชีย และความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดไอทีได้พบว่าตลอดปี 2008 ที่ผ่านมา รายจ่ายด้านไอทีของตลาดยังคงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นท่ามกลางการชะลอตัวของการใช้จ่ายด้านต่างๆ ของลูกค้าทั่วโลก

ประการแรก กลุ่มลุกค้าด้านไอทีที่เป็นผู้ประกอบการหรือกิจการห้างร้าน โดยเฉพาะที่มีลักษณะของการใช้สินค้าไอทีประเภทฮาร์ดแวร์ แสดงออกอย่างชัดเจนว่าได้ลดความจงรักภักดีต่อตรายี่ห้อดังๆ ของผู้ประกอบการจากซีกโลกตะวันตกลงไปมาก และได้หันมาให้ความสำคัญกับการประหยัดเงินงบประมาณ และการตั้งราคาที่ต่ำเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น หรือไม่ก็ไหวตัวต่อการปรับลดราคาฮาร์ดแวร์ไอทีมากขึ้น

ประการที่สอง ผู้ประกอบการไอทีที่เป็นแบรนด์จากเอเชีย ได้หันมาเน้นความพยายามในการรุกตลาดภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกันเองมากขึ้น ด้วยการแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่เป็นแบรนด์จากเอเชียด้วยกันเอง มีความเข้าอกเข้าใจความต้องการของลูกค้าที่เป็นคนเอเชียด้วยกัน หรือเป็นกิจการจากเอเชียด้วยกันมากกว่า รวมทั้งมีบริการสนับสนุนหลังการขายที่ดีกว่า และไม่ทอดทิ้งลูกค้าเหมือนแบรนด์จากภูมิภาคอื่นๆ ที่อาจจะยังขาดความเข้าใจในความต้องการลูกค้าผ่านเอเชียน้อยกว่า

ประการที่สาม ผลการจัดอันดับของกิจการที่เป็นแบรนด์ด้านไอทีในปี 2008 ชี้ว่า มีแบรนด์ไอทีจากเอเชียติดอันดับของ ZDNET Asia’s TopTech Index เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลที่เคยจัดอันดับไว้เมื่อปี 2006

ทั้งนี้ในปี 2008 นี้มีแบรนด์ไอทีจากเอเชียที่อยู่ในรายชื่อการจัดอันดับถึง 19 ร้าน โดยมีแบรนด์หน้าใหม่จากเอเชียหลายแห่งที่ไม่เคยติดอันดับมาก่อนเลยอย่างเช่น Asustek, China Mobile, NTT Communications, ZTE เป็นต้น

เหตุผลที่ทำให้แบรนด์ไอทีจากเอเชีย มีมูลค่าของแบรนด์เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นนี้ ส่วนหนึ่งมาจากผลหรืออานิสงส์ของการลงทุนด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดแรงส่งให้แบรนด์จากเอเชียได้รับการยอมรับมากขึ้น และสามารถทะลายอิทธิพลของแบรนด์ดังระดับโลกจากซีกโลกตะวันตกมาได้

ประการที่สี่ บรรดาแบรนด์ไอทีจากเอเชียที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าแบรนด์เอเชียโดยเฉลี่ย ยังคงเป็นแบรนด์ไอทีจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวันเป็นหลัก โดยแบรนด์เหล่านี้สามารถรุกตลาดโลก หรือออกไปมีบทบาท นอกภูมิภาคเอเชียเพิ่มมากขึ้นอย่างเข้มแข็ง

ในขณะเดียวกัน แบรนด์ไอทีจากประเทศอื่น อย่างเช่นจากอินเดียและจีนก็ทำท่าว่าจะมีขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางการตลาดเพิ่มมากขึ้นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น กิจการที่มีชื่อว่า หัวเหว่ย (Huawei) ซึ่งสามารถยกระดับกิจการและไต่เต้าขึ้นมาจากการเป็นบริษัทจีนเล็กๆ และเป็นผู้ช่วยในการรุกตลาดเอเชียของแบรนด์ไอทีจากทางตะวันตกชื่อ ซิสโก้ ซิสเตมส์ จนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการระดับข้ามชาติด้วยตนเองได้แล้ว

หรืออย่างเช่นบริษัทอื่นๆ เช่น อินโฟซิส (Infosys) บริษัท ซาติแอม (Satyam) บริษัททีซีเอส (TCS) และวีโปร (Wipro) ก็ล้วนแต่อาศัยช่องทางในการเติบโตใกล้เคียงกับบริษัทหัวเหว่ย โดยผ่านประสบการณ์ในการทำงานกับแบรนด์ดังระดับโลกอย่างเช่น ไอบีเอ็ม หรือวีดีเอสมาแล้ว

ในขณะเดียวกันลูกค้าที่เป็นผู้ซื้อจากภูมิภาคเอเชียด้วยกันเองก็แสดงออกอย่างชัดเจนว่ามีความเชื่อมั่น ไว้วางใจที่จะร่วมงานทางด้านไอทีกับบริษัทจากจีนและจากอินเดียเหล่านี้เพิ่มขึ้นกว่าอดีตมาก

เหล่านี้ล้วนแต่แสดงว่าอุปสรรคและจุดอ่อนต่างๆ ที่เคยขัดขวางบทบาทของแบรนด์ไอทีจากเอเชียจากเวทีการตลาดระดับโลกเริ่มลดลง และอ่อนแรงลงตามลำดับควบคู่กับการที่บรรดาแบรนด์ไอทีจากเอเชียได้รับความไว้วางใจ และมีผลงานที่น่าประทับใจในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นเอาท์ซอร์ซ หรือรับจ้างในงานปฏิบัติการด้านไอทีด้านต่างๆ ให้แก่ลูกค้าในภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะกิจการในอินเดียจนสามารถเป็นช่องทางธุรกิจของคนอินเดียที่มีการศึกษาและขยันขันแข็งมาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางการตลาดไอทียังคงเตือนว่า หนทางข้างหน้าไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาย และยังคงมีประเด็นที่เปราะบางอีกหลายประการที่อาจจะทำให้การก้าวสู่ตลาดระดับโลกของแบรนด์ไอทีจากเอเชียสะดุดหรือชะงักลงไป ที่สำคัญที่สุดก็คือการมีแผนที่นำทางระยะยาวเกี่ยวกับไอที หรือ Technology Roadmap ที่ชัดเจนและเหมาะสม และการตั้งใจและยึดมั่นที่จะก้าวไปตามแผนที่นำทางที่วางไว้อย่างเคร่งครัด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us