Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 มกราคม 2552
ส่องปี’52-ศก.จมก้นเหว.! พังพาบทุกส่วน-วัดกึ๋น‘อภิสิทธิ์’             
 


   
search resources

Economics




กูรูประสานเสียงปีนี้เผาจริง “ส่งออก-ลงทุน-ท่องเที่ยว” หลุดเป้า ชี้ปัจจัยภายนอกหนักหน่วงศก.มะกันกดดันทั่วโลก “ประธานส.อ.ท.” ชี้ชัดๆปี2552ผู้ประกอบการมีแต่เจ๊า-เจ๊ง จี้รัฐออกมาตรการรองรับคนตกงาน ขณะที่ CPF บิ๊กอุตสาหกรรมเกษตรฯต้องปรับตัวรับวิกฤตโลก ชะลอแผนลงทุนไว้ก่อน ขณะที่นักวิชาการชูนโยบาย “การเงิน-การคลัง”กระตุ้นศก.ภายในเอาตัวรอดในภาวะวิกฤตศก.ทั่วโลก

ผ่านไปแล้วสำหรับปี “หนูไฟ” เปิดศักราชใหม่ 2552 ต้อนรับปีฉลู หรือ “ปีวัวใหญ่” ที่มาพร้อมกับโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลต้องแก้ไขนั่นก็คือ ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจของประเทศนั่นเอง ที่หลายๆคนบอกสั้นๆปีนี้ “เผาจริง” แต่หากเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะเลวร้ายไปซะหมด เพราะยังมีธุรกิจบางเซกเตอร์ที่พอจะมีโอกาสอยู่บ้าง หรือธุรกิจที่ส่อแววว่าจะล้มปีนี้แน่ๆ แต่ก็ไม่แน่ว่าจะหมดหนทาง เพราะยังไงก็ได้สู้-ได้แข่งขัน ดีกว่ายอมเหี่ยวแห้งทั้งๆที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย

ดังนั้นเปิดศักราชใหม่วันนี้ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์” ขอสำรวจธุรกิจที่พอจะลืมตาอ้าปากได้ในยามนี้ หรือบางธุรกิจที่มีแววว่าจะเจอพายุเพื่อให้ปรับตัวรับวิกฤตที่กำลังจะมาถึงได้อย่างทันท่วงที

พาณิชย์ถอดใจ-ส่งออกส่อติดลบ.!

ผ่านไปแล้ว 11 เดือน(ม.ค.-พ.ย.)ของปี2551 เหลือเพียงตัวเลขของเดือนธ.ค.ที่น่าจะแถลงตัวเลขได้ปลายเดือนม.ค. 2552 นี้โดยยอดการส่งออก 11เดือนของปีที่แล้วด้วยมูลค่า166,236 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น 19.73% การนำเข้ามูลค่า 167,398 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 30.86% ส่งผลให้ช่วง 11 เดือนแรกไทยขาดดุลการค้ารวม 1,162 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกปี 2552 กระทรวงพาณิชย์จะพยายามผลักดันให้ขยายตัวให้ได้ระหว่าง 0-5% แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าลางร้ายเริ่มจะมาถึงเพราะตัวเลขส่งออกเดือนพ.ย.เดือนพ.ย.51 มีมูลค่า 11,870 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัวติดลบ 18.59% ถือเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 6 ปี 8 เดือนนับตั้งแต่เดือนมี.ค.45 ซึ่งการส่งออกขยายตัวติดลบ 6.2% โดยทุกกลุ่มสินค้าส่งออกขยายตัวติดลบทั้งหมด

ส่วนตลาดส่งออกในเดือนพ.ย.ที่ผ่านมาพบว่าขยายตัวติดลบทุกตลาด คือ 1.ตลาดหลักลดลง 19.2% 2.ตลาดรอง ลดลง 23.9% และ 3.ตลาดใหม่ขยายตัวลดลง 15.8%

“ปีนี้กระทรวงพาณิชย์จะพยายามผลักดันให้ขยายตัวให้ได้ระหว่าง 0-5% แต่หากเลวร้ายที่สุดอาจจะขยายตัวติดลบเป็นตัวเลขเพียงหลักเดียว” ศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยืนยัน

5กลุ่มอุตฯดาวร่วง.!

อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยที่ดูจะกระทบมากที่สุดคือ

1.อุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งการผลิต การจำหน่ายในประเทศ และการส่งออก อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบรุนแรงไปทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในด้านการลงทุน และการบริโภค โดยยอดขายปีหน้าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสหรัฐอเมิรกาและยุโรป ซึ่งความผลกระทบดังกล่าวยังส่งผลต่อโครงการอีโคคาร์ที่ได้ริเริ่มโครงการไปแล้วและยังผลักดันไทยให้ห่างออกไปจากคำว่า “ฮับ”แห่งเอเชียออกไปอีกด้วย

2.เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดการณ์จะปรับตัวลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 12 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวลดลงของการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดหลักเช่น สหรัฐอเมริกา ตลาดอียู และญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดในประเทศจะทรงตัวอีกด้วยอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจมหภาคโดยรวมปรับตัวลดลง การจ้างงานลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอลง ทำให้การบริโภคโดยรวมลดลง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตปรับตัวลดลง

3.อิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวลดลงของชิ้นส่วน IC ที่ปรับตัวลดลงประมาณการว่าจะปรับตัวลดลง 6% ส่วน Semiconductor ปรับตัวลดลง 1% สอดคล้องกับสถานการณ์ชิ้นส่วน Semiconductor ในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงประมาณ 2% เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ชะลอลงในตลาดหลัก ขณะที่ส่วนประกอบ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เท่านั้น เนื่องจากผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวลดลง ซึ่งส่งสัญญาณลดลงตั้งแต่เดือนกันยายน 2551

4.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้รับผลกระทบต่อการปรับลดลงของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบของ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีทำให้ราคาปิโตรเคมีปรับลดลง และมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงได้อีกคาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2552 จะมีการแข่งขันที่สูงขึ้น และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศอาจเกิดการชะลอตัวลง

5.อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่าจะชะลอตัวลง ราคายางพารามีแนวโน้มปรับตัวลดลงรุนแรง ในขณะที่ความต้องการยางและผลิตภัณฑ์ยางจะชะลอตัวลง นอกจากนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคายางสังเคราะห์ถูกลง เมื่อยางสังเคราะห์ถูกลง ผู้บริโภคจะหันไปใช้ยางสังเคราะห์แทนยางพารามากขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้การส่งออกยางพาราลดลงอย่างรวดเร็ว

‘สิ่งทอ-รองเท้า’ดาวรุ่งปี’52

ขณะที่บางเซกเตอร์ที่ยังสามารถส่งออกได้ดีเช่น 1.สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปี 2552 คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นหลังจากที่ข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) มีผลบังคับใช้ คาดว่ายอดคำสั่งซื้อและการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 การผลิต ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้านการส่งออกจะเน้นในตลาดอาเซียนและญี่ปุ่นมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากตลาดสหรัฐ อเมริกาและสหภาพยุโรป ชะลอตัว

2.รองเท้าและเครื่องหนังจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน และเวียดนาม ยังทำให้ประเทศไทยยังสามารถส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ได้ ในกลุ่มสินค้าหนัง และผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด แต่สำหรับสินค้ากลุ่มปลายน้ำ เช่น สินค้ากระเป๋าฯ และรองเท้าหนัง คาดว่ายังมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสินค้าของไทยมีการออกแบบตรงตามต้องการของตลาดและมีคุณภาพ

3.อุตสาหกรรมอาหารใน 2552 ภาพรวมการส่งออกจะขยายตัวในเชิงปริมาณร้อยละ 14.6 ในเชิงมูลค่ารูปเงินบาทและเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.8 และ 4.2 โดยมีปัจจัยภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอเมริกา และประเทศผู้นำเข้าทั้งสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น

อย่างไรก็ดีปี2552 JTEPA มีผลบังคับใช้แล้วจะทำให้การส่งออกสินค้าเกษตร เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก ขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง และเป็นที่สนใจของผู้บริโภคญี่ปุ่น ประกอบกับตลาดยุโรปกำลังพิจารณาให้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP รอบใหม่ด้วย

สภาอุตฯประเมินมีแต่‘เจ๊ง-เจ๊า’

“สันติ วิลาสศักดานนท์” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และในฐานะคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐมนตรีกล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ว่า ปีนี้ในส่วนของการส่งออกถือว่ากระทบทั้งหมดเพราะคู่ค้าที่สำคัญของไทย 3 กลุ่มที่ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ สหภาพยุโรป เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทำให้การส่งสินค้าออกไปประเทศดังกล่าวลดน้อยลงไปมากเพราะกำลังซื้อไม่มี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น อัญมณี และ เครื่องประดับ ที่ออเดอร์สั่งซื้อลดลงไปกว่าครึ่ง

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศทั้ง 39 กลุ่มอุตสาหกรรมเมื่อมาดูแนวโน้มแล้วมีเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่น่าจะยังขยายตัวได้ในปีนี้ได้อาทิ กลุ่มสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป กลุ่มรองเท้าและเครื่องหนัง และอาหาร แต่กลุ่มอาหารมีจะยังส่งออกได้ดีแต่มูลค่าการส่งออกจะน้อยลงเพราะต้องลดลงราคาลงมา และผู้บริโภคเปลี่ยนลักษณะการบริโภคอาหารในราคาที่แพงมาเป็นเป็นอาหารที่มีคุณภาพแต่ราคาไม่สูงมากนัก

ส่วนอุตสาหกรรมที่น่าจะได้รับผลกระทบในปีหน้าอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี และเม็ดพลาสติก

ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศน่าจะมีปัจจัยบวกจากเรื่อง ดอกเบี้ยที่ต่ำลง ราคาน้ำมันที่ถูกลง และเงินเฟ้อที่จะต่ำในปีหน้าสิ่งเหล่านี้จะทำให้คนในประเทศใช้เงินมากขึ้น บริโภคมากขึ้น น่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจในประเทศกระเตื้องขึ้นมาก็ได้

ทว่าอีกปัญหาที่น่ากังวลในปีนี้คือ เรื่องการลงทุนของภาคเอกชนเพราะเสถียรภาพของรัฐบาลและความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมาทำให้ความเชื่อมั่นในสายตาของนักลงทุนตกต่ำลงไปเห็นได้ชัดเจนจากตัวเลขการลงทุนที่ผ่านมาในปีที่แล้ว แต่จากการได้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศทำให้ชาวต่างชาติที่สนใจลงทุนในประเทศไทยกำลังรอดูเสถียรภาพทางการเมืองไปอีกสักระยะก่อนจะเข้ามาโดยนักลงทุนเหล่านี้ยังกังวลเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลที่มีพรรคร่วมจำนวนมาก และความวุ่นวายทางการเมืองจากกลุ่มคนเสื้อแดงอีก

ที่สำคัญการส่งออกในปีนี้หากได้เท่ากับปีที่แล้วภาคเอกชนก็พอใจแล้ว หรือขยายตัวได้ 5% เหมือนที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ก็ยิ่งดี ส่วนการลงทุนปีนี้เชื่อว่าน่าจะลำบาก BOI ต้องทำงานหนักมากหากต้องการได้ตามเป้าหมาย

นอกจากนี้แล้วรัฐบาลต้องมีแผนรองรับคนว่างงานโดยสภาอุตสาหกรรมฯ ประมาณการว่า งบประมาณที่จะต้องใช้ตามมาตรการดังกล่าว น่าจะเพิ่มจากรัฐบาลเดิมที่ได้ทำไว้แล้ว 1,500 ล้านบาท โดยตัวเลขในภาพรวมอาจเพิ่มขึ้นมาจะอยู่ในระดับประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งอาจขอใช้เงินจากการเพิ่มงบประมาณกลางปี 2552จำนวน 100,000 ล้านบาทได้

CPF ปรับแผนรับมือวิกฤตโลก.!

“อดิเรก ศรีประทักษ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือCPF กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ว่า ในปีนี้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกถือว่าเกิดวิกฤติโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกิดวิกฤติการเงินแล้วลามไปทั่วโลก ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำซึ่งส่งจะผลให้เศรษฐกิจหลายภูมิภาคในโลกติดลบรวมทั้งประเทศในเอเชีย ขณะที่ประเทศไทยตอนแรกหลายสำนักคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะโตประมาณ 3-4 % ล่าสุดก็ประเมินใหม่เหลือแค่ 1-2 % เท่านั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ามาจากผลกระทบจากการเมืองภายในประเทศที่ไม่นิ่ง และเพิ่งจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในระยะนี้ อย่างไรก็ดียังเป็นข่าวดี ในแง่ทางภาคธุรกิจที่มีความรู้สึกมั่นใจมากขึ้น

คาดว่าหลายๆ ประเทศอยากจะอาศัยอานิสงส์ที่เกี่ยวพันกับประเทศจีน แล้วมาช่วยให้ประเทศของตัวเองดีขึ้น รวมทั้งประเทศไทยเราที่คงหวังอาศัยอานิสงส์จีน ว่าน่าจะเป็นตัวที่จะมาช่วยขับเคลื่อนได้

ส่วน CPF ในปีหน้าในแง่ของยอดขายอาจจะไม่ได้โตขึ้นจาก 150,000 ล้านบาทเท่ากับปีที่แล้ว (2552) เพราะจากวิกฤติที่เกิดขึ้นคาดว่ากำลังซื้อจะอ่อนลง แม้จะเป็นอาหารก็ตามจึงไม่ได้หวังว่าคนจะกินมากขึ้น หรือใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งคาดว่า ถ้าจะโตประมาณ 5 % เท่านั้น แต่ในแง่ผลการดำเนินงาน หรือกำไร CPF คาดว่าจะทำได้ดีไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากน้ำมันที่เคยขึ้นไปสูงถึง 140 เหรียญฯ ตอนนี้ได้ลดลงมาเหลือประมาณ 40 เหรียญฯ มีผลทำให้วัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันมีราคาลงมาด้วย อย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลืองที่เป็นวัตถุดิบหลักในการนำมาเลี้ยงสัตว์ก็มีราคาลดลงมาค่อนข้างเยอะ ค่าขนส่ง

จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ CPF เชื่อว่าจะทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ถูกลง ประกอบกับที่ผ่านมา บริษัทพยายามเร่งรัดในเรื่องของการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย รวมถึงระบบอัตโนมัติมาใช้ ที่ช่วยให้การผลิตมีต้นทุนถูกลง ขณะเดียวกันก็ได้มีการควบคุมเรื่องการลดพลังงาน การใช้ประสิทธิภาพต่างๆ ในทุกส่วนของบริษัทให้มีประสิทธิภาพสูง สิ่งต่างๆ เหล่านี้น่าจะเป็นส่วนที่ทำให้เราเชื่อว่า แม้ว่ายอดขายจะไม่โตขึ้นแต่ว่าผลกำไรที่เราได้ในปี 2552 น่าจะไม่ต่ำกว่าปี 2551 ที่ผ่านมา

ด้านการลงทุนของ CPF ปีหนึ่งจะลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเป็นการลงทุนในเรื่องการขยาย การแปรรูปอาหาร การขยายธุรกิจในต่างประเทศ แต่1-2 ปีนี้ (2552-2553) จะชะลอเรื่องการลงทุน เพราะเศรษฐกิจถดถอย โดยการลงทุนจะลงทุนเพียงครึ่งเดียวของปกติเป็น 2,000 ล้านบาทหรือ 2,000 กว่าล้านบาทโดยเน้นการลงทุนในเรื่องของการแปรรูปอาหาร การลงทุนด้านการตลาด เรื่องช่องทางการขาย เรื่องแบรนด์ และลงทุนในประเทศที่เห็นว่ามีศักยภาพ เช่น รัสเซียจะมีการขยายการลงทุนต่อเนื่อง เพราะเป็นประเทศที่ยังมีศักยภาพในการเติบโต ทั้งธุรกิจอาหารสัตว์ และเนื้อสัตว์ ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง

ด้านประเทศมาเลเซียจะเป็นฐานของการผลิตสินค้าฮาลาล และเข้าถึงกลุ่มมุสลิมได้ง่าย โดยตอนนี้ก็ให้ฐานที่มาเลเซียเจาะเข้าไปในกลุ่มประเทศมุสลิมน่าจะมีโอกาสง่ายกว่า เพราะว่าเป็นชนชาติเดียวกัน และเอื้อเฟื้อการค้าขายซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นนโยบายที่เราให้ที่มาเลเซีย

สำหรับที่อินเดีย CPF เน้นการลงทุนด้านอาหารกุ้งซึ่งธุรกิจสัตว์น้ำ CPF เป็นเบอร์หนึ่งที่อินเดีย แต่ธุรกิจสัตว์บกยังไม่ใหญ่กำลังสำรวจตลาดหากว่าตลาดโตขึ้นก็อาจจะเพิ่มการลงทุนในอินเดียด้วยก็ได้

ดังนั้น CPFจะมุ่งไปที่ตลาดในประเทศรัสเซีย อินเดีย ตุรกี และมาเลเซีย ที่ได้ไปลงทุนไว้แล้วเป็นหลัก

โดยรายได้ของCPF ปีนี้ 150,000 ล้านบาทโตจากปี 2550 ประมาณ 15 % สัดส่วนรายได้จากปีนี้มาจากการขายในประเทศประมาณ 60-65 % และรับเงินที่ไปลงทุนในต่างประเทศเข้ามาประมาณ 16-18 % และเป็นการส่งออกอีกประมาณ 16-18 %

ชงนโยบาย ‘การเงิน-การคลัง’ กระตุ้น.!

ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเงินการคลัง สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้ว่า ต้องยอมรับว่าภาคการส่งออกของไทยดูจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดโดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งในปีหน้าเศรษฐกิจสหรัฐฯคาดการณ์กันว่าจะติดลบตั้งแต่ไตรมาส1-2 ทำให้การส่งออกไปตลาดดังกล่าวลดลงอย่างแน่นอน ขณะที่สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นก็เป็นอีกตลาดที่เกี่ยวเนื่องตลาดสหรัฐฯทำให้ความต้องการสินค้าไทยลดลงตามไปด้วย ซึ่งทั้ง 3 ประเทศมีสัดส่วนของการส่งออกทั้งหมดเกือบ 70% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย

ขณะที่สินค้าฟุ่มเฟือยอาทิ เครื่องประดับ อัญมณี รถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นสินค้าแรกๆที่ความต้องการซื้อลดลงอย่างมาก ผลที่ตามมาคือยอดขายตกต่ำและคนงานในโรงงานเหล่านี้ที่อยู่ในเมืองไทยต้องตกงานตามมา

โดยการส่งออกของไทยในไตรมาส1-2 จะยังทรุดต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้ว แต่คาดว่าเมื่อการเมืองนิ่ง ความเชื่อมั่นกลับมาไตรมาส 4 น่าจะได้เห็นตัวเลขการส่งออกที่ดีขึ้นได้

อย่างไรก็ดีภาพรวมเศรษฐกิจโลกปัจจัยหลักจะมาจากวิกฤตในประเทศสหรัฐฯทำให้เศรษฐกิจโลกจะโตแค่1-1.5% จากที่เคยโตในระดับ 3.5 % ต่อปีแต่ไทยก็ยังสามารถเพิ่มตลาดใหม่ๆในการส่งออกได้ในหลายๆประเทศเช่น ประเทศจีนที่คาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจจะยังขยายตัวที่ 7.5-8% หรืออย่างประเทศอินเดียที่คาดการณ์กันว่าอาจจะโตถึง 6% หรือแม้แต่เศรษฐกิจในประเทศอาเซียนด้วยกันที่อาจจะโตถึง 3-4 % การเจาะตลาดเหล่านี้เพิ่มเติมจะช่วยแชร์ส่วนแบ่งที่ขาดหายไปในตลาดหลักได้

ด้านการท่องเที่ยวประเมินกันว่าครึ่งปีแรกจะยังไม่ฟื้นตัวเนื่องการปิดสนามบินสุวรรณภูมิในช่วงปลายปีที่ผ่านมาประกอบกับกำลังซื้อในกลุ่มยุโรปและสหรัฐฯลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศไม่ดีทำให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้จะลดลงอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าปลายไตรมาส 4 ของปี 2552 ทุกอย่างน่าจะคลี่คลายเพราะถึงตอนนั้นความเชื่อมั่นจะกลับมา การเมืองนิ่ง และนักท่องเที่ยวจะวางแผนการเดินทางในช่วงไฮซีซั่นจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง

ขณะที่การลงทุนเชื่อว่าปีนี้น่าจะยังชะลอตัวออกไปอีกปีเพราะต่างชาติยังไม่มั่นใจในเสถียรภาพทางการเมืองของไทย ความเชื่อมั่นยังไม่กลับมาในระยะเวลาอันสั้น แต่ภาครัฐควรจะมีโครงการลงทุนเมกกะโปรเจกต์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนไปพลางๆก่อนที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามา

จากสภาปัญหาทั้งเรื่อง ด้านการส่งออก ด้านท่องเที่ยว ด้านการลงทุนทำให้ประเมินว่า GDP ของไทยในปีหน้าจะโตแค่ 1% เท่านั่น และการประเมินจำนวนคนตกงานในปีหน้าอย่างคร่าวๆคือ GDP 1% ต่อการจ้างงาน 400,000 คนปีที่แล้ว(2551) GDP โต 4% แต่ปีนี้โตแค่ 1% ทำให้ขาดหายไปถึง 3% จึงคาดหมายกันว่าปีนี้จะมีคนตกงานประมาณ 1,200,000 คนเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดีนโยบายการคลังและการเงินของรัฐบาลจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้าได้โดยมีงบประมาณปี 2552 ได้ตั้งงบประมาณแบบขาดดุลไว้ประมาณ 249,000ล้านบาทและงบประมาณกลางปีอีก 100,000 ล้านบาทรวมทั้งของบประมาณเพิ่มได้อีก 80,000ล้านบาท เมื่อนำมารวมกันจะได้งบประมาณก้อนใหญ่ประมาณ 429,000 ล้านบาท ซึ่งหากนำมาบริหารจัดการที่เป็นประโยชน์ จัดทำโครงการลงทุนระยะยาวเช่นเมกกะโปรเจกต์จะช่วยกระตุ้นการจ่ายของประชาได้พอสมควร

ด้านอัตราดอกเบี้ยจะมีการปรับลดลงมาอีกโดยในวันที่ 14 ม.ค. 2552 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดว่าจะลดลงมาอีก 0.5-1% จากที่เพิ่งลดลงมา 1% จาก 3.75 เหลือ 2.75 เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาและปีนี้อาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเรื่อยจนติดเพดาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us