Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532
น้ำมันเตาสามารถลอยตัวได้เลย โดยที่ไม่ต้องรอให้เงินกองทุนหมด             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร

   
search resources

เทียนไชย จงพีร์เพียร
Oil and gas




กองทุนน้ำมันนี่นะครับ พูดกันจริง ๆ แล้วข้อดีของมันก็คือรักษาเสถียรภาพของราคาเท่านั้น อย่าไปเข้าใจผิดคิดว่ามีกองทุนแล้วจะทำให้ราคาน้ำมันถูก เพราะกองทุนเพียงแต่รักษาเสถียรภาพของราคาไม่ให้มันขึ้นหรือลงอย่างรุนแรงเท่านั้นเอง แต่ถ้าดูย้อนหลังไปในระยะยาวจริง ๆ แล้วนี่จะเห็นว่าประชาชนก็ไม่ได้อะไรจากการที่มีกองทุนถ้ามองในแง่ที่ว่าทำให้ราคาน้ำมันถูกลง

คือในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างในปี 2529 จากบาร์เรลละ 28 เหรียญ เหลือเพียงบาร์เรลละ 15 เหรียญหรือลดลงถึงประมาณ 40% รัฐบาลก็ปรับราคาขายปลีกลงด้วย แต่ไม่ได้ปรับเท่ากับราคาตลาดโลกที่ลดลง และส่วนต่างที่เหลือจากรัฐบาลก็เก็บเข้ากองทุนไว้ เพราะฉะนั้นในกรณีนี้ถ้าไม่มีกองทุนประชาชนก็จะได้ใช้น้ำมันในราคาถูกกว่าที่รัฐบาลกำหนด แต่ที่นี้เมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น รัฐบาลก็เอาเงินที่สะสมไว้นั้นมาจุนเจือ จุดประสงค์ก็เพื่อจะรักษาระดับราคาน้ำมันให้มีเสถียรภาพ

เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วจะเห็นว่ามันเป็นเพียงการโยกย้ายเงินเท่านั้นเอง จากที่สะสมไว้ในยามมีก็เอามาใช้ในยามยาก เพราะฉะนั้นถ้าจะมองประโยชน์ของกองทุนวาทำให้ราคาน้ำมันถูกนี่ไม่จริง

เพราฉะนั้นข้อดีของกองทุนก็คือทำให้มีเสถียรภาพของราคา แต่ข้อเสียประการสำคัญคือรัฐบาลมักจะคุมให้ราคาคงที่ติดต่อกันเป็นระยะเวลาอันยาวนานเกินควร ทำให้ราคาขายปลีกไม่ได้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงของน้ำมันที่เราใช้อยู่ในช่วงที่ราคาน้ำมันลดนี่ ประชาชนควรจะได้ประโยชน์จากการที่น้ำมันถูกอย่างเต็มที่ เพื่อจะเป็นตัวเร่งรัดให้เศรษฐกิจขยายตัวเท่าที่ควรจะเป็นเพราะว่าต้นทุนการผลิตถูกลง เนื่องจากราคาน้ำมันถูก การนำเข้าน้ำมันก็ไม่เป็นภาระแก่ประเทศมาก ก็น่าจะสนับสนุนให้มีการใช้น้ำมันราคาถูกกันก็ปรากฎว่ามันก็มได้ถู่กลงเท่าที่ควร เพราะเหตุว่าต้องไปเก็บเงิน เข้ากองทุนเสียส่วนหนึ่งก็ได้ประโยชน์เต็มที่

แต่พอน้ำมันแพง การนำเข้านี่จำเป็นจะต้องมีการประหยัดน้ำมันกันเพราะว่า เราต้องเสียเงินตราต่างประเทศซื้อเข้ามา ก็ปรากฏว่า ไปคุมราคาไว้ไม่ให้มันขึ้นเพราะว่าคนใช้ไม่ทราบถึงต้นทุนที่แท้จริงของน้ำมัน เขาก็ใช้ยังกับว่า ราคาน้ำมันยังถูกอยู่ ก็เป็นสิ่งที่เสียหายต่อประเทศชาติเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นไม่ว่าน้ำมันจะขึ้นหรือลง ราคาที่เราไปควบคุมโดยใช้กองทุนนี่จริงอยู่มันมี เสถียรภาพแต่ในด้านเศรษฐกิจแล้ว มันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนัก เพราะฉะนั้นเมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างความมีเสถียรภาพของราคา (หรือเสถียรภาพทางการเมือง) และราคา อันสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงแล้ว ผมคิดว่าควรจะให้น้ำหนักแก่อันหลังให้มากกว่าที่เป้นมาในอดีต

ถ้าเงินกองทุนในอนาคตนี่รัฐบาลจะต้องทำอย่างไร ในที่สุดถึงจุด ๆ หนึ่งแล้วรัฐบาลก็ต้องขึ้นราคาน้ำมัน เพราะกองทุนไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ราคาน้ำมันเพราะกองทุนไม่ใช่สิ่งท่จะทำให้ราคาน้ำมันคงที่ไปได้ตลอดที่ไหนกัน เมื่อถึงจุดนั้นแล้วราคาน้ำมันก็ต้องขึ้น แต่ข้อเสียของการปล่อยให้เงินกองทุนหมดแล้วค่อยปรับ นี่คือจะต้องปรับขึ้นค่อนข้างมาก จะเป็นการปรับครั้งใหญ่

เพราะว่าอย่างในปัจจุบันแล้วนี่ รัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยโดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 65 สตางค์ต่อลิตร ถ้าเกิดถึงวันที่จะต้องขึ้นราคา อย่างน้อยก็ต้องปรับขึ้นเท่าที่ชดเชยไป คืออย่างน้อยก็จะไม่ลบไม่บวกซึ่งจะต้องปรับราคาขึ้นราวๆ 8-10% แทนที่จะใช้วิธีว่าพอเงินกองทุนร่อยหรอลงก็ปรับเป็นระยะ ๆ ไป แต่ปรับครั้งละน้อย อันที่หนึ่งก็จะได้ประโยชน์ในแง่ที่ว่าประชาชนจะมีความรู้สึกว่าน้ำมันแพงขึ้น ก็น่าจะเริ่มมีการประหยัดน้ำมันกันบ้าง อันที่สองก็น่าจะเป็นการยืดอายุกองทุนให้ยาวออกไป การใช้ก็ถูกต้องขึ้นและก็หลีกเลี่ยงการที่จะต้องปรับราคาน้ำมันกันคราวละมาก ๆ

แต่ถ้ารัฐบาลใช้วิธีรอจนกว่าเงินกองทุนหมดจึงค่อยปรับ เพราะเกรง ผล กระทบทางการเมืองเมื่อถึงเวลาที่จะต้องปรับ ก็ต้องปรับกันใน ราคาสูงทีเดียว เว้นแต่วาจะเกิดปรากฎการณ์ว่าราคาน้ำมัน ในตลาดโลกเกิดลดลงก่อนที่ เงินกองทุนจะหมดแต่ถ้ามันไม่ลด ถึงแม้ว่าจะใช้มาตรการทางภาษีมาช่วย โดยการลดภาษีลงก็คงจะช่วยยืดอายุกองทุนออกไปได้ไม่นานประมาณเดือนหรือสองเดือนเท่านั้นเองจากนั้นแล้วก็คงต้องถึงเวลาที่ รัฐบาลจะต้องตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรกันต่อไป เพราะกองทุนมันหมดแล้ว

ทีนี้ถ้าเผื่อว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แล้วรัฐบาลก็ต้องชดเชยไปเรื่อย ๆ ถึงจุด ๆ หนึ่ง เงินกองทุนก็คงจะต้องหมดลงนอกจากจะมีการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกในช่วงนี้ พอถึงจุด ๆ หนึ่งรัฐบาลก็มีทางเลือกอยู่ 3-4 ทาง อันแรกรัฐบาลก็อาจจะยืดอายุของกองทุนออกไปอีกโดยการลดภาษีลงอีก ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าทางกระทรวงการคลังจะยอมหรือเปล่า

อันที่สองรัฐบาลก็อาจจะทำอย่างที่เคยทำในอดีตคือปล่อยให้เงินกองทุนติดลบ หมายถึงว่ารัฐบาลก็ยังคงชดเชยต่อไป โดยที่ไม่ขึ้นราคาขายปลีกแต่ปล่อยให้เงินกองทุนติดลบไปเรื่อย ๆ อันที่สามต้องปรับราคาขายปลีกขึ้น อันที่สี่คือปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัว ทางเลือกก็มีอยู่แค่นี้เท่าที่เห็นนะครับ

ทางเลือกสองทางแรกคงเป็นไปได้ยาก เพราะกระทรวงการคลังคงจะไม่ยอมลดภาษีลงไปอี และบริษัทน้ำมันคงจะประท้วงถ้าให้กองทุนติดลบ คือรัฐบาลต้องติดเงินชดเชยให้บริษัทน้ำมันไว้ก่อน ดังนั้นรัฐบาลควรจะต้องปรับราคาขายปลีกขึ้นเมื่อกองทุนหมด

แต่การปรับราคาขายปลีกก็มีทางเลือกอยู่หลายทางเหมือนกัน ถ้าเป็นในอดีตก็ปรับราคาขายปลีกขึ้น แต่ปรับในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน ก็หมายความว่าให้ผู้ใช้น้ำมันบางประเภทรับภาระมากกว่าผู้ใช้น้ำมันอีกประเภทหนึ่ง ก็อาจจะในทำนองว่าให้ผู้ใช้น้ำมันเบนซินรับภาระมากกว่าผู้ใช้น้ำมันดีเซล

แต่ถ้าใช้วิธีนี้มันก็จะกลับไปรูปเดิม คืออาจจะสร้างความบิดเบือนในโครงสร้างราคาน้ำมันอีกในขณะที่ตอนนี้ความบิดเบือนได้ลดน้อยลงไปมากแล้ว อันเป็นผลมาจากรัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างตั้งแต่ปี 2529 ช่วงราคาน้ำมันโลกตกต่ำในคราวนั้น รัฐบาล ก็ได้ถือ โอกาสปรับปรุงโครงสร้างราคาน้ำมันให้ดีขึ้น หมายถึงว่าช่องว่างระหว่างราคาน้ำมันเบนซินกับดีเซลนี่มันแคบลง อัตราภาษี น้ำมันดีเซลก็ใกล้เคียงกันมากขึ้นแล้วก้มีการเก็บภาษีน้ำมันเตาและโครงสร้างราคาแก๊สแอลพีจีก็ไม่บิดเบือนเพราะมีการปรับราคาขายปลีกของ แอลพีจี ซึ่งขายในขนาดต่าง ๆ ให้เท่ากัน

ดังนั้นโครงสร้างราคาน้ำมันในปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าถูกต้องมากขึ้น การใช้ก็เป็นไปในสิ่งที่ควรจะเป็น ดังนั้นผมจึงคิดว่า รัฐบาลคงจะไม่ปรับราคาในลักษณะที่จะนำไปสู่การบิดเบือนอีก

ตอนนี้ก็มาถึงจุดที่รัฐบาลจะต้องปรับราคาขายปลีก ซึ่งมีทางเลือกอยู่ 2-3 ทางที่รัฐบาลจะต้องทำ แต่ก็มีการพูดถึงอีกทางหนึ่งอยู่เหมือนกันว่ารัฐบาลอาจจะปล่อยน้ำมันลอยตัว ซึ่งอันนี้ก็เป็นไปได้อยู่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร

ในการปล่อยน้ำมันลอยตัว นี่จะดูรวมทั้งหมดคงจะไม่ได้ เนื่องจากว่าน้ำมันแต่ละชนิดลักษณะการค้าไม่เหมือนกัน ผู้ใช้ก็ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างก็คือ น้ำมันเตานี่เป็นน้ำมันที่มีลักษณะการค้าส่ง การค้าซึ่งผู้ซื้อกับผู้ใช้มีการติดต่อกันโดยตรง ถ้าซื้อเป็นจำนวนมากก็มีการต่อรองราคากัน มีการให้ส่วนลด มีการให้เครดิตระยะยาว เพราะฉะนั้นก็เป็นการค้าที่มีการแข่งขันกันสมบูรณ์อยู่แล้วราคาซื้อขายก็ไม่ได้เป็นราคาขายปลีก มีการตัดราคากัน เพราะฉะนั้นก็เป็นราคาลอยตัวหรือกึ่งลอยตัวอยู่แล้ว

ฉะนั้นถึงแม้จะกึ่งลอยตัวในปัจจุบัน โดยไม่คุมราคาขายปลีก มันก็ไม่มีผลอะไร และแท้ที่จริงแล้ว ราคาน้ำมันเตาในปัจจุบันก็คุมกันอยู่แค่ 3 จังหวัดเท่านั้นคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ส่วนที่เหลือทั้งหมดของประเทศก็ไม่มีการคุมกันอยู่แล้ว บริษัทน้ำมันก็แข่งขันกันดี ในส่วนจังหวัดอื่น ๆ ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรถึงแม้จะยกเลิกราคาควบคุมไปก็คงไม่มีผล และผู้ใช้ก็เป็นผู้ใช้ในวงการอุตสาหกรรมซึ่งมีอำนาจต่อรอง เป็นตลาดของผู้ซื้อ เพราะฉะนั้นในส่วนของน้ำมันเตานี่ไม่น่าเป็นห่วง สามารถลอยตัวได้เลย โดยไม่ต้องรอให้เงินกองทุนน้ำมันหมดเสียก่อน

ที่นี้ถ้าเป็นน้ำมันชนิดอื่น ๆ ก็ต้องดูให้รอบคอบมากกว่านั้น โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลและเบนซินเพราะลักษณะการค้ามันต่างกันจากน้ำมันเตา เพราะเป็นการค้าปลก มีผู้ค้าหลายระดับ ตั้งแต่ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าระดับบริษัท และผู้ค้าปลีกคือระดับปั๊ม ผู้ค้าแต่ละระดับมีลักษณะการค้าที่ไม่เหมือนกัน

เนื่องจากว่าเป็นการค้าปลีกก็ทำให้มีปัญหาขึ้นมาว่จะมีการฮั้วกันหรือไม่ ในระดับผู้ค้าน้ำมันตั้งแต่ผู้ส่งจนถึงผู้ค้าปลีกจะมีการฮั้วกันหรอืไม่ผมก็มีความเห็นว่การฮั้วกันหรือไม่นี่ขึ้นอยู่กับสภาวะการแข่งขัน ถ้ามีการแข่งขันกันมาก โอกาสฮั้วกันก็คงจะลำบาก เพราะว่าทุกคนก็คงจะต้องรักษาผลประโยชน์ของตนเอง อย่างเช่นในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งมีสถานีบริการน้ำมันอยู่มากถึง 425 แห่ง การแข่งขันจึงมีสูงมาก ในกรณีนี้ผู้ค้าปลีกย่อมจะได้ประโยชน์จากการแข่งขันทางด้านราคาซึ่งปัจจุบันไม่มี

ที่คนเป็นห่วงมากก็คือต่างจังหวัด เพราะต่างจังหวัดมันอาจจะไกลหูไกลตาหน่อย บางจังหวัดอาจจะมีปั๊มไม่มากพอ อาจจะรู้กันและฮั้วกันได้แต่ในความเห็นของผม เมื่อดูจากลักษณะการค้าแล้วนี่ ผู้ค้าคงจะฮั้วกันไม่ได้นาน ด้วยเหตุผลหลัก ๆ 2 ประการคือ ธุรกิจน้ำมันเป็นธุรกิจเงินหมุน และธุรกิจมันมีการลงทุนสูง ผู้ค้าจึงต้องการขายให้ได้ประมาณมาก ๆ เพื่อจะลดต้นทุนต่อหน่วย ประการแรกธุรกิจน้ำมัน เป็นลักษณะการค้าที่ใช้เครดิตหรือเงินเชื่อ คือบริษัทผู้ค้าปลีกและส่งนี่จะได้รับเครดิตจากบริษัทผู้ค้าน้ำมันมาประมาณ 7-15 วัน แต่เวลาขาย เขาขายเอาเงินสดเข้ามาเพราะฉะนั้นผู้ค้าจะต้องรีบขาย เพื่อเอาเงินสดมาก่อน แล้วเอาเงินไปหมุนยังได้กำไรจากส่วนนี้อีก เพราะว่าเขายังไม่ต้องให้บริษัทน้ำมันในทันที

เพราะฉะนั้นก็จะทำให้มองเห็นแรงจูงใจว่าทำไมผู้ค้าน้ำมันจึงแข่งขันกันขาย แทนที่จะฮั้วกันเพราะการทำอย่างนั้นจะหมุนเงินได้ช้าลง หรือขายได้น้อยลง ซึ่งมันขัดกับลักษณะการค้าน้ำมันและอันที่สอง คือผู้ค้าแต่ละรายในความเห็นของผมแล้วเขามีต้นทุนไม่เท่ากัน บางคนก็มีต้นทุนสูงบางคนก็มีต้นทุนต่ำ เพราะบางคนมีประสิทธิภาพในการบริหารในขณะที่บางคนไม่ค่อยจะมี

ฉะนั้นการฮั้วกันนี่ก็หมายความว่าจะต้องไปขายกันในราคาของผู้ค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งราคาต้องสูงกว่าแน่นอน ทั้งนี้ในระยะสั้นเขาอาจจะทำได้เพราะอาจจะรู้จักกัน แต่ในระยะยาวแล้วนี่คนที่จะได้ประโยชน์ก็คือคนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเขาไม่มีคู่แข่งขัน แต่เขาก็ยังได้กำไรในอัตราที่เขาเคยได้ ในขณะที่คนอื่นที่มีประสิทธิภาพในการบริหารสูงกว่าจำเป็นจะต้องเสียสละปริมาณการขายที่เขาควรจะได้ ในแง่ที่ว่าเขาสามารถขายได้ในราคาถูกกว่าคนอื่นเขาก็ไม่ได้ขาย เพราะเกรงใจเพื่อนฝูงกัน ผมคิดว่าในเชิงการค้าแล้วมันทำได้ยากนระยะยาว ถึงแม้จะเป็นญาติกันก็ตามเพราะประโยชน์ของแต่ละคนมันก็สำคัญโดยเฉพาะธุรกิจน้ำมันผลกำไรึ้นอยู่กับปริมาณการขายโดยตรง บริษัทน้ำมันทุกแห่งก็ให้ส่วนลดแก่ลูกค้าแบบขั้นบันไดคือถ้าซื้อมากส่วนลดก็จะมากขึ้นเป็นลำดับ

แม้แต่ในต่างจังหวัดก็ตาม ในความคิดของผมโอกาสของผู้ค้าจะลดราคายิ่งมีมากกว่าผู้ค้าในกรุงเทพฯเสียอีก เนื่องจากว่าในต่างจังหวัดเขาจะได้กำไรจากค่าขนส่งด้วย ในกรุงเทพฯนี่ราคาที่รัฐบาลตั้งไว้นี่เป็นราคาซึ่งจะประหยัดค่าขนส่งได้น้อยกว่าและส่วนมากบริษัทผูค้าจะนำรถมาส่งถึงปั๊มอยู่แล้ว แต่ในต่างจังหวัดปั๊มที่ใหญ่โตพอก็มกจะมีรถบรรทุกเป็นของตนเอง เขาก็สามารถ่จะเอารถเหล่านั้นมารับน้ำมันที่กรุงเทพฯและก็กลับไปต่างจังหวัด ในราคาขนส่งที่ถูกกว่าราคาที่รัฐบาลตั้งเพราะว่ารัฐบาลได้ตั้งราคาขนส่งไว้ทุกจุดเลอย่างเช่นเชียงใหม่ในปัจจุบัน รัฐบาลตั้งราคาขนส่ง 40 สตางค์ต่อรัฐ เขาก็อาจจะขนได้ในราคา 35 สตางค์ต่อลิตรจากการที่เขาเอารถมารับเอง เขาก็สามารถเอากำไรส่วนนี้ไปลดราคาขายปลีกได้ เหมือนกับว่าเขามีประสิทธิภาพในการบริหารกิจการดีขึ้น ต้นทุนต่อลิตรของเขาก็ถูกลง เพราะฉะนั้นเขาก็น่าจะตัดราคาได้มากกว่าและขายได้มากกว่าเพื่อเอาส่วนลดสูง ๆ ผมก็ยังไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมเขาจะต้องไปฮั้วกับคนอื่น ๆ ด้วย

ในทางปฏิบัติสถานีบริการในต่างจังหวัดมักจะขายส่งด้วย เช่นจะขายให้แก่รถบรรทุรถโดยสารขาประจำหรือโรงสี ในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายปลีกควบคุม และมีการแข่งขันกันสูงมากผู้ค้าที่มีความได้เปรียบเรื่องการขนส่ง มักจะตัดราคาเพื่อแย่งลูกค้าจากผู้อื่นอยู่แล้วในรูปของการแจกแถม

การแจกแก้วน้ำแก่ลูกค้าที่เติมน้ำมัน 300 บาท เท่ากับตัดราคาขายปลีกลง 8 สตางค์ต่อลิตร

แต่ก็อาจจะมีบ้างในบางกรณี อย่างเช่นอำเภอห่างไกล มีปั๊มเดียวขายผูกขาดอยู่ อันนี้ไม่ใช่การฮั้วแต่เป็นเพราะมีปั๊มเดียว แต่ในความคิดของผมแล้ว ในปัจจุบันนี้มันก็ยากนะครับที่จะโก่งราคาเพราะข่าวสารข้อมูลมันค่อนข้างกว้างขวาง อย่างผมเองซึ่งเคยออกไปดูการค้าน้ำมันในต่างจังหวัดหลายครั้งเห็นว่าปัจจุบันเครือข่ายในการค้าน้ำมันในต่างจังหวัดค่อนข้างดี มีกันแทบทุกจุดที่มีชุมชนอย่างกรณีบางท้องที่ไม่มีปั๊มอยู่ แต่ก็จะสังเกตุเห็นมีปั๊มมือหมุนหรือปั๊มหลอดแก้ว ซึ่งชาวบ้านเป็นคนเอามาขายเองเต็มไปหมดทั่วประเทศ พูดได้ว่ามีประชาชนอยู่อาศัยถึงจุดไหนก็มีน้ำมันถึงจุดนั้น

เนื่องจากว่าลักษระการค้าน้ำมันมีการขยายตัวค่อนข้างดีอย่างนี้นี่เอง โอกาสที่ใครจะผูกขาดที่จุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะนี่คงจะลำบาก แม้ว่าจะมีจุดบอกอยู่บ้าง ซึ่งอันนี้ก็ต้องพิจารณาดูเป็นราย ๆ ไป แต่โดยทั่วไปแล้วมีการแข่งขันค่อนข้างมากในต่างจังหวัด ทั้งระดับขายส่งและระดับขายปลีก และเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่ารัฐบาลก็กำลังสนับสนุนให้มีผู้ค้าปลีกน้ำมันมากขึ้นในอนาคตอยู่แล้ว

พูดถึงราคาน้ำมันลอยตัวโดยทั่ว ๆ ไปลอยตัวคำเดียวนี่หมายถึงการลอยตัวสมบูรณ์มีการแข่งขันกันทุกจุดเหมือนอย่างในประเทศพัฒนแล้ว เขาจะไม่มีการตั้งราคาหน้าโรงกลั่นไม่มีการตั้งราคานำเข้า และก็จะไม่มีกองทุนน้ำมันเขาก็จะตั้งอัตราภาษีไว้ในอัตราที่คงที่เท่านั้นเอง ส่วนราคานำเข้า หน้าโรงกลั่นและขายส่งก็ให้ขึ้น-ลงตามสภาวะของราคาน้ำมันโลก หรือตามต้นทุนที่แท้จริง หรือว่าตามสภาวะการแข่งขันและราคาขายปลีกก็ลอยตัวกันอย่างเสรีไม่มีการตั้ง

แต่สำหรับบ้านเรา ถ้าลอยตัวก็ต้องดูกันว่าจะให้ลอยตัวกันแบบไหน ถ้าลอยตัวกันจริง ๆ ไม่คุมราคานำเข้าไม่คุมราคาหน้าโรงกลั่น ในกรณีนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีเงินกองทุน เพราะฉะนั้นราคาขาปลีก็จะเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว คือมีการขึ้นลงตลอด จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลกมันผันผวนกันขนาดไหน แต่อย่างไรก็ตามราคาที่ขายก็จะสะท้อนถึงราคาต้นทุนที่แท้จริงของน้ำมัน

แต่ถ้าเป็นแบบกึ่งลอยตัว ซึ่งผมเห็นว่าถ้าเมืองไทยจะทำก็ควรจะเริ่มที่กึ่งลอยตัวก่อน ลองดูก่อนว่าเราจะทำได้แค่ไหน ส่วนกึ่งลอยตัวก็คือมีการตั้งราคาหน้าโรงกลั่น ราคานำเข้า และยังมีการตั้งเงินกองทุนและภาษี แต่ปล่อยให้ราคาขายปลีกเปลี่ยนแปลงอย่างเสรี อันนี้จะสร้างความเคยชินให้กับประชานว่าราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ก็จะไม่มากจนเป็นที่น่าตกอกตกใจ หรือจนมีผลในทางร้าย เพราะยังมีกองทุนอยู่ ในระยะยาวก็ค่อย ๆ ลดบทบาทของเงินกองทุนลง โดยให้เปลี่ยนแปลงในช่วงที่จำกัด แล้วยกเลิกไปในที่สุด

ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการลอยหรือกึ่งลอยตัวของราคาน้ำมัน คือผู้ซื้อปลีกจะซื้อน้ำมันหน้าปั๊มในราคาที่มีการแข่งขันกันมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ส่วนผู้ซื้อส่งคือซื้อเป็นจำนวนมาก ๆ ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะเขาซื้อในราคาลอยตัวอยู่แล้ว

ทีนี้เราจะเริ่มที่ไหนก่อน ผมว่าน่าจะทำให้เขตที่มีการแข่งขันกันมาก่อน เช่นกรุงเทพฯซึ่งทุกคนมีความรู้สึกมั่นใจ เพราะว่ามีปั๊มน้ำมันมากโอกาสที่จะรวมกันตั้งราคาคงไม่มี ต่างคนต่างค้าขายกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นกรุงเทพฯก็น่าจะเป็นสนามที่น่าทดลอง จากนั้นแล้วถ้าเห็นว่ามีการแข่งขันกันดีขึ้น เนื่องจากผู้ค้ามีการตัดราคากัน ก็จะนำไปสู่การขยายผลในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น

ผมคิดวาน่าจะเป็นการเริ่มต้นที่เหมาะสม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us