Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มกราคม 2552
เปิดนโยบายซีเอสอาร์ธนชาต เติบโตอย่างยั่งยืนไปกับท้องถิ่น             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารธนชาต

   
search resources

ธนาคารธนชาต, บมจ.
Banking and Finance




ในหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มธนชาต อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ในเรื่อง CSR ที่ว่า “เติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณธรรม และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนหรือช่วยเหลือชุมชนท้อง ถิ่นและสังคมอย่างเข้าใจ ตั้งใจจริงและต่อเนื่อง จากความร่วมมือกับพนักงาน พันธมิตร ชุมชนท้อง ถิ่น และสังคม” ดังนั้น พอแยกแนวทางในการดำเนินงานในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ของทางกลุ่มธนชาต ออกได้เป็นภาพใหญ่ๆ 2 ด้าน ดังนี้

ในการดำเนินธุรกิจปกติขององค์กร (Business for Social Responsibilities) ซึ่งก็เป็นไปตามวิสัยทัศน์ในเรื่อง CSR ที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นแล้วว่าต้องเติบโตยั่งยืนอย่างมีคุณธรรม โดยตลอด 28 ปีที่เราได้ดำเนินธุรกิจการเงินมานั้น ธนชาต ได้ยึดมั่นที่จะไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่โครงการใดที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือเป็นภัยต่อสังคม ฯลฯ หรือสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ช่วยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สินเชื่อ NGV ที่ร่วมมือกับ ปตท. โดยอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0% ผ่อนนาน 36 เดือน

หรือการให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือการศึกษาระดับสูง อันได้แก่ Scholar Loan สำหรับผู้ศึกษาระดับปริญญาโท แม้กระทั่งในเรื่องของการดูแลพนักงานขององค์กรเป็นอย่างดีและเหมาะสม ฯลฯ ซึ่งในแนวทางนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กรของกลุ่มธนชาต ที่เราได้ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด และจะยึดมั่นในการปฏิบัติตลอดไป โดยในแนวทางนี้ทางสโกเทียแบงก์ ก็มีแนวคิดและแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับธนชาต ซึ่งทางธนชาต ก็จะได้จัดวางระบบให้มีการดำเนินงานเป็น International Best Practices โดยร่วมมือกับทางสโกเทียแบงก์ อันจะทำให้กลุ่มธนชาต เป็นองค์กรที่เป็นที่ยอมรับของสังคมในระยะยาว ตามที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ด้าน CSR

การดำเนินกิจกรรมที่ทำเพื่อสังคม (CSR Activities) โดยกิจกรรมเหล่านี้อาจเป็นการดำ เนินการเอง หรือการชักชวนผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาร่วมในการช่วยเหลือสังคม เนื่องจากเราดำเนินธุรกิจการ เงิน ไม่ได้มีความชำนาญในทุกๆ เรื่อง ดังนั้นแล้วในบางกิจกรรมอาจจะต้องสร้างพันธมิตรในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุจุดหมายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการชักชวน Stakeholders ต่างๆ มาร่วมกัน เพื่อให้กิจกรรมที่ทำเพื่อสังคมประสบความสำเร็จในวงกว้าง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้ ได้ถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

Central CSR เป็นกิจกรรมสังคมของส่วนกลาง ซึ่งจะริเริ่มโครงการจากส่วนกลางซึ่งจะได้รับการอนุมัติโครงการโดย CEO สำหรับการดำเนินการอาจจะเป็นการดำเนินการโดยส่วนกลาง หรือมีส่วนร่วมจากแต่ละสำนักงานเขต โดยขอบเขตของกิจกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมใดๆ ของกลุ่มธนชาต ซึ่งได้พิจารณามาจากความผูกพันกับธุรกิจที่เราดำเนินการ หรือจาก Brand Personality (DNA) ของกลุ่มธนชาต ทำให้สามารถแบ่งกิจกรรมออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1.เพื่อการศึกษาหรือพัฒนาเยาวชน 2.เพื่อพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของผู้ด้อยโอกาสในสังคม 3.เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน 4.เพื่อสุขภาพและสุขอนามัย 5.เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องการช่วยลดภาวะโลกร้อน และเรื่องการประหยัดพลังงาน

Hub CSR เป็นกิจกรรมสังคมของแต่ละสำนักงานภาคในภูมิภาค และฝ่ายเครือข่ายสาขากรุงเทพฯ (HUB) ของธนาคารธนชาต ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีความเป็นส่วนของสังคม และเป็นที่ยอม รับในสังคมที่ธนาคารดำเนินธุรกิจอยู่ ดังนั้นกิจกรรมของแต่ละ HUB นั้น ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละความต้องการหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นในสังคมนั้นๆ Hub CSR จึงเป็นกิจกรรมที่ศึกษาและริเริ่มโดยแต่ละ HUB และนำเสนอต่อส่วนกลาง ซึ่งจะมีคณะทำงานกลั่นกรองเพื่อทำการพิจารณาก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณา Hub CSR โดยการดำเนินงานนั้น Hub CEO จะเป็นผู้ดูแลในการดำเนินงาน ซึ่งจะประสานงานกับส่วนกลางสำหรับสิ่งที่ต้องการให้ทางส่วนกลางสนับสนุน โดยในแต่ละปีนั้นทางธนาคารจะมีงบประมาณจัดสรรไว้สำหรับกิจกรรมสังคมของแต่ละ HUB ซึ่งปัจจุบันนี้ธนาคารธนชาต มี HUB ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และภูมิภาคอยู่ทั้งหมด 21 แห่ง

HUBงามวงศ์วานนำร่อง “ปั่นลดมลพิษ พิชิตโลกร้อน”

นายวิชา กุลกอบเกียรติ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารและบริหารแบรนด์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง นโยบายของธนาคารธนชาต เกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคม ว่าธนาคาร มีนโยบายให้สำนักงานเครือข่าย (HUB)มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่สำนักงานสาขาของธนาคารและบริษัทในกลุ่มธนชาตเปิดให้บริการ เพื่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและร่วมดูแลชุมชนที่สาขาเปิดให้บริการอยู่ สำหรับการจัดกิจกรรม “ปั่นลดมลพิษ พิชิตโลกร้อน” นี้

เนื่องจากเห็นว่า ปัญหาโลกร้อน เป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคมที่ทางธนาคารธนชาตให้ความสำคัญเสมอมา จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยโครงการนี้ ทางธนาคารธนชาต โดยสำนักงานเครือข่าย HUB งามวงศ์วาน ได้จัดทำจุดจอดรถจักรยานจำนวน 20 จุด เพื่อมอบให้กับเทศบาลนครนนทบุรี เพื่อเชิญชวนและรณรงค์ให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรีหันมาเดินทางโดยใช้รถจักรยานกันมากขึ้น ทั้งการเดินทางไปธุระในจุดใกล้เคียง หรือใช้จักรยานเพื่อมาจอดที่จุดจอดเพื่อเดินทางต่อไปยังจุดหมายอื่นด้วยพาหนะต่างๆ เช่น รถประจำทาง

ซึ่งเป็นการช่วยลดการใช้พาหนะที่ใช้น้ำมัน ส่งผลให้ลดการเผาผลาญพลังงาน ลดการปล่อยมลพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน” โดยจุดจอดรถจักรยานทั้ง 20 จุดนั้น จะติดตั้งบริเวณถนนสายหลัก 7 สายคือ ถนนประชาราษฎร์, ถนนกรุงเทพ-นนท์, ถนนติวานนท์, ถนนสามัคคี, ถนนสนามบินน้ำ, ถนนประชาชื่น และถนนรัตนาธิเบศร์ ซึ่งจุดจอดรถจักรยานทั้งหมดนี้ เป็นจุดจอดที่ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง

สาเหตุที่ทางธนาคารธนชาตเลือกการใช้จักรยานในการรณรงค์ลดโลกร้อนในครั้งนี้ก็เพราะ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย บางคนอาจมองว่า การขี่จักรยานเพื่อลดภาวะโลกร้อนนั้นเป็นวิธีที่ธรรมดา แต่ธนาคารธนชาตเชื่อว่า เพียงแค่ทุกคนร่วมมือกัน เรื่องธรรมดานั้นจะกลายเป็นผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

ในวันเปิดโครงการ มีการเดินขบวนและขี่จักรยานเพื่อรณรงค์ไปตามเส้นทางต่างๆ โดยมีผู้ร่วมรณรงค์จาก ธนาคารธนชาต และประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรีจำนวนกว่า 300 คนโดยเส้นทางการขี่จักรยานรณรงค์นั้นเริ่มจาก ธนาคารธนชาต สาขานนทบุรีเดินทางไปรอบๆหอนาฬิกา หลังจากนั้นมุ่งหน้าไปยังสี่แยกกรุงเทพ-นนท์ และทำพิธีส่งมอบจุดจอดรถจักรยานให้กับทางเทศบาลนครนนทบุรี ที่บริเวณท่าน้ำนนท์ จ.นนทบุรี โดยมี นายสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนนทบุรี เป็นผู้รับมอบ

กิจกรรมในครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะความร่วมมือของหลายๆฝ่าย มีประชาชนให้ความสนใจและหันมาใช้จักรยานในการเดินทางกันมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกคนร่วมกันเอาใจใส่ในการลดมลพิษกันมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us