Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532
คุณคิดว่า….ผมควรไปพบจิตแพทย์ไหม             
 


   
search resources

อรุณ เชาวนาศัย
Health




ไม่บ่อยครั้งนักที่จะได้ยินคำพูดทำนองนี้ออกจากปากนักธุรกิจในบ้านเรา และโดยส่วนมากก็ไม่ใคร่มีใครคิดถึงจิตแพทย์กันนักในสังคมตะวันตกนั้น แทบจะกล่าวได้ว่าจิตแพทย์มีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับนักธุรกิจ ไม่เป็นเรื่องแปลกประหลาดที่จะมีจิตแพทย์ประจำตัว แต่ถ้าหากเป็นสังคมไทยแล้ว นักธุรกิจผู้นั้นจะถูกมองว่ามีปัญหาทางจิตประสาท เผลอ ๆ ถูกมองว่าเป็น "บ้า" ไปเลยก็มี

อันที่จริงมูลเหตุที่ทำให้คิดถึงจิตแพทยืได้นั้นมาจากเรื่องใกล้ตัวเพียงนิดเดียวคือความเครียด ซึ่งไม่ใช่ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวแล้วหายไป แต่ความเครียดในที่นี้หมายถึงสภาวะจิตใจที่ได้รับแรงกดดันจนมีอาการปรากฎทางกาย ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่สามารถควบคุมได้

หมออรุณ เชาวนาศัย จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากอเมริกัน บอร์ดแห่งกองจิตเวชประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าอธิบายถึงอาการเครียดประเภทนี้อันส่งผลให้เกิดโรคของนักบริหารที่เป็นกันในหมู่นักธุรกิจใหญ่ ๆ 3 โรคด้วยกันคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ซึ่ง 2 โรคนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันสักเท่าใดว่ามีมูลเหตุมาจากความเครียดได้ และโรคที่ 3 คือบุคลิกภาพผิดปกติที่ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดปัญหากับผู้ร่วมงาน

ในทางจิตเวชนั้นพวกที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมักเป็นผู้ที่มีความเครียดเป็นประจำ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติทั้งวันทั้งคืนเกินกว่า 80 ครั้ง / นาทีซึ่งเป็นอัตราในคนปกติ พบมากในผู้ที่มีรูปร่างอ้วนล่ำ ชอบสังคมพบปะผู้คน พูดเสียงดังโวยวาย

แต่ถ้าผู้ที่มีความเครียดเป็นปะจำเกิดเป็นประเภทคนผอม เจ้าความคิด หมกมุ่น พวกนี้จะเป็นโรคกระเพาะอาหารมากกว่า ซึ่งจัดเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของนักบริหาร

ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและ โรคกระเพาะอาหารนี้เกิดจากประสาทอัตโนมัติที่ไม่สามารถบังคับได้ พวกนักบริหารที่มีงานเครียดหรืองานเร่งรัดมาก น้ำย่อยจะหลั่งออกมาเป็นธรรมดา ถ้าเจรจาการค้ามูลค่าเป็นแสนหรือล้าน ยังพอทำเนา แต่ถ้าเป็นสิบล้าน ร้อยล้าน กระทั่งพันล้านขึ้นมาแล้วย่อมเกิดความเครียดได้โดยง่าย

โดยทั่วไปผู้ที่เกิดอาการทางกายเหล่านี้มักจะรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะทางกระเพาะอาหารหรือความดันโลหิตสูงโดยตรง ซึ่งหากมูลเหตุหลักของอาการเกิดมาจากความเครียดแลว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญนั้น ๆ ก็จะต้องปรึกษาหารือแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์

มีนักบริหารน้อยรายมากที่เดินเข้ามาหาจิตแพทย์โดยตรง พวกนี้จะเป็นพวกที่ค่อนข้างรู้พอสมควรว่าจิตแพทย์จะช่วยอะไรเขาได้บ้าง "ในแต่ละสัปดาห์จะมีคนไข้ประจำที่ดูอยู่เกือบทุกอาทิตย์ซึ่งใหญ่จริง ๆ รวยจริง ๆ ประมาณ 10 คน และหมอคนอื่นก็ยังมีอีกแยะ รวมถึงโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่งจะมีจิตแพทย์ประจำ" หมออรุณเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

นับว่าเป็นตัวเลขที่มากพอสมควรถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่จิตแพทย์ถูกมองว่าเป็นเรื่องของหมอรักษาคน "บ้า" เท่านั้น หมออรุณและพรรคพวกกลุ่มหนึ่งได้พยายามต่อสู้กับความคิดนี้ ด้วยการตั้ง "คลิกนิกจิต-ประสาท" ขึ้นมาโดยตรงที่เชิงสะพานลอยวิภาวดีเมื่อปี 2528 ซึ่งในช่วง 2 ปีแรกต้องทนดูการขาดทุนเดือนละ 2-3 หมื่นบาททุกเดือน

อย่างไรก็ดี เรื่องความไม่รู้เกี่ยวกับการรักษาของจิตแพทย์นั้นเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้คนไม่คุ้นเคยกับการไปพบจิตแพทย์ยังมีปัจจัยสำคัญในเชิงสังคมวัฒนธรรมอีกหลายอย่างที่ทำให้คนมองข้ามจิตแพทยืไป

ในเรื่องของวัฒนธรรมความเชื่อถือ สำหรับคนไทยนั้น อะไรก็ตามที่เป็นเรื่องของนามธรรมหรือปรัชญาแล้วคนไทยยังไม่ค่อยยอมรับ เช่น หากไม่สาบายปวดท้องปวดหัว คนมักจะชอบเอกซเรย์มากกว่าที่จะมานั่งคุยกับจิตแพทย์

ประการต่อมาการมานั่งคุยกับจิตแพทย์นั้น จะต้องมีการเปิดเผยประวัติภูมิหลังของชีวิตในทุกช่วงตอนอย่างละเอียดหรือมากพอที่จะให้จิตแพทย์วิเคราะห์หาสมุฎฐานของโรคได้ ตัวอย่างเช่น สมมุติวาลูกเกเร ติดยาเสพติด ไม่ไปโรงเรียน เมื่อพ่อแม่มานั่งต่อหน้าจิตแพทย์จะต้องเล่าประวัติภูมิหลังให้ฟัง เพาะว่าจริง ๆ นั้นลูกไม่เคยป่วย ใคร ๆ ก็รู้ว่าเด็กออกมาบบริสุทธิ์มาก สภาพแวดลอมและการเลี้ยงดูต่างหากที่มีส่วนทำให้พฤติกรรมเด็กเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการที่พ่อแม่ซึ่งมีตำแหน่งสูงส่งในทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทประกันภัย หรือประธานกรรมการบริหาร หรือกระทั่งรัฐมนตรีก็จะต้องมาเปิดเผยเรื่องราวของตนเองให้จิตแพทย์ฟังวัฒนธรรมเช่นนี้ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยยอมรับกันสักเท่าใดนัก

ถ้าเทียบกับการไปหาพระ หมอดูหรือพวกทรงเจ้าเข้าผีแล้ว ยังมีคนกลุ่มหนึ่งให้ความเชื่อถือในศาสตร์เหล่านี้ ซึ่งมีรากฐานทางสังคมวัฒนธรรมไทยมากกว่าวิชาจิตเวชที่เป็นศาสตร์ซึ่งมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบระเบียบในยุโรปและสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม หมออรุณให้ความเห็นว่าสภาพปัจจุบันดีขึ้นกว่าเมื่อ 5-10 ปีก่อนาก เพราะเริ่มมีการยอมรับจิตแพทย์มากขึ้น ถ้าเผื่อคนไข้ไปหาหมอโรคกระเพาะ แล้วหมอบอกให้มาหาจิตแพทย์ คนไข้ก็จะมาโดยดีไม่มีปัญหา

นอกจากการมีจิตแพทย์ประจำตัวที่สามารถพูดคุยด้วยได้เดือนละครั้ง - สองครั้งแล้ว ปัจจุบันยังมีการจัดโปรแกรมประเภท "พัฒนาบุคลิกภาพตนเอง" "ฝึกผ่อนคลายความเครียด" และโปรแกรมอื่น ๆ ที่มีชื่อเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษเช่น "SELF-HELP" "WHO AM I" รวมทั้ง "SUPPORTED GROUP", "ALCOHOLIC GROUP" รับผิดชอบโดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาโดยจัดให้กับบริษัทใหญ่ ๆ ธนาคาร ห้างร้านต่าง ๆ ซึ่งกลายเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับให้ผ่อนคลายความเครียดและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ โปรแกรมเหล่านี้อาจทำให้ไม่เกิดคำถามประเภท "ไปพบจิตแพทย์ดีไหม" "เขาจะช่วยอะไรผมได้บ้าง"

ขณะที่สังคมธุรกิจไทยเริ่มกลายเป็นสังคมที่มีความสลับซับซ้อนอย่างมากตามขีดขั้นการพัฒนา ปริมารและประเภทของธุรกิจอุตสาหกรรมที่แตกแขนงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น บทบาทของจิตแพทย์ก็เริ่มเป็นที่สนใจ และได้รับการยอมรับมากขึ้นตามลำดับในฐานะผู้ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาอาการทางจิตและประสาท

ภายใต้ความตึงเครียดของสังคมธุรกิจปัจจุบัน คำถามประเภทที่ว่าควรไปพบจิตแพทย์ดีไหม จะลดน้อยลง แต่จะมีคำถาม "คุณมีจิตแพทย์ประจำตัวหรือยัง" ขึ้นมาแทน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us