|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์นอกหนุนไทยใช้ยาแรงพยุงเศรษฐกิจ หนุนแบงก์ชาติประชุมกนง.รอบแรก 14 มกราฯนี้ลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.50% และคาดทั้งปีลดลง 1.50% ระบุจากการส่งออกที่ทรุดตัวลงมาก-เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ เปิดช่องให้ดำเนินนโยบายได้เต็มที่ ส่วนจีดีพีปีนี้ขยายตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ประเมินโต 1.5% หวังภาคการเมืองนิ่ง เศรษฐกิจสหรัฐฯถึงจุดต่ำสุดในกลางปีนี้ ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าแตะ 36-36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนช่วงครึ่งหลังจะเพิ่มแข็งค่าขึ้น 5-7%
นายไมเคิล สเปนเซอร์ หัวหน้าสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจ สายงานบริหารการเงินและอนุพันธ์ทางการเงิน ประจำภาคพื้นเอเชีย ธนาคารดอยช์แบงก์ เปิดเผยว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ของประเทศไทยในปีนี้จะอยู่ที่ 1.5% ถือเป็นอัตราที่ได้ประเมินถึงปัจจัยเสี่ยงทางด้านการเมืองรวมไว้แล้ว โดยคาดว่าการเมืองไทยจะมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งการขยายตัวของจีดีพีนั้นถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มจะถดถอยลง ส่วนการขยายตัวของจีดีพีในปี 2551 ที่ผ่านมา น่าจะอยู่ที่ 4.5% และในปี 2553 น่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.2%
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะต้องรอดูแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลว่าจะออกมาอย่างไรบ้าง หากทางภาครัฐมีการใช้จ่ายงบประมาณได้ดี มีการลงทุนก็จะทำให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวได้ โดยเชื่อว่าในปีนี้การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น 2.4% การใช้จ่ายภาคประชาชนเพิ่มขึ้น 2.9 % การลงทุนเพิ่มขึ้น 1.8 % การส่งออกติดลบ 1 % และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 0.8% ส่วนในปี 2553 การลงทุนภาครัฐน่าจะอยู่ที่ 7% การใช้จ่ายภาคประชาชนอยู่ที่ 4% การส่งออกเพิ่มขึ้น 6.6% และการนำเข้าอยู่ที่ 8.7% สำหรับตัวเลขเงินเฟ้อของปีนี้เชื่อว่า จะอยู่ที่ 0.7 % และปี 2553 อยู่ที่ 1 %
ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้จะปรับลดลง 1.50% จากโดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 14 ม.ค.นี้ เชื่อว่ากนง.จะตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย 0.50 %สาเหตุเกิดจากตัวเลขการส่งออกถดถอย เงินเฟ้อปรับตัวลดลงและการใช้จ่ายของประชาชนลดลง ดังนั้น ธปท.ต้องใช้ยาแรงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกับธนาคารกลางของหลายๆประเทศที่ปรับลดดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา
ขณะที่ค่าเงินบาทของไทยในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้เชื่อว่าจะอ่อนตัวมาอยู่ที่ 36.00-36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯหลังจากนั้นจนถึงสิ้นปีค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าขึ้น 5-7 %ส่วนในปีหน้าคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นายไมเคิลกล่าวอีกว่า ขณะที่เศรษฐกิจโลกในปีนี้ขยายตัว 0.2% โดยเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาติดลบ 2% ญี่ปุ่นติดลบ 3% ยุโรปติดลบ 2.5% ขณะที่เอเชียรวมญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.6 % อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯจะถึงจุดต่ำสุดในช่วงกลางปีนี้ จากนั้นก็จะเริ่มฟื้นตัว โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในปีหน้าจะกลับมาขยายตัว 1.6 %
ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเริ่มฟื้นตัวได้เป็นเพราะทางรัฐบาลสหรัฐฯเข้าไปช่วยเหลือภาคการเงิน ทำให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์ฟื้นกลับมาอีกครั้ง หลังจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ตกต่ำสุดในรอบ 50 ปี ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ก็ตกต่ำสุดในรอบ 27 ปี อย่างไรก็ตาม จากการฟื้นตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ทำให้การลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มขึ้น
"เศรษฐกิจโลกโดยรวมจะชะลอตัวอีก 1-2 ปี เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะมีปัญหาอีก 2 ปี ส่วนทางยุโรปจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 3 ของปีนี้ หลังจากที่เริ่มมีปัญหาตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว โดยเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 2.6% สาเหตุเกิดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวในครั้งนี้"
สำหรับเศรษฐกิจของประเทศจีน จะได้รับผลกระทบจากการส่งออก และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัว ประกอบกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของจีนกว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี ดังนั้น จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจของจีนปี 2551 ที่ผ่านมา ขยายตัว 9 % และในปีนี้ขยายตัว 7 % และในปีหน้า เชื่อว่าจะเติบโต 6.6 %
"วิกฤตการเงินในรอบนี้จีดีพีของทางเอเชียจะมีการชะลอตัวลงมาตามเศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรป แต่ถ้าประเมินเทียบกับช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้นในปี 2540 นั้นการส่งออกค่อนข้างที่จะชะลอตัวหนัก แต่วิกฤตในรอบนี้ไม่คิดว่าจะแย่เท่ากับในช่วงอดีตแน่นอน"
ส่วนวิกฤตเครดิตที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯนั้น ในช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้วถือว่าเป็นช่วงที่แย่ที่สุด แต่ทางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ทำการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธนาคาร และมีแผนที่จะเข้าไปถือหุ้นในธนาคารเพิ่มอีกด้วย ซึ่งการเข้าช่วยของธนาคารกลางนี้จะช่วยให้ธนาคารและสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) สามารถปล่อยกู้ได้ดีขึ้น
ทั้งนี้คาดว่าในช่วงกลางปีนี้สิ่งที่รัฐบาลของสหรัฐฯ จะเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มอีกจะมีมากถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
"เรื่องเครดิตถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่หากแก้ปัญหาได้ หรือปล่อยกันได้ง่ายขึ้นก็จะมีผลต่อการเติบโตของการใช้จ่ายของประชาชน อย่างไรก็ตามการเข้าช่วยเหลือของทางการสหรัฐฯนั้นมองว่าจะทำให้ปัญหาเครดิตจะพัฒนาดีขึ้น เพราะรัฐบาลของสหรัฐฯการันตีว่าแบงก์จะไม่ล้ม ซึ่งประเทศญี่ปุ่นก็ใช้วิธีการเดียวกัน และเมื่อทำแล้วปัญหาทุกอย่างก็ดูดีขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนของยุโรปรัฐบาลก็พยายามที่จะส่งเสริมให้มีการกู้ยืมเพื่อไปซื้อรถยนต์หรือกู้ยืมเพื่อไปใช้เกี่ยวกับเรื่องของการศึกษา เป็นต้น"
|
|
|
|
|