|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บล.เอเซีย พลัส ประเมินตลาดหุ้นไทยปีฉลูไม่โต มูลค่าการซื้อขายเฉลียใกล้เคียงกับปีก่อนที่ระดับ 1.5 หมื่นล้านบาท ระบุปีนี้จะเริ่มเห็นบริษัทโบรกเกอร์ขนาดเล็กควบรวมกิจการเพื่อเสริมความแข็งแกร่งมากขึ้น ขณะที่นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มหวนคืนตลาดหุ้นไทยปลายไตรมาส 2/52
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP และในฐานะนายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ในปี 2552 ธุรกิจหลักทรัพย์มีแนวโน้มน่าจะปรับตัวดีขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นไทยในปี 52 ที่คาดการณ์จะปรับตัวจากปีที่ผ่านมา หลังจากปี 51 ธุรกิจหลักทรัพย์ได้ตกต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์จะใกล้เคียงกับปี 51 ที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยนต่อวันประมาณ 16,000 บาทต่อวัน
ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ขนาดเล็กที่มีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ต่ำกว่า 2% จะดำเนินธุรกิจได้ลำบากกว่าบริษัทหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ ดังนั้นบล.ขนาดเล็กจะต้องเร่งสร้างความแข็งแกร่งและรุกธุรกิจที่บริษัทมีความชำนาญ และหารายได้อื่นๆ เข้ามาเสริม และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
สำหรับแนวโน้มการควบรวมกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ (M&A) นั้น นายก้องเกียรติ กล่าวว่า ในปีนี้น่าจะมีการควบรวมกิจการของบริษัทที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้เริ่มที่จะมีการเจรจาบ้างแล้ว แต่จะสามารถดำเนินการได้เรียบร้อยหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย
“ปี 51 ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงค่อนข้างแรง แต่ธุรกิจหลักทรัพย์ยังสามารถอยู่ได้ และในปีนี้น่าจะดีกว่าปีที่ผ่านมาที่เป็นปีที่แย่ที่สุดในรอบหลายๆ ปี แม้เศรษฐกิจไทยปีนี้จะไม่ดี แต่มูลค่าการซื้อขายตลาดหุ้นไทยคงไม่เลวร้ายไปกว่านี้”
นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ บล.เอเซียพลัส กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเมินมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยตลาดหุ้นไทยไว้ที่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทต่อวัน หลังจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งจะกดดันให้กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนของไทยปรับตัวลดลงประมาณ 8%
“ภาวะตลาดหุ้นไม่เอื้อต่อการลงทุน บวกกับนักลงทุนหันมาส่งคำสั่งซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งมีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) อยู่ที่ 0.15% ต่ำกว่าการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) จะส่งผลกระทบต่อรายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์และผลการดำเนินงานของโบรกเกอร์ด้วย”
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ไม่ดีจากวอลุ่มตลาดที่ลดลงหรือใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และยังคงได้รับผลเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (มาร์จิ้นโลน) โดยบล.ที่มีมาร์เกตแชร์ต่ำ กว่า 1% จะอยู่รอดลำบาก นอกจากจะมีธนาคารพาณิชย์สนับสนุนเงินทุน ซึ่งจะทำให้เกิดการควบรวมกิจการมากขึ้น เช่น บล.เคทีบี และบล.ซีมิโก้ ที่มีการทำควบรวม และจะเห็นการปิดสาขาของโบรกเกอร์มากขึ้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการดำเนินงานลดลง
สำหรับการที่นักลงทุนต่างชาติมีการชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจากที่มีการขายหุ้นออกไปเพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินนั้น ทำให้โบรกเกอร์ที่มีฐานลูกค้าเป็นนักลงทุนต่างชาติได้รับผลกระทบ ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกนักลงทุนจะยังไม่กลับเข้ามาลงทุน แต่คาดว่าจะกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้งในช่วงปลายไตรมาส 2/52
“ผลประกอบการของบล.ยังคงไม่ดี จากที่ยังได้รับผลขาดทุนจากการปล่อยมาร์จิ้นอยู่และวอลุ่มที่มีการปรับตัวลดลงและทรงตัวใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ค่าคอมมิชชันต่ำลงจากนักลงทุนหันมาเทรดผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น จากมีค่าคอมมิชชั่นที่ต่ำกว่าเทรดผ่านมาร์เกตติ้ง ดังนั้นบริษัทหลักทรัพย์จะต้องมีการหารายได้อื่นเข้ามาเสริม และมีการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น” นางภรณี กล่าว
|
|
|
|
|