|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ท่ามกลางแม่สีอันร้อนระอุ สีเขียวยังคงสอดแทรกประปรายแบบไม้ประดับอยู่ในสังคมไทย กระแสสิ่งแวดล้อมแม้จะปรากฏขึ้นหลากหลายวาระ หลายกลุ่ม หลายพื้นที่ แต่ก็ยังไม่สามารถประสานพลังร่วมกันได้ ยกเว้นเรื่องที่เป็น hot issue อย่างโลกร้อน
ในปีที่ผ่านมา สื่อมวลชน บริษัทห้างร้าน งานโฆษณา และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ต่างรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมและโลกร้อนหลายต่อหลายแคมเปญ ชักชวนผู้คนให้ Save the Earth ถือถุงผ้า ไม่ใช้โฟม เก็บขยะ ลดพลังงาน ปิดไฟ ปลูกต้นไม้ ทำอะไรสักอย่างเพื่อล้างบาปของการใช้ทิ้งใช้ขว้างอันน่าละอายใจ
แม้ว่ากลุ่มอนุรักษ์สุดขั้วจะเห็นว่า นี่เป็นเพียงการตลาดภายใต้โครงสร้างความ คิดแบบเดิม ไม่ได้ชะล้างอิทธิพลของลัทธิบริโภคนิยมให้เจือจางไปสักเท่าไร แต่กลยุทธ์ เช่นนี้ก็นับเป็น win-win policy สมานฉันท์ สมประโยชน์ ดีกว่าทำอะไรไม่ได้เลย เพราะ ไม่ว่ายุคนี้หรือยุคไหน กลไกตลาดของ Adam Smith ก็เป็นพลังที่มองไม่เห็น แต่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของโลก นับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ปัญหาโลกร้อน คือผลรวมของการเดินทางผิดของมนุษย์ การตื่นตัวแต่ยังไม่ตื่นรู้ ทำให้เกิดกิจกรรมและข้อเรียกร้องมากมายเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ตลาดจึงเอื้อม เข้ามามีบทบาทอีกครั้ง เป็นตลาดจริงมีผู้ซื้อ ผู้ขาย และมีสินค้าให้เล่นคือคาร์บอนเครดิต โดยมีกลไกสำคัญเรียกว่า CDM-Clean Development Mechanism อันเป็นระบบจัดการหนึ่งภายใต้พิธีสารเกียวโต ที่ต้องการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนเพื่อหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ จะมีใบ CERs เป็น การรับรอง นักลงทุนสามารถนำ CERs ไปขายให้กับประเทศอุตสาหกรรมที่มีพันธกรณี ในการลดก๊าซเรือนกระจกหรือสามารถนำไปค้ากำไรได้ในตลาดซื้อขายคาร์บอนที่มีอยู่
ประเทศอุตสาหกรรมและนักลงทุน ตื่นตัวกับโครงการ CDM อยู่มาก นักลงทุน ต่างชาติเดินสายมุ่งหาแหล่งลงทุน โครงการ ในประเทศกำลังพัฒนา ด้วยแรงจูงใจจากต้นทุนที่ต่ำกว่าและสิทธิพิเศษต่างๆ เช่นเดียวกับโครงการส่งเสริมการลงทุน เพราะถูกจัดเป็นโครงการที่ช่วยด้านสิ่งแวดล้อม และนอกเหนือจากกำไรปกติของโครงการแล้ว ยังได้คาร์บอนเครดิต เพิ่มขึ้นมาอีก นับเป็นสินค้า สีเขียวตัวใหม่ค้าขายได้เหมือนใบหุ้น
ในปี 2007 ตลาดคาร์บอนของโลกมีมูลค่าสูงถึง 63,697 ล้านเหรียญ สหรัฐ ราคาคาร์บอนเครดิตอยู่ระหว่าง 5-20$ ต่อตัน คาร์บอนขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การจัดทำโครงการก็ยุ่งยากไม่น้อย ค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จอย่างต่ำ 3 ล้านบาท หรืออาจสูงถึง 8 ล้านบาท สำหรับการจัด ทำเอกสาร ค่าธรรมเนียม ค่าวิเคราะห์รับรองโครงการ ค่าจดทะเบียน ติดตามผล และการตรวจสอบ ดังนั้น ถึงแม้ว่าแรงจูงใจจะมีมาก แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังรั้งรอขอดูสถานการณ์ไปก่อน
ขณะนี้ทั่วโลกมีโครงการ CDM ที่ขึ้น ทะเบียนแล้วราว 1,200 โครงการ ประเมินว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ปีละกว่า 230 ล้านตันคาร์บอน ทุกโครงการนอกจากจะต้องช่วยลดก๊าซเรือนกระจกแล้ว จะต้องได้รับคำรับรองจากประเทศเจ้าบ้านว่าเป็นโครงการที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย
ประเทศที่มีโครงการ CDM มากที่สุดก็คือ จีนกับอินเดีย โครงการ CDM ส่วนใหญ่อยู่ในภาคพลังงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น โครงการผลิตไฟฟ้าจากที่ฝังกลบขยะ จากเชื้อเพลิงชีวมวล จากก๊าซชีวภาพ หรือการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์จากกระบวนการอุตสาหกรรม เคมี
ในประเทศไทย องค์การบริหารจัด การก๊าซเรือนกระจกที่จัดตั้งขึ้น มีสถานะเป็นองค์การมหาชน เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาการจดทะเบียน โครงการ CDM ของประเทศ ก่อนจะส่งไปให้ CDM Executive Board ภายใต้ UNFCCC พิจารณาขั้นสุดท้าย ซึ่งมีข้อเสนอ โครงการ CDM จำนวน 46 โครงการ ที่ได้รับหนังสือให้คำรับรองจากคณะกรรมการภายในประเทศแล้ว ส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านพลังงาน เช่น การผลิตความร้อนจากน้ำเสีย ผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อย มันสำปะหลัง ที่ฝังกลบขยะ น้ำเสียในฟาร์มสุกร น้ำเสียอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม น้ำเสียจากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น
มีคำถามว่า แล้ววิธีการลดก๊าซเรือน กระจกแบบง่ายๆ เช่น การปลูกป่า รวมอยู่ในโครงการ CDM ด้วยหรือไม่ โครงการปลูกป่าเป็นโครงการ CDM ประเภทหนึ่ง แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับมากนัก เช่น ประเทศญี่ปุ่นไม่รับซื้อ เนื่องจากเห็นว่าโครงการ CDM ภาคป่าไม้อาจทำให้เกิดการ บุกรุกป่าเพิ่มมากขึ้น เรียกว่าปรากฏการณ์ Leakage คือการปลูกป่าในท้องที่หนึ่ง อาจทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่าในอีกพื้นที่หนึ่ง หรืออาจทำให้เกิดการกว้านซื้อที่ดินผืนใหญ่เพื่อการลงทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเกษตรกรรายย่อย
ประเทศไทยก็เคยมีข้อถกเถียงและการทบทวนนโยบายเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเสนอโครงการปลูกป่าขนาดใหญ่ เมื่อหลายปีก่อน ประเด็นข้อโต้แย้งดังกล่าวทำให้โครงการปลูกป่าซึ่งเป็น กิจกรรมสำคัญที่เกิดประโยชน์มหาศาลต่อชุมชน สังคม และระบบนิเวศ ไม่ได้ร่วมอยู่ในตลาดคาร์บอนอย่างเต็มที่
ในที่สุดก็มีพัฒนาการใหม่ในการสร้างตลาดแบบสมัครใจในภาคป่าไม้ขึ้น โดยรวมกิจกรรมด้านการปลูกป่า การป้อง กันรักษาพื้นที่ป่าไม้ การฟื้นฟูป่า รวมทั้งการจัดการพื้นที่การเกษตรรูปแบบต่างๆ
ข้อดีของโครงการ CDM แบบสมัคร ใจ คือมีความยืดหยุ่นมากกว่า มีต้นทุนทางธุรกรรมน้อยกว่า ผู้ซื้อ ผู้ขาย และกิจกรรมมีหลากหลายประเภทมากขึ้น และสามารถขยายตลาดคาร์บอนออกไปสู่ชุมชนในชนบทได้อีกด้วย
การออกใบรับรองคาร์บอนเครดิตของตลาดแบบสมัครใจเรียกว่า VERs-Voluntary Emission Reductions ตลาดซื้อขายที่สำคัญคือ Chicago Climate Exchange แต่ราคาซื้อขายของ VERs ต่ำกว่า CERs ประมาณ 5 เท่า เนื่องจากมาตรฐานการรับรองคาร์บอนเครดิต มีความเข้มงวดน้อยกว่าตลาดแบบทางการ
ประตูที่เปิดกว้างมากขึ้นของตลาดคาร์บอนแบบสมัครใจ อาจชักจูงใจทุกฝ่ายให้เข้ามามีบทบาทในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น หากคาดหวังจากนักลงทุนในตลาดคาร์บอนแบบทางการเพียงอย่างเดียว ก็อาจไม่มากพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
คาร์บอนเครดิตแบบสมัครใจ ดึงตลาดคาร์บอนสู่ชุมชนในชนบท หากมีการจัดการที่ดีจะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนจำนวนมาก เชื่อมต่อให้เกิดการ ทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนคนปลูกป่าหรือเกษตรกร กับชุมชนวิชาการที่ต้องเข้ามาช่วยจัดการเรื่องยุ่งยากของการจัดทำเอกสาร กระบวนการซื้อขาย หรือให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการคิดคำนวณปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ รวมถึงการเรียกร้องและกระตุ้นบทบาทของบริษัทและผู้ประกอบการ ให้เข้ามามีส่วนช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยการซื้อคาร์บอนเครดิตจากเกษตรกรและคนปลูกป่า ไม่ใช่เพื่อการซื้อขายค้ากำไร ในตลาดคาร์บอนเท่านั้น แต่เพื่อแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม และเป็นทางเลือกหนึ่งที่ สนับสนุนการดำเนินนโยบาย CSR ของบริษัท
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อช่วยกันลบรอยเท้าของมนุษย์ที่พากันทำให้โลกทั้งเปื้อน ทั้งร้อน จนเกิดความอาเพศปรวนแปรของยุคสมัย โดยไม่รู้ว่าคนรุ่นหลังและอารยธรรมมนุษย์จะต้องเผชิญกับแรงกดดันจากธรรมชาติเช่นไรในอนาคต
|
|
|
|
|