Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2552
จุดเปลี่ยนราคาน้ำมันโลก             
 


   
search resources

Oil and gas




แม้ว่าโอเปกจะลดกำลังการผลิตลง กลับไม่สามารถทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ ใครจะคิดว่าอำนาจที่แท้จริงในการกำหนดราคาน้ำมันมาจากพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภคเอง น่าจับตามองอย่างยิ่งถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของตลาดน้ำมันโลกในครั้งนี้

ตลาดน้ำมันพลิกโฉม

ปี 2551 ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบ โลกมีความผันผวนอย่างมาก ราคาน้ำมันดิบที่เคยปรับตัวขึ้นไปสูงกว่า 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนธันวาคม

สาเหตุหลักที่เป็นต้นเหตุให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นไปมากในช่วงครึ่งปีแรกนั้น ประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานของน้ำมันดิบ โดยอุปทานน้ำมันดิบมีไม่เพียงพอต่อความต้องการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากจีนและอินเดีย การเก็งกำไร ของกองทุนต่างๆ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ตลอดจนปัญหาภูมิศาสตร์ การเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ เช่นอิหร่าน ไนจีเรีย และตุรกี เป็นต้น

แต่ทว่าภาวะของตลาดน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปีนั้นได้พลิกโฉมไปจากครึ่งปีแรกอย่างมาก โดยปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนั้นได้เปลี่ยนไป ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกได้กดดันอุปสงค์น้ำมันให้ปรับลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น โดยอุปสงค์น้ำมันที่หดตัว ลงอย่างมากนั้นส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบ ที่อยู่ในภาวะตึงตัวในช่วงต้นปีคลี่คลายลง

นอกจากนี้กองทุนต่างๆ ก็ได้ถอนเงินลงทุนออกจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์และตลาดหุ้นที่มีความเสี่ยงออกไปถือเงินสดแทน การเก็งกำไรในตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าก็ปรับลดลง ส่วนค่าเงินดอลลาร์ที่เคยอ่อนค่ามากในช่วงต้นปีกลับมาแข็งค่าขึ้น กดดันให้แรงจูงใจที่จะลงทุน ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อประกันความเสี่ยงจากการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีน้อยลง

ต้นเหตุแห่งปัญหา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยนั้น เริ่มต้นมาจากปัญหาซับไพร์มในสหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯตกต่ำ และสถาบันการเงินต่างๆ เริ่มประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง จนกระทั่งบริษัทวาณิชธนกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐฯอย่าง Lehman Brothers ต้องล้มละลายเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้จุดชนวนวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ และลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ อย่างรวดเร็ว

นอกเหนือจากภาคธุรกิจการเงินการธนาคารแล้ว ภาคธุรกิจหลักอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและวิกฤติการเงินโลกเช่นกัน เช่นภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐฯ โดยบริษัทรถยนต์รายใหญ่ 3 ราย คือ General Motors, Chrysler และ Ford กำลังประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้

ตลอดปี 2551 สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราการว่างงาน ในสหรัฐฯ ล่าสุดของเดือนพฤศจิกายนปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ 6.7% ซึ่งสูงสุดในรอบ 34 ปี ส่วนการใช้จ่ายของผู้บริโภคก็ปรับตัว ลดลง 1% ในเดือนตุลาคม ต่ำสุดในรอบ 7 ปี

ผลจากภาวะเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงในช่วงต้นนั้น ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุปสงค์น้ำมันสำเร็จรูป ของสหรัฐฯ โดยคนอเมริกันเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค รวมทั้งหันมา ประหยัดและใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากปริมาณการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ ที่ยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง แม้ว่า ราคาน้ำมันได้ปรับลดลงมากแล้วก็ตาม

การเยียวยาที่ยังไร้ผล

เพื่อต่อสู้กับปัญหาการเงินและเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งรวมแล้วคิดเป็นสัดส่วน 65-70% ของจีดีพีโลก ได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายการเงินผ่านการลดอัตราดอกเบี้ย นโยบาย การคลังโดยเพิ่มการลงทุน และการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน เพื่อแก้ปัญหาภาวะตลาดสินเชื่อไม่หมุนเวียน ซึ่งปัญหาหลักของระบบการเงินทั่วโลกในปัจจุบัน คือการที่ธนาคารต่างๆ ไม่ปล่อยเงินกู้ให้ธุรกิจ ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่างๆ และการจ้างงานทั่วโลก

เศรษฐกิจหดตัวต่อเนื่อง

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาจะลดลง 0.3% ในปี 2552 ในขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะยังคง มีการขยายตัวที่ 5.1% และเศรษฐกิจโลก โดยรวมจะขยายตัวที่ 2.2% ซึ่งลดลงจากระดับ 3.7% ในปี 2551 ขณะที่นักวิเคราะห์ จากไทยออยล์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลก ในปี 2552 อาจขยายตัวเพียง 0.5-1% เท่า นั้น หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ไม่เป็นผล เศรษฐกิจโลกอาจหดตัวได้

การคาดการณ์ของโอเปก

โอเปกคาดการณ์ความต้องการน้ำมันโลกในปี 2551 ไว้ที่ระดับ 85.8 ล้าน บาร์เรลต่อวัน ลดลง 60,000 บาร์เรลต่อวัน จากปี 2550 และในปี 2552 ที่ระดับ 85.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลงถึง 150,000 บาร์เรลต่อวัน จากปี 2551 เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก โดยจีน อินเดีย และตะวันออกกลางเป็นตัวแปรที่สำคัญ หากเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวชะลอตัวลงมาก จะส่งผลให้ความต้องการและราคาน้ำมันลดลงได้อีก

จุดเปลี่ยนของปัจจัยแห่งราคา

ปัจจัยที่มีผลต่อทิศทางราคาน้ำมันในปี 2552 จะมีความแตกต่างจากปี 2551 โดยราคาน้ำมันในปี 2552 จะขึ้นอยู่กับความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานเป็นหลัก ในขณะที่ราคาน้ำมันในปี 2551 มีปัจจัยของการเก็งกำไรของกองทุน ที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นอย่างมากและในช่วงปลายปีที่ราคาน้ำมันปรับลดลง สาเหตุจากอุปสงค์น้ำมันที่ชะลอตัวลง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้น้ำมันของผู้คน ซึ่งมีผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำมีอิทธิพลอย่างมากที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงมาก

แม้โอเปกได้ประกาศลดกำลังการผลิตถึง 3 ครั้งในไตรมาส 4 ปี 2551 เป็นจำนวนรวมถึง 4.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนับว่ามากสุดเป็นประวัติการณ์ ก็ยังไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันไว้ได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะในอดีตที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกเลี่ยงไม่ลดกำลังการผลิตตามที่ประกาศไว้ โดยมักจะลดเฉลี่ยเพียง 50-70% ของที่ประกาศไว้เท่านั้น เนื่องจากต้องการขายน้ำมันนำรายได้เข้าประเทศของตน จึงทำให้อุปทานน้ำมัน ดิบยังคงล้นอยู่

นอกจากนี้ความกังวลต่อปริมาณน้ำมันสำรองของโลก น่าจะไม่ส่งผลต่อราคาน้ำมันเหมือนเช่นในปีที่ผ่านมา เนื่องจากในปัจจุบันมีกำลังการผลิตน้ำมันดิบส่วนเกิน (Spare Capacity) ในโลกกว่า 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน

แนวโน้มราคาปี 2552

ราคาน้ำมันดิบจะขยับขึ้นก็ต่อเมื่อ มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้น นักวิเคราะห์จากไทยออยล์คาดว่าราคาน้ำมันดิบในปี 2552 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำในช่วงครึ่งปีแรก และปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว

ทางด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 น่าจะยังชะลอตัวอยู่ แม้ประธานาธิบดีบารัค โอบามาจะมีนโยบายแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ โดยล่าสุดได้แถลงนโยบายตั้งงบประมาณถึง 8.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค และเพิ่มการจ้างงานถึง 2.5 ล้านตำแหน่ง

อย่างไรก็ตาม คงต้องรอถึงไตรมาส 2 นโยบายต่างๆ จึงจะมีการดำเนินการและ ส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นจะขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนและมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การแก้ไขปัญหาการว่างงาน ตลอดจนการเรียก ความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุนกลับคืนมา

หากเศรษฐกิจของโลกยังไม่ฟื้นตัว ราคาน้ำมันในปี 2552 อาจจะเฉลี่ยอยู่ที่ 40-45 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลได้

จับตา "ตัวเสริม"

ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันในอดีต ซึ่งได้แก่สภาวะภูมิอากาศที่หนาวเย็น ปัญหาภูมิศาสตร์การเมือง การเก็งกำไรและค่าเงินดอลลาร์ ไม่น่าจะส่งผลต่อราคาน้ำมันมากนักในช่วงต้นปี 2552 อย่างไรก็ตาม หากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ปัจจัยดังกล่าว โดยเฉพาะการเก็งกำไรก็สามารถจะกลับมาส่งผลให้ราคาน้ำมันทะยานขึ้นได้

นอกจากนั้นปัจจัยที่ต้องจับตาดูคือผลกระทบของการลงทุนในโครงการขุดเจาะน้ำมันต่างๆ เช่น โครงการทรายน้ำมันของแคนาดา (Oil Sand) กำลังการผลิต 1-2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และโครงการขุดเจาะน้ำมันที่ทะเลลึกของบราซิลกำลังการผลิต 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ที่ชะลอตัวลงในช่วงนี้จากภาวะวิกฤติการเงิน ซึ่งจะส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หากตลาดส่งสัญญาณว่าความต้องการน้ำมันกลับคืนมา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us