Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2552
สะพานสู่ชุมทาง GMS             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

"คำม่วน" ชุมทางใจกลาง Land Link
นครพนม Gateway ตัวจริง?
แหล่งผลิตนักบินพาณิชย์ป้อนประเทศอินโดจีน

   
search resources

International
Greater Mekong Subregion




จากหนองคายสู่มุกดาหาร อีกไม่นานนครพนมกำลังจะเป็นประตูแห่งใหม่ที่เปิดกว้างรองรับกระแสการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ทั้งจากคนไทย และทุกๆ คนที่อาศัยหรือมีฐานที่มั่นอยู่ใน GMS

หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในวันที่ 5 หรือ 6 มีนาคมที่จะถึงนี้ จะมีพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 เชื่อมระหว่างจังหวัดนครพนมกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้างไม่เกิน 3 ปี หรือจะสามารถเปิดใช้อย่างเป็นทางการได้ภายในปี 2555

สะพานแห่งนี้จะถูกใช้เป็นเส้นทางเชื่อมโครงข่ายถนนระหว่างชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยสู่ภาคกลางของ สปป.ลาว และเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลวงเอเชีย สาย AH 1 เชื่อมโยงระหว่างอุดรธานี นครพนม แขวงคำม่วน กับบอลิคำไซ จนถึงเมืองวิงห์ เมืองฮาตินห์ ประเทศเวียดนาม มีปลายทางของสินค้า สามารถออกสู่ทะเลได้ที่ท่าเรือหวุงอ๋าง เมืองฮาตินห์

ก่อนหน้านี้ ไทยและ สปป.ลาว เปิด สะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างประเทศมาแล้ว 2 แห่ง คือที่ จ.หนองคาย ซึ่งเชื่อมต่อ กับ สปป.ลาวในเขตภาคเหนือสู่นครเวียง จันทน์ และที่ จ.มุกดาหาร ที่เชื่อมกับแขวง สะหวันนะเขตของ สปป.ลาว ในเขตภาคใต้

นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 ที่เชื่อมระหว่าง อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ในเขตภาคเหนือตอนบน

เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลไทย และรัฐบาล สปป.ลาว ที่จะส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ และเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะเมืองคู่แฝด

สำหรับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 นี้ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น หรือไจก้า (Japan International Cooperation Agency: JICA) ได้เข้ามาศึกษาเพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่สะหวันนะเขต และคำม่วนของ สปป.ลาว และชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ไทย 4 จังหวัด ได้แก่ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร โดยกำหนดแผน การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 เอาไว้ที่ จ.นครพนม

ในเดือนมิถุนายน 2547 คณะรัฐมนตรีขณะนั้นได้มีมติมอบหมายให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ศึกษาความ เหมาะสมของโครงการ ผลการศึกษาสรุปว่าบริเวณบ้านห้อม ซึ่งออกจาก อ.เมือง จ.นครพนม ไปประมาณ 8 กม.ตรงข้ามกับบ้านเวินใต้ของเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้เป็นจุดก่อสร้าง

ต่อมากรมทางหลวงได้ว่าจ้างบริษัท ที่ปรึกษา 4 แห่ง ประกอบด้วยบริษัทเอพซิลอน บริษัท Nippon Koei บริษัทเอเซีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ และบริษัททรานซ์ เอเซีย คอนซัลแตนท์ เป็นผู้สำรวจ ออกแบบรายละเอียด เพื่อให้การก่อสร้างสะพานเป็นไปตามแผนงานและได้มาตรฐาน

สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ จ.นครพนม มีจุดเริ่มต้นจากแยกจากทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 212 ช่วงนครพนม-ท่าอุเทน กม. ที่ 8+488 บริเวณบ้านห้อม ก่อสร้างเป็นถนนระดับดิน ผิวจราจรคอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจรไป-กลับ

แนวจะมุ่งตรงไปทางทิศตะวันตก แล้วโค้งขวากลับเข้าหาทางหลวงหมายเลข 212 จนถึงบริเวณ กม.ที่ 1+600 เป็นที่ตั้ง ของด่านศุลกากรของฝั่งไทย เป็นสถาปัตย-กรรมแบบล้านช้างถ่ายทอดจากเอกลักษณ์ของวัดใน จ.นครพนม ซึ่งนิยมทำรูปทรงของยอดธาตุ เป็นรูปบัวเหลี่ยม เช่นพระธาตุพนม

นอกจากนั้นยังได้ก่อสร้างอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ประสงค์จะเดินทางข้ามฝั่ง พร้อมการตกแต่งภูมิทัศน์ที่สวยงาม

เมื่อผ่านพิธีการด้านศุลกากรแล้ว จะผ่านจุดเก็บค่าผ่านทาง จนถึง กม.ที่ 2+300 แนวสายทางจะก่อสร้างเป็นสะพาน ข้ามทางหลวงหมายเลข 212 จนถึง กม. ที่ 2+826.5 จะเริ่มก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงมีความยาวรวม 780 เมตร แบ่ง เป็น 5 ช่วง

ประกอบด้วยช่วงกลางแม่น้ำ 3 ช่วง ยาวช่วงละ 180 เมตร ช่วงริมทั้ง 2 ฝั่ง ยาว ช่วงละ 120 เมตร มีช่องลอดช่วงกลางแม่น้ำกว้าง 60 เมตร สูง 10 เมตร เหนือระดับน้ำสูงสุด 100 ปี ของแม่น้ำโขง รวม 2 ช่อง

โครงสร้างสะพานเป็นคานคอนกรีต อัดแรง รูปกล่อง ความกว้างสะพาน 13 เมตร มีจำนวน 2 ช่องจราจรไป-กลับ กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 1 เมตร และทางเท้ากว้าง 1.05 เมตร

หลังจากข้ามไปถึงฝั่ง สปป.ลาว แนวสายทางจะก่อสร้างเป็นถนนถม คันทางสูง ขนาด 2 ช่องจราจรไปกลับ กว้างช่องละ 5 เมตร จนถึง กม.ที่ 3+950 ถนนจะไขว้สลับทาง เนื่องจาก สปป.ลาวใช้การ เดินรถทางด้านขวา จนถึง กม.ที่ 4+500 ซึ่งเป็นบริเวณด่านศุลกากรมีการออกแบบ สถาปัตยกรรมของอาคารด่าน และอาคารต่างๆ ในแบบล้านช้างคล้ายฝั่งไทย พร้อม ตกแต่งสภาพภูมิทัศน์อย่างสวยงามเช่นกัน

เมื่อผ่านด่านศุลกากรแล้ว แนวถนน จะปรับเป็นขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ จนเข้าบรรจบกับเส้นทางหมายเลข 13 กม. ที่ 12+940 บริเวณบ้านเวินใต้ ซึ่งเป็นจุดสิ้น สุดโครงการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 5.2 กม. ในพื้นที่ของโครงการได้มีการติดตั้งระบบไฟ แสงสว่าง ระบบสุขาภิบาล ระบบระบายน้ำ รวมทั้งการติดตั้งป้ายจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง

โครงการนี้ได้งบประมาณก่อสร้าง เบื้องต้นจากคณะรัฐมนตรีเป็นเงินทั้งสิ้น 1,347 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนของรัฐบาลไทย 100%

เมื่อต้นปี 2551 กรมทางหลวงเปิดขายแบบเพื่อประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้าง มีผู้มาซื้อแบบและเสนอประมูลจำนวน 15 ราย โดยตามกำหนดการเดิมคาดว่าจะได้ผู้รับเหมาและจะมีพิธีวางศิลาฤกษ์ ประมาณกลางปี 2551

ผู้เข้ามาซื้อแบบและเสนอราคาจำนวน 15 รายดังกล่าวเป็นผู้รับเหมาชาว ไทยทั้งหมด เนื่องจากโครงการนี้เป็นการลงทุนจากไทยฝ่ายเดียว จึงกำหนดให้ใช้บริษัทรับเหมาของไทยเป็นผู้ก่อสร้างและใช้วัสดุก่อสร้างจากภายในประเทศ โดยมีกรมทางหลวงเป็นผู้ควบคุมงาน

แต่ปรากฏว่าตั้งแต่ต้นปี 2551 เป็น ต้นมาราคาน้ำมันและวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก จนในช่วงที่จะเปิดประมูล ต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มสูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ทำให้ไม่มีผู้รับเหมารายใดสามารถก่อสร้างได้ตามวงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้เดิม

ในที่สุด คณะรัฐมนตรีได้มีมติอีกครั้งในปีนี้ให้เพิ่มงบประมาณก่อสร้างขึ้นเป็น 1,885 ล้านบาท

หลังได้รับอนุมัติปรับเพิ่มงบประมาณก่อสร้างจากคณะรัฐมนตรี กรมทางหลวงได้จัดทำราคากลางใหม่ เพื่อให้สามารถเปิดประมูลอีกครั้งหนึ่งได้ โดยราคากลางใหม่กำหนดไว้ที่ 1,765 ล้านบาท และได้มีการออกประกาศเชิญชวนให้ ผู้รับเหมาก่อสร้างเข้ามาเสนอราคาโดยใช้วิธีประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนดให้มีการประกวดราคาในเดือนธันวาคม 2551

ในการประมูลครั้งใหม่นี้กรมทาง หลวงเปิดโอกาสให้ผู้ที่เคยเสนอราคาเดิมจำนวน 15 ราย สามารถยื่นประมูลใหม่ได้ อีกครั้ง หากมีผู้รับเหมารายใหม่ที่แสดงความสนใจเพิ่มจาก 15 รายเดิม กรมทาง หลวงก็พร้อมที่ขายแบบให้ด้วยเช่นกัน

หากทุกอย่างเป็นไปตามที่กำหนดไว้ ภายในเดือนธันวาคม 2551 จะได้ตัวผู้รับเหมาก่อสร้าง หลังจากนั้นกรมทาง หลวงจะสรุปราคาที่ผู้รับเหมาเสนอเข้ามา ต่อสำนักงบประมาณ เพื่อให้ความเห็นชอบ และเสนอราคาดังกล่าวต่อกระทรวงคมนาคม

เมื่อกระทรวงคมนาคมยอมรับราคา ที่ผู้รับเหมาเสนอเข้ามา ก็สามารถเชิญผู้รับเหมาที่ประมูลงานได้มาเซ็นสัญญาก่อสร้างภายใน 15 วัน

"ถ้าไม่ติดอะไรก็สามารถเซ็นสัญญาได้ประมาณต้นปี 2552 หลังจากนั้น อีก 2-3 เดือนก็จะจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณเดือนมีนาคม หรือเมษายน" อภิสิทธิ์ พรหมเสน ผู้อำนวยการ แขวงการทางนครพนม คาดการณ์

พิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 นี้ กรมทางหลวงตั้งใจจะทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี

ล่าสุดได้มีกำหนดการพิธีวางศิลาฤกษ์ไว้คร่าวๆ แล้ว ในวันที่ 5 หรือ 6 มีนาคม 2552

"เมื่อสะพานสร้างเสร็จ เส้นทางนี้ จะเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลที่สั้นที่สุด สั้นกว่าเส้นทางหมายเลข 9 จากมุกดาหารถึงครึ่งต่อครึ่ง" ประเสริฐ วงศ์มาลาสิทธิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.นครพนม ในฐานะเลขาธิการสภาธุรกิจไทย-ลาวบอก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us