|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

"When it rains, it pours!" ตามสำนวนไทยคือ "ความวัวยังไม่หาย ความควายเข้ามาแทรก" ในที่นี้หมายถึง มีปัญหาอย่างหนึ่งอยู่แล้ว ยังมีปัญหาอื่นประดังเข้ามาอีก เป็นวิบากกรรมของนักลงทุนบางคนที่ต้องเผชิญอีกระยะหนึ่ง
ข่าวใหญ่ส่งท้ายปี หนีไม่พ้นข่าวน่าอายของเบอร์นาร์ด มาดอฟฟ์ (Bernard L.Madoff) วัย 70 ปี อดีตผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการตลาดซื้อขายหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์แนสแดค (NASDAQ) และผู้ก่อตั้ง บริษัท Bernard L. Madoff Investment Securities LLC ที่ดำเนินธุรกิจมายาว นานกว่า 40 ปี
เขาถูกจับกุมตัวด้วยข้อหาฉ้อโกงในธุรกิจค้าหลักทรัพย์ ด้วยการจัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในรูปแบบของแชร์ลูกโซ่หรือ Ponzi Scheme ที่อื้อฉาวในอดีต คาดว่ามูลค่าของ การสูญเสียในครั้งนี้จะสูงถึง 5 หมื่นล้านเหรียญ
คดีนี้ถือเป็นคดีฉ้อโกงหลักทรัพย์แชร์ลูกโซ่ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ล่าสุดศาลสหรัฐฯ สั่งอายัดทรัพย์ทั้งหมดของมาดอฟฟ์ และอนุญาตให้ประกันตัวได้ในวงเงิน 10 ล้านเหรียญ แต่เขาไม่สามารถ หาเงินจำนวนดังกล่าวได้ จึงขอต่อรองกับศาลให้เปลี่ยนเป็นการควบคุมตัว ห้ามออกจากบ้านตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งหากเขาผิดจริง โทษที่จะได้รับคือจำคุก 20 ปี และเสียค่าปรับจำนวน 5 ล้านเหรียญ ไม่รวมกับ คดีฟ้องร้องของนักลงทุนที่มียาวเป็นบัญชี หางว่าว
การเข้าจับกุมเบอร์นาร์ด มาดอฟฟ์ ครั้งนี้ เริ่มจากคณะการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) ได้รับรายงาน จากพนักงานอาวุโส 2 รายของบริษัท Bernard L. Madoff Investment Securities LLC ว่ามาดอฟฟ์ได้บอกกับพวกเขาว่า "จบสิ้นแล้ว" "ไม่เหลืออะไรแล้ว" "ทุกอย่างเป็น แค่การหลอกลวง" "จริงๆ แล้ว มันเป็นแค่แชร์ลูกโซ่จำนวนมหาศาล"
ตามรายงานข่าวเข้าใจว่าพนักงาน อาวุโสทั้งสองคนดังกล่าวคือ มาร์ค มาดอฟฟ์ และแอนดรูว์ มาดอฟฟ์ บุตรชายของเขาเอง ซึ่งพวกเขาได้เผชิญหน้ากับบิดาของเขา ด้วย คำถามที่ว่า "บริษัทมีเงินจ่ายโบนัสได้อย่างไร ถ้าไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนได้"
คำตอบที่พวกเขาได้รับ เป็นการนำไปสู่การจับกุมตัวเบอร์นาร์ด มาดอฟฟ์ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา
กลโกงที่มาดอฟฟ์ใช้คือหลักการแชร์ ลูกโซ่ที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก ลวงให้นักลงทุนมาลงทุนกับกองทุนที่ลงทุนใน S&P 100 โดยที่ผ่านมาเขาจัดการปลอมผลการดำเนินการกองทุนว่าในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 10.5% และในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2008 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น เดือนที่วอลล์สตรีทย่ำแย่ S&P 500 ตกถึง 38% แต่กองทุนของมาดอฟฟ์ยังให้ผลตอบ แทนสูงขึ้นถึง 5.6% ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติ ไม่มีใครรู้ว่าสิ่งที่นักลงทุนเห็นเป็นเพียงตัวเลข ที่เขาสร้างขึ้น เป็นภาพลวงตา ไม่ใช่เม็ดเงิน จริงๆ แต่กว่าทุกคนจะรู้ความจริง ทุกอย่าง ก็สายไปเสียแล้ว
อย่างไรก็ดี จากรายงานข่าว มีนักวิเคราะห์การเงินตั้งข้อสงสัยในผลการดำเนินงานของบริษัทมาดอฟฟ์มาตั้งแต่ปี 1999 ทั้งยังรายงานให้ SEC รับทราบเพื่อตรวจสอบ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ
เหตุผลหนึ่งมาจากการผ่อนคลายกฎระเบียบ (deregulation) ซึ่งถือเป็นหัวใจ ในการทำงานของรัฐบาลบุชที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้อาชญากรทางเศรษฐกิจ สามารถทำธุรกรรมได้ตามอำเภอใจ
จากหลักฐานที่รายงานออกมาเป็นระยะในช่วงการสืบสวนกรณีนี้ คาดว่า มาดอฟฟ์ทำการต้มตุ๋นนักลงทุนมานานหลายสิบปี โดยอาศัยชื่อเสียงของตนเองที่มีอยู่ในวอลล์สตรีท ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือ ของบุคคลจำนวนมาก ทำให้เขาสามารถปลอมแปลงเอกสารผลการลงทุนได้เนียนมาก หลอกแม้กระทั่งคนในครอบครัวของตัวเอง ลูกชายของมาดอฟฟ์ทั้งสองคน ซึ่งนั่งเป็นผู้บริหารของบริษัท ยังไม่ระแคะระคายธุรกรรมทุจริตที่บิดาของพวกเขาปฏิบัติมานานนับสิบปี นับเป็นเรื่องที่น่าแปลกและเหลือเชื่ออย่างยิ่ง
ตามรายงานข่าว มีผู้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยว กับหน้าที่ของ SEC ซึ่งถือว่าเป็นผู้ต้องตรวจ สอบกำกับดูแลวอลล์สตรีทโดยตรง แต่จากรายงานของ SEC ไม่พบความผิดปกติใดๆในบริษัทของมาดอฟฟ์ นับว่าเป็นความบกพร่องที่ไม่น่าให้อภัย ต้องรอการสอบสวน ค้นหาความจริงต่อไปว่ามีเจ้าหน้าที่คนใดที่เกี่ยวข้องบ้าง
งานนี้เป็นหน้าที่ของประธาน SEC คนใหม่ คือ Mary Schapiro จะต้องเร่งดำเนินการปรับเปลี่ยนจริยธรรมและวัฒนธรรมการทำงานใน SEC ตามแผนงานยกเครื่องกฎระเบียบด้านการเงินสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ประกาศไว้
"หลายมูลนิธิที่ลงทุนกับมาดอฟฟ์ อาจจะต้องสูญเสียเงินที่ออมไว้มูลค่าหลายล้าน การที่คดีฉ้อโกงมโหฬารขนาดนี้เกิดขึ้น ได้ ส่วนหนึ่งมาจากผู้ควบคุมกฎ ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบวอลล์สตรีทบกพร่องในหน้าที่และหากวิกฤติการณ์ทางการเงินครั้งนี้ ได้ให้บทเรียนอะไรเราบ้าง นั่นก็คือความล้มเหลวของการกำกับดูแลและการตรวจสอบ ที่ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายเฉพาะบุคคล หากยังสามารถทำให้เศรษฐกิจโดยรวมพังทลายได้" เป็นข้อความที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวในวันประกาศแต่งตั้ง Mary Schapiro
นักลงทุนที่เป็นเหยื่อของมาดอฟฟ์ มีตั้งแต่สถาบันการเงินใหญ่ระดับโลก กองทุน มูลนิธิเพื่อการกุศล และนักลงทุนรายย่อยผู้มั่งคั่งหลายราย โดยนักลงทุนรายใหญ่ระดับตั้งแต่ 1 พันล้านเหรียญขึ้นไป ข้อมูลจาก Bloomberg News เป็นตัวเลขโดยประมาณ มีดังต่อไปนี้
Fairfield Greenwich Group จำนวน 7.5 พันล้านเหรียญ
Kingate Management Ltd. จำนวน 2.8 พันล้านเหรียญ
Tremont Group Holdings Inc. จำนวน 3.1 พันล้านเหรียญ
ธนาคาร Banco Santander แห่งสเปน จำนวน 3.1 พันล้านเหรียญ
ธนาคาร Medici แห่งเวียนนา จำนวน 2.1 พันล้านเหรียญ
Jacob Ezra Merkin's Ascot Partners จำนวน 1.8 พันล้านเหรียญ
Access International Advisors จำนวน 1.4 พันล้านเหรียญ
ธนาคาร Fortis ประเทศเนเธอร์แลนด์ จำนวน 1.4 พันล้านเหรียญ
Union Bancaire Privee จำนวน 1 พันล้านเหรียญ
HSBC Holdings จำนวน 1 พันล้านเหรียญ
นอกจากนั้น ยังมีเหล่ากองทุนเพื่อองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรจำนวนมาก มีทั้งมูลนิธิของสถาบันการศึกษา และมูลนิธิส่วนตัว ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นคือมูลนิธิของผู้กำกับชื่อดัง สตีเวน สปีลเบิร์ก จำนวนกว่า 12 ล้านเหรียญ
เหตุการณ์นี้นับว่าเป็นการซ้ำเติมองค์กรเพื่อการกุศลจำนวนมาก ที่นอกจากจะขาดรายได้จากผู้บริจาคที่เริ่มถดถอยน้อย ลงจากพิษเศรษฐกิจแล้ว ยังต้องสูญเสียเงินกองทุนที่มีอยู่แล้วไปอีกจำนวนมหาศาล
มาดอฟฟ์เคยกล่าวไว้เมื่อปี 2000 สมัยที่ยังรุ่งโรจน์ว่า "การที่เดินเข้าไปในออฟฟิศในตอนเช้า แล้วเห็นครอบครัวนั่งอยู่ตรงนั้น เป็นสิ่งที่สนุกสำหรับพวกเรา"... วันนี้เชื่อว่าสมาชิกในครอบครัวที่ใช้สกุลร่วมกับอาชญากรทางเศรษฐกิจอย่าง "มาดอฟฟ์" คงจะสนุกไม่ออก
หวังว่ากรณีมาดอฟฟ์จะเป็นบทเรียนบทสำคัญสำหรับนักลงทุนไทยเป็นอย่างดี... ความโลภเป็นหนทางสู่ความหายนะ ขอให้ท่องไว้ให้ขึ้นใจ...สวัสดีปีใหม่ค่ะ
|
|
 |
|
|