Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2552
โอลิมปิกเปลี่ยนประเทศจีนจริงหรือ?             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

News & Media




ฤดูหนาว ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมของทุกปีเป็นฤดูที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ประจำอยู่ในประเทศจีนจะต้องต่ออายุสถานะและบัตรผู้สื่อข่าวใหม่ ดังนั้นในช่วงนี้ศูนย์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (IPC หรือ International Press Center) ที่กรุงปักกิ่งจึงดูวุ่นวายเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะต้องต่ออายุบัตรผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่มีหลายร้อยคนแล้ว ยังต้องต่ออายุใบอนุญาตอื่นๆ ด้วย เช่น เลขานุการ ล่าม ชาวจีนที่ทำงานให้กับสำนักข่าวหรือผู้สื่อข่าวต่างประเทศในหน้าที่ต่างๆ เป็นต้น

อย่างที่ผมเคยเล่าผ่านคอลัมน์นี้ไปในนิตยสารผู้จัดการ เมื่อเดือนเมษายน 2550 ว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยและประเทศจีนหันกลับมาจับมือ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกันอีกครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ.2518 สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ศูนย์ข่าวเอเอสทีวี-ผู้จัดการประจำกรุงปักกิ่งนั้นถือเป็นสื่อมวลชนไทยสำนักแรกและสำนักเดียวที่มีผู้สื่อข่าวประจำประเทศจีน

ขณะที่เมื่อดูสถิติผู้สื่อข่าวต่างประเทศโดยอ้างอิงจากกรมข้อมูลข่าวสาร กระทรวงต่างประเทศ จีน ซึ่งรวบรวมถึงเดือนมกราคม 2551 แล้วพบว่าทั่วประเทศมีสำนักข่าวต่างประเทศตั้งอยู่ 378 แห่ง จาก 54 ประเทศ มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศจีนทั้งสิ้น 700 คน โดยในจำนวน นี้แบ่งเป็นนักข่าวต่างประเทศประจำกรุงปักกิ่งจำนวน 577 คน จาก 322 สำนัก ประจำ นครเซี่ยงไฮ้ 108 คน จาก 107 สำนัก ประจำ กว่างโจว (กวางเจา) 8 คน จาก 8 สำนัก ประจำฉงชิ่ง 3 คน จาก 6 สำนักและประจำเสิ่นหยาง 4 คน จาก 3 สำนัก (ผู้สื่อข่าวหนึ่งคนสามารถเป็นตัวแทนของหลายสำนักข่าวได้ แต่ต้องแจ้งกับทางการ)

เมื่อพิจารณาในหมู่เพื่อนบ้านอาเซียน ประเทศสิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องข่าวสารจากประเทศจีนมากที่สุด เพราะ ผู้สื่อข่าวประจำอยู่ใน 4 เมืองจาก 5 เมือง ขณะที่มาเลเซียมีผู้สื่อข่าวประจำอยู่ 2 เมืองคือ ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ส่วนเวียดนามและอินโดนีเซียนั้นแม้จะมีสำนักข่าวอยู่ที่กรุงปักกิ่งเพียงเมืองเดียว แต่ทั้งสองประเทศต่างก็มีสำนักข่าวตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง 3 แห่ง และ 2 แห่งตามลำดับ

ขณะที่ประเทศไทย นอกเหนือจากเครือ ASTV-ผู้จัดการ ซึ่งเป็นสื่อภาคเอกชนแล้ว ไม่มีใครให้ความสำคัญและสนใจกับเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย

การที่ประเทศไทยไม่มีผู้สื่อข่าวประจำต่างประเทศเลย คงไม่เป็นเรื่องแปลกอะไรหากประเทศ นั้นเป็นประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีความสำคัญอะไรกับไทยหรือกับโลก และคงไม่เป็นเรื่องแปลก หากประเทศนั้นมีชาวไทยอาศัยอยู่แล้วจำนวนมากอย่าง สหรัฐฯ อังกฤษ หรือหลายประเทศในยุโรป เพราะการเผยแพร่และตรวจสอบข่าวสารให้เกิดความเที่ยง ตรง แม่นยำนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลา

แต่ถือว่าเป็นเรื่องแปลกอย่างยิ่งที่ในประเทศ จีน ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก ทั้งยังเป็นเพื่อนบ้านของไทย ทั้งมีชาวไทยอาศัยอยู่จำนวนไม่มาก และเป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศไทย กลับขาดแคลนผู้สื่อข่าวชาวไทยที่มีโอกาสได้สัมผัสและรู้เรื่องราวของจีนอย่างดีพอ

ส่วนตัวผมถือว่าสภาวะเช่นนี้ถือเป็นความอับจนและถึงขั้นล้าหลังของแวดวงสื่อมวลชนไทยประการหนึ่งที่ผมไม่แน่ใจว่าเกิดจากปัญหาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรสื่อภาครัฐและเอกชนไทย หรือเกิดจากปัญหาของสังคมไทยในองค์รวมที่ละเลยต่อการให้ความสำคัญกับเรื่องข้อมูลข่าวสารกันแน่

สองวันให้หลังจากที่ผมไปต่ออายุบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จำนวน 2 คนก็มาเยี่ยมเยียนถึงสำนักงาน แม้ตอนแรกที่โทรศัพท์มาติดต่อตำรวจจีนจะบอกเพียงว่า เป็นเพียงการมาเยี่ยมเยียนตามปกติ และ มาช่วยสอดส่องปัญหาการลักขโมยที่กำลังชุกชุมอันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจจีนที่เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ตาม แต่ผมทราบดีว่า เหตุผลที่แท้จริงของการมาเยี่ยมเยียนครั้งนี้ก็คือการมาสอดแนมเผื่อ (เรา) มีอะไรผิดปกตินั่นแหละ

กระนั้นในประเทศที่ "นักข่าว" เป็นอาชีพหนึ่งที่ถูกมัดมือมัดเท้าในระดับหนึ่ง มีปากก็พูดมากไม่ได้ มีปากกาก็เขียนไม่ได้ดั่งใจ เรื่องเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะหากเปรียบเทียบกับในอดีต กรอบของอิสรเสรีที่นักข่าวต่างชาติได้จากรัฐบาลจีน ณ ปัจจุบันก็ถือว่ากว้างขวางขึ้นมากแล้ว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากกรณีที่นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนได้ออกระเบียบชั่วคราวที่ผ่อนคลายขั้นตอนในการขอสัมภาษณ์ของนักข่าวต่างชาติ เพื่อตอบสนองต่อการหลั่งไหลเข้ามาของสื่อต่างชาติในช่วงมหกรรมปักกิ่งโอลิมปิก 2008 (2551) จากเดิมที่ระบบการให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติเป็นแบบรวมศูนย์ โดยนักข่าวต่างชาติเวลาขอสัมภาษณ์แต่ละครั้ง ต้องผ่านขั้นตอนมากมายทั้งยังใช้เวลามาก นอกจากนี้เวลาจะออกไปต่างจังหวัดทำข่าวแต่ละทีก็ต้องขออนุญาตเป็นครั้งๆ ไป 1 มกราคม 2550 ก็มีการปรับเปลี่ยนโดยลดทอนขั้นตอนและเปิดกว้างให้ผู้สื่อข่าวต่างชาติสามารถติดต่อสัมภาษณ์หน่วยงาน ภาครัฐต่างๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านหน่วยงาน ส่วนกลาง ทั้งนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจากหน่วยงานนั้นๆ ตอบตกลงที่จะให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างชาติก็สามารถนัดและดำเนินการสัมภาษณ์ได้เลย (อย่างไรก็ตาม การเปิดกว้างนี้ก็ยังยกเว้นพื้นที่ซึ่งยังไม่เปิดเสรีสำหรับคนต่างชาติอย่างเช่น ทิเบต)

นอกจากนี้อิสระที่เพิ่มขึ้นของผู้สื่อข่าวต่างประเทศดังกล่าวยังมิได้จำกัดอยู่เฉพาะการรายงานข่าวเกี่ยวกับโอลิมปิกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี วัฒนธรรม และข่าวประเภทอื่นๆ อีกด้วย

วันนั้นข่าวดีที่มาพร้อมกับการเยี่ยมเยียนสำนักงานของนายตำรวจตรวจคนเข้าเมืองก็คือ นายตำรวจแซ่ชิว ซึ่งมีความรู้เรื่องภาษา ไทยและเรื่องราวเมืองไทยระดับดี บอกกับผมว่า หลังจากมหกรรมกีฬา โอลิมปิกปิดฉากรูดม่านไปเมื่อต้นเดือนกันยายน 2551 รัฐบาลจีนได้พิจารณาเรื่องของระเบียบชั่วคราวดังกล่าวและออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 537 (537 ) เรื่องระเบียบของสำนักข่าว ต่างประเทศประจำประเทศจีน และระเบียบการทำข่าวของผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ซึ่งลงนามโดยเวินเจียเป่า นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2551 โดยประกาศฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาใจความหลักคือ ให้ระเบียบชั่วคราวเกี่ยวกับการทำข่าวอย่างเสรีของผู้สื่อข่าวต่างประเทศในช่วงมหกรรมโอลิมปิกนั้นบังคับใช้ต่อไป

ทั้งนี้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 537 ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่สำหรับแวดวงสื่อมวลชนต่างชาติและสื่อมวลชนจีน โดยบทบรรณาธิการของนิตยสาร Phoenix Weekly ( ; สำนัก งานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง) ฉบับเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาถึงกับกล่าวชมเชยและเปรียบเปรยว่า ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 537 นี้ถือเป็น "มรดกตกทอดชิ้นสำคัญจากปักกิ่งโอลิมปิก" เลยทีเดียว

"แน่นอนว่านี่คือมรดกตกทอดชิ้นแรกที่ปักกิ่ง โอลิมปิกทิ้งไว้ให้เราและคือแสงแรกจากโอลิมปิกที่สาดส่องมาเปลี่ยนแปลงประเทศจีน อย่างที่ทุกคนทราบ ไม่ว่าชาวจีนจะคว้าเหรียญทองโอลิมปิกได้กี่เหรียญ ทว่าเกียรติยศเหล่านั้นก็ได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว ไม่ว่าโอลิมปิกจะทิ้งต้นไม้ไว้เป็นปอดให้เมืองปักกิ่งมากเท่าไร ทิ้งสิ่งก่อสร้างสวยๆ ไว้มากเท่าใด ทว่าสิ่งเหล่านี้ก็มิอาจก่อคุณูปการให้กับชาวจีนทั้งมวลได้

"มีเพียงการเพิ่มอิสระของการรายงานข่าว และการขยายกรอบของการตรวจสอบและคัดกรองข่าวสารให้กว้างขึ้นเท่านั้น จึงจะส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าของสังคมและเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเราได้" บทบรรณาธิการ Phoenix Weekly ที่เขียนโดยโจว เจียนหมิง ระบุ พร้อมกล่าวด้วยว่า การที่รัฐบาลจีนให้อิสระในการทำข่าวกับผู้สื่อข่าวต่างชาตินั้นยิ่งทำให้ประชาชนจีนสามารถเชื่อใจพรรคคอมมิวนิสต์จีนมากขึ้น สมกับที่ปี 2551 เป็น วาระครบรอบ 30 ปีของการปฏิรูปเปิดประเทศจีน

อย่างไรก็ตาม บก.โจวได้ทวงอิสระในการทำข่าวของบรรดาสื่อในประเทศกับรัฐบาลจีนด้วยว่าถ้าสื่อมวลชนจีนเองมีเสรีภาพไม่เท่าเทียมกับสื่อต่างชาติแล้ว ข่าวสารที่สื่อจีนนำเสนอย่อมจะถูกลดระดับความเชื่อถือไปโดยปริยาย

ประเทศและสังคมจีนกำลังเปลี่ยนแปลงครับ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในระดับที่ถ้าหากไม่ตั้งสติ กุมสมาธิให้ดีก็อาจจะพานทำให้พวกเรารู้สึกมึนงง จับต้นชนปลายไม่ถูกและอาจส่งผลเป็นความไม่รู้ ความไม่เข้าใจไปได้ง่ายๆ

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเมื่อลำแสงแรกแห่งอรุณสาดส่อง รุ่งเช้าอันสดใสย่อมจะมาถึงในไม่ช้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us