Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532
แบงก์ชาติบนเส้นทางที่ตีบตัน?!             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

 
Charts & Figures

บัญชีอัตราเงินเดือนพนักงานแบงก์ชาติ
ผังแสดงการแบ่งส่วนงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย


   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking




แบงก์ชาติบนเส้นทางที่ตีบตัน หลังจากปรากฎการณ์ที่มีผู้บริหารระดับสูงและกลางของแบงก์ชาติทยอยเดินออกจากความมั่นคง ภาคภูมิและศักดิ์ศรีอันศักดิ์สิทธิ์ ของสถาบันการเงินสูงสุดของชาติแห่งนี้เป็นจำนวนมากแล้ว คำถามก็เริ่มประดังประเดเข้ามาสู่สถาบันแห่งนี้อย่างไม่ขาดสายแบงก์ชาติเกิดปัญหาสมองไหล อัตราเงินเดือนและเกียรติภูมิของแบงก์ชาติ ไม่เป็นที่ดึ่งดูดใจผู้บริหารเหล่านี้อีกต่อไปแล้ว หรือเกิดวิกฤติศรัทธาในตัวผู้นำของสถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้ อะไรคือมูลเหตุหลักที่ทำให้ผู้บริหารระดับสูงและกลาง "หันหลัง" ให้แบงก์ชาติ และเส้นทางของคนที่ยังอยู่นั้นจะก้าวไปอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงแต่งตั้งโยกย้ายหรือกระทั่งเดินเข้าออกของผู้บริหารระดับสูง และกลาวในธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นเรื่องที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ยิ่งกว่าในรัฐวิาสหกิจใด ๆ ของรัฐบาล สาเหตุสำคัญมีอยู่เพียงประการเดียว นั่นคือเพราะหน่วยงานแห่งนี้เป็นธนาคารกลางแห่งชาติ เป็นสถาบันที่ทรงเกียรติและได้รับการยอมรับเชื่อถือจากสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศ

อันที่จริงการเดินทางจากอนาคตที่มั่นคง ของสาถบันอันทรงเกียรติแห่งนี้หาใช่เป็นปรากฎการณ์ ที่เพิ่งเกิดในรอบ 4-5 ปีนี้ไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาและดำรงอยู่ตลอดมา พนักงานที่ออกจากแบงก์ชาติในยุคแรก ๆ และไปรับตำแหน่งใหญ่โตในสถาบันการเงินภาคเอกชนจนป่านนี้เกษียณหรือใกล้จะเกษียณได้แก่ เมธี ดุลยจินดา, จำรัส จตุรภัทร์, วีระ รมยะรูป, บุญชู โรจนเสถียร, เฉลิม ประจวบเหมาะ, ประยูร จินดาประดิษฐ์, ศุกรีย์ แก้วเจริญ เป็นต้น

ทว่าอัตราการลาออกของพนักงานบริหารระดับสูงและกลางในระยะหลังมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนเป็นนักเรียนทุนที่มีความสามารถสูงและมีเส้นทาอนาคตที่มั่นคงแน่นอนในแบงก์ชาติ แม้พวกเขาจะออกไปได้เงินเดือนและตำแหน่งการงานที่ใหญ่โตสะดวกสบายมากกว่า แต่แรงจูงใจเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการลาออกคนแล้วคนเล่าหรือ

ผู้อาวุโสท่านหนึ่งซึ่งคร่ำหวอดผ่านร้อนหนาวในแบงก์ชาติมาเป็นเวลาหลายสิบปีเปรยกับ "ผู้จัดการ" ว่า เงินเดือนเป็นแสนสองแสนนี่มันล่อใจนะเพราะฉะนั้นจะบอกว่ามันสมองไหลเพราะว่าแบงก์ชาติเลี้ยงไม่ดีนี่ ผมว่าเขาก็เลี้ยงดีตามสมควร แต่ว่าข้างนอกมันยั่วใจมากกว่า"

การ "เลี้ยงตีตามสมควร" ของแบงก์ชาตินั้นเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่างมิใช่แต่เพียงเรื่องเงินเดือนหรือค่าตอบแทนและสวัสดิการต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของระบบการทำงานและอนาคตความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานอีกด้วย

นพพร เรืองสกุล ผู้ซึ่งออกไปใช้ชีวิตการทำงานอย่างมีความสุขในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการทั่วไป ธนาคารไทยทุนกล่าวยืนยันในประเด็นนี้กับ "ผู้จัดการ" ว่า "โอกาสการเติบโตนี่ไม่ได้หมายถึงเรื่องขั้นเรื่องตำแหน่งอย่างเดียว ในการทำงานนี่จะมีสิ่งที่เราอยากได้หลายอย่าง เริ่มต้นคงเป็นเรื่องเงินเดือน แต่เมื่อถึงขั้นเงินเดือนที่จะอยู่ได้อย่างสบายพอสมควรแล้วนี่ สิ่งที่ตามมาอาจจะเป็นเรื่องการทำงานที่ตัวเองพอใจ ซึ่งความพอใจในการทำงานนี่อาจจะต่างกัน บางคนอาจจะพอใจที่จะทำงานที่สบาย พอใจที่มีอำนาจ พอใจที่จะทำงานที่มีประโยชน์"

อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ควรพิจารณษก่อนเป็นอันดับแรกคือเรื่องเงินเดือนและโอกาสการก้าวหน้าในตำแหน่งงาน แม้เรื่องนี้จะเป็นประเด็นรองสำหรับคนบางคน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นประเด็นหลักของคนอีกเป็นจำนวนมาก

โดยทั่วไปแล้วอัตราเงินเดือนของพนักงานแบงก์ชาติจะสูงกว่าข้าราชการทั่วไปประมาณ 3 เท่า นอกจากนี้ ในพนักงานแต่ละชั้นจะมีขั้นวิ่งค่อนข้างกว้างคือตั้งแต่ 10-25 ขั้น และแต่ละขั้นวิ่งจะได้รับเงินเดือนเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยประมาณ 5.5%-6%

บัญชีอัตราเงินเดือนชุดปัจจุบันนี้ได้รับการปรับปรุงเมื่อปี 2530 ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นการปรับปรุงเพราะเสียงเรียกร้องจากบรรดาพนักงานชั้นบริหารระดับสูง-กลางกระโจนเพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราด เช่น อัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการฝ่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ได้รับประมาณ 40,000 บาทเป็นอัตราสูงสุดที่ 79,000 บาท

ขณะที่บัญชีอัตราเงินเดือนชุดปัจจุบันเอื้อประโยชน์แก่ผู้บริหารระดับสูง-กลางมากกว่านั้นพนักงานระดับกลาง-ล่างก็เคยได้รับการปรับเงินเดือนมาครั้งหนึ่งเมื่อประมาณปี 2525 ในสมัยของผู้ว่าการชื่อนุกูล ซึ่งพนักงานระดับล่างเป็นผู้ทำเรื่องเสนอเรียกร้อง และจะมีการชุมนุมกันขอฟังคำตอบหน้าแบงก์ชาติ ในที่สุดก็ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นขั้นละ 50 บาท

กล่าวกันว่าการเรียกร้องขอปรับเงินเดือนปี 2525 ทำเอาคณะผู้แทนพักงานเหนื่อยไปตาม ๆ กัน แต่ในปี 2530 บรรดาผู้แทนเหล่านี้กลับไม่มีบทบาทเพราะถูกทำให้เข้าใจว่าจะได้รับประโยชน์เท่ากันในทุกระดับ แต่เมื่อผลการปรับปรุงออกมา ก็พากันส่ายหัวไปตาม ๆ

ผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติปรับเงินเดือนและโยกย้ายตำแหน่งงานในแบงก์ชาติก็คือคณะกรรมการแบงก์ชาติ ตามความในพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 มาตราที่ 20 หมวด 3 ว่าด้วยการกำกับ ควบคุมและจัดการ โดยประธานและรองประธานคณะกรรมการฯก็คือผู้ว่าการและรองผู้ว่าการโดยตำแหน่ง กับกรรมการอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า 5 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

การที่คณะกรรมการแบงก์ชาติเป็นผู้มีอำนาจรับผิดชอบเกี่ยวกับการพนักงานของแบงก์ชาติตาม พรบ. นั้นมีความไม่เหมาะสมสอดคล้องอยู่ประการหนึ่ง ในแง่ที่ว่านอกเหนือจากผู้ว่าการและรองผู้ว่าการที่เป็นคนในแบงก์แล้ว กรรมการคนอื่น ๆ ส่วนมากมาจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่กรมหรือกระทรวงอื่น ๆ ที่รมต.คลังเลือกสรรมา ดังนั้นกรรมการเหล่านี้จึงไม่ใคร่จะรู้และเข้าใจในตัวพนักงาน ความรู้สักนึกคิดและความเป็นไปของพนักงานในแบงก์สักเท่าใดและเมื่อกรรมการแบงก์ชาติประชุมกันอย่างน้อยเดือนละครั้งตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งก็คือประชุมเดือนละครั้งนั่นเอง โอกาสที่จะรู้จักพนักงานจึงเป็นไปได้น้อยมาก แม้แต่ตัวผู้ว่าการและรองผู้ว่าการก็แทบจะหาโอกาสเช่นนั้นได้ยากมาก

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่แปลกอะไรที่ผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯหลายครั้งหลายหน เป็นเรื่องที่ขัดกับความต้องการของพนักงานระดับล่างเช่นเรื่องการปรับอัตราเงินเดือนในปี 2530 ซึ่งพนักงานระดับล่างจำนวนมากพากันส่ายหัว หลายคนพูดกระทั่งว่าวิธีคิดวิธีการมองปัญหาของกรรมการแบงก์ฯเป็นแบบข้าราชการ ซึ่งมักจะมีความรู้สึกทั่ว ๆ ไปอย่างหนึ่งแฝงฝังอยู่ว่าระบบเงินเดือนและสวัสดิการของแบงก์ชาติดีกว่าหน่วยราชากรและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ อยู่แล้ว แต่ไม่เคยเปรียบเทียบกับธนาคารพาณิชย์เอกชนซึ่งเป็นกิจการประเภทเดียวกัน

แต่หากคิดในอีกแง่มุมหนึ่ง การที่กฎหมายกำหนดที่มา บทบาทและการหน้าที่ของกรรมการแบงก์ชาติอย่างแน่นอนรัดกุมเช่นนี้ ก็อาจจะมาจากเหตุผลที่ไม่ต้องการให้กรรมการแบงก์ฯมีส่วนได้เสียกับการโยกย้ายปรับปรุงด้านการพนักงานของแบงก์ก็เป็นได้ ซึ่งก็เป็นผลดีในอีกแง่หนึ่งเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม ขอบเขตที่กฎหมายกำหนดก็ใช่ว่าจะแน่นอนตายตัวเสมอไป ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและวัฒนธรรมการทำงานของคณะผู้บริหารระดับสูงในแต่ละยุคด้วย

โปรดสังเกตว่าในบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับปรุงเมื่อปี 2530 นี้มีขั้นเงินเดือนที่ซ้ำกันอยู่ในพนักงานแต่ละชั้น และนี่เป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา "ขั้นตันตำแหน่งตัน" ในพนักงานบริหารระดับกลางกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงกว่าได้แม้ว่าขั้นเงินเดือนจะทะลุแล้วก็ตาม เพราะพนักงานบริหารระดับสูงขึ้นไปก็ประสบปัญหาเดียวกันในตำแหน่งที่นั่งอยู่

หัวหน้าหน่วยรายหนึ่งเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า เขาไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งทั้งที่เงินเดือนของเขาทะลุขั้นไปแล้ว สาเหตุก็เพราะไม่มีตำแหน่งว่างให้เขา และก็ยังไม่รู้ว่านโยบายการแก้ไขเรื่องนี้จะออกมาเป็นอย่างไร

ปัญหาเรื่อง "ขั้นตันตำแหน่งตัน" นั้นเป็นเรื่องที่ปรากฏเสมอ ๆ ในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งแม้จะมีการซอยขั้นเงินเดือนออกเป็นหลายขั้นก็ยังไม่พอเพียงกับการจัดสรรกำลังคน วิธีแก้ปัญหาทางหนึ่งที่นำมาใช้กันคือการเพิ่มตำแหน่ง ตั้งหน่วยงานใหม่ให้มากขึ้น

ที่แบงก์ชาตินั้นพนักงานทุกคนจะมีโอกาสรู้ว่าตำแหน่งในฝ่ายงานต่าง ๆ ที่ตนสังกัดนั้นมีอะไรบ้าง ทั้งนี้เพราะมีการกำหนดตำแหน่งงานลักษณะงานและขั้นเงินเดือนที่แน่นอนชัดเจนไว้ในคำบรรยายลักษณะงาน

นพพรให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ว่า "มีการกำหนดที่ชัดเจนมากว่าใครต้องทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับไหน สามารถที่จะรู้ได้ว่าตัวอยู่ในคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งอะไรได้หรือไม่ในระบบนี้เป็นระเบียบมากทีเดียว"

ระเบียบที่ว่านี้หาได้มีมาแต่ดั้งเดิมไม่ ทว่าเพิ่งเริ่มมีขึ้นเมื่ออดีตนักเรียนทุนและรองผอ.ฝ่ายวิชาการไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมในสมัยที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนการพนักงานได้คิด "สมุดปกเหลือง" ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติประจำตำแหน่งานและการเลื่อนตำแหน่งงานเสนอให้กับผู้บริหารระดับสูงของแบงก์ และได้รับการยอมรับนำมาใช้จวบจนปัจจุบัน

หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีทั้งส่วนดีและเสีย กล่าวคือมีความเป็นระบบระเบียบ และให้โอกาสพนักงานได้รู้ว่าตัวเองมีคุณสมบัติความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นมากน้อยเพียงใด ผู้ที่เข้ามาใหม่จะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของคำบรรยายลักษณะงานอย่างเคร่งครัด

อย่างไรก็ดีคำบรรยายลักษณะงานก็มีข้อเสียในแง่ของการปฏิบัติบางด้าน เพราะคนที่เคยทำงานในสายงานตรงในฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเคยได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเรื่อย ๆ นั้น แต่เมื่อในคำบรรยายลักษณะงานเขียนไว้อย่างหนึ่ง เช่นคนที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนจะต้องจบอย่างนั้น ผ่านอย่างนี้มา ดังนั้นคนที่ขึ้นมาโดยความชำนาญก็ขึ้นไม่ได้ คนอื่นที่มีคุณสมบิตตามที่ระบุก็อาจจะโอนมารับตำแหน่งไป เช่น กรณีที่ผอ.ฝ่ายวิชาการย้ายมาดำรงตำแหน่งผอ.ฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ หรือกรณีที่รองผอ.ฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ย้ายไปเป็นผอ.ฝ่ายจัดการกองทุนคนปัจจุบัน เป็นต้น

กระนั้นระเบียบนี้ก็มีการยืดหยุ่นในบางกรณีเมื่อที่ประชุมคณะกรรมการแบงก์ฯมีมติว่าคนนั้นคนนี้มีความเหมาะสม และเป็นกรณีจำเป็นโดยที่อาจจะไม่ต้องเป็นไปตามลักษณะงานก็ได้

โดยปกติแล้วตำแหน่งบริหารระดับต่าง ๆ จะมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งอย่างไม่เป็นทางการประมาณ 4 ปี แต่ทั้งนี้ก็ยังสามารถมีข้อยกเว้นได้โดยผู้บริหารบางคนอาจถูกโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อความเหมาะสมซึ่งมาจากการพิจารณาของคณะกรรมการแบงก์ ตัวอย่างเช่นการย้ายจากผอ.ฝ่ายวิชาการไปเป็นผอ.ฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ของดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ โดยผู้ที่เข้ามาแทนที่คือดร.ศิริ การเจริญดี ซึ่งลชุกมาจากตำแหน่งผอ.สำนักผู้ว่าการและรักษาการผู้จัดการฝ่ายจัดการกองทุน เป็นต้น

ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายหรือพนักงานชั้น 9 อัตราเงินเดือนระหว่าง 33,250-74,450 บาทถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญมากพอสมควรในกลไกระบบการทำงานของแบงก์ชาติ เปรียบไปแล้วก็เสมือนนายทหารชั้นยศพันเอก, พันเอก (พิเศษ) ทั้งหลายที่คุมกำลังตามกรมทหารต่าง ๆ เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดและรับฟังรายงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ความควบคุม

ผู้ที่รู้เรื่องระบบงานในแบงก์ชาติดีท่านหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า สมัยก่อนที่จะมีตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการนั้น ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายก็ถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดของพนักงานประจำแล้ว หรือแม้แต่ในระยะที่เริ่มมีตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการในสมัยดร.ป๋วย อี๊งภากรณ์ก็ยังไม่ใคร่มีใครมองตำแหน่งนี้กันนัก เพราะมันมีน้อย และเป็นยาก ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายจึงเป็นที่พิสมัยกว่าและมีมากกว่าตามสัดส่วนปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย

ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายที่สำคัญ ๆ ได้แก่ฝ่ายวิชาการ, ฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์, ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน, ฝ่ายการธนาคาร, สำนักผู้ว่าการ, ฝ่ายการพนักงานฯ เป็นต้น โดยเฉพาะใน 4-5 ฝ่ายแรกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นทางฝ่ายของผู้ช่วยผู้ว่าการ 1-3 มาก่อนทั้งสิ้น และเป็นฝ่ายที่ได้ออกหน้าออกตามาแถลงงานในความรับผิดชอบเมื่อเกิดกรณีปัญหาต่าง ๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์เสมอ ๆ ผู้ที่ปรากฎหน้าบ่อย ๆ คือ ดร.ชัยวัฒน์, ดร.ศิริ, จรุง หนูขวัญ, และเตชะทิพย์ แสงสิงแก้ว

ส่วนตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 5 คนนั้นเป็นตำแหน่งที่เพิ่งมีขึ้นในราวสมัย ดร.ป๋วย เป็นผู้ว่าการ เดิมตำแหน่งนี้เรียกว่าหัวหน้าฝ่ายประจำสำนักผู้ว่าการ ซึ่งทำหน้าที่ช่วยรองผู้ว่าการในเรื่องที่รองผู้ว่าการมอบหมาย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการช่วยผู้ว่าการ และเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการในที่สุด

ตำแหน่งผู้อำนวยการช่วยผู้ว่าการเมื่อปี 2515 ยังมีเพียง 3 คนซึ่งในเวลานั้นมีส่วนงานที่มีฐานะเทียบเท่าฝ่ายรวม 9 ฝ่ายและส่วนงานที่มีฐานะเทียบเท่าส่วน 3 สำนักงาน ครั้นต่อมาในปี 2532 มีส่วนที่เป็นฝ่ายรวม 15 ฝ่าย 5 สำนักงาน มีผู้ช่วยผู้ว่าการ 5 คนรับผิดชอบงานคนละ 3 - 5 ฝ่าย/สำนักงาน/สาขา

ฝ่าย / สำนักงาน / สาขาที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้ว่าการแต่ละคนนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงการควบคุมไปตามความถนัดความสามารถของผู้ช่วยผู้ว่าการ คำสั่งการกำหนดสายงานจะออกมาใหม่ทุกระยะที่มีการแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ว่าการคนใหม่ เช่น คำสั่งที่ 164/2532 มีการสับเปลี่ยนสายงานระหว่างผู้ช่วยผู้ว่าการ 1-3-4 และ 5

ผู้รู้เรื่องระบบงานในแบงก์ชาติกล่าวอีกว่าการขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้ว่านั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ว่าต้องนั่งในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายก่อนกี่ปี ปมเงื่อนที่สำคัญก็คือ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการต้องว่างลงเสียก่อนจึงจะขึ้นมาได้ ซึ่งตำแหน่งนี้จะว่างได้ใน 2 กรณีคือปลดเกษียณหรือลาออกก่อนกำหนด เช่น วารีหะวานนท์และนันท์ กิจจาลักษณ์ เกษียณอายุเมื่อปี 2531 และผู้ที่ขึ้นมาแทนคือวิจิตร สุพินิจและพิศาล บุญสมบัติ ส่วนประพันธ์ วิโรทัยได้ขอลาออกก่อนเกษียณอายุเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผู้ที่ขึ้นมาแทนคือนิตย์ ศรียาภัย เป็นต้น

ดังนั้นตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการก็ตกเป็นตำแหน่งหนึ่งของผู้บริหารระดับสูงที่ถูกวิพากษ์วิจารร์ว่าตั้งขึ้น "เพราะอยากจะแก้ปัญหาฝ่ายที่ตันแล้ว" เนื่องจากไม่มีการกำหนดว่าผู้ช่วยผู้ว่าการต้งอมีกี่ตำแหน่ง จึงเป็นการเปิดช่องว่างให้เวลาคนแก่กล้าตำแหน่งไม่มีขึ้นมาก็เลื่อนขึ้นไปได้ ตั้งใหม่ได้ ไม่มีข้อจำกัด "เข้าใจว่ากระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อยุติว่าผู้ช่วยผู้ว่าการควรเป็นเท่าไหร่"

หรือกระทั่งตำแหน่งรองผู้ว่าการก็ยังเป็นตำแหน่งที่เคยมีความพยายามเสนอให้มี 2 คนคือให้มีรองฝ่ายธุรการและรองฝ่ายวิชาการ ทั้งในแง่มูลเหตุทำนองเดียวกับตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการและในแง่ของปริมาณางานที่เพิ่มมากขึ้น

ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการนับเป็นตำแหน่งสูงสุดตำแหน่งสุดท้ายอันชอบธรรมของพนักงานประจำโดยแท้ แม้ว่าตำแหน่งรองผู้ว่าการในระยะหลังจะเลื่อนชั้นขึ้นไปจากผู้ช่วยผู้ว่าการแต่งก็ยังคงเป็นตำแหน่งที่ต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกับตำแหน่งผู้ว่าการ

อดีตผู้อาวุโสท่านหนึ่งให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ว่าผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการและรองผู้ว่าการนั้น รู้กันอยู่แล้วว่าต้องเป็นคนนอก แต่ถ้าได้คนในก็เรียกว่าเป็นโชคดี ตำแหน่งทั้งสองนั้นเป็นเรื่องของรัฐบาล "เราเป็นพนักงานประจำอย่างดีที่สุดก็เป็นเพียงผู้ช่วยผู้ว่าการเท่านั้น"

กระนั้นตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการซึ่งไม่มีการระบุว่าต้องมีกี่คนนั้นก็ถูกเพ่งเล็งว่า "มีแนวโน้มเหมือนกับว่าถ้าได้เป็นแล้วราคาค่าตัวจะสูงขึ้น ถ้าเป็นคนเก่งแล้ว แบงก์พาณิชย์อาจมาดึงตัวไปทำงานด้วยก่อนเกษียณอายุ เพราะมีราคา"

ในผู้ช่วยผู้ว่าการบางคนมีการพูดกันว่ามีงานทำน้อยกว่าสมัยเป็นผู้อำนวยการฝ่าย หรือแทบจะไม่มีเลยด้วยซ้ำ "สมัยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคล้ายกับเป็นแม่ครัว แต่พอมาเป็นผู้ช่วยฯแล้วกลายเป็นคนชิมเองไม่ค่อยมีงานเท่าไหร่ บางเรื่องก็เกือบจะเรียกว่าเขาทำมาเสร็จแล้ว ก็แทงเรื่องต่อขึ้นไป ดังนั้นบางทีมันก็เหมือนกับได้พักผ่อนนะ"

ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นกันชัด ๆ ก็คือสมัยก่อนนั้นผู้ช่วยผู้ว่าการไม่มีอำนาจลงนามในจดหมายด้วยซ้ำ แต่ผู้อำนวยการฝ่ายกลับมีเวลาตอบจดหมายไปที่ไหนผู้อำนวยการฝ่ายสามารถตอบในนามผู้ว่าการได้ แต่ผู้ช่วยผู้ว่าการทำไม่ได้ ระเบียบนี้เพิ่งจะมีการแก้ไขให้เซ็นแทนรองผู้ว่าการได้ในภายหลัง

อย่างไรก็ดีมีผู้ให้ทัศนะที่แตกต่างออกมาในประเด็นนี้ว่า การจะทำงานหรือการ "พักผ่อนในตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการนั้นขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของแต่ละคน อำนาจหน้าที่ของผู้ช่วยฯมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง แต่ถ้าจะถือ "ตามน้ำ" เรื่อยตามวิธีปฏิบัติที่เป็นอยู่ ก็อาจจะทำให้ตำแหน่งนี้มีภาระงานที่ไม่หนักหนาอะไรนักด้วยการใช้วัฒนธรรม "จึงเรียนมาเพื่อทราบ" ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด

ทั้งนี้มีผู้กล่าวกันว่าวัฒนธรรม "จึงเรียนมาเพื่อทราบ" นั้นเป็นระเบียบที่เกิดขึ้นในสมัยนุกูลประจวบเหมาะเป็นผู้ว่าการ คือมีการแทรกแซงบทบาทของผู้ช่วยฯ ขณะที่ผู้อำนวยการฝ่ายก็มีบทบาทที่โดดเด่นเอามาก ๆ เนื่องมาจากปัญหาวิกฤติทางการเงินที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการแทบจะไม่มีโอกาสใช้อำนาจอนุมัติ นอกจากแทงเรื่องให้ระดับบนอย่างเดียว วัฒนธรรมดังกล่าวจึงเกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้วิธีคิดวิธีบริหารงานในแบงก์ชาติกลายเป็นวัฒนธรรมแบบราชการมากขึ้น

ในบรรดาผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการทั้ง 5 คนนั้นปรากฏว่าในปี 2532 และ 2533 จะมีผู้ที่ครบอายุเกษียณ 3 คนเหลือหนุ่มวัยกลางคนที่ยังมีอายุราชการอีกยาวนานคือเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ช่วยฯ 3 และวิจิตร สุพินิจ ผู้ช่วยฯ 1

เริงชัยได้รับการแต่งตั้งก่อนวิจิตร แม้จะเป็นนักเรียนทุนแบงก์ชาติรุ่นหลังก็ตาม เขาเป็นนักเรียนทุนของแบงก์ชาติคนแรกที่ขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุดของพนักงานประจำตำแหน่งนี้

ก่อนที่จะถูกยืมตัวไปช่วยปฏิบัติงานที่ธนาคารกรุงไทยในตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่เป็นเวลา 2 ปีนั้น เริงชัยเคยผ่านงานที่หนักหน่วงที่สุดสำหรับชีวิตของนายธนาคารกลางอยู่ช่วงหนึ่ง นั่นคือการคลี่คลายแก้ไขปัญหาวิกฤติการทางการเงินในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเป็นเวลา 3 ปี

เริงชัยปรากฎตัวทางหน้านสพ.บ่อยครั้งในฐานะที่เป็นผู้แถลงการณ์แก้ไขปัญหาการล้มของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทั้งหลาย หลังจากนั้นเขาย้ายไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารแต่นั่งอยู่ได้ไม่นานนักก็ถูกขอยืมตัวไปอยู่ธนาคารกรุงไทย

ทว่าเริงชัยก็นั่งอยู่ที่ธนาคาร "เจ้าปัญหา" แห่งนี้ได้ไม่นานก็ต้องรีบ "เผ่น" กลับาแบงก์ชาติด้วยสาเหตุที่ว่าสไตล์การทำงานของเข้าเข้ากับ "ผู้ใหญ่" ในกรุงไทยไม่ได้ ผู้รู้กล่าวว่า "เริงชัยเป็นคนเก่ง แต่บุคคลิกจะโผงผางตรงไปตรงมามีปัญหาเข้ากับคนในกระทรวงการคลังที่เป็นกรรมการไม่ได้ หนำซ้ำยังขัดแย้งกันเองกับคนที่ไปจากแบงก์ชาติด้วยกัน"

ปลายปี 2530 เริงชัยจึงได้กลับมาสู่อ้อมอกแบงก์ชาติ" ท่านผู้ว่าฯให้การต้อนรับเป็นอันดี เพื่อไม่ให้เสียว่าเราส่งคนไปผิด คนของเรายังมีคุณสมบัติความสามารถเป็นที่ต้องการแน่ แบงก์ยังต้อนรับอยู่"

การพิสูจน์ "ความยินดีต้อนรับ" เริงชัยนั้นประจวบเหมาะกับการ "ไม่รู้จะเอาเขาไปลงไว้ที่ไหน" เพราะตำแหน่งเดิมของเขาได้มอบให้วิจิตรไปแล้วจึงในที่สุดกำจรก็ตัดสินใจปัดฝุ่นตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการ 5 ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่นุกูลตั้งตำแหน่งใหม่นี้ให้กับไพศาลเมื่อปี 2527

ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการ 5 นี้มีไพศาล กุมาลย์วิสัยนั่งเป็นคนแรกอันทำให้ในปี 2527 มีผู้ช่วยผู้ว่าการเพิ่มเป็น 5 คน ครั้นอดุล กิสรวงศ์ ผู้ช่วย ผู้ว่าการคนหนึ่งเสียชีวิตลง ก็ไม่ได้มีการแต่งตั้งใครขึ้นดำรงตำแหน่ง จวบจนปี 2530 เมื่อเริงชัยจะกลับมาแล้วไม่มีตำแหน่งที่เหมาะสมได้ จึงได้รื้อตำแหน่งนี้ขึ้นมาอีกครั้งและมอบให้เริงชัย

ผู้อาวุโสอดีตพนักงานแบงก์ชาติออกความเห็นว่า "โดยศักดิ์ศรีแล้วเริงชัยไม่ควรมาเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการ และถ้าดูตามลำดับอาวุโสแล้ววิจิตรควรได้รับการแต่งตั้งก่อน แต่เผอิญวิจิตรได้ไปเป็น ALTERNATE EXECUTIVE DIRECTOR ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) 2 ปี (2523-2525) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้เสียช่วงงานที่ติดต่อกับแบงก์ชาติไป แต่ตำแหน่งนี้แบงก์ชาติก็มอบให้เขาไปเอง มันเป็นเกียรติกับแบงกืและทำให้เขามีประสบการณ์งานที่กว้างขึ้นด้วย แต่ทีนี้เมื่อวิจิตรกลับมาแล้วนั้นเริงชัยได้แซงเขาขึ้นไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายแล้ว วิจิตรจึงต้องมาเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายอยู่คล้ายกับว่าช่วง 2 ปีที่วิจิตรไปอยู่นั้น ใคร ๆ ก็เลยได้ซีเนียร์กว่าเขาไปโดยปริยาย"

ปัญหาของวิจิตรเป็นปัญหาร่วมของผู้บริหารระดับสูงในแบงก์ชาติอีกหลายคน ที่เมื่อได้รับมอบงานพิเศษไปทำแล้ว แทนที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งตามระเบียบในแต่ละปี กลัถูก "แป๊ก" และไม่มีที่ลงให้เมื่อย้อนกลับเข้ามาในแบงก์หลังจากเสร็จสิ้นภาระพิเศษที่ได้รับมอบหมาย

ไม่แน่นว่าเอกกมล คีรีวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้รับมอบให้เป็นตัวแทนแบงกืชาติไปประาจำที่กองทนุการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระหว่างปี 2532-2533 จะเจอปัญหาเดียวกับวิจิตรหรือไม่เมื่อเสร็จภารกิจกลับมา

จะว่าไปแล้วแบงก์ชาติก็มีหลักการที่ทำกันอยู่เป็น "ปกติ" อย่างหนึ่งคือถ้าแบงก์ย้ายใครไปเพราะมีการขอยืมตัวมา หรือมอบหมายให้ไปทำงานอะไรแล้วคาดหมายว่าเขาจะกลับมาเมื่อนั่นเมื่อนี่ "ตำแหน่งต้องมีการรอกันนะ แบกง์จะมีการเตรียมพร้อมในเรื่องนี้ไว"

แต่หลักการนี้ก็ไม่ได้ทำอย่างเป็น "ปกติ" เสียทีเดียวนัก เพราะนอกจากกรณีของวิจิตรและเริงชัยแล้ว ยังมีรองผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์อย่างสำรอง วาณิชยานนท์อีกคนหนึ่งที่ถูก "แป๊ก" ทั้งที่ผู้ใหญ่หลายคนในแบงก์ชาติรู้ดีว่าเขามี "ฝีมือ"

สำรองอายุ 50 กว่าปี เป็นมือตรวจสอบยุคดึกดำบรรพ์ที่พวกแบงก์พาณิชย์กลัวนักกลัวหนาแบงก์เคยส่งไปอบรมที่สหรัฐฯประมาณ 6 เดือนและช่วงหนึ่งได้รับมอบงานพิเศาหใไปตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพล ถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้เสียเวลาอยู่กับกิจการนี้นานมาก นอกจากนี้ยังเป็นผู้หนึ่งที่เข้าไปแก้ไขปัญหาธนาคารแหลมทองด้วย

เมื่อปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบเสร็จสิ้นแล้วกลับเข้ามาในแบงก์ สำรองก็เห็นว่าเขาควรจะได้รับการสมนาคุณเพราะได้รับมอบให้ไปทำงานทีถือเป็นกิจการสำคัญ แต่ปรากฎว่ากลับมาแล้วตำแหน่งต่าง ๆ กลับไม่มีเพราะไม่มีการเตรียมการเอาไว้

"ถึงเวลาจริง ๆ ก็ไม่รู้ว่ากิจกรรมนั้นจะเสร็จเมื่อไหร่ และเมื่อเวลาเขาจะกลับมาก็มานั่งหารือกันว่าจะเอาเขาลงที่ไหน มันไม่มีการทำที่ว่างไว้ให้เขาเพราะฉะนั้นเขาจะช้า"

อย่างไรก็ดี อดีตผู้อาวุโสของแบงก์ให้ความเห็นว่าอีกไม่นานคงจะถึงรอบของเขาที่จะได้ขึ้นบ้างแม้ว่าเกียรติศักดิ์ มี้เจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์อีกคนหนึ่งจะชิงตัดหน้าเขาไปนั่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดการกองทุนก่อนแล้วเมื่อกันยายน 2531 ที่ผ่านมาก็ตาม

หลักการที่ไม่ค่อยจะเป็น "ปกติ" และติดจะไร้ระบบในการแต่งตั้ง โยกย้ายพนักงานตามกรณีที่กล่าวมาสร้าง "ความอึดอัดใจ" ระดับหนึ่งในหมู่พวกเขา ผนวกกับความอึดอัดใจในการทำงานด้วยแล้ว ก็กลายเป็นเรื่องง่ายมากที่ผู้บริหารระดับสูงและกลางหลายคนจะลาออกไปหา "ความสะดวกใจ" ในที่ทำงานอื่น ๆ

นพพร เรืองสกุลซึ่งลาออกไปพบกับ "ความสุขและความสะดวกใจ" ในการทำงานที่แบงก์พาณิชย์เมื่อปี 2531 นั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเหตุจากปัญหาข้างต้น

อดีตผู้อาวุโสของแบงก์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "นพพรนี่ทำงานดีนะ แต่สงสัยจะเป็นประการเดียวกับเริงชัย คือพูดจาไม่ถูกหูคนแต่ว่าทำงานเก่งจังเลย ตอนที่ออกจากแบงก์นั้นเธอรับผิดชอบฝ่ายจัดการกองทุนซึ่งต้องรับผิดชอเงินวันหนึ่ง ๆ มูลค่าหลายร้อยล้านบาท แต่ว่าตัวเองนี่กลายเป็นตรายางให้ผู้ใหญ่ เธอเสนอความคิดเห็นอะไรก้ไม่ได้รับฟังเลยมีแต่ว่าผู้ใหญ่จะมีนโยบายมาให้จ่ายอย่างโน้นนี่ซึ่งนาน ๆ ไปคนประเภทนี้เธอไม่ชอบ"

คนอย่างนพพรนั้นเธอต้องการทำงานที่มันเทียบเคียงกับความรับผิดชอบของเงินเดือน ซึ่งตอนนั้นเธอก็ได้เงินเดือนสูงอยู่ แต่งานของเธอไม่มีความรับผิดชอบอะไร ทำตามผู้ใหญ่สั่ง ผู้ใหญ่ต้องการอย่างไรก็สั่งมา ซึ่งเธอไม่ชอบอย่างมาก ๆ และถึงจะขอย้ายไปฝ่ายโน้นนี่ แบงก์ก็คงจะต้องปฏิบัติกับเธออย่างนี้อีก

เมื่อนพพรจะออกนั้น เธอนั่งในตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์กับเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดการกองทุน ซึ่งเทียบเท่าพนักงานชั้น 9 ซึ่งมันก็เป็นเอกเทศแต่ว่าแทนที่จะได้รับสิทธิพิเศษในการตัดสินใจอะไร มันก็กลายเป็นถูกสั่ง ซึ่งนี่ไม่ใช่ลักษณะที่นพพรจะทนได้ คนอย่างนี้ถึงออกไปได้เงินเดือนน้อยกว่าแต่ได้ทำงานที่สมกับเงินเดือน เธอชอบมาก ผู้ใหญ่ในแบงก์ก็เสียดายเธอเหมือนเป็นลูกรักลูกชัง

ความอึดอัดใจในการทำงานของนพพรเป็นอารมณ์ความรู้สึกประเภทเดียวกับข้อมูลที่ "ผู้จัดการ" ได้รับจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ว่า ปัญหาสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการบริหารบุคลากรคือควาไม่เต็มใจของผู้ใหญ่ที่จะปรับตัวให้ออ่อนลงเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่ชั้นระดับต่ำกว่า ในทางปฏิบัติก็เช่นกันแทนที่จะอะลุ่มอะล่วยหรือมีข้อตกลงกับเจ้าหน้าที่ชั้นระดับต่ำกว่า แล้วจึงค่อยตัดสินใจเลือกดำเนินมาตรการใด ๆ ผู้ใหญ่บางคนในธปท.กลับตัดสินใจไปก่อนเลยสถานการณ์เช่นนี้คงชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนที่สำคัญในการบริหารพนักงานของธปท. การขาดกลยุทธ์ที่แนบเนียนและนุ่มนวลย่อมบั่นทองกำลังใจของพนักงานได้ง่าย

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า "เมื่อลูกน้องซึ่งได้ผ่านการศึกษาระดับสูงเข้าใจถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดเงินเป็นอย่างดีเพราะได้ทำการศึกษามาเรียบร้อยแล้ว กลับไม่ค่อยได้รับการเหลียวแลหรือการให้เกียรติจากเจ้านานเลย ลูกน้องเหล่านั้นก็คงไม่ทนทุกข์ทรมานใจกับการทำงานให้ธปท.ไปนานโดยเฉพาะเมื่อบุคลากรเหล่านั้นมีคุณวุฒิสูงพร้อมประสบการณ์ จึงไม่น่าแปลกใจที่เขาเหล่านั้นได้ลากออกจากธปท.เพื่อไปประกอบอาชีพที่ได้รับความพอใจในงานที่ทำและเกียรติจากผู้ร่วมงานหรือเจ้านายโดยตรงมากกว่าได้รับจากธปท. นอกจากนั้นแล้วยังได้รับเงินเดือนจากที่ทำงานใหม่สูงกว่าจากธปท.อีกด้วย"

เช่นนี้แล้วปัญหาสมองไหลของแบงก์ชาติจึงเป็นเรื่องประสมประสานกันระหว่างเหตุปัจจัยหลายอย่าง ผู้บริหารระดับสูงและกลางอีกหลายคนที่ได้รับความอึดอัดใจเช่นนพพรยังมีอยู่เป็นจำนวนมากแต่บุคลิกภาพและโอกาสช่องทางที่ต่างกันทำให้พวกเขาไม่ได้ตัดสินใจเช่นนพพร

แต่ใครจะรู้ได้ว่าหากมีโอกาส สมองเหล่านั้นจะไม่พากันไหลออกไปอย่างนพพร

แต่ใครจะรู้ได้ว่าหากมีโอกาส สมองเหล่านั้นจะไม่พากันไหลออกไปอย่างนพพร

กรณีความอึดอัดใจในการทำงานที่แบงก์ชาตินั้นมีให้พูดกันได้ไม่รู้จบ เรื่องประเภทนี้เป็นเรื่องที่ระดับผู้อำนวยการฝ่าย, ผู้อำนวยการสำนักและผู้อำนวยการสาขาหลายคนล้วนมีประสบการณ์ที่ซาบซึ้งใจเป็นอย่างดี

เช่นเรื่องของภาณุวิทย์ ศุภธรรมกิจ ผู้อำนวยการ ธปท.สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในสมัยที่เป็นหัวหน้าส่วนวิเคราะห์ฯนั้น เคยเสนอความเห็นให้จัดการแก้ปัญหาเรื่องธนาคารมหานครตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งในระดับผู้อำนวยการฝ่ายเวลานั้นก็เห็นชอบด้วยแต่เรื่องกลับไป "แป๊ก" อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงจนกระทั่งเรื่องบานปลาย จึงได้มีการใส่ใจแก้ไขกัน

อย่างกรณีของรองผู้ว่าการสมพงส์ ธนโสภณ ซึ่งปัจจุบันไปเป็นประธานกรรมการบริหารธนาคารศรีนคร จำกัดนั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ลาออกก่อนเกษียณอายุ หลายคนถือว่าสมพงส์เป็นมันสอมงไหลจากแบงก์ชาติเพราะนอกจากสาเหตุของ "ความไม่ค่อยจะกินเส้น" กับผู้ว่าการนุกูล ประจวบเหมาะ และเรื่องสุขภาพที่เอามาอ้างแล้ว ประจวบเหมาะ และเรื่องสุขภาพที่เอามาอ้างแล้ว ยังได้มีการเตรียมการที่จะเข้าไปรับตำแหน่งในธนาคารศรีนครไว้ล่วงหน้าด้วย

ผู้รู้เรื่องนี้ดีคนหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "สมพงส์เขาไม่ค่อยจะกินเส้นกับผู้ว่าฯนุกูลเท่าใดนักเพราะว่าคุณนุกูลเป็นคนพูดจาตรงไตรงมาอย่างไม่เกรงใจใคร สมพงส์เขาทนมาหลายครั้ง เขาขมขื่นมากที่ต้องไปทนฟังการถูกตำหนิต่อหน้าผู้อำนวยการฝ่ายในที่ประชุ พอดีกับเขาป่วยเลจขอลาออกก่อนเกษียณ เขาบอกว่าอายุงานเขา 30 กว่าปี เขาได้บำนาญพอแล้ว"

ก่อนที่สมพงส์ขอลาออกทั้งที่ยังไม่เกษียณอายุนั้น ปรากฎว่าผู้ที่ละทิ้งตำแหน่งไปกอ่นเขากลับเป็นผู้ว่าฯนุกูลที่เขาปีนเกลียวด้วย จังหวะนั้นเองที่ "ความไม่ค่อยจะกินเส้น" ของคนคู่นี้เผยโฉมออกมาและเป็นเรื่องที่ "รู้กันไปทั่ว" ในแบงก์ชาติ

นั่นคือเรื่องการแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ว่าการในปี 2527 ซึ่งไพศาล กุมาลย์วิสัย ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายในเวลานั้นควรได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการเพราะมีลำดับความอาวุโสและอายุงานเพียงพอแล้วแต่กลับมีการเสนอชื่อมาโนช กาญจนฉายาซึ่งมีอาวุโสน้อยกว่าแทน

สมพงส์ในตำแหน่งรองผู้ว่าการเป็นผู้ที่รู้เรื่องนี้ดีที่สุด และว่ากันว่าไพศาลน้อยใจมากถึงขั้นจะลาออก แต่บังเอิญผู้ว่านุกูลได้ทราบเรื่องขึ้นก่อน จึงให้มีการทบทวนประวัติอายุกันใหม่และในที่สุดพบว่าไพศาลมีอาวุโสกว่าจริง นุกูลจึงได้เซ็นตั้งไพศาลเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการคนที่ 5 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นใหม่จากเดิมที่มีเพียง 4 ตำแหน่ง

คำสั่งที่เซ็นในวันสุดท้ายที่นุกูลนั่งในตำแหน่งผู้ว่าการ

นอกจากอาการปีนเกลียวกันทำนองนี้แล้วผู้รู้ได้เปิดเผยเหตุผลอีกประการหนึ่งที่เป็นชนวนให้สมพงส์ลาออก "ความจริงนั้นคุณอุเทน เตชะไพบูลย์ได้มาพูดทาบทามเขานานแล้ว เพราะว่าเล่นกอล์ฟด้วยกัน และการที่จะมอบตำแหน่งประธานกรรมการบริหารให้กับลูก ๆ หลาน ๆ ตอนนั้นก็ยังมีปัญหาอยู่จึงตัดสินใจเอาคนนอกมาดีกว่า"

ข้อเสนอผลตอบแทนที่แบงก์พาณิชน์มอบให้อดีตนายธนาคารกลางทั้งหลาย ที่เต็มใจจะไปร่วามงานด้วยนั้น ย่อมดีกว่าสิ่งที่เขาได้รับในแบงก์ชาติเป็นแน่ไม่ว่าจะในเรื่องของอัตราเงินเดือนที่สูงกว่า พาหนะชั้นดีประจำตำแหน่ง โอกาสการเดินทางไปดูงานในต่างประเทศ โบนัส จ่ายภาษีแทน และอื่น ๆ อีกมากมาย

ในบางรายยังได้รับสิทธิพิเศษอันเนื่องมาจากไปนั่งในตำแหน่งประธานกรรมการหรือกรรมการของบริษัทลูกหนี้ของธนาคารเพื่อดูแลสินเชื่อที่ปล่อยไป

โอกาสเช่นนี้สามารถสร้างอดีตหัวหน้าส่วนของแบงก์ชาติให้กลายเป็น 1 ในเศรษฐี 50 คนแรกที่เสียภาษีสูงไปได้ในชั่วเวลาไม่กี่สิบปีหันหลังให้แบงก์ชาติ

ความยั่วยวนล่อใจของภาคเอกชนนั้นเป็นเรื่องจริงที่ชาวแบงก์ชาติหลายคนปฏิเสธไม่ลง แม้ว่าแบงก์ชาติจะมีสวัสดิการชั้นเยี่ยมให้พนักงานจนถึงกับมีการกล่าวขานว่า "ถึงแบงก์พาณิชย์จะเด่นกว่าในเรื่องของเงินเดือน แต่ไม่เชื่อว่าจะมีสวัสดิการที่ดีกว่าแบงก์ชาติ เอาเงินมาให้กู้ดอกเบี้ยถูก ๆ อย่างนี้มีทีไหน"

สวัสดิ์การชั้นเยี่ยมยอดนี้อาจเป็นแรงดึงดูดใจอย่างดีสำหรับพนักงานชั้นกลาง-ล่าง ซึ่งมีอัตราการลาออกเทียบไม่ได้กับพนักงานระดับบริหาร แต่ถึงกระนั้นหลายฝ่ายหลายคนในระดับล่างก็มีความอึดอัดใจในการทำงานไม่แพ้ผู้บริหารระดับสูง

พนักงานชั้นผู้น้อยรายหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าสิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดคือเรื่องการขอเครื่องมือและอัตรากำลังคนเพิ่ม เพื่อรองรับกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ปัญหานี้ไม่ได้รับการเหลียวแลใส่ใจ หลายคนให้ความเห็นว่าระบบการจัดหาอุปกรณ์ของแบงก์ชาตินับวันจะเข้าลักษณะของระบบราชการมากขึ้นทุกที คือขาดแคลนงบประมาณ ยุ่งยากซับซ้อนและล่าช้า

ส่วนสวัสดิการชั้นยอดเยี่ยมที่ให้กับพนักงานนั้น ก็เป็นการให้อย่างมีเงื่อนไขและก่อปัญหาให้กับพวกเขาพอสมควร เช่น วงเงินกู้เพื่อการซื้อที่ดินปลูกบ้านหรือซ่อมบ้านจะต้องมาคนค้ำประกันตลอดการกู้

ส่วนที่ทำความลำบากให้พวกเขาคือสมัยก่อนพนักงานสามารถเบิกเงินไปซื้อของได้เป็นงวด ๆ เมื่อทำเรื่องขอกู้แล้ว แต่มาในภายหลังสมัยที่ประพันธ์วิโรทัย เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการพนักงานฯ และเจริญ บุญมงคล เป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายการพนักงานฯ ระเบียบข้อนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยพนักงานต้องออกเงินไปเองล่วงหน้าก่อน หลังจากนั้นแบงก์จะส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างไปตรวจสอบ แล้วพนักงานจึงจะมาเบิกเงินที่ขอกู้ได้ ว่ากันว่าเรื่องนี่ทำความลำบากให้พนักงานอย่างหนัก เพราะเท่ากับว่าพวกเขาต้องไปกู้เงินจากที่อื่น และจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเพื่อนำเงินก้อนนั้นไปใช้ก่อน จึงจะมีงานออกมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจขอเบิกเงินกู้ได้

นอกจากนี้ยังมีระเบียบจุกจิกในเรื่องของการรับบำนาญ กล่าวคือในกรณีที่พนักงานแบงก์ซึ่งมีสิทธิได้รับบำนาญเกิดเสียชีวิตลง ทายาทพนักงานก็สมควรจะเป็นผู้ได้รับบำนาญนั้นแทนหลังจากยื่นเรื่องราวกับศาลแล้ว แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าทายาทต้องหาพนักงานในแบงก์มาเป็นผู้ค้ำประกัน จึงจะสามารถรับบำนาญได้

ปัญหาเช่นนี้เป็นเรื่องแก้ไขได้ไม่ยาก ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารจะมีความจริงใจ ใส่ใจในการแก้ไขมากน้อยเพียงใด ทุกวันนี้พนักงานชั้นกลาง-ล่างซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็น 90% ของพนักงานแบงก์ชาติทั้งหมด มี "สังคมปิด" แบบหนึ่งที่คนภายนอกหรือกระทั่งผู้บริหารระดับสูงยากจะรู้และเข้าใจ

สวัสดิการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ได้กลายเป็นช่องทางหากินของพนักงานชั้นสูงบางคน ส่วนชั้นล่างลงมานั้น ก็มีการหันไปหาอบายมุขประเภท "หวยเถื่อน" ที่เล่นกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน วงเงินเป็นหมื่นเป็นแสนบาท

พฤติกรรมเหล่านี้คงเป็นที่ฉงนใจสำหรับหลาย ๆ คนที่ยังคิดว่าเกียรติยศและศักดิ์ศรีของแบงก์ชาติน่าจะเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งพวกเขาไว้ได้

แต่พนักงานแบงก์ชาติก็เป็นปุถุชนธรรมดาอดีตผู้อาวุโสของแบงก์กล่าวว่า "ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่เวลาผู้ใหญ่จะพูดก็ว่าพนักงานของเราถือเป็นพนักงานที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีสูง มีความรู้สูง ผมว่าทุกสถาบันเวลาเขาพูดกับลูกน้องเขาก็พูดอย่างนี้ ผมไม่เห็นว่าคนแบงก์ชาติจะต่างไปกว่าใครแล้วเข้ามามันก็มีเล่นพวกมาก่อน ตอนหลังจึงมารับจากนักเรียนทุนและการสอบเข้า ซึ่งวิธีการนี้ไม่ได้คัดเรื่องนิสัย แต่เป็นการวัดจากผลการศึกษา เพราะฉะนั้นก็เป็นคนธรรมดา"

"ส่วนข้อที่ว่าพนักงานแบงก์ชาติมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกงนั้น ก็เป็นเพราะว่าระบบช่องทางโกงมันไม่มี มันเป็นระบบบัญชีหรือระบบความรับผิดชอบท่มีการวางขั้นตอนการควบคุมไว้แข็งแรงความซื่อสัตย์นั้นก็เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้เพราะว่ามันก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ถ้าระเบียบมันหย่อนมันก็เคยหายมาแล้ว แต่อย่าพูดว่าคนแบงก์ชาติซื่อสัตย์สุจริตกว่าที่อื่น เพียงแต่ว่าช่องทางที่จะไปทุจริตคอร์รัปชั่นนี่มันไม่รู้จะมีตรงไหน"

เกียรติยศและศักดิ์ศรีนั้นเป็นเครื่องเชิดชูประจำสถาบันทุกแห่ง ไม่เฉพาะแต่ที่ธนาคารกลางเท่านั้น และความมีเกียรติและศักดิ์ศรีประการนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวพันอะไรกับการที่พนักงานจะลาออกจากแบงก์ เพราะในสถาบันอื่น ๆ ก็มีเกียรติและศักดิ์ศรีประหนึ่งเดียวกัน

ในสังคมธุรกิจการเงินที่ซับซ้อน และเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นทุกวันนี้ ความมีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นคุณค่าแห่งสถาบันที่บุคคลอาศัยฝีมือความสามารถสร้างเสริมให้ ในบางสถาบันคุณค่าประการนี้สามารถวัดได้ด้วยผลกำไรและความมั่นคงของฐานะการเงิน เกียรติและศักดิ์ศรีจึงย่อมเป็นผลแห่งงานที่บุคคลมีอยู่ติดตัวด้วย

อย่างไรก็ดี ความมีเกียรติและศักดิ์ศรีก็ยังถือเป็นเรื่องรองเมื่อนำมาเทียบเคียงกับเรื่องผลตอบแทนและโอกาสก้าวหน้า ในการทำงานที่บุคคลแสวงหาในสังคมเศรษฐกิจของการแข่งขันอย่างเสรี ข้อเสนอเรื่องผลตอบแทนเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาเป็นอันดับแรก

ในหลายกรณีการเสนอผลตอบแทนที่ดีกว่าเป็นแรงจูงใจเพียงพอที่ทำให้คนก้าวเข้ามาหาแล้วแต่ในอีกหลาย ๆ คนยังต้องการมากไปกว่านั้น ทั้งในแง่ของโอกาสก้าวหน้าในการทำงานและเกียรติศักดิ์ศรีด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นในแบงก์ชาติคือการลาออกของพนักงานระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลาหลายสิบปี นับเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คนซึ่งมีความรู้ความสามารถย่อมมองหาช่องทางของความก้าวหน้าในตำแหน่งางานและผลตอบที่สูงกว่าดีกว่า คำพูดที่ว่าความยั่วยวนล่อใจของภาคเอกชนสามารถดึงคนจากแบงก์ชาติไปสวามิภักดิ์ด้วยได้นั้นเป็นข้อเท็จจริงพอ ๆ กับที่พูดว่าเพราะความอึดอัดใจในการทำงานที่แบงก์ชาติจึงเป็นเหตุให้ผู้บริหารระดับสูงละทิ้งความมั่นคงที่นี่ไปสู่ความมั่นคงในที่แห่งใหม่เมื่อสบโอกาสอันงาม

กรณีที่พนักงานแบงก์ชาติลาออกเพราะแรงดึงดูดใจจากแบงก์พาณิชย์มีมากกว่านั้นเป็นเรื่องที่ "ช่วยไม่ได้" และไม่ใช่ "ความผิด" ของผู้บริหารแบงก์ชาติ ทั้งนี้ทั้งนั้นแบงก์ชาติไม่ได้มีหน้าที่แข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างแรงจูงใจเพื่อดึงพนักงานเอาไว้หรือเพื่อความภักดีของพนักงาน แต่สิ่งที่แบงก์ชาติสามารถทำได้ควรจะเป็นการให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่พอเพียงแก่การครองชีพของพนักงาน เพียงพอที่จะให้มีความซื่อสัตย์ในการรักษาความถูกต้องในการทำงาน และอาจจะรวมถึงเกียรติศักดิ์ศรีเท่าที่จะมีให้ได้

ในแง่นี้แบงก์ชาติไม่สามารถ "ให้" ได้มากเท่าหรือมากกว่าธนาคารพาณิชย์ แ ละเท่าที่มีอยู่ก็มีอภิสิทธิ์มากกว่าข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจทั้งหลายแล้ว

ขณะที่แบงก์ชาติมีข้อจำกัดตามสถานะดังว่านี้ ธนาคารพาณิชย์ก็มีความได้เปรียบกว่า ในแง่ที่สามารถสร้างแรงจูงใจและสิทธิพิเศษสารพัดอย่างแก่บุคคลที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการให้มาร่วมงานด้วย

ในเมื่อแบงก์ชาติไม่อยู่ในสถานะเดียวกับที่จะทำอย่างธนาคารพาณิชย์ แบงก์ชาติก็จำต้องยอมรับการลาออกของพนักงานระดับสูงซึ่งหันไปสู่อ้อมอกของธนาคารพาณิชย์โดยดุษณี และแน่นอนว่าเป็นปัญหาที่แบงก์ชาติแก้ไม่ได้ และไม่อยู่ในวิสัยที่จะมีกลไกแก้ปัญหาได้สักเท่าใด

แต่ปัญหาที่พนักงานลาออกเพราะความอัดอึดใจในการทำงานนั้นเป็นประเด็นที่สามารถแก้ไขได้หรือกระทั่งเรื่องความสะดวกในสวัสดิการ, ขั้นต้นตำแหน่งตัน ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารระดับสูงและกรรมการแบงก์ชาติกจะมีความจริงใจในการแก้ไขเพียงใด

อย่างไรก็ตาม หากแบงก์ชาติสามารถแก้ปัญหาของตัวในเรื่องวิธีการทำงาน ระบบงาน การยอมโอนอ่อนรับฟังข้อเสนอของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง และการเคารพต่ออำนาจในขอบเขตหน้าที่ของผู้บริหารแต่ละคน จำนวนผู้บริหารระดับสูงที่จะละทิ้งหลีกหน้าออกจากแบงก์จะมีลดลงหรือไม่

คำถามนี้ท้าทายคนแบบนพพร เรืองสกุล และ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ แต่อาจจะไม่เป็นที่สนใจสำหรับคนอื่น ๆ แม้แต่ ศุภชัย พานิชภักดิ์ ซึ่งมีอุดมคติในทางการเมืองเป็นพิเศาต่างออกไป

แม้ผู้มีฝีมือทั้งหลายจะได้ลาจากสถาบันเจ้าของทนุการศึกษาของตนไปในวัยที่กำลังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการทำงาน แต่แบงก์ชาติก็ยังมีผู้มีความสามารถอีกหลายคนและอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ระหว่างการบ่มเพาะในสถานศึกษาต่างประเทศ

ในระยะ 3-4 ปีข้างหน้าแบงก์ชาติจะมีผู้บริหารเกษียณอายุเป็นจำนวนมาก จังหวะนี้ผู้บริหารวัยหนุ่มทั้งหลายก็จะได้เลื่อน่ขึ้นมาแทน โดยเฉพาะ "คนที่อยู่ในวัย 40 กว่านั้นเป็นคนกำลังทำงาน เมื่อก่อนคนเก่งของแบงก์ชาติ อย่างคุณสมหมาย ฮุนตระกูล คุณประหยัด บุรณศิริ ก็ล้วนอยู่ในวัยนี้ทั้งนั้นในระดับ 30 กว่า -40 ปีนี่ถือเป็นระดับสมองของการทำงาน" ผู้อาวุโสซึ่งเกษียณจากแบงก์ชาตินานแล้วกล่า

หลังจากที่รองผู้ว่าการชวลิต ธนะชานันท์ เกษียณในปี 2533 ผู้ช่วยผู้ว่าการที่เป็นตัวเต็งจะขึ้นมาได้มี 2 คนคือเริงชัย และวิจิตร โดยมีข้อแม้ว่าถ้าจะเลือกเอาจากลูกหม้อของแบงก์ชาติ ทั้งนี้คุณสมบัติในข้อความรู้ความสามารถต่างมีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันแต่วิจิตรจะมีอายุงานในตำแหน่งน้อยกว่าเริงชัยเล็กน้อยไม่ถึงปี ส่วนความอาวุโสในอายุนั้นเริงชัยอ่อนกว่าและเป็นนักเรียนรุ่นหลัง 1 ปี

สิ่งที่วิจิตรได้เปรียบเริงชัยอยู่ก็คือ วิจิตรยังไม่มีประวัติความสัมพันธ์ในการทำงานที่ปีนเกลียวกันกับผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลัง เหมือนอย่างที่เริงชัยมีสมัยที่ไปนั่งทำงานในแบงก์กรุงไทย แต่ถ้าผู้ใหญ่เหล่านั้นเกษียณอายุออกไป ปัญหาของเริงชัยก็อาจจะสิ้นตามไปด้วย

ส่วนตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการซึ่งจะเกษียณลงในปีนี้และปีหน้ารวม 3 คนนั้น ก็มีผู้ที่มีความสามารถและคุณสมบัติจะขึ้นได้หลายคน จัดได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ไม่ขาดแคลนคนอย่างแน่นอน

ดังนั้นปัญหาสมองไหลในระดับนี้จึงมีโอกาสน้อยกว่าในระดับรองลงไป ซึ่งก็ยังถือว่าเป็นผู้บริหารระดับสูงอยู่ เช่น รองผู้อำนวยการฝ่าย ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสาขา ผู้จัดการกองทุน คนระดับนี้ถ้าถูก "แป๊ก" นาน ๆ เข้าก็เป็นไปได้ว่าจะหลีกออกไปใช้เวลาการทำงานที่เหลืออยู่ในโอกาสของหน้าที่การงานที่ดีกว่า ดังที่มีปรากฎมาแล้ว

อดีตพนักงานอาวุโสในแบงก์ชาติให้ข้อคิดว่า "สิ่งหนึ่งที่นักเรียนทุนผู้เก่งกล้าสามารถหรือผู้บริหารระดับสูงก็ตามของแบงก์ต้องยอมรับก็คือ ตำแหน่งที่แต่ละคนนั่งอยู่นั้นไม่ใช่ระดับสูงสุดจริง ๆ มันยังอยู่ในตำแหน่งกลางค่อนข้างสูง คนที่สั่งการได้นั้นนั่งอยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่า เขาสามารถเอานโยบายของเขามาใช้ได้ ตัวเองจะไปบังคับให้เขารับของตัวนั้นไม่ได้"

นี่คือข้อจำกัดของมือบริหารระดับสูงของแบงก์ชาติ ถึงอย่างไร ๆ หน่วยงานนี้ก็ต้องอยู่ภายใต้การกำกับและควบคุมของกระทรวงการคลังอยู่ดี

การกำกับและควบคุมของคลังไม่ได้ทำลงมาถึงพนักงานระดับกลาง-ล่าง หน้าที่นี้จึงเป็นภาระของผู้บริหารแบงก์เอง เท่ากับว่าความตีบตันในเรื่องขั้นตำแหน่ง รวมทั้งปัญหาความอึดอัดใจในการทำงานของพนักงานแบงก์ชาติเป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารแบงก์ระดับสูง ซึ่งควรจะใส่ใจให้มากกว่าที่เป็นอยู่ หากไม่ต้องการเห็นภาคเอกชนช่วงชิงผู้มีฝีมือหลุดลอยไปทีละคนสองคน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us