Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2552
ปีแห่งการระมัดระวัง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย

   
search resources

Banking
ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย




แม้ว่าธนาคารเอชเอสบีซี สัญชาติอังกฤษ จะยืนยันว่าไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซัพไพร์ม แต่เอชเอสบีซีก็เพลี่ยงพล้ำเข้าไปลงทุนในเฮดจ์ฟันด์ "เบอร์นาร์ด แอล แมดอฟฟ์ อินเวสเมนท์ ซีเคียวริตี้ส์" ที่ฉ้อฉลในลักษณะแชร์ลูกโซ่

มูลค่าความเสียหายเกิดขึ้นโดยรวมถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐและรายงานจากหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ระบุว่า เอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ ได้เข้าไปลงทุนเช่นเดียวกันและคาดกันว่าจะมีความเสียหายสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์

ก่อนที่จะมีข่าวเกี่ยวกับเรื่องธนาคารเอชเอสบีซีจ่ายเงินปันผลเมื่อไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาให้กับผู้ถือหุ้นมูลค่า 0.18 เหรียญดอลลาร์ต่อหุ้น

ธนาคารยืนยันความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่ผ่านมาว่าเป็นธนาคารที่ไม่จำเป็นต้องรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากรัฐบาลหรือผู้ถือหุ้นและยังใช้โอกาสเข้าไปซื้อกิจการธนาคารอิโคโนมิแห่งอินโดนีเซีย

เหตุผลที่ทำให้ธนาคารเอชเอสบีซียังมีสภาพคล่องทางด้านการเงินเพราะธนาคารสาขาที่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง เอเชียแปซิฟิก และยุโรป ยังทำรายได้ให้กับกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง

แต่ธนาคารยอมรับวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลกระทบต่อธนาคารเช่นเดียวกันโดยเฉพาะในอังกฤษและฮ่องกงราคาหุ้นตกลงไปถึง 20% แต่ธนาคารพยายามเปรียบเทียบ กับสถาบันการเงินอื่นๆ ราคาหุ้นตกมากกว่าธนาคารเอชเอสบีซี

ในภาพรวมของวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้น มร.วิลลี แทม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารเอชเอสบีซีประจำประเทศไทยบอกว่าสหรัฐอเมริกาจะต้องใช้เวลาในการปรับโครงสร้างถึง 2 ปีในการแก้ปัญหาธุรกิจทางด้านการเงิน

ในส่วนของประเทศไทยธนาคารได้เพิ่มทุนเป็น 2,450 ล้านบาทเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเงินจำนวนนี้จะนำไปขยายธุรกิจ อาทิ สินเชื่อธุรกิจ พาณิชย์ธนกิจและบุคคลธนกิจรวมไปถึงการควบรวมกิจการเมื่อมีโอกาส

ซึ่งนโยบายในการทำธุรกิจของธนาคารในเมืองไทยยังเป็นนโยบายเดิม ที่ไม่ได้ผิดแผกไปจากเดิมแม้แต่น้อย

ธนาคารยืนยันเน้นลูกค้ารายใหญ่ ที่อยู่ในตลาดเงินและตลาดทุน ทำให้ มร.แทมบอกว่าเป็นเรื่องที่โชคดีของธนาคารที่กลยุทธ์ไม่เปลี่ยนและเดินตามแผนธุรกิจแม่มาโดยตลอด

รายได้ของธนาคารในประเทศไทยมา 3 ส่วนธุรกิจหลัก อาทิ รับฝากหลักทรัพย์ 15% ธุรกิจตลาดเงิน ตลาดทุน 40% และธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรและลูกค้าส่วนบุคคล 45%

มร.แทมมองว่า ในปี 2552 เป็นช่วงเวลาที่ต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ เพราะภาพรวมจีดีพีของไทยเชื่อว่าจะลดลง 0-2% เนื่องจากธุรกิจส่งออกได้รับผลกระทบจากตลาดจีน ยุโรป สหรัฐอเมริกามีความต้องการสินค้าลดลง

มร.แทมแนะนำผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในปีนี้ไม่ควรลงทุนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรยืมเงินมาขยายธุรกิจ บริหาร จัดการต้นทุนให้เหมาะสมและรอให้ผ่านพ้นไปจนถึงปี 2553

สิ่งที่ลูกค้าปรารถนาจากธนาคารในปีหน้าคือการประกันความเสี่ยง การจัดการสภาพคล่องและการจัดการเงินสด

มร.แทมมองว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศคาดว่าจะดีขึ้นแต่เขาก็ไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นอีก จึงทำให้ ทำงานค่อนข้างใกล้ชิดกับพนักงานของเขา เพื่อติดตามสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น

แม้ว่า มร.แทมจะเข้ามาทำงานในเอชเอสบีซีเป็นระยะเวลา 1 ปีแต่ผลงานยังไม่เห็นเด่นชัดมากนักเพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในเมืองไทยตลอดปี 2551 ที่ผ่านมามีทั้งวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติการเมืองควบคู่กันไป

แต่ปี 2552 กูรูด้านเศรษฐกิจทั้งไทยและต่างประเทศก็คาดเดากันว่าปีนี้จะรุนแรงและสาหัสมากกว่า แม้ มร.แทมจะยืนยันว่าเขามีทีมงานที่แข็งแกร่ง ก็ต้องรอดูต่อไปว่าทีมงานของเขาจะช่วยได้มากแค่ไหนจากนี้ไปอีก 1 ปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us