|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในที่สุดบริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด หรือเอชพี ก็ได้ มร.อลัน เซ็ดจีห์ มานั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ ที่มาจากเพื่อนข้างบ้านบริษัท เอสเอพี
มร.เซ็ดจีห์เข้ารับตำแหน่งในบริษัท เอชพี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 เพื่อมาแทนสรรพัชญ์ โสภณ ที่ลาออกไป
แม้ว่า มร.เซ็ดจีห์จะเริ่มทำงานกับเอชพีเพียงแค่ 2 เดือนก็ตาม แต่เขาไม่ใช่คนหน้าใหม่สำหรับตลาดไอทีในประเทศไทย เพราะเขานั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท เอสเอพี (ไทยแลนด์) จำกัด รวมทั้งดูแลตลาดอนุทวีปอินเดียเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
เขายังมีประสบการณ์ในการทำงานในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารโทรคมนาคมและสาธารณูปโภค มากว่า 28 ปี
มร.เซ็ดจีห์เริ่มทำงานครั้งแรกในประเทศออสเตรเลียในตำแหน่งวิศวกรของบริษัทผลิตแผงสับเปลี่ยนไฟฟ้าก่อนที่จะย้ายไปทำงานในด้านการจัดการโซลูชั่นทางไอทีให้กับบริษัทผลิตไฟฟ้า หลังจากนั้นได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท Andersen Consulting (ปัจจุบันคือบริษัท Accenture) เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านอุตสาหกรรมสาธารณูปโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัย University of Kansas ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาทางด้านการบริหารจากสถาบัน Australian Institute of Management
บริษัท เอชพีได้เปิดตัว มร.เซ็ดจีห์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา พร้อมกับงานแถลงข่าวทิศทางและกลยุทธ์การตลาดในปี 2552 และกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี โซลูชั่นส์ กรุ๊ป รวมถึงข้อมูลผลประกอบการในปีที่ผ่านมา
มร.เซ็ดจีห์เข้ามาทำงานให้กับเอชพีในช่วงเวลาที่ท้าทายเพราะเป็นช่วงที่ทุกคนตระหนักดีว่าปี 2552 เป็นปีภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยทั่วโลกมีการลงทุนและขยายธุรกิจน้อยมากรวมไปถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ภารกิจหลักของเขาคือการสร้างรายได้และผลกำไรโดยรวม ของเอชพีในประเทศไทย
อีกภารกิจที่เขาจะต้องเร่งทำหลังจากที่บริษัท เอชพี บริษัท แม่ได้ซื้อกิจการของบริษัท อิเล็กทรอนิก ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น (อีดีเอส) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 คือการรวมพนักงาน ของบริษัท อีดีเอส ในประเทศไทย
ปัจจุบันเอชพีมีพนักงานประมาณ 800 คนและไม่สามารถ ปฏิเสธได้ว่าจะไม่มีการลดพนักงานหลังจากที่มีการรวมพนักงานอีดีเอสเข้ามาร่วมงานส่วนหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนที่จะเพิ่มสูงขึ้น
การเข้าซื้อกิจการอีดีเอสส่งผลให้เอชพีมีบริการที่ครบวงจร ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บริการและโซลูชั่น ที่ให้บริการลูกค้าตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ หรือที่เรียกว่า end-to-end
ลูกค้าของเอชพีเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างกว้างมีตั้งแต่ระดับคอนซูเมอร์ ผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก ขยายไปจนถึงลูกค้าระดับองค์กรขนาดใหญ่
แต่ในปีนี้เอชพีจะเน้นกลุ่มลูกค้ามีเดีย บันเทิง และธุรกิจสื่อสารที่มองว่าเป็นกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงบริการเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่ผ่านมาอยู่ในรูปแบบทำธุรกิจต่างคนต่างทำแต่การเชื่อมโยง ธุรกิจจะทำให้มีบริการใหม่ๆ และสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ
แม้ว่าเอชพีจะไม่เคยเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการในประเทศไทยก็ตามแต่จะเปิดเผยรายได้ของกลุ่มบริษัทเอชพีในต่างประเทศและ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551 มีรายได้สุทธิ 33.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 19
ผลประกอบการโดยรวมของเอชพีปี 2551 จะดูดีก็ตามแต่ว่าปี 2552 ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในยามวิกฤติ แม้แต่ มร.เซ็ดจีห์ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่เดาลำบาก
|
|
|
|
|