เจริญ สิริวัฒนภักดี เข้ามาซื้อหนี้ทั้งหมดของกลุ่มบุนนาคที่ติดค้างอยู่กับเจ้าหนี้รายใหญ่แบงก์ไทยทนุ
และบงล.ภัทรธนกิจ กว่า 500 ล้านบาทในโครงการอสังหาริมทรัพย์ พันธุ์ทิพย์พลาซ่าที่ล้มเหลวมาตลอด
เขาพยายามฟื้นฟูทรัพย์สินตัวนี้ โดยให้กลุ่มทีซีมัยซินของเฉลียว อยู่วิทยา
เข้ามาบริหารจัดการคู่กับมงคล ทัฬหะกุลธร ลูกหม้อเก่าพันธุ์ทิพย์ฯ ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการซื้อขายทรัพย์สินตัวนี้
และเป็นผู้เดียวที่รู้ความซับซ้อนในปัญหาของพันธุ์ทิพย์มากที่สุด พันธุ์ทิพย์พลาซ่าได้มาถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อแล้ว…
ทุกวันนี้พันธุ์ทิพย์พลาซ่าเงียบเหงาซบเซาสถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น
หากแต่เนิ่นนานมาแล้ว ที่เป็นเช่นนั้น ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีที่ก่อตั้ง เพราะความผิดพลาดของดีพาร์ทเมนท์สโตร์ที่น่าจะเป็นแกนหลักในการดึงลูกค้า
แต่ก็กลับล้มเหลว ความล้มเหลวผิดพลาดเริ่มพอกพูนสะสมนานนับเดือนนับปี ที่ว่างในส่วน
PLAZA ถูกขายคืนแก่ทิพย์พัฒนอาเขตเกือบหมด ภาระดอกเบี้ยจากของใหม่ ภัตตาคารพันธุ์ทิพย์ลงทุนขนาดใหญ่เกินไป
หาจุดคุ้มทุนต่อเดือนยากแสนเข็ญ ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของศูนย์การค้าทุกอย่างเหมือนพายุลูกใหญ่ที่โหมกระพือพัดเข้าสู่พันธุ์ทิพย์
บริษัททิพย์พัฒนอาเขต ซึ่งเป็นผู้ลงทุนในทรัพย์สินอาคารศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์จึงอยู่ในภาวะอึดอัดมาก
การแก้ปัญหา ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เงินที่ปล่อยไปต้องสูญ นั่นเป็นเหตุผลง่าย ๆ ซึ่งอยู่ในข่ายของการแก้ปัญหาพันธุ์ทิพย์ในครั้งแรก
บริษัทไพบูลย์ สมบัติของตระกูลบุนนาคเข้ามารับซื้อกิจการทรัพย์สินพันธุ์ทิพย์เพราะดุลยเดช
บุนนาคเป็นผู้ค้ำประกันฐานะการเงินตั้งแต่ต้นโครงการ และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ
ซึ่งนำทีมโดยวิโรจน์ นวลแข (บุนนาค) ก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ เปลี่ยนมือจากเจ้าของเก่า
กลุ่มศรายุทธ อัศวทิพย์ไพบูลย์มาเป็นของตระกูลบุนนาค เมื่อมีนาคม 2528
ครั้งที่สองและเป็นครั้งล่าสุด คือเจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งค่ายหงส์ทอง
รับซื้อทรัพย์สินจากตระกูลบุนนาค ทรัพย์สินที่ว่าก็ไม่ใช่แต่เฉพาะที่พันธุ์ทิพย์แห่งเดียวเท่านั้น
ยังมีที่ดินอีก 5 แปลง คือ 28 ไร่ตรงข้ามโกดังอี๊สต์เอเชียติ๊ก ถนนเจริญกรุง
270 ไร่ ที่สวนเกษตรทับสะแก ที่ดินบริเวณตลาดเก่าเยาวราช สวนปาล์มที่ชุมพร
1,000 ไร่และที่ดินย่านถนนวิภาวดีฯอีก 5 ไร่ ซึ่งเป็นของตระกูลบุนนาค เรียกว่ารับซื้อภาระหนี้มาทั้งหมด
1,000 ล้านบาทเศษ เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2531
เจริญซื้อทรัพย์สินจากไพบูลย์สมบัติครั้งนี้เงื่อนไขดีมากเงินซื้อ 1,000
ล้านบาทเศษอยู่จ่ายเป็นรายเดือนกำหนด 10 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าอีก 10 ปีข้างหน้าที่ดิน
5 แปลงที่ว่านั้นราคาสูงขึ้นไปอีกเท่าไร
ปัจจุบันพันธุ์ทิพย์ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นของเจริญนักซื้อ แต่ถ้าพูดถึงผู้ที่เข้ามาดูาแลกิจการอยู่เวลานี้กลับไม่ใช่คนที่มาจากค่ายหงส์ทอง
กลุ่มกระทิงแดงบริษัท ทีซี มัยซินของเฉลียวอยู่วิทยาประมาณ 6-7 คนเข้าไปนั่งสั่งการในทรัพย์สินของเจริญหลายอย่างที่ตึกทีซีซี
(สำนักงานของค่ายหงส์ทอง) แถวเจริญกรุงนั่น พันธุ์ทิพย์เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น
การเปลี่ยนมือเจ้าของ หรือแม้กระทั้งตัวผู้บริหารที่ผ่านมาครั้งแล้วครั้งเล่า
เปลี่ยนคอนเซ็ปท์ของอาคาร จนกระทั่งจะพยายามให้เป็นอาคารสำนักงาน แต่ก็ยังมีคนที่ดำรงอยู่กับพันธุ์ทิพย์อย่างไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่สมัยพันธุ์ทิพย์เป็นของตระกูลาบุนนาค
เมื่อ 5 ปีที่แล้ว เขาอยู่มาจนปัจจุบัน มีงานวิจัยอย่างน้อย 3 ชิ้นเกี่ยวกับพันธุ์ทิพย์พลาซ่าและตั้งข้อสังเกตว่า
จุดล้มเหลวมันอยู่ที่ MISMANAGEMENT และตัวเขาเองก็เป็นผู้นำของขบวนการอันซับซ้อนเหล่านั้น
เรื่องมันจึงประกอบกันไปหมด ผลก็คือความเหงาหงอยของพันธุ์ทิพย์เท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
บริษัท ทิพย์พัฒนอาเขต ซึ่งเป็นบริษัทที่ลงทุนพันธุ์ทิพย์พลาซ่า และภัตตาคารพันธุ์ทิพย์
พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นผู้บริหารเนื้อที่ทั้งหมดภายในตึก วัตถุประสงค์เดิมคือ
การสร้างศูนย์การค้าที่ยิ่งใหญ่และสมบูรณ์แบบ ก่อนที่จะเป็นตึกสวยหรูนี้สถานที่ตรงนั้นเคยเป็นย่านสลัมมาก่อน
เป็นที่ดินของหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ศรายุทธ อัศวทิพย์ไพบูลย์
ผู้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ทิพย์พัฒนอาเขตขณะนั้นได้ทำสัญญาเช่าที่ ในราคาค่าเช่าเดือนละ
150,000 จากหม่อมพันธุ์ทิพย์ด้วยบารมีสนอง ตู้จินดา ซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินให้กับ
หม่อมราชวงศ์ พันธุ์ทิพย์บริพัตร ในฐานพ่อของศรายุทธเป็นเพื่อนสนอง และเช่าที่หม่อมพันธุ์ทิพย์ที่เวิ้งนครเกษมมาก่อน
จึงไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด
ตึกพันธุ์ทิพย์ก่อสร้างแล้วเสร็จก็เปิดดำเนินการเมื่อปี 2527 แบ่งส่วนประกอบของที่ว่าง
เพื่อการใช้ประโยชน์ในตอนแรกไว้ให้เป็นพลาซ่าหรือศูนย์การค้า โดยขายที่วางให้กับร้านค้าต่าง
ๆ ตามความเหมาะสม และทำเป็นดีพาร์ทเมนท์สโตร์อีกส่วนหนึ่ง โดยให้บริษัทเอ็กเซลดีพาร์มเมนท์สโตร์ของเสี่ย
"เป็ด" โอภาส รางชัยกุล เข้ามารับผิดชอบในส่วนนี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า "ช่วงแรกพื้นที่ของศูนย์การค้านี่ขายดีมาก ขายได้กว่า
70 เปอร์เซ็นต์ บางเจ้าจองถึง 5 ห้อง เอาไว้เก็งกำไร" ปรากฎว่าตรงนี้นี่เอง
ที่เป็นเสมือนดาบที่ย้อนกลับเข้ามาแทงบริษัท ทิพย์พัฒนอาเขต ในเวลาต่อมา
เพราะตามสัญญากู้ซึ่งร้านค้าต่าง ๆ จะต้องทำกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
กรณีที่ลูกค้าไม่สามารถจ่ายเงินค่าห้องตามสัญญาได้ บริษัท ทิพย์พัฒนอาเขต
ต้องซื้อพื้นที่ตรงนั้นคืน
เมื่อเกิดการล้มเหลวของดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จุดที่จะดึงคนเข้ามาก็ไม่มี พวกร้านค้าต่าง
ๆ จึงไม่ต้องการพื้นที่อีกต่อไปในที่สุดก็ปล่อยให้ขาดการผ่อนชำระแล้วปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของบริษัททิพย์พัฒนอาเขต
ขายได้ 70% แต่ปรากฎว่าตีกลับคืนมาเสีย 60% เป็นจำนวนเงินถึง 300 ล้านบาท
ที่ซื้อจริง ๆ มีเพียง 50 ล้านบาทเท่านั้น นั่นหมายถึงรายได้เพื่อนำไปชำระดอกเบี้ยอีกล้านสิบล้านต่อปี
เฉพาะตรงนี้เท่านั้นนะตกหล่นหายไปยังไม่รวมดอกเบี้ยจากหนี้สินที่ใช้ในการลงทุนกับตึกพันธุ์ทิพย์นี่อีก
300 กว่าล้านบาท ดอกเบี้ยจึงบายไม่รู้เท่าไหร่ คิดง่าย ๆ แค่ 10% ก็ปาเข้าไป
55 ล้านบาทแล้ว" แหล่งข่าวเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
มรสุมลูกต่อมาคือ การจัดตั้งภัตตาคารพันธุ์ทิพย์บนชั้น 5 มันเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากลงทุนในภัตตาคารที่มีขนาดใหญ่เกินไป
ใช้เนื้อที่มากถึง 5,000 ตร.เมตร ภัตตาคารแห่งนี้สามารถรองรับแขกได้ถึง 1,500
ที่ เคยโฆษณาว่าใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากมูแรงรูจในปารีส จุดคุ้มทุนในการเปิดแต่ละครั้งต้องมีคนประมาณ
40-50 เปอร์เซ็นต์ตกประมาณ 700-800 คน ซึ่งถ้าไม่มีการวางแผนที่ดีโอกาสที่จะขาดทุนนั้นมีสูงมาก่และก็เป็นเช่นนั้นจริง
ๆ "เค้าตัดสินใจกันผิด แคชโฟลที่มันช็อตอยู่แล้ว เพราะดอกเบี้ยมันสูงมาก
แล้วยังต้องเอาเงินที่หมุนมาจากการขายพื้นที่ตรงพลาซ่า มาลงทุนกับภัตตาคารขนาดโอเวอร์ไซส์
อย่างนั้นมันก็ยิ่งไปกันใหญ่ ขาดทุนเดือนละประมาณ 2 ล้าน ปีละกว่า 20 ล้านบาทยังไม่รวมค่าดอกเบี้ย"
แหล่งข่าวกล่าว
จากนั้น ตระกูลบุนนาคก็จับมือกันเข้ามาซื้อหุ้นไว้ทั้งหมด จากกลุ่มศรายุทธในวงเงินประมาณ
400 ล้านบาทในนามบริษัทของตระกูลคือบริษัทไพบูลย์สมบัติ จำกัด นัยว่าเพื่อเข้ามาช่วย
ดุลยเดช บุนนาค มงคล ทัพพะกุลธร จึงถูกแนะนำตัวมาในช่วงนี้ โดยไพบูลย์ สำราญภูติ
อ้างว่าเขาเป็นผู้แนะนำมงคลให้แก่พวกบุนนาคเอง เมื่อมีนาคม 2528 หลังจากที่เปิดได้เพียง
1 ปีก็เปลี่ยนมือ ทั้งเจ้าของและผู้บริหารบริษัท ทิพย์พัมนอาเขต จึงตกเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่ง
ของตระกูลบุนนาคทรัพย์ส่วนหนึ่ง ของตระกูลบุนนาคมาตั้งแต่บัดนั้น ส่วนบริษัท
เอก็เซลดพาร์มเมนท์สโตร์ถูกเปลี่ยนเป็น บริษัท พันธุ์ทิพย์ ดีพาร์ทเมนส์สโตร์
ทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของมงคล
มงคลเคยทำงานอยู่ในบริษัท อินเตอร์ไลฟ์ประกันชีวิตเคยอยู่ด้วยกันมากับไพบูลย์
สำราญภูติที่นั่น เมื่อถูกทาบทามตัวให้ไปทำงานที่เดอะมอลล์ ของตระกูลอัมพุช
ก็ตัดสนิใจไปและสร้างผลงานจนตระกูลอัมพุชไว้ใจให้มงคลดูแลที่สาขารามคำแหงในตำแหน่งผู้จัดการใหญ่เดอะมอลล์รามคำแหง
(เปิดใหม่) แล้วในที่สุดก็ถูกเสนอตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ทิพย์พัฒนอาเขตให้ดูแลพันธุ์ทิพย์พลาซ่า
ดีพาร์มเมนท์สโตร์ รวมถึงภัตตาคารบนชั้น 5 ด้วย
ในช่วงเวลานั้นมงคลคงพยายามกู้สถานการณ์ จากภาวะหนี้ต่าง ๆ ปัญหาฟ้องร้องทั้งหลาย
(อ่าน "ผู้จัดการ" รายเดือนศึกอีรุงตุงนังในพันธุ์ทิพย์ดีพาร์ทเมนท์สโตร์
ฉบับ 39 ธันวาคม 2529) และการบริหารในลักษณะต่าง ๆ แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า
"พันธุ์ทิพย์ภัตตาคาร ขาดทุนน้อยลงนะสมัยมงคล" การพยายามพัฒนาปรับปรุงนั้นไม่เป็นผลสำเร็จ
ด้วยสาเหตุหลายอย่าง อย่างน้อยก็ลูกติดพันจากปัญหาเก่า ๆ ทำให้สถานภาพโดยตัวมันเอง
มีอาการแย่ ยากที่จะเยียวยารักษาถ้ายังต้องการให้ดำรงสภาพเป็นศูนย์การค้าและดีพาร์ทเมนท์สโตร์อย่างที่กำหนวไว้แต่แรก
บางคนบอกว่าเป็นเพราะสถานที่ตั้ง ประกอบกับถนนวันเวย์ ไม่มีกำลังการต่อรองจากซัพพลายเออร์
ไม่มีการทุ่มงบโฆษณา ไม่มีการเปิดขยายสาขา แถมท้ายด้วยปัญหาการแข่งขันอย่างรุนแรง
แหล่งข่าวบางคนบอกว่า "การบริหารใช้ระบบครอบครัว ของตระกูลบุนนาค"
จึงทำให้ไม่มีเอกภาพในการบริหาร
แต่ตามความเป็นจริง กลุ่มตระกูลบุนนาคไม่สู้จะมีความรู้ความชำนาญทางด้านศูนย์การค้าเท่าใดนัก
นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ต้องดึงมงคลเข้ามา เวลา 3 ปีมนนานพอที่จะจัดการระบบวางแผนการดำเนินงานให้เข้ารูปเข้ารอยตามความสามารถของมงคลผู้ที่มีความชำนาญ
ผ่านประสบการณ์จากห้างใหญ่ ๆ มาแล้ว ในทำนองเดียวกันเวลา 3 ปีก็นานพอที่เขาจะสร้างอะไรที่มันสลับซับซ้อน
ให้ยุ่งยากพอที่จะไม่มีใครแก้ได้นอกจากเขาคนเดียวได้เช่นกัน
บริษัท รัชทัต และบริษัท พันวัง เป็นบริษัทที่ถูกตั้งขึ้นในระหว่างที่มงคลเข้าไปดูแลวัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้นมา
ก็เพื่อรับซื้อรับฝากขายร้านค้าในศูนย์การค้าที่ไม่ต้องการจะค้าขายต่อไปแล้วนำไปให้เช่าต่อ
มีลักษณะเป็นบริษัทโบรกเกอร์ ที่ต้องตั้งขึ้นมาอีกสองบริษัทก็เพราะว่า หากจะใช้เป็นชื่อบริษัททิพย์พัฒนอาเขตเลย
ก็จะดูไม่เหมาะ แต่สำหรับผู้บริหารก็เป็นทีมเดียวกับทิพย์พัมนอาเขต คือมงคลและพรรคพวก
7 ทหารเสือที่เป็นเสือจริง ๆ
ข้างในนั้นมีผลประโยชน์หลายอย่างที่แสวงหาได้ พึงจะมีพึงจะได้คล้าย ๆ กับ
"ถ้าให้มาก็เอา" สิ่งที่ได้ตอบแทนก็คือความสะดวก จะว่าไปก็คนไทยเราชอบช่วยเหลือ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันแบ่งกันกินแบ่งกันใช้บ้าง ไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นเรื่องตามน้ำธรรมดา
ๆ แต่จะเอากันจริง ๆ ก็มีมากกว่านั้น
พื้นที่ของร้านค้าบางเจ้าถูกเช่าในอัตราที่ถูกกว่าคือตารางเมตรละ 60-70
บาท ซึ่งอัตราปกติจะราคาตั้งแต่ 200-600 บาท นัยว่ารู้จักกัน จึงได้ราคาถูก
บริษัทคู่มือซื้อขายของเพื่อนซี้ที่ชื่อณรงค์ที่ยอมรับว่ามงคลมีเอี่ยวถือหุ้นด้วยในนามบริษัทิพย์พัฒนอาเขตอยู่
50% เช่าพื้นที่ 1,500 ตร.เมตร เป็นตัวอย่างที่ยืนยัน
ทุกอย่างยังคงคาราคงซังอยู่ในพันธุ์ทิพย์ มงคลและพรรคพวก 7 ทหารเสือคงจะตอบปัญหาเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
เป็นเวลาเนิ่นนาน กิจการทรัพย์สินของตระกูลบุนนาคกลับมีอันต้องเข้าสู่วิกฤติการณ์ที่ล่อแหลมอันตรายด้วยภาระหนี้สินมากมาย
"เจริญอาจจะถูกขอร้องให้ซื้อ หรืออาจถูกเสนอให้พิจารณา ในฐานะเป็นนักซื้ออยู่แล้วก็เลยซื้อไว้"
และมงคลก็เป็นตัวหลักที่ปั้นข้อเสนอนี้ให้เจริญซื้อ
เจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งค่ายหงส์ทองผู้มีฉายาว่าเป็นนักซื้อตัวยง ประกอบกับอยู่ในฐานะที่สามารถทำได้และอาจจะมีเหตุผลมากกว่านั้น
ดร.มารตี บุนนาค ซึ่งเป็นผู้ชี้ขาดในการขายทรัพย์สินตระกูลบุนนาคครั้งนี้
ก็เป็นภรรยาของเฉลิมชัย วสีนนท์ อธิบดีกรมสรรพสามิต )ปัจจุบันเกษียณแล้ว)
ผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับเจริญในครั้งนี้ขอใบอนุญาตผลิตเหล้าอยู่ด้วย
แต่ที่สำคัญที่ใคร ๆ อาจจะมองไม่เห็น คือเหตุผลส่วนตัวของนักซื้ออย่างเจริญคงจะมองไปไกลในระยะยาวที่แสนคุ้มนั้นก็เป็นได้
แหล่งข่าวที่เคยทำงานกับเจริญอย่างใกล้ชิดหลาย ๆ คนบอกว่า คน ๆ นี้ละเอียดรอบคอบ
มองการณ์ไกลกว่าพวกนักวิชาการเป็นไหน ๆ จนบางอย่างเราคิดไม่ถึง การซื้อขายกันครั้งนี้มีมูลค่าเป็นพันล้านบาท
พันธุ์ทิพย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีที่ดินอีกหลายร้อยไร่ของตระกูลบุนนาคกระจายไป
ต่างจังหวัดบ้างกรุงเทพฯบ้าง ผู้ที่โล่งใจเหมือนยกภูเขาออกจากอกคือเจ้าหนี้รายใหญ่
ภัทรธนกิจและธนาคารไทยทนุ โดยเฉพาะภัทรธนกิจของวิโรจน์ นวลแข ถึงขนาดต้องไปบวชแก้บน
เพราะเท่ากับเจริญได้รับสภาพหนี้แทน บริษัท ไพบูลย์สมบัติ ของบุนนาคทั้งหมดเงินทองที่ปล่อยกู้ไปกว่า
200 ล้านบาทก็เป็นอันว่าจะได้คืน
ถึงจะนานถึง 10 ปีกว่าจะได้คืนทั้งหมด ก็ยังดีกวาการยึดเอาศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ของไพบูลย์สมบัติเอาไว้เฉย
ๆ เสียอีกนั้นเป็นแง่มุมมองของสถาบันการเงิน เนื่องจากทรัพย์สินจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ยาก
โดยเฉพาะศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ในเวลานั้นก็มีแต่เงียบเหงาซบเซาทุกวัน
สิงหาคม 2531 พันธุ์ทิพย์ถูกเปลี่ยนมือมาสู่เจริญ และช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่เจริญมีโครงการที่จะพัฒนาทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นของเก่าหรือที่ซื้อมาใหม่ก็ตาม
โครงการพัฒนาทีดิ่นเป็นโครงการใหญ่ ซึ่งมีทั้งโรงแรม คอนโดฯ โกดังสินค้า
บ้านจัดสรร สวนเกษตร และภัตตาคาร ความไม่ชำนาญในด้านต่าง ๆ ทำให้เจริญต้องดึงมือดี
ๆ มาช่วยหลายคน ทางด้านการขายคนที่ถูกแนะนำเข้ามาโดยมงคงคือไพบูลย์ สำราญภูติ
ด้านบัญชีคือ อนุสรณ์ เกียรติกังวาลไกล ด้านโรงแรมคือโรเบิร์ตผู้ที่บริหารตึกใบหยกอยู่ในเวลานี้
ส่วนที่พันธุ์ทิพย์คือบริษัท ทิพย์พัมนอาเขต มงคลยังคงดูแลอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการใหญ่
ส่วนภัตตาคารเจริญดึงมือดีอีกคนหนึ่งเข้ามาช่วยคือ วิชิต ฟราสซิส ตันติประสูต
จาก ร.ร.แอม บาสซาเดอร์
นอกจากนี้เจริญยังทำการโยกย้ายพนักงานจากค่ายหงส์ทอง (ทีซีซี) มาอยู่ที่พันธุ์ทิพย์ไปที่ซีซี
หนึ่งคือ สุวิทย์ ธนปกิจ สองคือ ไพบูลย์ ลิ้มวินิจฉัย ทั้งสองบ้วนแล้วแต่เป็นคนเก่าแก่ของพันธุ์ทิพย์
การปรับปรุงพันธุ์ทิพย์ภายใต้การดูแลของเจริญในช่วงนี้ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเท่าที่ควร
ถึงแม้จะมีมือดีมาร่วมงานอยู่หลายคน ส่วนใหญ่ก็ยังคงให้มงคลบรรเลงต่อไป
เหมือนเมื่อครั้งที่ตกอยู่ในมือของบุนนาคที่มงคลทำงานได้อย่างสบายมือ เพราะเป็นผู้สานความซับซ้อนด้วยตัวเอง
แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า "ก็ไม่มีใครรู้เรื่องอะไรถ้าไม่ให้มงคลทำก็ไม่มีใครทำได้
มงคลเท่านั้นที่เหมาะสมที่สุด"
พื้นที่ตรงดีพาร์ทเมนท์สโตร์กว่า 2,000 ตร.เมตร และพลาซ่าที่แบ่งเป็นห้อง
ๆ 10% ที่ขายไป ยังเป็นปัญหาหนามยอกออกที่ทิ่มแทงกลุ่มผู้บริหารและเจริญอยู่
พูดอีกนัยหนึ่ง ยังไม่มีทางออกในการแก้ปัญหา
รายได้จากพื้นที่ส่วนเป็นพลาซ่า แทบจะไม่เข้ามาบริษัททิพย์พัฒนอาเขตมากจนคุ้มต่อค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในการเปิดดำเนินการ
พูดง่าย ๆ เวลานี้ การดำเนินงานของพันธุ์ทิพย์ขาดทุนตลอดและกินทุนบริษัททิพย์พัมนอาเขตเข้าไปทุกที
เจริญคงเข้าใจสถานการณ์ มงคลจึงยังนั่นอยู่ที่ ทิพย์พัฒนอาเขต พันธุ์ทิพย์ชั้น
4 ไม่ไปไหน
มือดีหลาย ๆ คนยังไม่มีโอกาสได้ทำอะไร ก็ทยอยขอลาออกไปเสียก่อน ที่จริงพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รับผิดชอบ
เพียงแต่พันธุ์ทิพย์ดังกล่าวข้างต้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นสาเหตุให้มงคลยังคงต้องดูแลพันธุ์ทิพย์เหมือนเก่าต่อไป
แต่…มันจะเริ่มมีความยากลำบากมากขึ้น เมื่อมีบุคคลเหล่านี้เข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง
ๆ ในบริษัทที่ไม่สะอาดเท่าไหร่นักทุกคนที่เข้าไปสัมผัสย่อมต้องรู้แม้แต่เจริญ
เขาไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่อง ที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอไร เครื่องมือที่เจริญมีอยู่ในการแก้ปัญหาขณะนั้น
ก็คือมือดี ๆ ทั้งหลายแต่ก็อีกนั่นแหละ ความซับซ้อนซ่อนเงื่อนที่เปรียบเสมือนแดนสนธยาของบริษัท
ทิพย์พัฒนอาเขต ทำให้คนที่จะเดินเข้าไปมืดแปดด้าน จับต้นชนปลายไม่ถูก รู้แต่เพียงว่า
มันผิดปกติ ประกอบกับไม่ได้เชี่ยวชาญทางศูนย์การค้าเป็นพิเศษ จึงไม่สามารถให้ความเห็นกับเจริญได้อย่างชัดเจนนัก
ข้อผิดพลาดของเจริญประการสำคัญที่ไม่สามารถดึง มือดี ๆ เหล่านั้นไว้เป็นแขนขาของตัวเองได้
ทั้งที่ได้ไปติดตามตื้อให้มาร่วมงานกันหลายครั้งหลายครา กว่าแตะละคนจะตกปากรับคำ
แต่อยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ลาออกไปจนหมด คือลักษณะผูกขาดอำนาจการตัดสินเองทุกเรื่องขณะที่การตัดสินใจที่ไม่เด็ดขาด
เพราะความละเอียดถี่ถ้วนมากจนเกินไป ทำให้ลังเลไม่อนุมัติโครงการใดง่าย ๆ
หลาย ๆ กรณีที่เกิดขึ้น แม้แต่พันธุ์ทิพย์พลาซ่าเอง ซึ่งมงคลดูแลอยู่ก็ไม่มีอิสระในการทำงานเหมือนเดิม
อย่างน้อยจะทำอะไรต้องเสนอให้เจริญรับทราบทุกเรื่อง และอยู่ภายใต้อำนาจการตัดสินใจของเจริญ
ซึ่งมงคลไม่สามารถจะผลีผลามทำอะไรได้เลย เขาเคยระบายความรู้อึดอัดออกมาว่า
เจริญน่าจะตัดสินใจออกมาเลยวาจะเอายังไงกับพันธุ์ทิพย์
ความจริงแล้ว ถ้ามองในฐานะของเข้าของกิจการ เจริญก็ละเอียดรอบคอบมาก แต่สำหรับผู้ร่วมงานคนอื่น
ๆ อาการลังเลของการตัดสินใจของเจริญ เป็นสิ่งที่ขัดขวางการทำงานของพวกเขาอย่างมากมาย
เพราะเมื่อเจริญบอกว่า "เออ…อันนี้ก็ใช้ได้ แตคุณลองเอาไปทบทวนใหม่อีกครั้งแล้วกันนะ"
นั่นหมายถึง โครงการนั้นไม่สามารถเดินทางได้ งานอะไรก็ยังไม่ต้องเริ่ม เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นบ่อยในที่ประชุม
หรือเวลาที่มีการเสนอโครงการต่าง ๆ มือดี ๆ เหล่านั้นเมื่อมีพละกำลังมาก
แต่ใช้อะไรไม่ได้ จึงต้องขอลาออกไป เพื่อไปหาทางปลดหล่อยพละกำลังลงสู่ที่อื่นไปโดยปริยาย
ดังรายไพบูลย์ สำราญภูติ ที่ไปอยู่กับกลุ่มนครไทยสตีลเวอร์คของสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
ขายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอนุสรณ์ เกยรติกังวาลไกล กลับไปทำธุรกิจส่วนตัว
ที่ปรึกษากฎหมายและบัญชีเหมือนเดิม
ผู้ที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จในการทำงานให้เจริญเป็นชิ้นเป็นอัน และใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่เห็นจะเป็นฟรานซิส
ตันติประสูต ซึ่งเข้ามานั่นในตำแหน่งผู้จัดการพันธุ์ทิพย์ภัตตาคาร ตั้งแต่กันยายน
2531 ฟรานซิสสามารถทได้แตกต่างจากมือดีรายอื่น ๆ นั้นอยู่ตรงที่ เขาลุยงานโดยไม่ต้องของบประมาณจากเจริญมากนัก
หลาย ๆ อย่างที่เขาจัดการเปลี่ยนแปลง ซ่อมแซมโดยใช้คนเก่า ๆ ที่เคยทำใช้กันมา
ก็ได้ราคาถูก แล้วเขาก็ใช้รายได้จากการดำเนินงานของภัตตาคารเองมาหนุนใช้จ่าย
ทำให้ไม่ต้องรอการอนุมัติงบจากเจริญเหมือนเช่นกรณีอื่น ๆ ประกอบกับฝีมือและประสบการณ์ของเขาเอง
ในการบริหารางานภัตตาคาร ถึงแม้จะเป็นภัตตาคารที่มีขนาดใหญ่มากจนหาจุดคุ้มทุนลำบากแล้ว
แต่เขาก็ยังสามารถเพิ่มยอดขายได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ แหล่งข่าวรายหนึ่งเล่าให้
"ผู้จัดการ" ฟังว่า "สมัยก่อนทัวร์จีนรับมาถูก ซึ่งจะไปตำหนิคุณมงคลก็ไม่ได้
เพราะแกไม่มีความชำนาญ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่เอาทัวร์ ส่วนใหญ่เป็นแขกชั้นสูงในกรุงเทพฯ
แล้วตั้งราคาสูงก็เลยไปได้อีกประการหนึ่ง ฟรานซิสฉลาดลดต้นทุนรายจ่ายด้านจัดซื้ออาหารลงได้
30% ยอดขายเพียง 20% ของจำนวนที่ทั้งหมดก็พอลดการขาดทุนไปได้มาก"
หลังจากที่มือดีทยอยออกไปหมดเมื่อเดือนพฤษภา-มิถุนาที่ผ่านมา กลุ่มบริษัททีซีมัยซินหรือกระทิงแดงของเฉลียว
อยู่วิทยาที่ส่งเฉลิม อยู่วิทยา ลูกชายให้ส่งพรรคพวกเข้ามานั่งบริหารทรัพย์สินหลายอย่างที่ทีซีซี
ยังไม่มีใครทราบว่ามันเป็นวิธีการของเจริญที่แสดงความไม่ไว้ใจมงคล หรือว่าเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน
หรือเป็นการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์สั้น ๆ ของกลุ่มกระทิงแดงโดยเฉพาะ หรือเจริญมองผลประโยชน์ระยะยาวที่ไกลกว่านั้น
ทรัพย์สินที่กลุ่มกระทิงแดงเข้าไปบริหารนั้นอย่างน้อยก็มีที่โรงแรมแม่ปิง
เสนานิเวศน์ และที่แน่นอน คือพันธุ์ทิพย์เวลานี้
ความเกี่ยวข้องของเจริญกับกลุ่มกระทิงแดง (ทีซีมัยซิน) เกิดจากสาเหตุที่ว่า
กลุ่มกระทิงแดงของเฉลียวก็ได้ใบอนุญาติจากสรรพสามิตในการผลิตเหล้าเหมือนกัน
และในที่สุดก็ตัดสินใจที่จะผลิตขายเพื่อออกมาแข่งขันกับหงส์ทอง ความร้อนตัวที่จำเป็นต้องตัดทอนคู่แข่ง
ทำให้เจริญต้องไปเจรจากับกลุ่มกระทิงแดงเพื่อไม่ให้มาแข่งขันกันเปล่า ๆ ทางเจริญได้ขอตลาดเหล้าในประเทศ
ส่วนต่างประเทศให้กลุ่มกระดิงแดงจัดการไป
ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างและเฉลียวที่อยู่ขนาดไหนก็ยากที่จะเดา แต่วิธีการที่กลุ่มกระทิงแดงจะเข้าไปบริหารในเครือของทีซีซีนั้น
ทางกลุ่มกระทิงแดงจะเป็นผู้ดูแลดำเนินงานเองทั้งหมด โดยทำการพัฒนาปรับปรุงวางแผน
ส่วนเจริญก็จะเป็นผู้สามารถทำรายได้มากพอเมื่อหักส่วนที่จะต้องจ่ายให้เจริญแล้วยังเหลือ
ก็จะถือว่าส่วนนั้นเป็นรายได้จากการดำเนินงานของเขาแต่ถ้าทำรายได้ไม่พอกับผลตอบแทนที่เจริญตั้งไว้
กลุ่มกระทิงแดงก็ต้องพิจารณาตัวเอง
แหล่งข่าวบางรายบอกว่า เจริญยืมมือคนอื่นเข้ามาควบคุมมงคล บางรายก็บอกว่า
เจริญเก่งกว่านั้นอีกที่ปล่อยให้เป็นอย่างนี้เรียกว่าควบคุมมงคลได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการบังคับให้กลุ่มกระทิงแดงต้องทำงานให้ดีด้วย
เพราะต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับเจริญทุกเดือนตามที่กำหนด
ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใด จะเป็นของเจริญหรือของกลุ่มกระทิงแดง 2-3 เดือนที่ผ่านมาสำหรับการบริหารบริษัท
ทิพย์พัฒนอาเขต ซึ่งประกอบด้วยพลาซ่าและภัตตาคาร ก็มีแนวโน้มที่จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างจริงจัง
วันนี้ คอนเซ็ปท์เก่าลูกบิดไป จากศูนย์การค้าที่สมบูรณ์แบบให้กลายมาเป็นอาคารสำนักงาน
ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ กระแสเสียงเห็นด้วย แถมยังกล่าวสนับสนุน ว่าสถานที่ตั้งตรงนี้เหมาะมาก
ในเมื่อสิ่งที่ผ่านไปไม่มีใครติดใจเอาความ ภาระหนี้สินก็สามารถทยอยคืนไปได้อย่างไม่มีปัญหา
แล้วถ้าควบคุมไม่ให้มีความผิดพลาดในการบริหารเกิดขึ้นอีก พันธุ์ทิพย์จะเริ่มต้นใหม่ด้วยรูปแบบอาคารสำนักงาน
มีทั้งสองทางที่เป็นไปได้ ถ้ากลุ่มกระทิงแดงมีความสามารถที่จะดำเนินงาน
สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมของตึกที่เป็นศูนย์การค้า ให้เป็นอาคารสำนักงานได้อย่างเหมาะสม
อนาคตของพันธุ์ทิพย์ คือบริษัททิพย์พัฒนอาเขตก็จะไม่ต้องย้อนกลับไปสู่สภาพเก่า
ๆ ที่มีหนี้สินมากมาย ดอกเบี้ยเป็นร้อยล้าน ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
อย่างน้อยโครงสร้างของตึกก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นอาคารสำนักงานเลยแม้แต่นิดเดียว
ห้องที่เคยเป็นร้านค้าเล็ก ๆ จะปรับปรุงให้เป็นสำนักงานสำหรับบริษัทใหญ่จะต้องใช้งบประมาณสูงมาก
และข้อที่น่าสังเกตคือ พันธุ์ทิพย์จะสามารถคัดเลือกลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน
เพราะต้องแข่งกับอาคารที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสำนักงานโดยเฉพาะ ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นมาอีกหลายแห่งลูกค้านั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะถ้าลูกค้านั้นเป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่ฐานะการเงินไม่สู้จะมั่งคงนัก หรือมีการดำเนินกิจการที่ไม่แน่นอนโอกาสที่จะค้างชำระค่าเช่า
หรือจ่ายไม่ตรงตามกำหนดมีความเป็นไปได้สูงมาก และนั่นหมายถึงการถอยหลังเข้าคลอง
สถานการณ์ย้อนกลับไปเป็นเช่นอดีต
นอกจากนี้แล้ว พื้นที่ตรง 10% ที่ขายออกไปแล้วก่อนหน้าตั้งแต่สมัยกลุ่มผู้ถือหุ้นชุดแรก
ศรายุทธฯ เมื่อปี 2527 จะทำอย่างไร ในเมื่อมันเป็นหนามยอกอก พวกนี้หลายรายซื้อพื้นที่ไว้เก็งกำไรอีกไม่น้อยก็เข้าไปเปิดร้านดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว
ซึ่งว่ากันจริง ๆ แล้วคิดเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าไรก็ยังไม่ทราบแน่ชัด แม้แต่เจริญเองก็ไม่รู้
แต่ที่แน่ ๆ ในสถานการณ์ที่พันธุ์ทิพย์พลาซ่าซบเซาเช่นทุกวันนี้ พวกเขาต้องการขายให้เจริญหรือใครก็ได้ที่ให้ราคางาม
ๆ
จุดนี้เป็นอุปสรรคที่ไม่อาจทำให้การปรับปรุงพื้นที่ส่วนที่เป็นพลาซ่าเป็นสำนักงานให้เช่าทั้งหมด
เป็นไปได้สะดวกง่ายดาย
แล้วถ้าถึงวันนั้น เจริญผู้เป็นเจ้าของจะทำอย่างไร อาจจะขายต่อให้ตกไปสู่มือต่อไป
ซึ่งก็มีกลุ่มกระทิงแดงกลุ่มเดียวที่เป็นไปได้เพราะเขานั่งบริหารอยู่ทุกวันนี้
"แต่…คุณเจริญคงไม่ขายง่าย ๆ หรอกเพราะแกเป็นคนที่ชอบแก้ปัญหา ชอบอะไรที่มันซับซ้อนน่ะ"
วันนั้นเขาต้องคำนวณดูแล้วว่าเขาได้กำไรไม่ใช่เพียงแต่เท่าทุน
แต่หากว่าแนวโน้มของอาคารสำนักงานในพันธุ์ทิพย์เป็นไปในทางที่ดี นั่นหมายถึงรายได้ที่แน่นอนของเจริญ
และความสำเร็จของกลุ่มกระทิงแดง ก็อย่างนั้นแล้ว กลุ่มกระทิงแดงยังจะต้องการที่จะบริหารภายใต้ชื่อที่เป็นสินทรัพย์ของเจริญอยู่อีกหรือ