Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 ธันวาคม 2551
สูตรฝ่าวิกฤต HR แห่งปี สร้างคนพันธุ์ H -โค้ชขจัดเครียด             
 


   
search resources

Knowledge and Theory




* บทพิสูจน์กึ๋นนักบริหาร HRยุคCrisis
* พลิกวิกฤตสร้างโอกาสพาพนักงานรอด
* เผย 3 เคล็ด (ไม่ )ลับสร้างความสำเร็จ
* ฝ่ากระแสคลื่นสึนามิเศรษฐกิจทั้งปี

2551 จัดเป็นปีที่เศรษฐกิจ ธุรกิจต้องเผชิญมรสุมท้าทายประเดิมต้นปี วิกฤตน้ำมันแพง ส่งผลให้ต้นทุนธุรกิจแพงลิบ ตามติดมาด้วยภาวะเงินเฟ้อ ผลพวงลูกโซ่ที่ห้อยติดมาอย่างยากหลีกเลี่ยง กระหน่ำซ้ำด้วยวิกฤตสถาบันการเงินเลย์แมน ซับไพร์ม แผงฤทธิ์ร้อนๆ กระทั่งปิดฉากปลายปีด้วยวิกฤตการเมืองในประเทศ ทั้งหมดนี้ เป็นปัจจัยเร่ง ทำให้ลูกจ้าง นายจ้าง เผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง

“ ผู้จัดการรายสัปดาห์” ฉบับนี้ขอนำเสนอ 3 ปรากฏการณ์และเคล็ดลับสู่ความสำเร็จที่น่าศึกษาของเซคชั่น Human Resource Management ในฐานะเป็นแนวคิดการบริหารจัดการด้าน HR ที่รับมือกับกระแสวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องยกให้ .....3 มิติสร้างคนพันธุ์ H ...... โค้ชจัดการความเครียด...และ กลยุทธ์ปรับขึ้นค่าครองชีพ ฝ่ากระแสวิกฤตน้ำมันแพง

Head - Heart -Hand 3 มิติสร้างคนฝ่าวิกฤต

สำหรับ ความลับสู่ความสำเร็จของ HR หรือ The Secret Of HR Success ที่โดดเด่นในปีนี้ ต้องยกให้แนวคิด 3 มิติที่จะนำพาคนในองค์กรฝ่าวิกฤติ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ผู้บริหารหลายหน่วยงาน เริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานภายใน โดยผู้บริหารและ HR รวมกันพลิกวิกฤตเป็นโอกาส โดย ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ อุปนายกฝ่ายวิชาการของ PMAT บอกว่า

ประกอบด้วย 1. มิติด้านความรอบรู้ในงานที่รับผิดชอบ (Head) คือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็น HR Leadership เนื่องจากการจะสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยรวม ต้องมีผู้ที่นำการเปลี่ยนแปลง แตกต่างจากเดิมที่ HR มีหน้าที่ในการช่วยเหลือพนักงานที่เป็น Leadership แต่ในภาวะเช่นนี้จำเป็นที่ตนต้องพยายามเรียนรู้อย่างรอบด้านเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการเป็นผู้นำให้คนภายในตระหนัก

2. มิติด้านจิตใจ (Heart) ต้องพยายามสร้างให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข หรือHappy Work Place เพราะ ภาวะเช่นนี้ HR ต้องเริ่มจากการสร้างความสุขในแผนกของตนก่อนจากนั้นค่อยพัฒนาไปยังหน่วยงานอื่น เนื่องจากบางครั้งคนในหน่วยงานยังไม่มีแรงบันดาลใจในการทำงานซึ่ง HR ต้องพยายามหาแรงบันดาลใหม่ๆให้กับตนเองก่อน เพราะสภาพแวดล้อมที่ดีจำเป็นและเป็น เสมือนเครื่องมือที่จะช่วยให้คนในหน่วยงานลดความตึงเครียดและเกิดความคิดสร้างสรรค์เมื่อเจอกับปัญหาภายนอกที่รุมเร้าอย่างหนัก และสิ่งที่สร้างความสำเร็จและความล้มเหลวให้องค์กรได้คือคน ซึ่งหากคนมีความรักองค์กรแล้ววิกฤติเหล่านี้ก็ผ่านไปอย่างง่ายดาย

3. การลงมือทำ (Hand) เป็นส่วนสำคัญที่ได้จากสองมิติที่ผ่านมา เพราะบางคนคิดแต่ไม่กล้าทำ เนื่องจากเกิดความกลัวซึ่งสิ่งเหล่านี้ HR ต้องเป็นที่ปรึกษาทางจิตใจให้กับกลุ่มคนเหล่านั้นเพื่อสร้างความสำเร็จให้กับตัวพนักงานเองที่จะเป็นผลย้อนกลับสู่องค์กร

เคล็ดลับ HR โค้ชจัดการความเครียด

ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจ ธุรกิจชะลอตัว ส่งผลด้านจิตวิทยาแก่พนักงาน ลูกจ้างยากหลีกเลี่ยง ก่อให้เกิดความเครียดกันถ้วนหน้า ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่บรรดานักบริหารHRขององค์กรจำต้องค้นหาแนวทางในการบริหารจัดการความเครียดกันอย่างจริงจัง ในฐานะเป็นเสมือนโค้ชที่คอยดูแลความสุขให้คนในองค์กรโดยอยู่บนหลักความยุติธรรม ซึ่งหากคนเป็นโค้ชไม่มีความยุติธรรมให้กับผู้ถูกโค้ชกระบวนการของความสุขจะไม่เกิดขึ้น

แนวคิดจัดการความเครียดที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับปีนี้ ต้องยกให้ ดร. มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ ผู้บริหารสถาบันการบริหารและจิตวิทยา (MPI) ได้แนะนำว่า สำหรับการจัดการความเครียดคนภายในโดยแบ่งเป็น 2 ระดับคือ 1.ยังไม่มีอาการร้ายแรงโดย HR ต้องเข้าไปพูดคุยเพื่อทราบปัญหาและพยายามให้พนักงานตระหนักถึงแง่มุมดีๆ ในปัญหาที่เจอ เช่น วิกฤตทางการเมืองบางคนอาจเครียดที่มีการต่อต้านรัฐบาล แต่หากมองในเชิงสร้างสรรค์กลับเป็นเรื่องดีที่ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

2. หากมีอาการเครียดมากซึ่งผู้บริหารระดับกลางมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นตัวกลางในการผสานงานกับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ซึ่ง HR ควรมีบทบาทในการแนะนำให้ไปปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือสายด่วนฮอตไลน์ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต

ทั้งนี้ เบื้องต้น เมื่อเกิดความเครียดต้อง ค้นหาสาเหตุที่ทำให้แต่ละบุคคลประสบกับภาวะเช่นนั้น เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ปัญหายอดนิยมเกิดจากผู้บริหารไม่มีความเข้าใจสถานการณ์ที่ได้รับด้านเศรษฐกิจจากภายนอกองค์กร จึงมีทัศนคติที่ต้องตั้งเป้าให้มากกว่าปีที่แล้วหรือตั้งเป้าหมายไว้เกินจริง จึงทำให้พนักงานเกิดความตึงเครียดซึ่งจะเป็นตัวบั่นทอนสภาพจิตใจและร่างกายของคนทำงาน

ขณะเดียวกันการสร้างภูมิคุ้มกันความเครียดต้องเริ่มจากการเปลี่ยนทัศนคติของคนภายในโดยเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นต้นแบบ เพื่อลดการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้ผู้อื่นเกิดความเครียด โดยเฉพาะการพูดเสียดสีคนอื่นเป็นผลกระทบที่รุนแรงอย่างมากในตอนนี้

ขึ้นค่าครองชีพ กลยุทธ์จูงใจคนทำงาน

ช่วงกลางปี 2551 สัญญาณความถดถอยด้านเศรษฐกิจก็ยังไม่ลดลงแต่กลับทวีความรุนแรงขึ้นเห็นจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงและราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นไม่มีลดละ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตมนุษย์เงินเดือน และผู้ประกอบการเองก็พยายามหากลยุทธ์ เพื่อตอบสนองด้านความต้องการต่างๆ ของบุคคลากร

ปฎิบัติการสามัคคีขององค์กรและฝ่ายHR ได้ร่วมกันหาทางออก โดยเสนอมาตรการขึ้นค่าครองชีพและขึ้นค่าน้ำมันเป็นอีกแนวทางของการแก้ปัญหา ซึ่งหลายองค์กรได้ปรับขึ้นให้ในช่วงกลางปี แต่หลายแห่งยังขาดเข็มทิศประเมินการให้อย่างเหมาะสมกับบุคลากรในทุกระดับ ถือเป็นมาตรการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานภายในองค์กร โดยHR เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทอย่างยิ่ง

บริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) จำกัด องค์กรที่ปรึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บุปผาวดี โอวรารินท์ กรรมการผู้จัดการ บอกด้วยว่า จากผลการสำรวจสำรวจเกณฑ์มาตรฐานการขึ้นค่าครองชีพและค่าน้ำมันใน 12 อุตสาหกรรม จาก 175 บริษัททั่วประเทศ เป็นบริษัทของคนไทยและบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่ละบริษัทมีพนักงานเฉลี่ยที่ 1,000 บาทต่อคน

การเตรียมการขึ้นค่าครองชีพให้กับพนักงาน หากแบ่งตามอัตราการเพิ่มค่าครองชีพรายอุตสาหกรรมตามลำดับ ได้แก่ 1. การเงิน 1,000 บาท 2. ประกันภัย 1,000 บาท 3. บริษัทยา 1,000 บาท 4. พลังงาน 600 บาท5. อื่นๆ 600 บาท โดยให้เหตุผลว่าธุรกิจการเงิน ประกันและยา มีการแข่งขันสูงการจ่ายเงินที่สูงเป็นการดึงดูดใจพนักงานและสร้างกำลังในการทำงาน ทั้งนี้ยังพบข้อสังเกตธุรกิจคอนซูเมอร์จ่ายน้อยกว่า โดยบริษัทให้เหตุผลจากฐานเงินเดือนที่จ่ายสูงอยู่แล้ว

อีกทั้ง ยังมีการปรับขึ้นเงินค่าน้ำมันในกลุ่มเซลล์ปรับขึ้นต่อเดือนที่ค่ากลาง 4,500 บาท , มากสุด 7,500 บาท, น้อยสุด 500 บาท ยังพบว่าเซลในกลุ่มธุรกิจยามีการขึ้นค่าน้ำมันสูงกว่าธุรกิจประเภทอื่นที่ค่ากลาง 9,100 บาท ขณะที่กลุ่มพนักงานที่ไม่ใช่เซลส์ปรับให้ที่ค่ากลาง 5,000 บาท , มากสุด 35,000 บาท , น้อยสุด 500 บาท

โดยผู้บริหารเองควรมีบทบาทในการสื่อสารกับพนักงานในทุกระดับเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และพร้อมที่จะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากคนอื่นโดยไม่มีอคติ ขณะเดียวกันควรสำรวจการปรับขึ้นค่าครองชีพในอุตสาหกรรมเดียวกันและต้องประเมินศักยภาพการจ่ายค่าตอบแทนของบริษัทด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us