Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 ธันวาคม 2551
เฟดลอกสูตรดอกเบี้ย0%บีโอเจ ลุ้นกระตุ้นปล่อยกู้-หยุดศก.ซึม             
 


   
search resources

Interest Rate




การลดดอกเบี้ยของเฟดเหลือเฉียด 0% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ละม้ายคล้ายการตัดสินใจของบีโอเจเมื่อทศวรรษก่อนเพื่อหยุดยั้งภาวะเศรษฐกิจนิ่งงันเรื้อรัง กระนั้น นักวิเคราะห์ชี้ลำพังมาตรการดอกเบี้ยอย่างเดียวคงไม่สามารถกู้วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ได้ แต่ต้องอาศัยแผนการเชิงรุกมาเสริมเหมือนที่โตเกียวเคยทำสำเร็จมาแล้วในการฟื้นศรัทธาระบบการเงิน ที่สำคัญวอชิงตันต้องลงมือทำให้ไวกว่าญี่ปุ่น

อากิโกะ มากาเบะ นักเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชินชู บอกว่าญี่ปุ่นลองถูกลองผิดอยู่หลายปีกว่าจะเจอทางแก้ แต่อเมริกาไม่มีเวลามากขนาดนั้นเพราะตลาดเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

ทั้งนี้ เมื่อวันอังคารที่แล้ว (16) ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ลดดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ 0-0.25% พร้อมประกาศอัดฉีดเงินโดยตรงเข้าสู่ตลาดสินเชื่อด้วยการซื้อหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์จำนองและหุ้นกู้

วันศุกร์ (19) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ปรับลดดอกเบี้ยมาตรฐานจาก 0.3% เหลือ 0.1% ตามเฟดและเพื่อกระตุ้นดีมานด์ทั่วโลก ทั้งยังประกาศฟื้นเสถียรภาพตลาดสินเชื่อด้วยการซื้อตราสารหนี้ ช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ธนาคารกลางหลายแห่งในยุโรปชวนกันลดดอกเบี้ยเช่นกัน เพราะกังวลว่าปีหน้าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ

การลดดอกเบี้ยของเฟดครั้งล่าสุดยังทำให้ต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นในสหรัฐฯ ต่ำกว่าของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ส่งผลให้เยนแข็งค่าสูงสุดในรอบ 13 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากนักลงทุนหันไปหาสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า และบีโอเจกล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจลดดอกเบี้ยก็เพื่อขวางการแข็งค่าของเยน

อนึ่ง บีโอเจใช้นโยบายดอกเบี้ย 0% ครั้งแรกในปี 1999 และคงอยู่อย่างนั้นนานหนึ่งปี และกลับไปใช้นโยบายดังกล่าวอีกทีในปี 2001 หนนี้นานห้าปี ความพยายามของบีโอเจในการจำกัดวิกฤตการเงินในบ้านแตกต่างจากวิกฤตปัจจุบันที่เป็นงูกินหางไปทั่วตลาดโลก โดยที่ราคาอสังหาริมทรัพย์และหุ้นที่ควงสว่านท้ามฤตูทำให้บริษัทการเงินหลายแห่งล้มละลายไปตามๆ กันเหมือนที่เกิดกับยามาอิชิ ซีเคียวริตี้ส์ในปี 1997

ความหวังของบีโอเจตอนนั้นคือ การลดต้นทุนการกู้ยืมเหลือเกือบ 0% อาจชักจูงให้แบงก์พาณิชย์ยอมปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจและผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยฟื้นอุปสงค์ได้

แต่นักเศรษฐศาสตร์และอดีตเจ้าหน้าที่บีโอเจบอกว่า บทเรียนสำคัญที่สุดในครั้งนั้นคือ ลำพังการลดดอกเบี้ยแทบไม่ส่งผลอะไรเมื่อระบบการเงินเข้าสู่ภาวะวิกฤต

ตอนนั้น แบงก์แดนปลาดิบไม่ยอมปล่อยกู้ในสภาพที่ลูกหนี้อาจล้มละลายไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพราจะทำให้แบงก์ขาดทุนหนัก เล่นเอาบีโอเจต้องหันมาใช้ไม้แข็ง เช่น ด้วยการใช้อำนาจอัดฉีดเงินสดเข้าสู่ธนาคารพาณิชย์เพราะหวังว่าจะทำให้มีการปล่อยกู้อีกหน แต่กลับกลายเป็นว่าเงินสดไปกองนิ่งอยู่ในเซฟของแบงก์เหล่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า อเมริกากำลังตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันหลังการล่มสลายปุบปับของเลห์แมน บราเธอร์สในเดือนกันยายน ที่ทำให้คนกลัวกันว่าจะมีแบงก์ล้มตามอีกหลายราย นอกจากนี้ ยังมีเสียงวิจารณ์วอชิงตันกรณีที่อัดฉีดเงินก้อนใหญ่อุ้มซิตี้กรุ๊ปว่า เป็นการรับมือกับวิกฤตที่เกือบเรียกได้ว่าเลือกปฏิบัติ และไม่มีนโยบายที่ต่อเนื่องเพื่อจัดการกับแบงก์ที่มีปัญหา

ในกรณีของญี่ปุ่นนั้น สินเชื่อเพิ่งถูกปล่อยออกมาอย่างอิสระอีกครั้งหลังจากที่ผู้คุมกฎปรับใช้นโยบายใหม่ในการตรวจสอบบัญชีแบงก์ในปี 2003 และเรียกร้องให้ธนาคารที่อ่อนแอเพิ่มทุนหรือยอมรับการเทกโอเวอร์จากรัฐ

นักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่า ที่สุดแล้วการตรวจสอบบัญชีช่วยขจัดความกังวลที่รุมเร้าตลาดสินเชื่อ โดยการโน้มน้าวให้นายธนาคารและนักลงทุนเชื่อว่า ไม่มีความเสี่ยงที่แบงก์ต่างๆ จะล้มละลายกะทันหันอีกต่อไป และปัญหาที่แท้จริงของแบงก์และบริษัทอื่นๆ ได้รับการเปิดเผยออกมาในที่สุด

เอนิล แคชแยป ศาสตราจารย์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยชิคาโก แนะนำให้วอชิงตันดำเนินมาตรการแบบเดียวกับเฮโซ ทาเคนากะ อดีตรัฐมนตรีการธนาคารญี่ปุ่นที่ริเริ่มการตรวจสอบบัญชีแบงก์ เพื่อทำให้ธนาคารและบริษัทการเงินดำเนินการอย่างโปร่งใสยิ่งขึ้น และรับประกันกับนักลงทุนว่าจะไม่มีเลห์แมน บราเธอร์รายถัดไป

นักเศรษฐศาสตร์และอดีตเจ้าหน้าที่บีโอเจเสริมว่า อีกบทเรียนจากประสบการณ์ของญี่ปุ่นคือความต่อเนื่อง

ปี 2000 บีโอเจขึ้นดอกเบี้ยเพียงเพื่อจะต้องลดกลับมาอยู่ที่ 0% ในปีถัดมาเมื่อเศรษฐกิจติดหล่ม

อดีตเจ้าหน้าที่บีโอเจบอกว่า สิ่งที่เรียนรู้ก็คือ นายธนาคารและนักลงทุนจะยอมปล่อยกู้ในภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ดก็ต่อเมื่อเชื่อว่าดอกเบี้ยจะทรงอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน เพราะเป็นการรับประกันว่าจะมีกำไรอย่างเหมาะสม การทำให้เกิดอุปสรรคในการคาดเดาแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ทำให้บีโอเจต้องรื้อนโยบายของตัวเองในที่สุด

ดังนั้น เฟดจึงไม่ได้ต้องการเพียงแค่ลดดอกเบี้ย แต่ยังต้องยืนยันกับแบงก์และนักลงทุนว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังต่ำต่อไปจนกว่าเศรษฐกิจจะโงหัวขึ้น

เร มาซูนากะ นักเศรษฐศาสตร์และอดีตผู้อำนวยการทั่วไปของบีโอเจทิ้งท้ายว่า “เราเรียนรู้ว่าดอกเบี้ย 0% ทำงานจากการกระตุ้นความคาดหวัง และต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจึงจะสัมฤทธิ์ผล”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us