เอ็ม.ไทยกรุ๊ป กลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่ผู้คนให้ความสนใจถึงและสืบค้นขึ้นมาทันทีในพริบตา
เมื่อเป็นกลุ่มที่ชนะการประมูลซื้อที่ดินของธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์แบงก์
จำนวน 20 กว่าไร่บนถนนวิทยุ ในราคาที่ทำลายสถิติราคาที่ดินสูงสุดของประเทศไทย
ผลของการประมูลซึ่งเริ่มต้นแข่งขันกันถึง 27 กลุ่มคัดเหลือ 5 กลุ่มและ
เอ็ม.ไทย กรุ๊ป กลายเป็นผู้ชนะขาดในราคาประมูลตารางวาละกว่า 350,000 บาท
สูงกว่าราคาที่ดินริมถนนสีลมและย่านแออัดอย่างบางลำพูนซึ่งเคยเป็นแชมป์ราคาที่ดินสูงที่สุดของประเทศมาโดยตลอด
ราคาซึ่งประเมินซื้อขายกันในปัจจุบันในย่านสีลมและบางลำพูไม่เกินตารางวาละ
300,000 บาท แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีการซื้อขายกันสูงในระดับที่ประเมินกันไว้เลย
เพียงไม่นานและยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เอ็ม.ไทยกรุ๊ป จะทำประโยชน์อะไรกับแผ่นดินที่ซื้อมาแพงยิ่งกว่าทองคำผืนนั้น
เอ็ม.ไทยกรุ๊ป ก็ปรากฏตัวอีกครั้ง ในชื่อเจ้าของโครงการเมืองอุตสาหกรรมเทพารักษ์
ด้วยวงเงินประมาณการลงทุนทั้งสิ้นถึง 4,000 ล้านบาท และมีอาณาบริเวณครอบคุมถึง
800 กว่าไร่ ซึ่งนอกจากจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินธนาคารทหารไทยแล้วยังเป็นโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอีกด้วย
คนในวงการกล่าวว่าโครงการใหญ่ขนาดนี้มันน่าจะเป็นโครงการของกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในเครือแบงก์อย่างธนาคารกรุงเทพ
หรือของตระกูลเจ้าของธนาคารใหญ่ ๆ อย่างธนาคารศรีนครหรือธนาคารกรุงศรีอยุธยาเสียมากกว่า
แต่นี่กลายเป็นกลุ่มธุรกิจซึ่งไม่ใช่เจ้าของหรือลูกหลานเจ้าของธนาคารอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต
"เป็นกลุ่มการค้าและอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ต้องการขยายเครือข่าย ธุรกิจของตนเองสู่ธุรกิจการพัฒนาที่ดิน
ซึ่งกำลังบูมสุดขีดในปัจจุบัน" แหล่งข่าวคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตเมื่อเห็นรายชื่อของบริษัทเอ็ม.ไทยเมืองอุตสาหกรรม
ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของโครงการเมืองอุตสาหกรรมเทพารักษ์
รายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่ปงระกอบไปด้วย ธนาคารทหารไทยและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นวธนกิจรวมกัน
15% เอ็ม.ไทยกรุ๊ปเอ็ม.ไทยอินดรัสตรี้ และสุชัย วีระเมธีกุล ประธานกลุ่มถือห้นุรวมกัน
30% บุญนำ บุญนำทรัพย์เจ้าของโครงการทอผ้าไทย 10% บริษัทชิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง
กลุ่มธุรกิจก่อสร้างที่กำลังพุ่งแรงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาถือหุ้น 10% ธนินท์
เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มซีพี กิตติ ศรียุกต์ศิริ ประภา วิริยะประไพกิจ เจ้าของกลุ่มฮ่วยชวนค้าข้าวสุมิตร
เลิศสุมิตรกุล เจ้าของกลุ่มศรีไทยซุปเปอร์แวร์ และสุชาติ เศรษฐีวรรณ เจ้าของกลุ่มไทยฟ้า
ร่วมกันถือหุ้นคนละ 5%
กลุ่มผู้ถือหุ้นที่กระจายออกไปมาก ๆ นี้ดูจะเข้าลักษณะเข้ามาช่วยกันถือหุ้น
เพื่อแบ่งเบาสัดส่วนพร้อมเป็นลูกค้าไปในตัวด้วย โดยเฉพาะกลุ่มหลังช่วยกันซื้อหุ้นไว้คนละ
5% เท่านั้น นอกนั้นก็เป็นกลุ่มธนาคารที่ช่วยให้การสนับสนุนทางการเงิน และกลุ่มที่เข้ามารับงานก่อสร้างอย่างชิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่งซึ่งจำเป็นต้องเข้ามาใกล้ชิดโครงการมากกว่ากลุ่มอื่น
ๆ จึงต้องถือหุ้นมากกว่า
แท้ที่จริงถือว่าเป็นจังหวะก้าวของ เอ็ม.ไทยกรุ๊ป โดยแท้ตรงกับที่ ฉัตรชัย
วีระเมธีกุลบุตรชายของประธานกลุ่มและเป็นกรรมการบริหารคนหนึ่งของเมืองอุตสาหกรรมเทพารักษ์กล่าวกับ
"ผู้จัดการ" ว่า กลุ่มที่เข้ามาร่วมทุนด้วยนั้นคือกลุ่มที่ทางเอ็ม.ไทยกรุ๊ปเองก็เคนเข้าไปร่วมถือหุ้นด้วยเล็ก
ๆ น้อย ๆ ตามคำชวนของกลุ่มเหล่านั้น นอกจากนี้กลุ่มผู้ถือหุ้นที่เข้ามาร่วมในโครงการก็ช่วยกันซื้อพื้นที่ในโครงการไปด้วยคนละสองสามแปลง
แต่เมื่อรวมกันแล้วก็กินพื้นที่ถึง 40% ของพื้นที่ขายทั้งหมด
เอ็ม.ไทยกรุ๊ปเองไม่ใช่กลุ่มนักค้าที่ดินแบบก้าวกระโดดแต่เป็นกลุ่มธุรกิจที่สะสมทุนมานานกว่าจะก้าวมาถึงระดับนี้นานกวาหลาย
ๆ กลุ่มที่ต่างได้รับฉายาวานักพัฒนาที่ดินผู้โด่งดังทั้งหลายในปัจจุบัน
แม้จะเป็นเพียงผู้บุกเบิกรุ่นแรก แต่ สุชัย วีระเมธีกุล ประธานกลุ่มเอ็ม.ไทยก็ใช้เวลาในการสร้างอาณาจักรของเขามานานกว่า
20 ปีนับตั้งแต่เขาก้าวออกมาจากวงการธนาคาร
สุชัยเมื่อ 30-40 ปีก่อนไม่ใช่เถ้าแก่ แต่จะเรียกเขาว่ามืออาชีพในสมัยนั้นก็ไม่ผิดนักเขาโตมาจากการเป็นพนักงานของธนาคารรุ่วราวคราวเดียวกันกับที่
ชิน โสภณพนิช เข้าไปซื้อกิจการธนาคารกรุงเทพ หรืออุเทน เตชะไพบูลย์ เข้ามาจับงานที่ธนาคารศรีนคร
ซึ่งเป็นช่วงที่เขาได้สะสมบารมีและสายสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างได้ผลที่สุดในหมู่คนจีน
สุชัยเป็นคนหนึ่งที่กว้างขวางในหมู่คนจีนแต้จิ๋วย่านสวนมะลิไม่แพ้ชินและอุเทนเมื่อ
30 ปีก่อนล่าสุดก่อนที่จะออกมาทำธุรกิจของตนเองเขาเป็นผู้จัดการสาขาฮ่องกงของธนาคารไทยพัฒนา
ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็นธนาคารมหานครในปัจจุบันและก่อนที่โคโร่ หรือ คำรณ
เตชะไพบูลย์ จะเข้ามาซื้อกิจการของธนาคารแห่งนี้ไป
ฉัตรชัย วีระเมธีกุล บุตรชายคนโตของเขาพูดถึงการเริ่มต้นของผู้เป็นพ่อว่า
"มิ้งไท้" ซึ่งมีความหมายว่า แสงสว่างในภาษาจีนอาจจะเป็นที่มาของเอ็มงไทย
ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2510 เป็นโรงงานอุตสาหกรรมสารเคมีที่ผลิตแคนเซียมคาร์ไบด์แก๊สซิเอสซิรีน
และไฟโรซิริค่อน ซึ่งเป็นแก๊สที่ให้ความร้อนและแสงสว่างในอุตสาหกรรมตัดเชื่อมเหล็ก
"คุณพ่อก่อตั้งโรงงานนี้ขึ้นมาในนามของบริษัทเอ็ม.ไทยอินดัสเทรียล
ร่วมกับเพื่อน ๆ หลายคนที่ช่วยเข้ามาถือหุ้นด้วย ตอนหลังก็เหลือเฉพาะหุ้นของครอบครัวเราเพียงครอบครัวเดียว"
ฉัตรชัยกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
บุตรชายของประธานกลุ่มเอ็ม.ไทยกล่าวว่าโรงงานผลิตแคลเซียมคาร์ไบด์และก๊าซซิเอสวิรีนของเขาขณะนั้นนับว่าเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในย่านเอเชีย
และปัจจุบันก็ยังถือว่าเป็นโรงงานที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดเช่นเดิม แต่ไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
เพราะว่าสินค้าจากโรงงานเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งขายให้เฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
โรงงานเอ็ม.ไทยตั้งขึ้นที่สมุทรสาคร ซึ่งเมื่อ 20 กว่าปีก่อนยังไม่มีใครสนใจออกไปตั้งโรงงานไกลถึงขนาดนั้น
สุชัย วีระเมธีกุล ผู้ก่อตั้งบุกเบิกกลุ่มเอ็ม.ไทย สะสมทุนที่ได้จากโรงงานนี้มากทีเดียว
ยิ่งตอนหลังกิจการทั้งหมดได้กลายเป็นของครอบครัวเขาทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์
ด้วยความที่เป็นคนกว้างขวางและเป็นที่นับหน้าถือตาของคนจีนรุ่นเก่า ๆ อย่างมากเขาไดเข้าไปร่วมถือหุ้นเล็ก
ๆ น้อย ๆ ในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสิ่งทออย่างโรงงานผ้าไทยของ
บุญนำ บุญนำทรัพย์ กลุ่มเคคัทตันแอนด์ก็อช่ของ กิตติ ศรียุกต์ศิริกลุ่มค้าข้าวอย่างธนาพรชัยของประชัย
เลี่ยวไพรัตน์ หรือแม้แต่กลุ่มซีพีของ ธนินทร์ เจียรวนท์ ก็มีบางโครงการที่เอ็ม.ไทยกรุ๊ปเข้าไปร่วมด้วย
"ลงไปเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามแต่ความน่าสนใจของโครงการและความใกล้ชิดกันฉันเพื่อน"
บุตรชายของเขากล่าวถึงบทบาทการลงทุนของผู้เป็นพ่อในอดีตที่ผ่านมา
กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้นี่เองที่กลับมาช่วยลงขันกับกลุ่มเอ็ม.ไทยเมื่อถึงจังหวะก้าวของเอ็ม.ไทยบ้าง
การก้าวเข้าสู่ธุรกิจอื่น ๆ เกิดขึ้นจากการวางแผนล่วงหน้าโดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมแต่การได้มาของที่ดินและการก้าวเข้าสู่ธุรกิจการพัฒนาที่ดินนั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
"มันมาจากที่คุณพ่อของผมท่านสนใจการขยายโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องหาที่ดินเราก็ออกดูที่ดินในที่ต่าง
ๆ เรื่อย ๆ โดยเฉพาะในย่านธนบุรี-ปากท่อ และบางนา-ตราด เป็นย่านที่เราให้ความสนใจมาก
เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสำหรับประกอบกิจการอุตสาหกรรม เมื่อเห็นที่แปลงไหนราคาดีเมื่อเทียบกับทำเลที่ตั้ง
เราก็ซื้อไว้ เลยกลายเป็นวาเรามีที่ดินจำนวนมากมายในย่านดังกล่าว เมื่อ 2-3
ปีมานี้ราคาที่ดินมันเพิ่มขึ้นมากหลายเทาตัวทีเดียวประกอบกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ
ทำให้เราสนใจที่จะพัฒนาที่ดินขยายแต่ก็หนีไม่ไกลความชำนาญของเรา คือพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
เราถึงได้เริ่มโครงการเมืองอุตสาหกรรมเทพารักษ์ขึ้นมา" ฉัตรชัยกล่าวถึงการก้าวเข้าสู่ธุรกิจการพัฒนาที่ดินของกลุ่มเอ็ม.ไทย
จากเมืองอุตสาหกรรมซึ่งได้รับส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเป็นโครงการนิคมอุตสาหกรรมโครงการสุดท้ายก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติหยุดให้การส่งเสริมการลงทุนแก่โรงงานอุตสาหกรรม
และนิคมอุตสาหกรรมในเขตปริมณฑล 5 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ เอ็ม.ไทยกรุ๊ป กำลังทำโครงการศูนย์แสดงสินค้านานาชาติในพื้นที่ดิน
300 กว่าไรบริเวณใกล้เคียงกัน
"โครงการนี้เรามีแผนที่จะร่วมกับภาครัฐบาลคือกรมพาณิชย์สัมพันธ์ โดยในบริเวณพื้นที่จะประกอบด้วยพื้นที่ที่ใช้แสดงสินค้าแบบโชว์ตลอดทั้งปีและการจัดแสดงสินค้าเป็นคราว
ๆ ซึ่งการแสดงสินค้าจะมีทั้งการแสดงสินค้าเทคโนโลยีต่างประเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศสำหรับนักลงทุนไทยไม่ต้องเดินทางไปถึงต่างประเทศ
และแสดงสินค้าอุตสาหกรรมที่คนไทยผลิตได้ ต้องการนำออกจำหน่ายต่างประเทศโดยไม่จำเป็นต้องนำสินค้าออกไปเร่ขายเอง
บางคเข้าใจวาเป็นเวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์ แต่ความจริงไม่ใช่อย่างที่เข้าใจเลย"
กรรมการเอ็ม.ไทยกรุ๊ปเปิดเผย "ผู้จัดการ"
นอกจากนั้นในบริเวณเดียวกันยังจะประกอบด้วยโรงแรมชั้นหนึ่งและห้องสำหรับใช้ประชุมสัมมนาต่าง
ๆ ซึ่งโครงการนี้จะใช้เวลาประมาณ 5 ปี
แล้วก็ถึงการก้าวสู่การลงทุนประมูลซื้อที่ดินเปล่า ๆ จำนวน 20 กว่าไร่บนถนนวิทยุของ
ธ.แสตนดาร์ดชาร์เตอร์แบงก์มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาทที่โด่งดังตลอดสองเดือนที่ผ่านมา
"ผมว่าเป็นที่ดินที่สวยที่สุดของกรุงเทพฯในปัจจุบัน เพราะเป็นแปลงใหญ่แปลงเดียว
และตั้งอยู่บนถนวิทยุดู่จากแผนที่กรุงเทพฯปัจจุบันจะเห็นว่ามันอยู่ใจกลางกรุงเพทฯพอดีทีนี้ถามว่าเราจะทำอะไรมันคงยังบอกไม่ได้
แต่ก็ลองคิดดูก็แล้วกัว่าทำอย่างไรถึงจะคุ้มกับราคาต้นทุนเฉพาะที่ดินที่เราซื้อมา
เราก็ต้องทำให้ใหญ่และสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้" ฉัตรชัยกล่าว
ถึงก้าวนี้ของกลุ่มเอ็ม.ไทยที่ทุกคนจับตามอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่จับตามองของกลุ่มธุรกิจที่เป็นเจ้าของธาคารอย่างโสภณพนิช
เตชะไพบูลย์หรืออย่างรัตรักษ์ เพราะนี่จะเป็นโครงการยักษ์ใหญ่ระดับหมื่นล้านบาทไม่พ้น
ซึ่งจะผงาดขึ้นมาในกรุงเทพฯในไม่ช้านี้
บางคนวิเคราะห์ว่าเอ็ม.ไทยกรุ๊ปกำลังจะก้าวสู่ "ธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์"
และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เอ็ม.ไทยกรุ๊ปก็จะเป็นกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทยในอนาคตอันใกล้นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้