Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532
ปลุกชีพเจ้าหญิงนิทรา กว่า 20 ปีของชนัตถ์"THE PRINCESS HOTEL"             
 


   
search resources

The Princess Hotel
วรพงศ์ วรรณกร
Hotels & Lodgings




โรงแรมแห่งแรกของชนัตถ์ ปิยะอุย ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 40 ปีที่แล้ว สมัยที่ยังไม่มีการบูมของธุรกิจการโรงแรม การท่องเที่ยว เนืองจากกรุงเทพฯ ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางที่เป็นประตูสู่เส้นทางการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ ความต้องการของห้องพักมากเหมือนวันนี้ จึงไม่มี

โรงแรมแห่งนั้นมีอายุยืนยาวเกือบ 20 ปี แล้วชนัตถ์ก็ตัดสินใจขายไป

วันเปิดโรงแรม 6 พฤษภาคม 2492 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาเสด็จมาเป็นประธานเปิดงาน เปิดโรงแรมซึ่งชนัตถ์ให้ชื่อว่า "THE PRINCESS HOTEL" ถือว่าเป็นความหลังที่น่าประทับใจที่สุดอย่างหนึ่งของเขา ถึงมันจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนักแต่มันก็เหมือนรักครั้งแรกที่ฝังใจเขาอยู่

ไม่มีใครคาดคิด แม้แต่ตัวชนัตถ์เองว่า….อีก 40 ปีต่อมาในวันเดียวกันนั้น 6 พฤษภาคม 2532 THE PRINCESS HOTEL จะถูกเปิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ขายไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว

THE PRINCESS HOTEL ครั้งนั้นตั้งอยู่ที่เจริญกรุง 20 ปีให้หลังมันก็ถูกขาย พร้อมกับเหตุผลที่ว่าชนันถ์ต้องการจะเปิดโรงแรมใหมให้ใหญ่โตโอ่โถงมากที่สุดในยุคนั้นดุสิตธานี นำความสำเร็จ ความสมหวังมาให้อย่างที่เขาตั้งใจจนทุกวันนี้โรงแรมที่เขาลงทุนเองมีถึง 11 แห่ง นับเป็นเวลาอีก 20 ปี ชนัตถ์จึงเปิด THE PRINCESS HOTEL ขึ้นใหม่อีกครั้ง

THE PRINCESS HOTEL แห่งใหม่นี้เดิมทีเป็นโรงแรมราชศุภมิตร ของอาจิณ ทั้งสินเจ้าของเดียวกันกับโรงแรมแม่น้ำได้ทำการขายให้กับชนัตถ์ ด้วยต้องไปบริหารโรงแรมแม่น้ำอย่างจริงจัง ผนวกกับไม่สามารถต่อสัญญาเช่าที่ดินตรงนั้นจากตระกูลบูรานานนท์ได้ กลุ่มดุสิตธานีของชนัตถ์จึงซื้อเอาไว้พร้อมที่ดินตรงนั้นเมื่อ 2 ปีก่อน ทั้งหมดเป็นราคาประมาณ 88 ล้านบาท

วรพงศ์ วรรณกร นั่งในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของ THE PRINCESS HOTEL เขาถูกทาบทามให้เข้ามาบริหารกลุ่ม THE PRINCESS ในฐานะเป็นผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการโรงแรมมาแสนนาน และที่สำคัญเขาเคยร่วมงานกับชนัตถ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ในสมัยแรก ๆ ของดุสิตธานี เคยเห็นฝีมือกันอยู่จึงเกิดความมั่นใจ เขาเล่าให้ฟังว่า "ก่อนนั้นเคยทำงานให้คุณชนัตถ์ เดี๋ยวนี้มาทำงานให้คุณชนินทร์ ซึ่งเป็นลูกชายชนัตถ์เป็นคนมาทาบทามผม….ผมมันชอบอะไรท้าทายนะ ก็รับปาก"

แนวคิดของโรงแรม เดิมทีนั้นคือโรงเรียน-โรงแรม เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านการโรงแรมและออกมาฝึกการปฏิบัติที่โรงแรม วรพงศ์กล่าวว่าเขาได้ให้ความเห็นต่อกลุ่มผู้บริหารว่ามันไม่เหมาะ ถ้าจะให้โรงแรมเป็นที่ฝึกภาคปฏิบัติของนักเรียนในโรงเรียน "คือเมื่อเกิดการผิดพลาด เช่นการให้การบริการกับแขก มันจะทำให้เสียภาพพจน์ของโรงแรม" เขาว่าตามประสบการณ์ที่เคยทำงานมาให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

และสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้แนวของโรงแรมต้องเปลี่ยนไป คือ การเปิดโรงเรียน-โรงแรม ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์ เมื่อมาดูสถานที่ปรากฎว่าพื้นที่เล็กเกินไปสำหรับที่จะทำให้โรงเรียนซึ่งเป็นพื้นที่ในส่วนหลังของโรงแรมนั้นมีอยู่เพียง 1.5 ไร่ แต่ความเหมาะสมอยู่ที่ 3-5 ไร่

โรงเรียน-โรงแรม ตามแนวคิดเดิมจึงไม่เกิดขึ้น แนวความคิดใหม่ของกลุ่มดุสิตธานี คือโรงแรมที่มีบรรยากาศแบบสมัยเมื่อ 40 ปีที่แล้ว แต่หรูหราวรพงศ์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ตอนแรก ๆ ก็ไม่ยอมรับนะ แต่มาบังเอิญที่จะทำเป็นโรงเรียน-โรงแรมแบบเก่านั้นก็ไม่ได้…ตอนหลังก็…โอ.เค."

THE PRINCESS HOTEL วันนี้พิสูจน์อะไรหลาย ๆ อย่างน้อยใครที่บอกว่า สถานที่ตั้งของโรงแรมไม่เหมาะสมก็คงจะพูดเช่นนั้นไม่ได้อีกเพราะสำหรับนักท่องเที่ยวแล้ว 5 นาทีก็ถึงราชดำเนินภูเขาทอง โลหะปราสาท วัดพระแก้ว ซึ่งอยู่ในแนวเขตชั้นในของกรุงรัตนโกสินทร์ มันสะดวกที่สุด

"แขกที่มาพัก ถัวเฉลี่ยอยู่กับเรา 3.5 วัน สูงกว่าโรงแรมในกทม.อื่นซึ่งถัวเฉลี่ยตก 2.5 วันเท่านั้น" เขากล่าวถึงผลสำเร็จของสถานที่ตั้งที่ใกล้แห่งท่องเที่ยว

แต่ที่จริงจุดขายของโรงแรมนั้นอยู่ที่ F&B หรือแผนกอาหารและเครื่องดื่มที่ทำกำไรสุทธิได้ 30% ของยอดขาย แขกที่เดินเข้าออกตรงจุดนี้ ไม่ใช่ชาวต่างชาติ แต่เป็นคนไทยที่มีทั้งนักธุรกิจ และข้าราชการ รวมไปถึงบุคคลสำคัญท่านอื่น ๆ

วรพงศ์เล่าด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจว่า "ตอนกลางวันนะบางที่แขกเราไม่มีที่นั่ง…เจ้านายใหญ่ ๆ โต ๆ มานะที่นี่ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ก็มา มารับรองแขก" เขาใช้เงินเพื่อปรับปรุงโรงแรมทั้งโรงแรม 220 ล้านบาท ถ้าคิดรวมค่าซื้ออีก 88 ล้านบาท ตกเป็นเงินประมาณ 308 ล้านบาท

งบประมาณกับความสำเร็จที่แสนคุ้ม แต่วรพงศ์บอกว่ามันไม่ได้อยู่แค่นั้น

"ผมให้ความสำคัญกับคุณภาพของการบริการมากบริการต้องดี อาหารต้องดี ผมว่าอย่างนี้…แล้วเดี๋ยวแขก็มากันเอง" เขาตอบคำถาม เมื่อถูกถามว่าบริการอย่างไรจึงทำได้อย่างทุกวันนี้

วรพงศ์ ไม่เคยเรียนวิชาการบริหารโรงแรมจากที่ไหน เขาหาเรียนจากประสบการณ์ชีวิตที่คลุกคลีอยู่ในวงการนี้มานานค่อย ๆ เรียนรูไปทำไป ตั้งแต่อายุราว 15-16 มีโอกาสไปอยู่ที่นิวยอร์ก เพราะพี่ชายทำงานอยู่ที่นั่น เขาเล่าว่าได้มีโอกาสเห็นบรรยากาศในโรงแรมต่าง ๆ รู้สึกชอบบรรยากาศแบบนั้น เป็นความประทับใจมา แต่ก็ไม่เคยคิดที่จะทำงานโรงแรม "จริง ๆ แล้วเดี๋ยวนี้ผมก็ยังชอบที่จะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุนมากกว่า"

ก่อนหน้าที่เขาจะมารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของ THE PRINCESS HOTEL เขาเดินเข้าออกตลาดหุ้นอยู่ประมาณ 3 เดือน "ก่อนหน้านั้น ผมอยู่ที่สิงคโปร์มา 12 ปี" เขาได้มีโอกาสสร้างชื่อเก็บไว้ในเรคคอร์ดให้วงการโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ในสิงคโปร์ให้เป็นที่รู้จัก ผลงานชิ้นโบแดงคือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโรงแรมเมอร์รินที่สิงค์โปร์ จนประสบความสำเร็จขึ้นมา เขามีความชำนาญมากทางด้านภัตตาคาร ร้านอาหาร ดิสโก้บาร์ หรือแม้แต่สถานที่จัดเลี้ยงเพราะฉะนั้น F&B แผนกอาหารและเครื่องดื่มที่ THE PRINCESS HOTEL จึงเป็นจุดขายที่สำคัญเป็นที่รู้จักกันโดยปากต่อปาก

ความชำนาญผสมความโชคดี ที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในวงการโรงแรม คือเจ้าของโรงแรมเกิดเป็นเจ้าของแบงก์ที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ UNITED OVERSEA BANK เพราะฉะนั้นงานอื่น ๆ จึงตามเขามา จนชื่อเสียงโด่งดัง ตำแหน่งสุดท้ายก่อนจะกลับมาเมืองไทยคือผู้จัดการใหญ่โรงแรมมีชื่อแห่งของสิงคโปร์ "THE PLAZA HOTEL"

เรื่องของความชำนาญ เรามักจะยกไว้ให้สำหรับผู้ที่ผ่านประสบการณ์มามาก วรพงศ์เองก็เป็นคนหนึ่ง ถึงแม้วาเขาจะบอกว่า "ผมทำอะไร ผมไม่ใช่อดีตเลย ผมจะดูจากคนทำงานของผม"

ไม่ว่าจะเป็นอะไร วรพงศ์ก็ยังคงยืนยันว่า เขาไม่ได้ใช้วิชาการบริหารอะไรทั้งสิ้น จะมีก็แต่การเน้น การบริการ ความพิถีพิถันของอาหาร และบรรยากาศที่หรูหราเท่านั้นจริง ๆ เจ้าหญิงนิทราของชนัตถ์จึงถูกปลุกให้ตื่นและคึกคักอยู่อย่างวันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us