Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532
บาร์โค้ด ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ ของสุทธิเกียรติ             
 


   
search resources

ทีพีเอ็นเอ
Computer




ถ้าคุณได้มีโอกาสไปชอปปิ้งที่สิงคโปร์หรือฮ่องกงถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นรหัสตัวเลขปะติดกับสินค้าที่คุณซื้อมาอยู่แทบทุกชิ้น ซึ่งบางคนไม่ใช่เป็นคนช่างสังเกตก็ไม่สนใจว่ามันคืออะไร

แต่ถ้าคุณเป็นนักธุรกิจหรือสนใจแวดวงธุรกิจ คุณจะรู้ทันทีว่ามันคืออะไรมีประโยชน์อย่างไร

ใช่มันหมายถึง "บาร์โค้ด" ที่บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ทั่วโลก ต่างต้องนำมันมาปะติดไว้ที่ภาชนะบรรจุภัณฑ์สินค้า

บาร์โค้ดเป็นระบบข้อมูลที่ถูกแปลเป็นรหัสแท่ง เพื่อที่จะสามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับทราบข้อมูลได้ด้วยการอ่านผ่านทางเครื่องอ่านที่เราลากผ่านรหัสแท่ง ซึ่งเครื่องจะแปลจากรหัสแท่งเป็นตัวเลขเพื่อบันทึกเป็นข้อมูลทางธุรกจิอีกทีในหน่วยความจำ ซึ่งจะสามารถลดการอ่านที่และบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาดของคนได้อีกทั้งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิมด้วย

แต่การที่นำระบบบาร์โค้ดมาใช้ในธุรกิจระดับที่เป็นระหว่างประเทศจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรที่จะทำหน้าที่ในการประสานงาน เพื่อที่จะสามารถทำงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยแต่ละประเทศจะมีตัวแทนขององค์กรในการหาสมาชิกที่เป็นบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ระบบบาร์โค้ด ซึ่งประเทศไทยเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกระบบบาร์โค้ดขององค์กรระหว่างประเทศที่เรียกว่าระบบ EAN เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วนี่เอง

ระบบ EAN เป็นระบบที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาจากประเทศในยุโรป 12 ประเทศเมื่อปี 2522 เพื่อที่จะเป็นสื่อกลางในการค้าที่จะต้องอาศัยตัวเลขในการทำความเข้าใจสื่อสารกันผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อความถูกต้องและรวดเร็ว โดยบริษัทที่เป็นสมาชิกโดยผ่านทางบริษัทตัวแทนในแต่ละประเทศจะได้รับหมายเลขรหัสประจำตัวในการที่จะทำการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกตัวเลขนี้จะเป็นสิ่งที่บอกถึงประเทศและบริษัทเจ้าของสินค้าที่ผลิต ซึ่งนับได้ว่าเป็นสินทรัพย์ทางการค้าที่สำคัญของบริษัทชิ้นหนึ่งทีเดียว

บริษัททีพีเอ็นเอ (TPNA) เป็นบริษัทที่ได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกของ EAN เพื่อที่จะเป็นตัวแทนในประเทศไทยในการให้บริการทางด้านบาร์โค้ดระบบ EUROPEAN ARTICLE NUMBERING CODE ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายกว่าระบบอื่นเพราะมีสมาชิกรวม 45 ประเทศทั่วโลก

ความริเริ่มที่ทางทีพีเอ็นเอมีขึ้นนั้นอาจจะเนื่องมาจากหนึ่งในจำนวนผู้ก่อตั้งบริษัทนั้นมี สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหารห้างเซ็นตทรัลที่เป็นกิจการห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย และยังเป็นผู้ผลิตสินค้าอีกนับร้อยอย่างซึ่งย่อมเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญทางด้านการค้าที่ต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ความถูกต้องและรวดเร็วมากกว่าคนอื่น ประกอบกับการที่สุทธิเกียรติรู้จักกันดีกับ สมกิจ ไพรัชพิบูลย์ ในฐานะที่เคยร่วมงานกันมาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งห้างเซ็นทรัลสาขาสีลม สมกิจคนนี้มีประสบการณ์การทำงานมาทางด้านต่างประเทมาก่อน และได้รู้จักกับเจ้าหน้าที่ของ EAN ประจำมาเลเซีย ลู่ทางการเป็นตัวแทนระบบ EAN ในประเทศไทยจึงเกิดขึ้น โดยตั้ง บริษัททีพีเอ็นเอ ขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะเป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างสมกิจและสุทธิเกียรติ

การเข้าเป็นตัวแทนของทีพีเอ็นเอจำเป็นที่จะต้องเสียค่าสมาชิกแรกเข้าเป็นจำนวนเงิน 5 แสน 7 หมื่นฟรังก์เบลเยียมคิดเป็นเงินบาทก็ประมาณ 375,060 บาทและก็ต้องเสียค่าสมาชิกรายปีอีก 5 แสนฟรังก์หรือ 329,000 บาทเป็นอัราที่คิดจากบริษัทแม่ที่บรัสเซลส์โดยมีวิธีการคิดที่อิงตามรายได้ประชากร และจำนวนประชากรในประเทศไทย

หลังจากนั้นทางทีพีเอ็นเอก็ต้องมาทำหน้าที่ของตัวแทนของ EAN โดยพยายามหาสมาชิกเพื่อที่จะเสียค่าสมาชิกให้กับทางทีพีเอ็นเอในอัตราต่าง ๆ คิดตามยอดขายของบริษัทระหว่าง 10,000 บาทถึง 30,000 บาทต่อปี ทีพีเอ็นเอจำเป็นที่จะต้องหาสมาชิกให้มากเพื่อที่จะได้คุ้มกับทุนทีได้ลงไปกับค่าสมาชิกที่ต้องเสียให้กับบริษัทแม่ ซึ่งแนวโน้มจากสถิติที่ผ่านมาในประเทศที่เป็นตัวแทนในประเทศอื่น ๆ จะมีอัตราเพิ่มมากขึ้นอย่างมากเมื่อมีการเริ่มต้นใช้กันในระยะแรกแล้ว

ตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเริ่มมีการใช้ระบบ EAN ในปี 2522 มีสมาชิกในประเทศเพียง 6 รายเท่านั้นแต่ในปีต่อมาบริษัทสมาชิกก็เพิ่มขึ้นเป็น 42 แห่ง และเป็นร้อยกว่าบริษัทภายใน 3 ปี

ในปัจจุบันบริษัทที่เป็นสมาชิกของทีพีเอ็นเอมีประมาณ 13 แห่งเหตุผลเป็นสมาชิกของบริษัทต่าง ๆ นั้นไม่ได้เป็นการพิจารณาถึงเรื่องค่าแรงในประเทศเท่านั้น แต่มองถึงเรื่องในเชิงการตลาดด้วยเช่นทางด้านการบริหารสินค้าคงคลัง การตรวจเช็กความเป็นไปได้ของสินค้า ความเคลื่อนไหวและการไหวเวียนขิงสินค้าที่บริษัทสมาชิกผลิตหรือจำหน่าย ซึ่งต้องการข้อมูลที่รวดเร็วและถูกต้อง เพราะด้วยวิธีการที่ใช้พนักงานในการตรวจเช็กในหลายครั้งเกิดจากการผิดพลาดและในบางครั้งในตลาดที่ใหญ่มากขึ้นต้องอาศัยเวลานานกว่าจะรู้ผล การมีระบบบาร์โค้ดทำให้การตรวจเช็กเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิเช็กเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

"ผมเชื่อมว่าแนวโน้มของการใช้ระบบ EAN จะมีเพิ่มมากขึ้นแน่และอาจจะเป็นประมาณ 5 ปีก็คงจะใช้กันในทั่วไป" สรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทยูนิชาร์ม กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ซึ่งเป็นลูกค้ารายที่ 7 ในบรรดา 13 รายที่เป็นสมาชิกของทีพีเอ็นเอในปีนี้

ในโลกนี้นอกจากบาร์โค้ดระบบ EAN แล้ว ยังมีอีกระบบหนึ่งที่เรียกว่า UPC (UNIVERSAL PRODUCT CODE) ก็เป็นบาร์โค้ดที่ใช้กันมากในทวีปอเมริกาเหนือเป็นระบบที่จัดตั้งในสหรัฐอเมริกาในปี 2516 เกิดก่อนระบบ EAN 4 ปี แต่เนื่องจากระบบ EAN มีตัวเลข 13 ตัว ซึ่งมากกว่าระบบ UPC ซึ่งมีอยู่เพียง 6 ตัว จึงทำให้ระบบ EAN สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าระบบ UPC จึงเป็นระบบที่ทางสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม แนะนำให้ระบบนี้เป็นระบบมาตรฐานสำหรับประเทศไทย

"เลข 13 ตัวของระบบ EAN มันจะระบุรหัสชื่อบริษัทประเทศ และชนิดของสินค้าไว้อย่างละ 4 ตัว ทำให้ง่ายต่อการสื่อสารธุรกิจแก่ผู้ค้าในต่างประเทศ ขณที่ระบบ UPC จะมีตัวเลข 6 ตัวที่บอกถึงประเทศและสินค้าเท่านั้น มันไม่ละเอียด" แหล่งข่าวใน ส.ม.อ. เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงเหตุผลที่ส.ม.อ. สนับสนุนให้ใช้ระบบ EAN

การได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนกิจการของทีพีเอ็นเอใการเป็นตัวแทนของทีพีเอ็นเอในการเป็นตัวแทนระบบนี้ในประเทศไทย และหากแนวโน้มในการใช้ระบบ EAN ในต่างประเทศเป็นไปในลักษณะเดียวกับในประเทศไทย ระบบการค้าที่เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพระบบข้อมูลทางการตลาด จะมีความถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้นก็จะเกิดขึ้นเป็นประโยชน์โดยรวมกับแก่บริษัทห้างร้านในประเทศไทย

โดยมีผู้ที่ยิ้มออกมากกว่าใครเพื่อนก็คือบริษัททีพีเอ็นเอตัวแทนลิขสิทธิ์ระบบ EAN แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยของเสียสุทธิเกียรตินั่นเอง

ไม่ใช่ใครอื่น เพราะรับทรัพย์จากการขายระบบและไปเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us