|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
วินาทีนี้ กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) ดูเหมือนจะเป็นยุทธศาสตร์ที่นักการตลาดกำลังให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเชื่อว่าจะเป็นกลยุทธ์ช่วยให้ตราสินค้าหรือองค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้ระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
ส่วนหนึ่งได้สะท้อนมาจากงานประชุมสุดยอดซีเอสอาร์ เอเชีย ประจำปี 2551 ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ “ก้าวต่อไปของความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ : ขยายความร่วมมือด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม” จัดขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมฟังกว่า 350 ท่าน จากประเทศต่างๆทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย ซึ่งมีข้อสรุปจาก ริชาร์ด เวลฟอร์ด ประธานบริษัท ซีเอสอาร์ เอเชีย ว่า บริษัทที่สามารถสร้างนวัตกรรมด้านซีเอสอาร์ที่มีคุณค่า จะสามารถเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ดีกว่าบริษัทที่ละเลยความสำคัญของซีเอสอาร์
ดังนั้นในภาวะการณ์เช่นนี้ ผู้บริโภคบ้านเราจึงได้เห็นกิจกรรมการทำตลาดแนว CSR ของหลายองค์กรเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หากต้องพูดถึง บริษัทที่ยืนอยู่แถวหน้าและนำนโยบายดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการผนึกกำลังสร้างประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร ขณะเดียวกันก็ส่งผลดีต่อสังคมชนิดที่สร้างเครือข่ายขยายไปสู่ระดับประเทศ ต้องนึกถึงโครงการ “ลานเล่นบรีส เพิ่มพลังเรียนรู้” ของยูนิลีเวอร์ โปรเจกต์ที่เกิดจากการต่อยอดพันธกิจ “เติมพลังให้แก่ชีวิต” ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องกว่า 9 ปี และที่ลืมไม่ได้อีกราย คือ พีแอนด์จี การบริหารภายใต้นโยบาย “รูปแบบ CSR ลดต้นทุน” ที่ตอนนี้ชัดเจนสุดกับโครงการ “การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
สำหรับ การเลือกใช้กลยุทธ์ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ จะเห็นว่าทั้ง 2 องค์กร ไม่ว่าจะเป็นพีแอนด์จี หรือ ยูนิลีเวอร์ฯแม้จะมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การตอบแทนสังคม ที่มาพร้อมการความรู้สึกดีต่อแบรนด์หรือองค์กรในใจผู้บริโภคระยะยาว โดยผลลัพธ์นั้นอาจวัดจากตัวเลขยอดขายที่เพิ่มขึ้นภายหลัง แต่เมื่อพลิกไปดูรูปแบบการดำเนินงานจะเห็นว่าแตกต่างกันอย่างน่าสนใจ
เริ่มจากฝั่งยูนิลีเวอร์ฯ ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรกที่กระโดดเข้ามาเล่นในสนาม CSR จึงทำให้ภาพค่อนข้างโดดเด่นและประสบความสำเร็จอย่างมากกับโครงการ “ลานเล่นบรีส เพิ่มพลังเรียนรู้” แม้จะเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพียง 3 ปี แต่นั่นเป็นการต่อยอดจากโครงการ “ยิ่งเลอะ ยิ่งเยอะประสบการณ์” โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสานพันธกิจ “เติมพลังให้ชีวิต” ที่ค่ายนี้ดำเนินมากว่า 9 ปี ให้มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และ “บรีส” ก็ถูกคัดเลือกให้เป็นแบรนด์ที่ทำหน้าที่เชื่อมกิจกรรมดังกล่าวกับผู้บริโภค
ภายใต้นโยบายการทำ CSR ของบริษัทยูนิลีเวอร์ฯ ที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ภายใต้ยูนิลีเวอร์ฯ ที่จะเน้นเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการสร้างจิตสำนึก และ ภายใต้แบรนด์ ซึ่งในเวลานี้ วรรณิภา ภักดีบุตร รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องใช้ส่วนบุคคล กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ประเทศไทย มองว่าแบรนด์ที่มีศักยภาพสามารถทำโครงการด้านซีเอสอาร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีอยู่ 2 แบรนด์ คือ วอลล์ มอ ที่เริ่มขึ้นเป็นปีแรกด้วยการแจกจักยานผ่านกิจกรม “มอ ไรเดอร์ จักรยานนี้เพื่อน้อง” และ บรีส ที่ถือเป็นตัวนำอยู่ในตอนนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อตอบแทนสังคมในลักษณะที่ต้องตรงกับประเด็นสังคม Social Issue ที่สามารถเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้อย่างลงตัว
ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ของบรีส เป้าหมายนั้นอยู่ที่การสร้างเสริมให้เด็กและเยาวชนได้สนุกสนานกับการเล่นกลางแจ้ง เพื่อให้เด็กได้มีเรียนรู้และพัฒนาตนเองจากการเล่น ตลอดจนการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในสังคม รวมทั้งสร้างปฏิสัมพันธ์และความใกล้ชิดกันระหว่างคนในชุมชน ซึ่งถือเป็นรูปแบบที่เข้ากับตัวสินค้ากลุ่มบรีสได้เป็นอย่างดี เพราะบรีสเป็นแบรนด์ที่อยู่กับการเล่น การเลอะ ขณะเดียวกันผลดีจากการทำโครงการก็ย้อนกลับมาหาบรีสด้วยเช่นกัน คือ การเพิ่มปริมาณการขายที่มากขึ้นด้วย เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเด็กเล่น เสื้อผ้าย่อมเลอะเทอะเปรอะเปื้อน และแบรนด์แรกที่พ่อแม่นึกถึงก็น่าจะเป็นบรีสเป็นอันดับต้นๆ เพราะอย่าลืมว่าหลายปีที่ผ่านมาทางบรีสได้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะของ CRM (Customer Relationship Management) กับกลุ่มแม่บ้านมาตลอด
โดยล่าสุด โครงการดังกล่าวทางลีเวอร์ฯได้มีการสร้างลานเล่นบรีสฯไปแล้ว 140 แห่ง ใน 70 จังหวัด ด้วยเงินลงทุนกว่า 150 ล้านบาท และในปีหน้าจะเพิ่มอีก 60 แห่ง เพื่อให้ครบ 200 แห่งภายในปี 2552 และเพื่อเพิ่มความใกล้ชิดกับคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารค่ายนี้ก็มีนโยบายให้พนักงานทุกแผนกในองค์กรของตนเองรวมกว่า 700 คน เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมดังกล่าวด้วย ไม่เพียงเท่านี้ในช่วง 2 ปีแรก ของทุก 6 เดือน จะต้องมีพนักงานลงไปดูแลและสำรวจความเรียบร้อยของลานเล่นบรีสฯด้วย ซึ่งกลวิธีเช่นนี้ช่วยเพิ่มความรู้สึกที่ดีของคนในชุมชนทั้งเด็กและคุณครูที่มีต่อแบรนด์และองค์กรได้เป็นอย่างดี แม้จะไม่มีการวัดผลออกมาให้เห็นเป็นตัวเลขยอดขายก็ตาม แต่ทั้งนี้แม่ทัพหญิงของยูนิลีเวอร์ก็ยังมั่นใจว่า ในระยะยาวการทำกิจกรรมดังกล่าวจะมีผลต่อความภักดีต่อแบรนด์อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ แพทริค เชสโคว์ ประธานบริหารสูงสุด ยูนิลีเวอร์ ที่เน้นย้ำกับพนักงานในองค์ว่า “สังคมอยู่ได้ เราอยู่ได้”
สำหรับ การทำกิจกรรมเพื่อสังคมในอนาคตที่ค่ายนี้กำลังให้ความสำคัญ ที่เชื่อว่าจะเชื่อมไปสู่แบรนด์สินค้าในเครือและตรงกับประเด็นสังคมได้อย่างลงตัว ต่อจากเรื่องของเด็กหรือเยาวชน คือ เรื่องโภชนาการ และเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นหลังที่จะเป็นนโยบายการพัฒนาสินค้าในกลุ่มซักล้าง เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีอัตราการบริโภคจำนวนมาก เช่น การออกสูตรเข้มข้น เพื่อใช้บรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กลง
กลับมามองในฝั่งของพีแอนด์จี ที่ระยะหลังหันมาให้ความสำคัญกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและชัดเจนขึ้น จะเห็นว่ายักษ์คอนซูเมอร์รายนี้เน้นทำซีเอสอาร์ภายใต้คอร์เปอเรต แบรนด์ ต่างจากคู่แข่งที่มีการแบ่งเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน ด้วยการทุ่มงบกว่า 450 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้นโยบาย “CSR ลดต้นทุน” จนสามารถลดต้นทุน 3 ด้าน คิดเป็นมูลค่าราว 90 ล้านบาทต่อปี คือ 1.การเปลี่ยนรูปแบบโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ไปเป็นโรงงานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิตจากเดิมที่ใช้น้ำมันหนัก คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2552 ซึ่งทำให้ลดการเผาผลาญน้ำมันได้ปีละ 2 ล้านลิตร 2. ลดปริมาณการใช้น้ำต่อเดือนลง 38 % เนื่องจากการออกแบบเครื่องจักรเพื่อลดการใช้น้ำ 3. ลดการปล่อยน้ำเสีย 85% ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายราวเดือนละ 5 ล้านบาท ทั้งนี้จากการลงทุนปรับเปลี่ยนโรงงานเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมครั้งนี้ ทำให้ในปี 2551 พีแอนด์จีสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 90 ล้านบาท
นอกจากพีแอนด์จีจะสามารถลดต้นทุนด้านการผลิต รวมทั้งเกาะกระแสการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน โดยดูจากตัวเลขที่บ่งบอกการใช้พลังงานต่างๆที่ลดลงอย่างชัดเจนแล้ว รูปแบบการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ ครั้งนี้ น่าจะได้ใจผู้บริโภคบ้านเราไม่มากก็น้อย เพราะจากการสำรวจพบว่า เทรนด์เรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นปัจจัยลำดับ 3 ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค รองจาก สรรพคุณของสินค้า และความคุ้มค่าของเงิน
ฉะนั้นการที่พีแอนด์จีตั้งเป้าการทำงานให้เป็น “ปีแห่งการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” น่าจะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของซีเอสอาร์ที่ได้ผลอย่างทันตา ทั้งในเรื่องยอดขายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนลดลง ซึ่งเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับคู่แข่งมากขึ้นอีก หลังจากที่ค่ายนี้มีการโยกฐานการผลิตจากสิงคโปร์มายังไทยอย่างเต็มรูปแบบ โดยมอบหมายให้สิงคโปร์ทำหน้าที่พิจารณาไอเดียที่มาจากโกลบอล ซึ่งมาจากนโยบายการรวมตัวของพีแอนด์จีใน 5 ประเทศ ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย ภายใต้การบริหารของปริญดา หัศฎางค์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด พีแอนด์จี อาเซียน
|
|
|
|
|