มีข้อเสนอแนะทางแก้ไขปัญหาที่เน้นการปรับปรุงที่ "ฐานรากของขสมก.
จากคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 20 ชุด ไม่รวมที่ปรึกษารายบุคคลและนักวิชาการอีกมากมาย
แต่ดูเหมือนว่าปัญหาของ ขสมก .ดูจะทับถมมากขึ้นพอ ๆ กับหนี้สินและตคัวเลขการขาดทุนสะสมที่ทุกฝ่ายอิดหนาระอาใจ
จะเก็บ ขสมก . ก็มีแต่ปัญหาจะขายให้เอกชนหรือนักการเมืองก็ค้านหัวชนฝา ไม่มีอีะไรดีไปกว่าปล่อยให้
ขสมก. ย่ำยีคนกรุงเทพ ฯ อย่างนี้ตลอดไปอย่างนั้นหรือ ?!
เมื่อเร็ว ๆ มีชัย ฤชุพันธ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปัญหาหนี้สินของรัฐวิสาหกิจ
ในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ (กรช.) ได้แถลงว่าอนุกรรมการกำลังที่จะเสนอกรช.เกี่ยวกรับการแก้ปัญหาหนี้สินขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ
(ขสมก.) เพื่อให้กรช. พิจารณา
มีชัย กล่าวว่าอนุกรรมการจะเสนอ 2 แนวทางในการแก้ไขปัญหา นั้นคือ หนึ่ง
- กำหนด ขสมก. ไม่ให้มีสินทรัพย์โตเกินเป้าหมาย โดยควรจะมีรถเมล์ 4 พันคัน
จากที่มีอยู่ในขณะนี้ 4,850 คัน หรืออีกนัยหนึ่งจะให้ลดลงปีละ 200 คน
การลดขนาดและของ ขสมก. อาจจะทำได้โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเดินรถ
เพิ่มมากกว่าปัจจุบัน , เส้นทางใหม่ให้เอกชนทำแทนทั้งหมด ดำเนินการไปบางเขต
สอง - กำหนดต้นทุนในการดำเนินงานที่แท้จริงว่าเท่าไร ซึ่งต้องไม่รวมภาวะหนี้สินส่วนรั่วไหลใน
ขสมก. หากคำนวณแล้วต้นทุนสูงกว่าบริการที่เรียกเก็บอยู่ แนวทางแก้ไขคือ ปรับค่าโดยสารให้เสมอกับต้นทุน
หรือรัฐบาลจ่ายชดเชยในส่วนที่ขาดทุนเป็นรายเดือน
นอกจากเรื่องข้อเสนอของอนุกรรมการในกรช. ในครั้งนี้แล้ว ขสมก. ก็กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สินกว่าหมื่นล้านบาท
ที่ส่วนหนึ่งประมาณ 2 พันกว่าล้านเป็นของปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท) ซึ่ง
ปตท.กำลังเร่งรัดหนี้สินก้อนมหึมา นี้อยู่
ขสมก. หาทางออกโดยเสนอปรับปรุงการบริหาร ปรับปรุงการบริการ ควบคุมเรื่องรั่วไหล
จัดเก็บค่าโดยสารให้ทั่วถึง ปรับปรุงเส้นทางการเดินรถ และพยายามจ่ายค่าน้ำมันเงินเดือนมากขึ้น
โดยขอให้รัฐบาลแขวงหนี้หมื่นล้านนี้เสีย ไม่ไปรวมกับผลประกอบการในแต่ละปีเพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น
และขอเงินอุดหนุนเดือนละ 20 ล้านบาท
ข้อต่อรองข้างต้นค่อนข้างไม่ราบรื่นในทางปฏิบัติ เพราะดูเหมือนไม่มีใครใส่ใจมาก
ขสมก. เองก็จ่ายค่าน้ำมันบางเดือน 60 % บางเดือน 80% บางเดือนจ่ายหมด และบางเดือนก็ไม่จ่ายเลย
ขณะที่รัฐบาลเองก็ไม่ได้แขวนหนี้หรืออนุมัติเงินอุดหนุนแต่อย่างใด
ยึดเยื่อกันไปกับกลายเป็นต่างคนต่างคุมเชิง หรือไม่ทั้งคู่ไม่รู้ว่าจะทำอะไร
ให้มันดีไปกว่านี้เสียมากว่า
หากย้อนกลับไปพิจารณาข้อเสนอของอนุกรรมการชุดมีชัย ซึ่งข้อเสนอหลายประการเป็นแรงผลักดันจากคณะทำงานในกระทรวงการคลังและนักวิชาการหลายคนจะพบว่ามาสองประเด็น
ที่น่าสนใจ
หนึ่ง - ให้ลดขนาดของ ขสมก. ลง
สอง - ให้เอกชนเข้ามามาบทบาทในกิจการเดินรถมากขึ้น
แม้โดยแท้จริง ข้อเสนอนี้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ และสภาพัฒน์ฯ ก็เลยเสนอแนวทางในทำนองนี้
แต่ก็เป็นสัญญาเตือนได้ประการหนึ่งว่า กระแสการแปลรูป ขสมก. กับกำลังใกล้เข้ามาทุกที
!
อโนทัย อุเทนสุต มารับตำแหน่งผู้อำนวยการ ขสมก. ได้ประมาณ 1 ปี แล้ว ก่อนหน้าที่เขาจะมารับตำแหน่งนี้เขาจบปริญญาตรีทางปรัชญาสังคมวิทยาจากสหรัฐอเมริกา
เคยเป็นสารวัตรตำรวจนครบาล แผนกสืบสวนตรวจตราและควบคุม กรรมการบริหาร รสพ.
เคยทำงานธนาคารสหมาลายัน และที่สำคัญเขาเป็นประธานที่ปรึกษาบริษัท เอส. เค.
ทัวร์เชอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เดินรถมากสายและมากคันที่สุด
ข้อเสนอของอนุกรรมการชุดดังกล่าว อโนทัยกล่าวว่า เขาไม่คัดค้านแต่ประการใด
แต่เขาก็ไม่มีท่าที่สนใจนัก
" มันเป็นเพียงข้อเสนอเริ่มต้น ต้องผ่านกรช. ชุดใหญ่ จากกรช. เสนอเข้า
ครม. เพื่อพิจารณารับหลักการ เสร็จแล้วค่อยให้กระทรวงคมนาคม แล้วกระทรวงถึงได้แจ้งให้
ขสมก. ปฏิบัติอีกต่อหนึ่ง" อโนทัยกล่าวถึงขันตอนการปฏิบัติ
ในความเห็นของอโนทัยก็คือว่า เส้นทางนี้ยังอีกยาวไกลนัก !
แต่อโนทัยยอมรับว่า การขยายตัวให้ใหญ่เกินไปในภาวะที่ขสมก. เองไม่พร้อมในทุกด้าน
ไม่ว่าเรื่องกำลังคน ระบบงาน และเงินทุน การลดขนาดให้พอเหมาะเป็นเรื่องที่ดี
แต่สิ่งที่อโนทัยคิดเอาก็คือ เมื่อลดขนาดลง การบริการในอนาคตก็น่าจะดีขึ้น
เมื่อถึงเวลานั้นขสมก.ก็อาจจะขยายตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
แต่แนวความคิดนี้จะสอดคล้องกับคนในกระทรวงการคลังและกรชง. หรือไม่ยังเป็นปัญหา
หรือไม่ก็เป็นปัญหาเพราะกระแสที่แรงมากในกระทรวงการคลังคือ โละรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาให้เอกชนทำ
เจ้าหน้าที่คนหนึ่งกล่าวอย่างไม่สบอารมณ์นัก เมื่อทราบข่าวว่าขสมก. กำลังที่จะจัดซื้อรถเพิ่มอีก
1,000 คัน ซึ่งส่วนทางกับข้อเสนอของอนุกรรมการของกรช. อย่างชัดเจน
ในประเด็นที่สองคือการให้เอกชนคือการให้บทบาทเข้ามาเดินรถมากขึ้น
จากข้อมูลล่าสุดของขสมก. ระบุว่าในจำนวนรถ 8,372 คัน ซึ่งให้บริการแก่ประชาชนนั้นเป็นของขสมก.
โดยแท้จริง 4,850 คัน และเป็นรถของเอกชนเสีย 3,522 คัน ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเอาเลยจริง
ๆ
จำนวนรถเมล์ของเอกชน 3,522 คัน นี้แบ่งเป็นรถร่วมบริการ 1,132 คันรถปรับอากาศ
239 คัน และมินิบัส 2,151 คัน
จากตัวเลขข้างต้นดูเหมือนว่าขสมก.กำลังจะเปิดทางให้เอกชนค่อย ๆ แทรกซึมเข้ามาเดินรถเป็นเส้นทาง
หรือเป็นเขต ๆ ไป จนสหภาพแรงงานเอกก็ตีความว่าเป็นแผนการแปรรูปอีกแบบหนึ่งซึ่งสหภาพจะต่อต้านอย่างหนัก
แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องฝันเฟื้องคิดไปทั้งแพ!
ที่มาของรถเอกชน 3,522 คันมาได้ 3 ทางคือ
หนึ่ง - คือรถเมล์เล็กหรือ มินิบัส แต่เดิมกลุ่มนี้เป็นรถสองแถวเล็กที่ออกวิ่งตามถนนใหญ่
โดยเฉพาะช่วงที่ ม.ร.ว. ศึกฤทธิ์ ประกาศร่วมรถเมล์ ทำให้กลุ่มรถเมล์เดิมไม่พอใจ
ก่อหวอดสไตร๊ค์ รถสองแถวจึง ออกมารับหน้าที่แทน และเมื่ออกมาแล้วก็อยากที่จะสามารถไปอยู่ตามซอกซอยได้
ต่อมาในสมัยพิเชษฐ สถิรชวาลเป็นผู้อำนวยการของขสมก. ได้บังคับให้ผู้ประกอบการสองแถวปรับรถให้เป็นมินิบัสให้หมด
ซึ่งก็คือขายรถสองแถวออกไป และประกอบรถมินิบัสออกมาใหม่ เท่าที่เคยได้รับอนุญาตให้วิ่ง
สอง - รถร่วมบริการ คือรถของกลุ่มรถเมล์เดิมที่ไม่ขายให้รัฐบาลตอนที่ประกาศรวมรถเพราะไม่พอใจในราคาที่รัฐบาลเสนอซื้อ
ต่อมาจึงนำรถเข้ามาวิ่งเสริมโดยจ่าย "ค่าตอบแทน" ให้กับขสมก.
ใน 2 กรณีแรกนี้เห็นชัดเจนว่าขสมก. มีเจตนาเพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องของจำนวนรถที่ไม่เพียงพอและปัญหาของกลุ่มผู้ประกอบการรายอื่นเท่านั้น
และเป็นการเปิดโอกาศให้แบบคุมกำหนดด้วยคือไม่มีแผนการที่จะเพิ่มจำนวนรถในอนาคตในส่วนนี้แต่อย่างใด
สาม - ขสมก. ในสมัยพิเชษฐ สถิรชวาลมีการขายเส้นทางให้เอกชนเข้ามาเดินรถรวมทั้งสิ้น
18 เส้นทาง โดยอ้างว่าเส้งทางเหล่านั้น ขสมก. เดินรถแล้วขาดทุนซึ่งในกรณีนี้ทำให้ถูกตีความว่าเป็นแผนการหนึ่งของการแปรรูป
การคัดค้านเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยสหภาพแรงงานของขสมก. อีกทั้งเป็นที่เกรงกันว่าถ้าเอานิยามกันที่ว่า
เส้นทางไหนขาดทุนก็ขายให้เอกชนก็คงให้ขายกันทุกเส้นทางเป็นแน่
แหล่งข่าวในกรช. กล่าวว่า การขายเส้นทางดังกล่าวไม่ได้เป็นแผนการอะไรมากมาย
และก็ไม่มีแผนการขายต่อเนื่องแต่อย่างไร อีกทั้งกี่ประมูลก็เป็นไปอย่างลึกลับเต็มที่
"ขสมก. จะให้เอกชนที่มีรถร่วมบริการที่เดินรถในสเส้ทางใกล้เคียงกันอยู่แล้วมาประมูลซึ่งก็มีเจ้าหรือสองเจ้าโดยอ้างว่า
ถ้าเป็นผู้ประมูลเจ้าอื่น ๆ มาเดินรถจะมีเรื่องกระทบกระทั่ง กันกับรถร่วมเดิน
การประมูลดู ๆ ไปก็ไม่เหมือนการประมูล" แหล่งข่าวกล่าว
การประมูลดังกล่าวปรากฏว่า กลุ่มของปรีดิ์ วังศกาญจน์ได้ไป 9 เส้นทางที่เหลือเป็นบริษัทอื่น
ๆ แยกกันไป
กลุ่มของปรีดิ์ วังศกาญจน์ เป็นกลุ่มที่น่าสนใจมาก กลุ่มดังกล่าวประกอบด้วย
4 บริษัทจากจำนวนผู้ประกอบการรถร่วม บริการ 16 บริษัท คือบริษัทกรุงเทพร่วมบริการ
และชมรมรถร่วมบริการมีรถอยู่ในสังกัด 515 คัน อยู่ในเส้นทางเดินรถ 20 สาย
ซึ่งในจำนวนนี้กลุ่มของเขาเดินรถโดยเอกเทศ ไม่มีรถของขสมก. เข้ามาปะปนเลยจำนวน
9 สายซึ่งส่วนหนึ่งได้มาในช่วงการประมูลสัมปทานครั้งนั้นเอง
อโนทัยกล่าวถึงเหตุการณืดังกล่าวว่าเขาไม่รู้ความเป็นมาของการประมูลครั้งนั้นจริง
ๆ และเขาก็ไม่มีนโยบายที่จะขายเส้นทางใดให้กับเอกชนต่อไป ยกเว้นแต่การขายเส้นทางใหม่ในเขตชุมชนที่ไม่หนาแน่นหรือเป็นการบุกเบิกเส้นทางใหม่ที่เสี่ยงต่อการขาดทุนอย่างมากเท่านั้น
บทบาทของสหภาพแรงงานที่มีถึง 18 สหภาพก็คือการคัดค้านต่อกรณีนี้ โดยอ้างเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยต่อการแปรรูปประชาชนจะได้รับความเดือนร้อนโดยเฉพาะการบริการที่ไม่รับผิดชอบและไม่สะดวกสบาย
และเกรงว่าพนักงานของ ขสมก. 2 หมื่นคนจะตกงาน
จริง ๆ แล้วบรรดาสหภาพรู้ดีว่าแนวคิดการแปรรูปนั้นยังอีกยาวไกล แต่สิ่งที่เขาได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนที่สุดต่อการขายเส้นทาง
18 เส้นทางหรือเส้นทางอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาก็คือพวกเขาขาดรายได้ หรือขาดเปอร์เซ็นจากการขายตั๋วในเส้นทางดังกล่าวนั้นเองก็เท่านั้น
หากเก็บเหตุการณืการขายเส้นทางนั้นไว้เป็นละครฉากหนึ่งที่เกิดขึ้นมาอย่างผิดพลาดและสร้างภาพพจน์ให้กว้างไกลเกิดเหตุแล้ว
อนาคตการแปรรูปหรือเพียงแค่การแบ่งขายให้เอกชนเป็นส่วน ๆ จะเป็นเช่นไรในสายของขสมก.
"ผมไม่เคยมองด้านนี้เลย ใครจะมาเดินรถเก่งเท่าขสมก. ไม่มี ปัญหามีสารพัด
การเดินรถมันไม่ง่าย ทั่งค่าซ่อม ค่าบำรุง ปัญหาแรงงาน เอกชนเอาไปก็ตายไม่มีใครกล้าไปรับหลอก
ไม่มีทาง " อโนทัยกล่าวย้ำ
เขาอธิบายว่า หากแปรรูปขสมก. หรือให้เอกชนมาเดินรถแทน จะมีปัญหา หนึ่ง -
รัฐจะมีปัญหาในเรื่องการควบคุม ทั้งเรื่องการบริหารและการบริการ ซึ่งเขากล่าวว่าทุกวันนี้รถที่มีปัญหาได้รับเสียงตำหนิจากประชาชนมาก
โดยส่วนใหญ่เป็นรถร่วมและมินิบัส ซึ่งไม่มีการอบรมเรื่องระเบียบวินัยที่ดีพอ
สอง - โอกาสที่เอกชนจะขอขึ้นราคาค่าโดยสารตลอดเวลา และนับเป็นเงื่อนไขเปละบางที่สุดที่รัฐจะต้องกังวลใจ
สาม - ปัญหาแรงงาน พนักงานขาดแคลน ไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีพอ และปัญหาแรงงานสไตร๊ค์ที่ยากต่อการปกครองซึ่งอโทัยยืนยันว่าเป็นเรื่องที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นนอน
สี่ - สิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตคือ การขยายเส้นทางอย่างมากมายเพื่อขอสัมปทานโดยเอกชน
หารให้เอกชนเข้ามาเดินรถอีก เส้นทางเดินรถก็จะเกิดขึ้นมามาย ซึ่งสวนทางกับขสมก.
ที่พยายามตัดต่อและยกเลิกบางเส้นทางที่ซ้ำซ้อนเพื่อช่วยแก้ปัญหาจราจร
"แม้กิจการเดินรถมาเป็นของรัฐแล้ว จะกลับไปเป็นของเอกชนอีก เป็นไปไม่ได้
" อโนทัยย้ำหนักแน่น
สิ่งที่อโนทัยวาดกรอบให้สำคัญการแก้ปัญหา ขสมก. อาจจะมีหลายประการแต่สิ่งที่เขาพูดถึงบ่อยครั้ง
คือ หนึ่ง - การบริการที่สะดวกสบายเป็นที่พอใจของประชาชนและเป็นที่ยอมรับของประชาชนซึ่งอาจจะกรุยทางไปสู่การปรับราคาต่อไป
สอง - การอุ้มซูโดยรัฐในฐานที่ ขสมก. เป็นกิจการสาธารณูปโภคที่รัฐต้องให้บริการ
ซึ่งอาจจะมาในรูปของการแขวนหนี้เกือบหมื่นล้าน โดยไม่คิดดอกเบี้ยและนำมาคิดประกอบในฐานทางการเงินของขสมก.
และให้เงินอุดหนุนเดือนละ 20 ล้านบาท
อโนทัยกำลังแสวงหาเชื่อเพลิงเพื่อเดินทางต่อไปเรื่อย ๆ นั้นเอง
วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ หนึ่งในที่ปรึกษาของกรช. เขาศึกษาเรื่องของ ขสมก.มานานและเคย
วิวาทะ" ปัญหาของสขมก. ในที่ประชุมกรช. หลายครั้งเขากล่าวกับ "
ผู้จัดการ" ว่า "ถามจริง ๆ เถอะ ขสมก. เอาเปรียบประชาชนน้อยกว่ารถร่วมบริการอย่างนั้นหรือ
!
วุฒิพงษ์ ให้ความเห็นว่า หนึ่ง - ปัญหาต่างๆ ที่ ขสมก. ที่ยกมาอ้างว่าให้เอกชนแล้วจะมีปัญหามากมายสารพัดนั้น
ทุกวันนี้คนกรุงเทพฯ ก็ต้องประสบกับการขึ้นค่าโดยสารทางอ้อมโดยออกรถครีมแดงออกมาจำนวนมาก
ปัญหามารยาทและการบริการ ปัญหาสหภาพแรงงานออกมาก่อหวอดประท้วงตั้งหลายครั้ง
สอง - เรื่องแขวนหนี้หมื่นล้านเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายสำคัญวุฒิพงษ์
เขาถือว่าเป็นเรื่องสัพเพเหระ เพราะไม่ว่าจะแขวนหรือไม่แขวน ตัวหนี้ก็ดำรงอยู่จริงเป็นเรื่องการเล่นกลทางบัญชีของ
ขสมก. เท่านั้นองค์กรที่ได้รับผลกระทบจากการคงหนี้ ขสมก. ไว้คือ การปิโตรเลียนแห่งประเทศไทย
ซึ่งจ่ายน้ำมันให้ ขสมก. ซึ่งมีผลต่อการลงทุนเพื่อการขยายตัวของ ปตท. เอง
สาม - บทบาทของ ขสมก. สมควรที่จะปรับเปลี่ยนจากผู้เดินรถมาเป็นเพียง "ผู้ควบคุมการเดินรถ"
เท่านั้น แล้วให้เอกชนเข้ามาเดินรถเสียทั้งหมด ขสมก. เป็นองค์กรควบคุมให้เป็นระเบียบเท่านั้น
ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่า
ไม่มีการศึกษาต่อเนื่องในเรื่องการแปรรูป ขสมก. หรือให้เอกชนเข้ามีบทบาทมากขึ้นในกิจการเดินรถตามที่กรช.
เสนอไว้ ดังนั้นรายละเอียดในแง่ปฎิบัติจึงยังไม่เกิดขึ้นหัวนำมาเป็นหัวข้อที่นำมาถกเถียงได้อย่างจริงจัง
แต่ทั้งนี้มีข้อสังเกตอยู่ 2 ประการที่ " ผู้จัดการ "จะขอตั้งไว้คือ
หนึ่ง - คนของ ขสมก. ค่อนข้างที่มีภาพลบต่อเอกชน ประเมินประสิทธิภาพ ของเอกชนต่ำเป็นอันมาก
และชอบนำเรื่องในอดีตก่อนการรวมรถเมล์ มาเป็นข้ออ้างป้องไม่ให้เอกชนเข้ามา
ซึ่งจริง ๆ แล้วสถานของเอกชนได้เปลี่ยนแปลงไปมากในปัจจุบัน หาก ขสมก. ต้องการให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็อาจจักำหนดกติกาหรือเงือนไขที่ต้องการอย่างไรก็สุดแท้แต่
ซึ่งอาจจะได้เอกชนน่าเชื่อถือ มีซื้อเสียงเสนอตัวมาให้พิจารณา มากมายก็เป็นได้
สอง - นักวิชาการและคนในวงการหลายคนกล่าวกับ " ผู้จัดการ" ว่าถกเถียงในเรื่องอนาคตของ
ขสมก. นั้นเหตุที่ยืดยาวนั้นไม่ใช่ว่าไม่มทางออกเพียงแต่ว่าแตะไปตรงไหนก็มีแต่การเมืองเรื่องผลประโยชน์ทั่วไป
และนักการเมืองหลายคนก็ไม่ได้ต้องการให้ขสมก. หลุดหายไปจากการควบคุมดูแลด้วย
ผลประโยชน์ของ ขสมก. นั้นมามากมายมหาศาล ไม่นับเรื่องรั่วไหลเช่นตั๋วปลอม
อะไหล่หาย น้ำมันล่องหน ซึ่งนับเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเรื่องอื่น
ๆ เช่นกาพยายามดิ้นรนเพื่อจะซื้อรถเพิ่มทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรี
การคิดว่าเหมาซ่อมแพง ๆ ซ่อมเช่าที่ดินในการสร้างอู่ในราคาแพง ๆ การคิดค่าหัวคิวต่ำเพื่อไปตบใต้โต๊ะกันทีหลัง
การพยายามขายเส้นทางเดินรถแบบไม่มีแผนล่วงหน้า ฯ ลฯ เรื่องแบบนี้ต่างตากหากที่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้บริหารและนักการเมืองหวงเอาไว้และเป็นปมทำให้การเสนอแผนแก้ไข
ขสมก. ไม่เคยได้รับผลสำเร็จสักที นอกจากขอให้ขึ้นราคาค่าโดยสาร
เป็นเรื่องน่าเจ็บปวดไม่น้อยสำคัญคนกรุงเทพฯ ที่ต้องทรมานสังขารกับบริการของขสมก.
ถูกขีดรีดโดยไม่มีทางหลีกเหลี่ยง และถูกกักขังโดยไม่มีทางออก
ในปีงบประมาณ 2531 ขสมก. ขาดทุน 766 ล้านบาท ปี 2532 ขาดทุน 829 ล้านบาท
ซึ่งเป็นตัวเลขที่ขาดทุนสม่ำเสมอ มาตลอดตั้งแต่ปี 2523
ตัวเลขขาดทุนดังกล่าวเกิดจากการดำเนินการในแต่ละปีส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาภาวะรายจ่ายจากหนี้สินที่สะสมกันมา
ขสมก. มีหนี้สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ หนึ่ง - หนี้ค่าน้ำมัน ปตท. 2,325 ล้านบาทซึ่งแบ่งเป็นค่าน้ำมัน
1,200 ล้านบาท และดอกเบี้ย 1,105 ล้านบาท สอง - หนี้เงินกู้ระยะยาวธนาคารกรุงไทย
2,212 ล้านบาท สาม - หนี้กรระทรวงการคลัง 3,860 ล้านบาท รวมหนี้ทั้งสิ้น
8,397 ล้านบาท ซึ่งถ้าคิดดอกเบี้ยล่าสุดไปด้วยอาจเป็นหมื่นกว่าล้านบาท สบาย
ๆ
ขสมก. ไม่ค่อยยอมรับหนี้ทั้งหมดนี้นัก โดยอ้างว่า หนี้ส่วนใหญ่เกิดจาก "เหตุการณ์ประวัติศาสตร์"
ช่วงรวมรถเมล์ที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยกลุ่มผู้ประกอบการเดิม นอกนั้นเป็นดอกเบี้ย
ที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ ส่วนหนี้ค่าน้ำมันนั้นเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจริง เพียงแต่ในปัจจุบัน
ขสมก. พยายามจ่าค้ำมันที่เกิดขึ้นทุกเดือนอย่างเต็มที่อยู่แล้ว และผลประกอบการในแต่ละเดือนอย่างเต็มที่อยู่แล้ว
ก็พยายามลดตัวเลขขาดทุนลง ขสมก. จึงขอให้รัฐพยายามแขวนหนี้ตัวนี้ตลอด มา
ขณะเดียวกันทาง ปตท. เองก็ทำหนังสือทวงหนี้ อ้างว่าเพื่อนำเงินไปลงทุนเพื่อขยายงานและทางรัฐบาลเองก็ไม่ได้สนใจนักที่จะแขวนหนี้ตัวหนี้
เพราะทุกคนตระหนักดีว่า จะแขวนหนี้หรือไม่แขวน ขสมก. ก็แก้ปัญหาขาดทุนไม่ได้ซึ่งนับเป็นปัญหาใจกลางเสียกว่า
มีการศึกษาปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของ ขสมก. มาไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง
โดยคณะกรรมการชุดต่าง ๆ 20 ชุด ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงที่ปรึกษารายบุคคล ที่ศึกษาตามความต้องการของรัฐมนตรีแต่ละยุค
และนักวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัยอีกจำนวนมาก
ดูเหมือนว่าผลการศึกษาจะหายไปกลับสายลม ตามกระแสหมุนเวียนของรัฐมนตรี ที่เข้ามาผลัดเปลี่ยนอำนาจ
เท่าที่ "ผู้จัดการ " สรุปได้ ปัญหาและวิธีการมองการแก้ปัญหาของผู้บริหารองค์การ
ขสมก. เป็นดังนี้
หนึ่ง - ค่าโดยสารต่ำ เป็นข้อสรุปที่ง่ายที่สุด เท่าที่มีการสำรวจกันมาประเมินว่าจุดคุ้มทุนของค่าโดยสารธรรมดา
" โดยสารรวมค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่จ่ายจริง" คือราคา 3.02 บาทต่อคนต่อเที่ยว
ซึ่งที่ ขสมก. เก็บ 2 บาท จึงต้องขาดทุนแน่ แต่ปัญหาก็คือโครงสร้างต้นทุนหรือ
"ค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่จ่ายจริง " ของ ขสมก. สูงมาก ๆ ซึ่งการคือรายจ่ายในประเด็นต่อไป
สอง - รายจ่ายค่าน้ำมัน ขสมก. จ่ายค่าน้ำมันปีละ 800 ล้านบาท หรือประมาณ
17 - 18 % ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
ที่หนักข้อขึ้นไปอีกคือ ขสมก. ใช้หนี้ค่าน้ำมันแต่ละเดือนไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
จึงทำให้หนี้ค่าน้ำมันสะสมสูงขึ้นค่าปรับและค่าดอกเบี้ยก็สูงไปด้วย
สาม - ค่าเหมาซ่อมแพง ขสมก. ใชิวิธีการเหมาซ่อมกับรถเมล์ที่ซื้อมาจากบริษัทต่าง
ๆ คือซื้อกับบริษัทใดก็ซ่อมกับบริษัทนั้นเลย การเหมาซ่อมจะคิดเป็นอัตราตายตัว
ต่อคัน ต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นเสียหรือไม่ ขสมก. ก็ต้องจ่ายค่าซ่อม อัตราค่าเหมาซ่อมมาหลายราคา
ตามรุ่นของรถและบริษัทที่ซื้อ มีตั้งแต่ราคา 394 ต่อคันต่อวัน จนถึง 760
บาทต่อคันต่อวัน บริษัทรับเหมาซ่อมมีทั้งไทยอีโนมอเตอร์ เซลส์ , ตรีเพชร
อีซูซุมอเตอร์ และธนบุรีประกอบรถยนต์
ค่าเหมาซ่อมมีอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 175 ล้านบาท ในปี 2520 และขึ้นมาจนถึง
1,072 ล้านบาท ในปี 2530 หรือเท่ากับ 22.94 % ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นรายจ่ายที่มีสัดส่วนที่สูงที่สุดของค่าใช้จ่ายรวม
ขณะเดียวกัน ขสมก. ก็มีการซ่อมเองเหมือนกันแต่เป็นจำนวนน้อยมาก คือเพียง
38 ล้านบาท ในปี 2530 ซึ่งถ้าหากซ่อมเองค่าใช้จ่ายจะตก 8,964 ล้านบาท ต่อคันต่อวัน
ขณะที่เหมาซ่อมจะราคา 21,630 - 22,800 บาทต่อคันต่อวันเฉพาะรถสีคาดน้ำเงิน
จุดนี้เองที่มีคนโจมตีมากว่า ขสมก. ยอมเสียค่าโง่ให้บริษัทขายรถที่จะเสียค่าซ่อมแพง
และไม่ซ่อมเอง
"ถ้าซ่อมเองยิ่งตายกว่านิอีกคุณช่างซ่อมไม่ชำนาญ กว่าจะเสร็จก็ช้า
ไม่มีความรับผิดชอบในการออกรถให้ทันกำหนดแล้วก็ต้องหาช่างซ่อมจำนวนมากอีก
พอมีฝ่ายซ่อมก็ต้องมาสต๊อกอะไหล่อีก อะไหล่หายใครจะรับผิดชอบ ต้องตั้งกรรมการสอบสวนอีกวุ้นวาย
อโนทัยกล่าวกับ"ผู้จัดการ"
จากคำพูดนี้เห็นจัดเจนว่า ขสมก. ไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมและพัฒนาพนรักงาน
ก็เลยต้องไปหาที่ซ่อมแพง ๆ ทำให้ประชาชนคนกรุงเทพฯต้องแบกรับต้นทุนส่วนนี้
สี่ - ค่าเช่าสถานที่ทำการ อู่และลานจอดรถสูง เป็นเรื่องที่น่าตลกที่องค์กรใหญ่และมหึมาเช่นนี้ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองสักผืน
ต้องเช่าเขาทั้งหมด 50 จุดทั่วกรุงเทพฯ ที่ดินที่ ขสมก. มีของการรถไฟ 8 แห่ง
การท่าเรือ 2 แห่ง ที่เหลือ เป็นของเอกชน ซึ่งเป็นทั้งของกลุ่มรถเมร์เดิมและรายบุคคลทั่วไป
แม้แต่อโนทัยก็ยอมรับว่าจุดนี้มาปัญหาประการหนึ่งของขสมก. และเป็นการสูญเงินแต่ละปีไม่ใช่น้อย
คือค่าเช่าต่อเดือน เดือนละ 6.8 ล้านบาท หรือประมาณ 81 ล้านบาทต่อปี และจะมีปัญหาต่อรองขอขึ้นค่าเช่าทุกปี
อโนทัยกำลังหาทางแก้ปัญหาโดยการขอบบริจาคที่ดินเพื่อการนี้
มีที่ดินเพียงผืนเดียวที่ ขสมก.อยู่ในลักษณะการเช่าซื้อ คือ อู่หลักสี่
ขสมก. ผ่อนส่งเดือนละ 3 ล้านกว่าบาท ต่อเดือน ซึ่งอโนทัยกล่าวว่า "แม้จะแพงแต่ก็คุ้ม
"
ที่ดินผืนดังกล่าว ขสมก.ทำสัญญาเช่าซื้อ กับ บริษัทยูเนียนเรียลเอสเทต ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นการบังเอิญหรือย่างไร
คือเจ้าของบริษัทดังกล่าวคือ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นหลานของสุรพันธุ์ ชินวัตร
ซึ่งในช่วงที่ทำสัญญากัน สุรพันธุ์เป็นรัฐมนตรี ช่วยคมนาคมดูแล ขสมก. อยู่พอดิบพอดี
ห้า - ค่าสวัสดิการพนักงานสูง ขสมก. มีพนรักงานอยู่ 21,000 คน ขสมก. มีรายจ่ายด้านเงินเดือน
และสวัสดิการประมาณ 785 ล้านบาทในปี 2521 ในปี 2531 และ 994 ล้านบาท ในปี
2532 หรือประมาณ 20% ต่อปีของยอดใช้จ่ายรวม
ในงานวิจัยของมนูญ พาหิระ พบว่าในปี 2525 ภ้านับการขาดงาน ลากิจ ลาป่วย
ลาพักผ่อน ลาคลอด ลาบวช และเกณฑ์ทหารแล้ว โดยเฉลี่ยพนักงาน 1 คนลาและขาดงาน
46 วัน ซึ่งสูงเอามาก ๆ
กรช. ได้เสนอให้ ขสมก. พยายามลดจำนวนพนักงานลง โดยไม่มีการรับเพิ่มแต่ในความเป็นจริงนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
เพราะตอนนี้ ขสมก. ขาดพนักงานขับรถอยู่ 800 ตำแหน่ง และเป็นตำแหน่งที่ถือได้ว่าต้องใช้ความชำนาญเฉพาะ
จะปล่อยให้ลาออกแล้วไม่รับเพิ่มนั้นเป็นไปไม่ได้ ส่วนพนรักงานในตำแหน่งอื่น
ๆ ก็มีการหมุนเวียนค่อนข้างน้อยเพราะกฎระเบียบของรัฐวิสาหกิจต้องเน้นความมั่นคงในฐานพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นโอกาสที่จะลดขสมก.
ในแง่จำนวนพนักงานจึงเป็นเรื่องเพ้อฝันเอามาก ๆ
ทางด้านรายได้นั้นนอกเหนือจากรายได้ค่าโดยสารซึ่งเป็นรายได้หนักประมาณ 95%
แล้ว ขสมก. มีรายได้จากค่าร่วมบริการ 89.15 ล้านบาท และค่าตอบแทนจากรถเมล์เล็กอีก
65.79 ล้านบาท
แม้รายได้ 2 ประการหลังจะเป็นรายได้ที่มีสัดส่วนน้อยมาก แต่การได้มาซึ่งค่าตอบแทนดังกล่าวอาจชี่ให้เห็นถึงผลประโยชน์และวิธีการบริหารของขสมก.
เมื่อปรับสภาพมินิบัสใหม่ ๆ พิเชษฐ สถิรชวาลกำหนดค่าตอบแทน 80 บาท ต่อคันต่อวัน
ซึ่งกลุ่มมินิบัสไม่พอใจของให้ลดค่าตอบแทนลง เรื่องยืดเยื้อเป็นเวลานานพิเชษฐยืนกรานค่าตอบแทนดังกล่าว
จนในที่สุดกลุ่มมินิบัสเดินขบวนไปหา รมช. สุรพันธุ์ ชินวัตร เรื่องกับลงเอยแบบง่าย
ๆ 40 บาทต่อคันต่อวัน จนพิเชษฐเองก็พูดอะไรไม่ออก เพราะนั้นเท่ากับ ขสมก.
ต้องสูญเสียรายได้ไปเกือบครึ่งและโอกาสที่จะปรับราคาในภายหลังก็เหนือยยากเต็มทีแม้ในปัจจุบัน
ว่ากันว่าในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีคนแกล้งทำเงินหล่นที่กรีะทรวงไปไม่น้อย
!
กรณีการขายเส้นทางเดนรถ 18 เส้นทางก็พิสูตรให้เห็นถึงการผูกขาดอีกรูปแบบหนึ่งการแข่งขันในการประมูลเป็นไปอย่างเงียบ
ๆ และเอกชนหน้าใหม่อาจจะบริการได้ดีก็ไม่เกิดเพราะขสมก.ไม่มีนโยบายที่จะให้เกิด
รศ. วีรพล สุวรรณนันต์ นักวิชาการท่านหนึ่งซึ่งเคยศึกษาปัญหา ขสมก. ต้องแก้ไขทั้งระบบและจุกจุด
ตั้งแต่เส้นทางเดินรถต้องปรับใหม่หมดตั้งแต่เรื่องค่าเหมาซ่อม ค่าเช่าที่ดิน
ค่าจ้าง และการแสวงหารายได้ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย มากกว่านี้
แต่เท่าที่ปรากฏก็คือ ขสมก. ไม่เคยพูดถึงการแก้ปัญหา "ฐานราก"
เหล่านั้นแม้แต่การเจรจากับกรช. ขสมก. ก็จะพูดแต่เรื่องการบริการ การจัดเก็บค่าโดยสาร
ซึ่งในที่ประชุมก็เคยตอกกลับไปว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ ขสมก. ต้องปฎิบัติเป็นปรกติอยู่แล้วไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกจุดอย่างใด
ขสมก. ไม่เคยชี้ชัดไปเลยว่า ปัญหาค่าเช่าที่ดินจะจัดการอย่างไร นอกไปจาก
"แบมือขอบริจาค" ซึ่งก็ไม่รู้จะได้เมื่อใดปัญหาคนล้นงาน ปัญหาค่าเหมาซ่อม
ฯลฯ
ที่เป็นเช่นนั้น ด้านหนึ่งอาจเป็นที่ผู้บริหารไม่ได้ใสใจว่า เรื่องเหล่านั้นเป็นปัญหาหรือไม่เป็นปัญหา
เหล่านั้นเป็น "เรื่องที่แตะต้องไม่ได้" เพราะไม่ขวางลำใครก็เป็นได้
สิ่งที่ " ผู้จัดการ" สรุปได้ก็คือข้อเสนอของกรช. ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ล้วนเป็นเรื่องตีบตัน การลดขนาดของ ขสมก. เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ การให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเป็นเรื่องเอฝัน
และเรื่องหนี้สินของปตท. ก็ต้องถามทวงตามเช็ดกันไปอีกนาน
แต่สิ่งที่มั่งคงแน่นอนคือ คนกรุงเทพฯจะต้องทนทุกข์ทรมานกับ ขสมก. ต่อไปและร่วมกันแบกรับหนี้ที่เกิดขึ้นอย่างไร้ความรับผิดชอบกันไปอีกนาน
!