Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532
ตุ๊กตาล้มลุก "ว่องเท้งโป"             

โดย บุญธรรม พิกุลศรี
 


   
search resources

โรงงานน้ำตาลไทย
วิเทศ ว่องวัฒนะสิน
Agriculture
โรงงานน้ำตาลมิตรเกษตร




"ว่องเท้งโป" หรือ วิทิศ ว่องวัฒนะสิน มีจุดหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญในชีวิต 2 ครั้ง ครั้งแรก แยกตัวจากมิตรผล มาทำมิตรเกษตร และน้ำตาลไทยจนรุ่งเรือง ท่ามกลางยุคทองของธุรกิจอ้อยน้ำตาลไทย สวนครั้งหลัง เขาต้องมานั่งแก้ปัญหาหนี้สินน้ำตาลไทย 1,200 ล้านบาท กินเวลา 3 ปี ถึงเงยหน้าอ้าปากได้ ชีวิตของเขาจึงเหมือน "ตุ๊กตาล้มลุก" จนกระทั่งเหตุการณ์ ยงเกียรติถูกยิงตาย วิเทศก็กลายเป็นผู้ลึกลับ…

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงได้ประมาณ 2 ปีเศษ "ว่องเท้งโป" ครูหนุ่มวัยใกล้เบญจเพสของหมู่บ้านเกะเฮี้ย แห่งเมืองแต้จิ๋ว จีนแผ่นดินใหญ่ก็ตัดสินใจลงเรือสำเภาทิ้งชีวิตที่ทุกข์ยากรำเค็ญแสนสาหัสบนผืนแผ่นดินจีนไว้เบื้องหลัง มุ่งหน้าสู่แผ่นดินสยาม ตามข่าวที่ "ว่องลิบเคือง" และ "ว่องแท้งกู" ผู้เป็นพ่อและพี่ชายส่งไปให้เขาว่าเป็นแผ่นดินที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารที่กินกันร้อยปีพันปีก็คงจะไม่มีวันหมด

"เท้งโป" หันมองแผ่นดินใหญ่เป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่มันจะหายลับไปกับขอบฟ้าจรดทะเลอันเวิ้งว้างว่างเปล่าเหลือไว้แต่อดีตที่สุดรันทด เขาเรียนจบแค่ชั้น ม.6 ซึ่งก็ถือว่าสูงพอสมควรเมื่อเทียบกับหนุ่มในรุ่นเดียวกันในสมัยนั้น ที่ไม่สามารถจะเรียนได้สูงมากไปกว่านั้นอีกแล้ว บ้านเมืองแร้นแค้นขัดสนเขาไม่มีอาชีพอะไรทำเป็นหลักแหล่งแน่นอน เคยรับจ้างสอนหนังสือเด็กในหมู่บ้าน แต่ก็ต้องถึงจุดจบในที่สุดเมื่อพ่อแม่ของเด็กไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนแม้เขาจะสอนให้ฟรีๆ ก็ยังไม่ค่อยมีใครสนใจเพราะต่างคนก็ต่างปากกัดตีนถีบหาเลี้ยงตัวเองเอาตัวรอดไปวันๆ

เขาฝันถึงความอุดมสมบูรณ์ตามคำบอกเล่าของผู้เป็นพี่ชายที่ได้เข้ามาอยู่ที่เมืองไทยก่อนแล้ว จนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวเป็นเถ้าแก่โรงเลื่อยขนาดใหญ่ทางภาคใต้ของเมืองไทยจึงค่อยยิ้มออกมาด้วยความหวัง

เขาจึงดูจะโชคดีกว่าอีกหลายคนที่ลงเรือมาพร้อมๆกัน ก็ตรงจุดนี้เอง พอมาถึงเมืองไทยก็เข้ามาช่วยพี่ชาย และพ่อเป็นเสมียนโรงเลื่อย "ตงเฮงฮวด" ที่อำเภอนาสาร สุราษฎษ์ธานี ดูแลทางด้านบัญชีและสต๊อกภายใน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นโรงเลื่อยจักรที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้ทีเดียว

กิจการของครอบครัว "ว่อง" ได้ขยับขยายความร่ำรวยขึ้นมาเรื่อยๆ มีชื่อติดอันดับพ่อค้าที่ใหญ่ระดับแนวหน้าของภาคใต้เมื่อ 30 กว่าปีก่อน โดยเข้าไปหุ้นกับพ่อค้าไม้ท้องถิ่นอีกคนหนึ่งตั้งโรงเลื่อยจักร "นำเฮงฮวด" ขึ้นมาอีกแห่งที่สุราษฎร์ธานีตีรุกขึ้นมาถึงนครปฐมเปิดร้านค้าไม้และวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ถึง10 คูหาเรียกว่าใหญ่ที่สุดในเมืองนครปฐมจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครเทียบได้

เป็นที่ทราบกันดีว่าธุรกิจค้าไม้เมื่อ 30 กว่าปีก่อนนับว่าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่แขนงหนึ่งของประเทศที่กำลังพัฒนา รายได้หลักของประเทศยังต้องอาศัยการขายทรัพยากรธรรมชาติและผลผลิตทางการเกษตรพื้นฐาน

"นอกจากจะทำเงินได้ดีและรวยมากแล้วเรื่องอิทธิพลบารมีก็ตามมาเป็นเงาตามตัว คนจีนต้นตระกูลของหลายตระกูลที่ร่ำรวยอยู่ในบ้านเมืองในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่รวยขึ้นมาจากการค้าพื้นฐานพวกนี้ทั้งสิ้น" ประเสริฐ สิริพิพัฒน์ อดีตกรรมการผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพวัย 70 ปี กว่าเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

"เท้งโป" ครูหนุ่มคนนั้นคือ "วิเทศ ว่องวัฒนสิน" เสี่ยสามแห่งตระกูลว่องวัฒนสิน เจ้าของกลุ่มโรงงานน้ำตาลมิตรเกษตร และประธานบริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลหนึ่งในสามของบริษัทส่งออกน้ำตาลของประเทศในปัจจุบันนั้นเอง

เขาก้าวขึ้นมาเป็นประมุขของตระกูล "ว่อง" เมื่อผู้เป็นพ่อและพี่ชายเสียชีวิตลงตามอายุขัยพร้อมๆ กับการเสื่อมลงของยุคพ่อค้าไม้

"โรงหนึ่งซึ่งเราเช่าที่ดินของการรถไฟทำถูกไฟไหม้ก็เลยเลิกไป ส่วนอีกโรงเมื่อมันไม่ค่อยมีไม้ให้เรื่อยก็เลยขายให้คนอื่นไปทำ แต่ที่ร้านว่องวัฒนาตอนนี้ยังขายไม้และวัสดุก่อสร้างเหมือนเดิมไม้ส่วนใหญ่รับมาจากทางภาคอีสาน" วิเทศพูดถึงอดีต จุดเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของเขาที่สำคัญจุดหนึ่งให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

วิเทศเลิกโรงเรื่อยจริงๆ เมื่อประมาณปี 2507 ซึ่งวเป็นที่เขาเพิ่งจะมีทายาทคนแรกเป็นผู้หญิงในขณะที่เขาอายุล่วงเลยมาถึง 45 ปีแล้ว เขาแต่งงานกับยุพาผู่ซึ่งอ่อนกว่าเขาถึง 16 ปี

คนที่อยู่ใกล้ชิดกับวิเทศเล่าให้ฟังว่าเขาเป็นคนที่เอาแต่ทำงาน ทำงานหนักแล้วยังไม่ค่อยออกสังคมทำให้เขาไม่ค่อยมีเวลาที่จะสนใจเรื่องการแต่งงานมากนัก ซึ่งอันนี้ได้กลายเป็นจุดอ่อนทางธุรกิจของเขาอย่างหนึ่งที่เพิ่งแสดงผลให้เห็นในปัจจุบัน

2502 เป็นปีที่รัฐบาลไทยจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนขึ้นมา เพื่อสางเสริมให้มีการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมในประเทศให้ขยายตัวมากขึ้น และอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมอย่างมากประเภทหนึ่งในเวลานั้นก็คืออุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาล จะเห็นได้ว่าจากที่มีโรงงานเพียง 21 แห่งในปี 2491 ปรากฏว่ามีโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็น 48 แห่งทันทีในปี 2502

มีการจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์อุตสาหกรรมน้ำตาลขึ้นมาในปี 2504 และส่งเสริมให้ประชาชนปลูกอ้อยเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีปริมาณอ้อยเพียงำอต่อการผลิตน้ำตาลบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่อไป

วิเทศ ว่องวัฒนสิน ซึ่งมใสายเลือดของความเป็นพ่อค้าอยู่เต็มตัวย่อมจับทิศทางนี้ได้ออก ประกอบกับเขามีญาติในตระกูลว่องด้วยกันทำไร่อ้อยอยู่ก่อนแล้วในย่านราชบุรี-นครปฐม เขาจึงได้ชักชวนพรรคพวกตั้งโดรงงานน้ำตาลทรายขึ้นมาในช่วงนั้นนั่นเอง

วิเทศสะสมเงินทุนจากการค้าไม้ กมล ว่องกุศลกิจ คนแซ่เดียวกันกับเขาสะสมทุนมาจากการทำไร่อ้อยเช่นเดียวกับพี ผาณิตพิเชษฐ์วงศ์ ได้ร่วมกันก่อตั้ง "หจก.มิตรผล" ขึ้นมาเมื่อปี 2502 เพื่อลงทุนทำโรงงานมิตรผลขึ้นมาทาบรัศมีเถ้าแก่โรงงานน้ำตาลเก่าอย่างเถ้าแก่หลิน หรือ สุรีย์ อัษฎาธร แห่งไทยรุ่งเรืองขณะนั้น

และถึงวันนี้กลุ่มน้ำตาลมิตรผลก็ได้กลายเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ยิ่งใหญ่ไม่ด้อยไปกว่ากลุ่มไทยรุ่งเรืองในปัจจุบัน

"เดิมทีคุณพีกับคุณกมลเขาก็ทำไร่ และมีโรงหีบน้ำอ้อยไว้เป็นน้ำเชื่อมส่งขายให้แก่โรงงานน้ำตาลทรายของเถ้าแก่หลินอยู่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมีโรงงานผลิตน้ำตาลทรายเป็นของตัวเองบ้าง ก็เลยชวนกันตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรผลขึ้นมาในเวลานั้น" วิเทศเล่าถึงอดีตให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

โรงงานน้ำตาลทรายสมัยก่อนจะผลิตน้ำตาลจากน้ำเชื่อม ไม่ใช่ผลิตจากต้นอ้อยสดๆ อย่างเช่นปัจจุบัน

ห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรผล มีคนชื่อ วิเทศ ว่องวัฒนะสิน เป็นกรรมการผู้จัดการซึ่งดูแลทั้งเรื่องภายในสำนักงานและด้านโรงงงานไปพร้อมกันเสร็จคนเดียว

แม้ว่าสองปีหลังจากที่เปิดโรงงานน้ำตาลมิตรผลขึ้นมาจะเกิดราคาน้ำตาลต่ำอยู่บ้าง แต่วิเทศในฐานกรรมการผู้จัดการก็สามารถประคับประคองให้กิจการผ่านพ้นมาด้วยดี จนกลุ่มมิตรผลได้กลายเป็นอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ใหญ่และเติมโตขึ้นมาจะเป็นรองก็แค่กลุ่มไทยรุ่งเรืองเท่านั้นในอีก 10 ต่อมา

" ต้องให้เครดิตคุณนิเทศมากที่เป็นคนบุเบิก และสร้างกลุ่มมิตรผลให้ใหญ่โตขึ้นมาได้จนถึงปัจจุบัน และจัดว่าเขาเป็นมือหนึ่งทีเดียวในวงการน้ำตาลไทย " คนเก่าคนแก่ในวงการน้ำตาลบอก

" นำนาจการต่อรองเรื่องราคายังเป็นของฝ่ายโรงงานมากในขณะนั้น ในแต่ละปีผมยังจำได้ติดตาว่าชาวไร่อ้อยไม่เคยรู้ว่าตัวเองจะขายอ้อยได้ในราคาเท่าไร พอใกล้จะเปิดหีบทีเถ้าแก่โรงงานก็เปิดประชุมหัวหน้าโควตาและก็แจ้งว่าราคาปีนี้เท่านั้นเท่านี้นะ แล้วก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ไม่มีชาวไร่อ้อยคนไหนที่จะกล้าต่อรองราคาแม้แต่คนเดียว " ผู้ใหญ่ ราชัย ชูศิลปกุล ผู้ที่รำรวยมาจากการปลูกอ้อยขายมาเป็นเวลานาน จนในปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยบอกกับ " ผู้จัดการ " ถึงการกำหนดราคาอ้อยในอดีต

การทำดรงานน้ำตาลในยุคเริ่มต้นการส่งเสริมจากรัฐบาลจะว่ามีฝีมือก็มี เพราะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศในเวลานั้น หรือจะว่าเฮงก็เฮงเพราะเป็นยุคทองของโรงงานที่โกยได้โกยเอาซึ่งต่างจากปัจจุบันนี้มาก เมื่อรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมชาวไร่อ้อยด้วย จนโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานในขณะนี้แทบจะเรียกได้ว่าเท่าเทียมกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

เมื่อโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวไร่อ้อยกับเจ้าของโรงงานน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไป โรงงานที่อยู่มาได้จนถึงปัจจุบันนี้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วย

และก็เป็นช่วงที่ วิเทศ ว่องวัฒนะสิน แยกตัวออกมาจากมิตรผล เพื่อตั้งโรงงานขึ้นมาใหม่คือ โรงงานน้ำตาลมิตรเกษตรจึงได้เกิดขึ้น

คนใกล้ชิดวิเทศคนหนึ่งบอกว่าวิเทศมีเหตุผลและแรงผลักดันหลายอย่างที่ทำให้เขาแยกตัวออกมาตั้งโรงงานเองดังกล่าว ประการแรกนั้นวิเทศได้เข้าไปช่วยญาติของเขาจากที่เป็นชาวไร่อ้อยจนมีโรงงานที่เป็นปรึกแผ่นได้ระดับหนึ่งแล้ว และตัวเขาเองก็ได้เรียนรู้ธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่ต่ากจากโรงเลื่อยที่เขาเคยทำมาและก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเขาสามารถทำได้สำเร็จเหมือนกัน

ประการต่อมามันเป็นช่วงที่น้อง ๆ พีผาณิตพิเฃชษฐ์วงค์ อย่างเช่น วิบูลย์ ผาณิตพิเชษฐ์วงค์ (ซึ่งตอนหลังเปลี่ยนเป็นผาณิตวงค์ ) และน้อง ๆ ของ กมล ว่องกุศลกิจ อย่างเช่น สุนทร - วิทูรย์ ว่องกุศลกิจ ต่างก็เรียนจบมาสูง ๆ เข้ามาช่วยงานพี่ ๆ ที่มิตรผลแล้ว ซึ่งล้วนแต่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ต่างวัยต่างความคิดกับเขามาก ทำให้เขาอึดอัดและอยากเปิดทางให้เขาเหล่านั้นขึ้นมาบริหารกิจการต่อไป

และถ้าหากมีการขยายกิจการการลงทุนต่อไปความที่มีคนมากขึ้นยิ่งจะทำให้เขาลำบากใจในการบริหารงานมาขึ้น วิเทศจึงตัดสินใจแยกตัวออกมาเสียแต่ตอนนั้น ซึ่งเป็นจังหวะเหมาะที่ผลเอกกฤษณ์ สีวะรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยนั้นได้ปล่อยใบอนุญาติตั้งโรงงานน้ำตาลออกเพิ่มอีกเป็น 17 โรง ซึ่งในจำนวนนั้นเป็นส่วนที่วิเทศได้มาถึง 2 โรง ประกอบกับมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีรองรับคือ รัฐบาลกำลังให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำตาล ผู้ผลิตน้ำตาลมาอำนาจในการต่อรองสูงทำให้ซื้ออ้อยจากชาวไร่อ้อยได้ถูกและสุดท้ายราคาน้ำตาลดิบของตลาดโลกกำลังเฟื่องฟู

วิเทศได้เงินจากการสะสมส่วนหนึ่งกับเงินที่เขาได้เป็นก้อนจากการขายหุ้นมิตรผลออกไปอีกจำนวนหนึ่งทำให้เขาสามารถตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ด้วยต้นทุน 300 ล้านบาทในระดับการผลิต 5,000 ตัน อ้อยต่อวันได้อย่างสบาย ๆ แทบจะเรียกได้ว่าอาศัยเงินจากแบงก์น้อยมาก แต่เขาก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ของ ชวน รัตนรักษ์ ซึ่งเป็นนายธนาคารที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมากในขณะนั้น และในจำนวนนั้นก็มีโรงงานน้ำตาลมิตรผลที่วิเทศเคยเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่ด้วย และเป็นจุดที่ทำให้ทั้งสองเกิดความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี

การเริ่มต้นอีกครั้งของ วิเทศ ว่องวัฒนะสิน เขาไม่ได้ร่วมกับเถ้าแก่โรงงานน้ำตาลอย่างที่ควรจะเป็น แต่วิเทศกับไปจับมือกับกลุ่มหัวหน้าโควตาอ้อยอย่างเช่น ฝา เจนลาภวัฒนกุล สิทธิ เนตรจรัสแสง ชิน เรืองจินดา และ อนนท์ แก้วพฤษาพิมล เพื่อดึงเขามาร่วมหุ้นด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มผู้กว้างขวางในวงการชาวไร่อ้อยย่านนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี ทั้งสิน

จุดนี้ทำให้เขาเริ่มต้นกำลังผลิตที่ค่อนข้างสูงได้สบาย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีอ้อยให้หีบเหมือนกับที่บางโรงงานกำลังประสบอยู่ในเวลานั้น

ด้วยเหตุที่ในช่วงการเกิดของมิตรเกษตรนั้นนับว่าเป็นยุคทองของอุตสาหกรรมน้ำตาลอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เคยตำต่ำมาได้ระยะหนึ่ง ทำให้โรงงานน้ำตาลมิคเกษตรขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีกเป็นวันละ 12,000 ตันอ้อยต่อวันในเวลาเพียงไม่กี่ปีต่อมา

ในขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นของวิเทศยังมีสูง 50 % ทำให้มองภาพของเขาว่าเป็นคนที่สายตายาวไกลพอสมควร แต่วิเทศก็พยายามกรีะจายการบริหารออกไปถึงกลุ่มผู้ถือหุ้นแต่ละกลุ่มอย่างถ้วนหน้า

ตัวเขาเองเป็นกรรมการผู้จัดการดูแลงานทางด้านธุรกิจ และโรงงาน ในขณะที่หัวหน้าโควตาอย่าง ฝาก็ได้มอบหมายให้เป็นผู้จัดการโรงงาน และผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ ล้วนเป็นผู้บริหารกรันแทบทุกคน

อีก 2 ต่อมาวิเทศก็เปิดโรงงานน้ำตาลขึ้นมาอีกอีกแห่งหนึ่งซื้อโรงงานน้ำตาลไทย วิเทศบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า การตั้งโรงงานน้ำตาลไทยขึ้นมาไม่ใช่เอากำไรที่สะสมมาจากมิตรเกษตร เหมือนกับที่เขาเคยตั้งโรงงานมิตรเกษตรเมื่อ 2 ปีก่อน ที่เงินทุนก่อตั้งมาจากเงินกำไรสะสมและขายหุ้นมิตรผล

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วิเทศกำลังเปลี่ยนโฉมการบริหารทุนจากอาศัย EQUITY - BASE มาเป็น DEBT FINANCING แล้ว

คนใกล้ชิดบอกว่าเขาตั้งโรงงานขึ้นมาพร้อม ๆ กับการขยายกำลังการผลิตในโรงงานเก่าให้สูงขึ้นวิเทศจึงใช้เงินมากในช่วงนั้น แม้จะมีกำไรงดงามจากมิตรเกษตรในยุคเริ่มต้นแต่ก็ไม่เพียงพอต่อการขยายงานอยน่างก้าวกระโดดของเขาเลย

เขาเริ่มใช้เงินกู้จากธนาคาร และธนาคารที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในระหว่างนั้นนอกจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาแล้วก็เริ่มจะมีธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารมหานคร ซึ่งต่างก็เป็นธนาคารที่มองอุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นตลาดสินเชื่อขนาดใหญ่และมีศักยภาพดีพอในการทำธุรกิจ FOREIGN EXCHANGE

โรงงานนำตาลมิตรเกษตรขยายกำลังการผลิตยากเดิมอีก 7,000 ตันอ้อย / วัน เป็น 12,000 ตัน/วัน ส่วนโรงงานน้ำตาลไทยที่ตั้งขึ้นใหม่ก็เริ่มด้วยกำลังการผลิตที่ 8,000 กว่าตันอ้อยต่อวันนับเป็นเงินทุนที่วิเทศจะต้องใช้เกือบ 1,000 ล้านบาททีเดียว

แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดวิเทศมองว่าเป็นระยะก้าวกระโดดไกลที่สำคัญของวิเทศทีเดียว เขาวิเคราะห์ว่าจะบอกวิเทศกระทำการซุ่มเสี่ยงเกินตัวมากไปก็ไม่น่าจะตรงจุดนัก เพราะบรรยากาศในขณะนั้นมีแรกผลักดันหลายอย่างที่ทำให้เขาตต้องทำเช่นนั้น

" เขาจำเป็นต้องเปิดโรงงานใหม่ให้ทันก่อนที่ใบอนุญาตที่เขาได้มาจะขาดอายุ เพราะไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีโอกาสอีก ประการที่สอง อย่าลืม ว่าในยุคนั้นเป็นยุคบูมของพ่อค้าน้ำตาล ตามนิศัยของพ่อค้าไม่ว่าใครน้ำขึ้นก็ต้องรับตัก ประการที่สาม จากการที่เขาประสบความสำเร็จจากการทำมิตรผลและมิตรเกษตร คนอย่างเขาเดินเข้าแบงก์ไหนก็มีแต่คนให้สองร้อย สามร้อยล้านบาทสบาย ๆ ถ้าเป็นผมก็เอา " คนใกล้ชิดวิเทศวิเคราะห์ถึงสาเหตุการก้าวกระโดดใหญ่ของวิเทศให้ "ผู้จัดการ " ฟัง

บริษัทน้ำตาลไทยถูกตั้งขึ้นมาในปี 2516 ผู้ที่ถือหุ้นล้วนแต่เป็นคนในครอบครัวของเขาทั้งสิ้น ซึ่งแตกต่างจากการเริ่มตั้งโรงงานมิตรเกษตรที่ดึงหัวหน้าโควตาอ้อมเข้ามาร่วมด้วย

นักวิเคราะห์บางคนบอกว่า " โรงงานน้ำตาลไทย " นั้นแสดงถึงจุดที่วิเทศเดินถึงการมีธุรกิจเป็นของตัวเองแท้ ๆ คนเดียว หลังจากที่เข้ามาสู่โรงงานน้ำตาลกว่า 10 ปีนับตั้งแต่เขาวางมือจากกิจการโรงเลื่อยเป็นต้นมา แหล่งข่าวคนเดียวกันนั้นบอกว่าโดยเนื้อแท้แล้ววิเทศเป็นคนที่ไม่ชอบความเสี่ยง เขาเป็นคนระมัดระวังในเรื่องนี้ ชอบเก็บเล็กผสมน้อย ค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า

วิเทศ ว่องวัฒนสิน มองสถานการณ์ในขณะนั้นไม่ผิดนัก ในปี 2517 - 2518 ยุคบูมของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลยังคงพุ่งขึ้นสูงเรื่อย ๆ เมื่อที่คิวบาและบราซิลประเทศที่ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกประสบกับปัญหาความแห้งแล้งภายในประเทศผลผลิตตกต่ำทำให้ราคาน้ำตาลในตลบาดโลกพุ่งขึ้นสูงถึง 24 เซ็นต์ต่อปอนด์ขณะที่ราคาอ้อยภายในประเทศที่โรงงานรับซื้อจากชาวไร่ตกตันละ 300 บาทเท่านั้น

พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐในเมืองไทย หลังยุค 14 ตุลา 2516 โครงสร้างการส่งออกน้ำตาล ซึ่งเคยผูกขาดโดยกลุ่มเดียวมาตลอด คือบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยซึ่งมี บรรเจิด ชลวิจารณ์ เป็นกรรมการผู้จัดการเป็นผู้ได้รับสิทธิในการส่งออกน้ำตายทรายแต่เพียงผู้เดียวได้ถูกพังทลายลง และเกิดบริษัทผู่ส่งออกน้ำตาลรายที่สองขึ้น คือบริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลและบริษัทนี้นี่เองที่เป็นบริษัทที่มีชื่อ วิเทศ ว่องวัฒนะสิน เป็นผู้ร่วมก่อการขึ้นมาด้วย

บริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลก่อตั้งขึ้นในปลายปี 2517 โดยการรวมกลุ่มของเจ้าของโรงงานน้ำตาย 8 คน คือ ยงศิลป เรื่องสุข วิเทศ ว่องวัฒนะสิน กิตติ ชินธรรมมิตร สุนทร ว่องกุศลกิจ

ชวลิต ชินธรรมมิตร วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ ยงยุทธ เสถียรถิระกุล และ ชะลอ สัมพันธ์ธารักษ์ หรือที่เรียกกันว่ากลุ่มค้าผลผลิตจนถึงปัจจุบันนี้

แม้บางคนจะพยายามอธิบายว่ามันเป็นเหตุบังเอิญ แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายอย่างบ่งชี้ว่าเรื่องนี้ไม่มีการต่อสู้และเตรียมการกันมาช้านานเพราะความกดดันของกลุ่มที่เป็นผู้ผลิตน้ำตาล แต่ไม่มีสิทธิที่จะได้ขายน้ำตาลไปต่างประเทศด้วยตนเอง แล้วยังถูกเก็บเกี่ยวผลประโยชน์โดยกลุ่มคนที่แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีโรงงานเอาเสียเลย

ได้มีการตั้งสมาคมผู้ผลิตน้ำตาลขึ้นมาก่อนหน้านั้นหลายปีก่อนที่จะมาถึงจุดแตกหักในปี 2517 เมื่อ ชะลอ สัมพันธารักษ์ ซึ่งนั่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการในบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยมาเป็นเวลบาช้านานเกิดมีเรื่องต้องบาดหมางกับ บรรเจิด ชลวิจารณ์ ถึงขันลาออกจากตำแหน่งรองผู้จัดการที่เขานั่งอยู่

ชะลอ สัมพันธ์ ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับการส่งออกน้ำตาลซึ่งเขารู้อยู่ว่าไม่เป็นธรรมนั้นส่งให้แก่ยงศิลป เรืองศุข เจ้าของโรงงานน้ำตาลตะวันออกและวุฒิสมาชิกให้ทราบ ทำให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มโรงงานน้ำตาลในนามสมาคมที่ตั้งขึ้นมารองรับการเคลื่อนไหวนั้นดูมีน้ำหนักมากขึ้น

คนเก่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า ยงศิลป เรืองสุข ในจัดว่าเป็นผู้กว้างขว้างในอำนาจรัฐในยุคนั้นพอสมควร เรียกว่าเป็นวิฒิสมาชิกติดต่อกันมาหลายสมัยเลยทีเดียวและว่ากันว่ายงศิลปจะสนิทสนมกับพลเอกกฤษณ์ สีวะราแล้วยังผูกสมัครรักใคร่กับอย่างแนบแน่นกับ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปตุลาคม 2519 ในเวลาต่อมาอยู่ด้วยเหมือนกัน

ข้อมูลการส่งออกน้ำตาลที่ไม่เป็นธรรมต่อกลุ่มโรงงานน้ำตาลได้ถูกส่งถึงคณะรัฐบาล ในยุคสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายก ฯ และในที่สุดจึงได้ออกมาเป็นนโยบายใหม่ เปิดให้กลุ่มโรงงานน้ำตาลที่รวมตัวกันสามารถส่งออกน้ำตาลทรายเองได้

" คือมันรเป็นเรื่องบังเอิญที่บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยได้ไปทำสัญญาซื้อขายน้ำตาลทรายล้วงหน้าไว้กับต่างประเทศในราคาปอนด์ละ 9 เซ็นต์ ในขณะที่ถึงเวลลาที่จะส่งมอบน้ำตาลกันจริงราคาน้ำตาลตลาดโลกมันพุ่งขึ้นสูงถึง 24 เซ็นต์ ซึ่งไม่มีใครคาดคิดกันมาก่อน ทางฝ่ายโรงงานนั้นก็เห็นว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ไม่ธรรม มีการต่อสู้กันถึงขนาดโรงงานน้ำตาลทั้งหลายจะไม่ยอมส่งน้ำตาลให้บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา หรือปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกน้ำตาลกันใหม่ รัฐบาลก็เลยยอมตามที่ร้องขอ " อำนวย ปะติเส ผู้จัดการบริษัทค้าผลผลิตคนปัจจุบัน คร่ำหวอนในวงการน้ำตาลมานานเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงเหตุหนึ่งผลในการก่อตั้งค้าผลผลิต

ปัจจุบันการส่งออกน้ำตาลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือน้ำตาลทรายดิบซึ่งแต่ละโรงงานจะต้องส่งให้แก่บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทยซึ่งเป็นบริษัทกลางเป็นผู้ส่งออกรวมกันแล้ว 600,000 ตัน หรือที่เรียกว่าน้ำตาลโควตา ข. กับน้ำตาลทรายขาวเปิดให้บริษัทที่สามารถส่งออกได้ 3 บริษัทคือบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลไทย บริษัทค้าผลผลิตน้ำตาล และบริษัทส่งออกน้ำตาลสยามหรือที่เรียกกันว่าน้ำตาลโควตา ค. ส่วนน้ำตาลทรายขาวที่จำหย่ายในประเทศให้จำหน่ายในราคาประกันกรมการค้าภายใน หรือที่เรียกกันว่าน้ำตาลโควตา ก.

การเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าน้ำตาลระหว่างปรีะเทศตรงจุดนี้ คนเก่าคนแก่ในวงการน้ำตาลยกให้เป็นเครดิตของ วิเทศ ว่องวัฒนสิน เถ้าแก่โรงงานน้ำตาลผู้อยู่เบื้องหลังตลอดรายการ จนมีการกล่าวขานกันว่าคนที่ถูกบรรเจิด ชลวิจารณ์ โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงคนนั้นก็คือวิเทศนั้นเอง

วิเทศ ว่องวัฒนสิน เข้านั่งเป็นรองประธานกรรมการบริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลตั้งแต่เริ่มแรกมาจนยงศิลป เรืองสุข เสียชีวิตลงไม่กี่ปีมานี้เขาจตึงก้าวขึ้นเป็นประธานบริษัทส่งออกซึ่งมีโรงงานน้ำตาลเป็นผู้ที่ถือหุ้นอยู่ถึ 23 โรงในปัจจุบัน

อำนวย ปะติเส ซึ่งอยู่กับกลุ่มค้าผลผลิตมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นบอกว่า วิเทศเป็นคนที่ทุ่มเทตัวเองให้กับงานส่วนรวมในบริษัทค้าผลผลิตนี้มาก จนเกือบจะเรียกได้ว่าเขาลืมธุรกิจส่วนตัวของเขาไปซะแล้ว วิเทศจึงเป็นคนที่ได้รับการยอมรับอย่างมากจากกลุ่ม

ภาวะการค้าน้ำตาลในตลาดโลกยังคงดีขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวอาณาจักรของ วิเทศ ว่อง วัฒนสิน กล่าวกันว่า 3 ต่อมาเขาก็สามารถคือทุนเกือบทั้งหมดหากเขาไม่ขยายงานออกไปอีก

แต่วิเทศได้ก้าวสูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งมันเหมือนสูตรสำเร็จของเถ้าแก่โรงงานน้ำตาลในยุคนั้น หรืออย่างไรก็ไม่อาจทราบได้ นั้นคือ วิเทศกระโดดเข้าจับธุรกิจเงินทุน โดยตั้งบริษัทเงินทุนไทยธนากรทรัสต์ขึ้นมาในปี 2519 โดยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน ต้นปี 2520 โดยการอนุมัติของ สุพัตณ์ สุธาธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในคณะรัฐบาลปฏิรูปของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่

เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นกับโรงงานน้ำตาลไทยซึ่งเป็น FLAGSHIP BUSINESS ของวิเทศ วิเทศก็ตัดสินใจโอนหุ้นของธนากรทรัสต์เข้ามาในเครือเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งอยน่างชนิดที่เรียกว่าได้กันมาเปล่า ๆ เพราะภาวะหนี้เสียของไทยธนากรทรัสต์ นั้นมาต่ำมาก เมื่อเทียบกับทรัสต์อื่นๆ อย่างเช่นทรัสต์ในโครงการ 4 เมษา หรือแม้แต่ทรัสต์ในเครือข่ายทหารไทยที่ได้รับมาในทำนองเดียว

" เท่าที่ทราบทหารไทยเป็นเจ้าหนีการค้าอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งคุณวิเทศใช้ตัวอาคารของธนากรทรัสต์ค้ำประกันและก็หนีที่รับจำนำหุ้นอีกส่วนหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหาทางการเงินของกลุ่มคุณวิเทศก็เลยโอนหุ้นของเขาเพื่อชำระหนี้ให้แก่ไปทหารไทย แต่ตอนนี้เขาก็ยังเหลือหุ้นอีกประมาณ 4-5 % ซึ่งไม่มากนัก" คนใกล้ชิดคนหนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ"

ต้นปี 2522 วิเทศกระโดดเข้าทำธุรกิจเหมืองแร่ ซึ่งเหมือนเป็นการลงทุนทิ้งทวนสำคัญเขาทีเดียวแต่เป็นการทิ้งทวนที่แพงพอดู เขาตั้งบริษัทวัฒนะเหมืองแร่ ขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 30 ล้านบาทเพื่อประกอบธุรกิจรับจ้างขุดเจาะแร่แถบภาคใต้

การเกิดและแตกดับของไทยธนากรครัสต์ที่วิเทศไปลงทุนก็เหมือนกับธุรกิจเหมืองที่เขาลงทุนด้วยเช่นกัน

นรักธุรกิจในยุคนั้นหลายคนที่ไปจบชีวิตธุรกิจที่รุ้งโรจน์ไปกับหลุมแร่มีมากเพราะธุรกิจนี้พอเริ่มต้นก็ไปปัญหา เพราะเป็นธุรกิจที่ลงทุนสูง โดยเฉพาะเรือขุดเจาะแร่ราคาร่วม 100 ล้านบาท ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่น ๆ ที่ค่อนข้างแพงและต้องมาปรีะสบปัญหาราคาแร่ตกต่ำติดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน เพียง 2 ปีต่อมาวิเทศก็ต้องควักเค้าหน้าตกลงไปอีก 50 ล้านบาท และก็หายวับไปกับตาและตาแล้วก็ลงไปอีก 20 ล้านบาท จนล่าสุดเมื่อปี 2525 เขาต้องจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัทสูงถึง 100 ล้านบาท

วิเทศบอกกับ "ผู้จัดการ " ว่าเขาหมดไปกับการขุดเจาะแร่ถึง 200 กว่าล้านบาท เขาบอกว่าโครงการนี้เกิดจากการชักชวนของเพื่อนราชการชั้นผู้ใหญ่ในภาคใต้ซึ่งเป็นถิ่นเก่าที่เข่คุ้นเคยมาก่อนและเห็นว่ามันรเป็นธุรกิจที่น่าสนใจเลยลองทำดู

แต่ก็เป็นการลองที่ถอนตัวไม่ทัน เมื่อราคาดีบุกมันจมดิ่งลงจากที่เคยขายกันตันละ 10,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท ในเวลาเพียงไม่กี่ปี

สรุปแล้ว การลงทุนนอกธุรกิจน้ำตาลเช่นไทยธนากรทรัสต์และเหมืองแร่ที่เขาไม่ชำนาญล้วนแต่เจ็บปวดในท้ายที่สุดทั้งนั้น จะมีก็แค่คลังสินค้านั้นที่พอจะสัมพันธ์กับธุรกิจน้ำตาลได้

ในปี 2519 เช่นเดียวกันที่ วิเทศ ว่องวัฒนะสิน รับซื้อกิจการคลังสินค้าจาก ชวน รัตนรักษ์ และกลุ่มแหลมทองสหการเจ้าของอาคารวานิชปัจจุบัน โดยตั้งบริษัทเดอะ ไทยซูการ์เทอร์มิเนิ้ล คอเปเรชั่น เข้าบริหาร ที่เข่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในนามของบริษัทอุตสาหกรรมมิตรเกษตรและบริษัทโรงงานน้ำตาลทราย ร่วมกับโรงงานน้ำตาลบริษัทค้าผลผลิตบางราย

แหล่งข่าวในกลุ่มค้าผลผลิตบอกกับคลังสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในธุรกิจการส่งออกน้ำตาลเมื่อได้สิทธิการส่งออกเองแล้ว ก็ต้องมาคลังสินค้ารองรับ และก็บังเอิญที่เป็นช่วง ชวน รัตนรักษ์ กับกลุ่มแหลมทองสหการมีปัญหาระหองรีะแหงกันจตึงอยากจะขายคลังสินค้าที่เขาถือร่วมกันอยู่ที่บางพระประแดงวิเทศก็เลยซื้อเอาไว้

" มันเป็นโอกาสที่ดีอีกจุดหนึ่งของคุณวิเทศที่จังหวะเหมาะ ที่ความต้องการของเขาไปสอดคล้องกับความต้องการของคุณชาวนพอดี เขาซื้อมาด้วยเงินสดเพียงไม่กี่ล้านบาท ที่เหลือผ่อนช่ำระกับธนาคารกรุงศรี ฯ แบบสบาย ๆ " แหล่งข่าวคนเดียวกันกล่าว

ธาคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ตีขึ้นมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2516 - 2517 ก็ยังคงพุ่งขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ จนสูงที่สุดในปี 2522 - 2523 ซึ่งเป็นปีที่น้ำตาลทายขาดแคนไปทั่วโลกราคาน้ำตาลน้ำตาลพุ่งขึ้นถึง 40 กว่าเซ็นต์ต่อปอนด์ หรือตกประมาณกิโลกรัมละ 20 กว่าบาท (อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น 23 บาท ต่อ 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ)

เกิดภาวะน้ำตาลในประเทศขาดแคลน เพราะมีการลักรอบเอาน้ำตาลไปขายยังต่างประเทศกันหมด บุญชู โรนเสถียร และ ตามใจ ขำภโต รองนายยกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ใช้นโยบายหนามย่อเอาหนามบ่ง ประกาศยกส่งออกน้ำตาลและให้นำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในราคาถูก

" ถือเป็นช่วงวิกฤตของผู้บริโภคน้ำตาลครั้งประวัติศาสตร์ การนำน้ำตาลทรายจากต่างประเทศก็ไม่เห็นว่าราคาน้ำตาลจะถูกลง " ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นบอกมาอย่างนี้

คิดว่าเจ้าของโรงน้ำตาลคงจะร่ำรวยกันน่าดู

แต่วิเทศบอกว่ามันเป็นช่วงเวลาแห่งการวิกฤตของโรงงานน้ำตาลเช่นกัน เพราะแม้ว่าราคาน้ำตาลในตลบาดโลกจะดีขึ้น แต่ผลผลิตอ้อยในเมืองไทยกับต่ำลงจนไม่เพียงพอต่อการผลิต อันเนื่องมาจากความแห้งแล้งติดต่อกันมาถึง 3 ปีเต็ม ๆ ทำให้ขาดแคลนน้ำตาลที่จะขาย แล้วต้องมาเจอมาตราการห้ามส่งออกน้ำตาล ยิ่งทำให้ประสบปัญหาหนักยิ่งขึ้นในเวลาต่อมา เพราะว่าน้ำตาลที่ได้มีการขายล้วงหน้ากันไปแล้วนั้นไม่สามารถจะส่งมอบกันได้ ทำให้พ่อค้าน้ำตาลในตลาดโลกขาดความเชื่อถือพ่อค้าน้ำตาลไทย และไม่กล้าที่จะสั่งซื้อน้ำตาลจากเมืองไทยในปีต่อ ๆ มา วิเทศบอกว่าแทนที่จะเป็นช่วงโรงงานน้ำตาลมีกำไร ก็กลับไม่ได้อะไรเลย !

การต่อสู้กันระหว่างรัฐบาลในยุคที่บุญชูเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจกับกลุ่มเจ้าของโรงงานในครั้งนั้น ว่ากันว่า วิเทศ ว่องวัฒนะสิน เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความเข้มข้นนั้นด้วนคนหนึ่ง

และแล้วก็ถึงช่วงภาวะน้ำตาลตกต่ำติดต่อกันยาวนานถึง 5 ปี จากราคาที่เริ่มลดลงครั้งแรกในปี 2524 ราคา 16 เซ็นต์ / ปอนด์ ในปี 2528 อันเป็นที่อุตสาหกรรมในประเทศเกิดวิกฤติที่สุด

และมันก็ยังเป็นยุคทมิฬของ วิเทศ ว่องวัฒนะสิน เอาเสีย ๆ เมื่อเงินที่ไปลงกับธุรกิจเหมืองแร่ 200 กว่าล้านก็เหมือนกับการเอาไปละลายลงไปในมหาสมุทรเฉย ๆ ทรัสต์ของ โคโร่ หรือ คำรณ เตชะไฟบูลย์ ที่ฮ่องกง ( RIRST BANGKOK CITY FINANCE ) ที่วิเทศเอาเงินที่ขายน้ำตาลได้ไปฝากไว้รวม 300 ล้านบาท ก็ถึงการต้องล้มครืนลง และเงินนั้นก็อันตธานหายไปกลางอากาศเช่นเดียวกัน

ธนาคารมหานคร ซึ่ง คำรณ เตชะไพบูลย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และกรรมการผู้จัดการอยู่ในเมืองไทยก็ถูกเข้าควบคุมจากเจ้าหน้าที่แบงก์ชาติในเวลาต่อมา วงเงินโอดีที่วิเทศเคยมีอยู่ในมหานครถึง 600 ล้านบาทก็ถูกชักกลับอย่างไม่ไยดี เหลือไว้แต่เพียงตัวเลขสีแดง 500 กว่าล้านที่นับว่าจะพอกพูนขึ้นด้วยดอกเบี้ยทุกวัน ๆ

วิเทศบอกว่าเขารู้จักคำรณหลังจากที่คำรณได้เข้ามาเทคโอเวอร์ธนาคารไทยพัฒนาและเปลี่ยนซื้อเป็นธนาคารมหานครแล้ว เพราะตัวเขาเองเป็นลูกค้าที่เก่าแก่ของธนาคารไทยพัฒนามาก่อน และความรู้จักก็กลายเป็นความสนิทชิดเชื้อกันมากขึ้น และกลายเป็นความเชื่อถือส่วนตัวระหว่างนายแบงก์กับเถ้าแก่โรงงานน้ำตาลลูกค้าที่มีเครดิตดีคนหนึ่ง

วิเทศขายน้ำตาลไปต่างประเทศได้เงิน แต่ยังไม่ได้นำเข้ามาในประเทศ คำรณก็ชวนให้วิเทศฝากไว้กับครัสต์ของตัวเองที่ฮ่องกง ล่าสุดนับเป็นจำนวนเงิน 300 ล้านบาท โดยคำรณเสนอเงือนไขที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าจะให้เงินเบิกเกินบัญชีหรือโอดีจากธนาคารมหานครเป็นวงเงิน 2 เท่าของเงินที่ฝาก ไว้ในฮ่องกง หรือ ประมาณ 600 ล้านบาท

" มันเป็นเรื่องของพ่อค้าที่เชื่อใจกันมากๆ แล้วเปิดโอกาสให้กันโดยสัญญาสุภาพบุรุษ " คนใกล้ชิดวิเทศกล่าว

โรงงาน้ำตาลไทยของวิเทศเริ่มมีปัญหาทางการเงินเมื่อโอดีของเขาถูกชักกลับ ขาดเงินทุนหมุนเวียนทำท่าจะเปิดหีบไม่ได้ในฤดูกาลเปิดหีบ 2528 / 2529 จึงมีการเจรจากันระหว่างเจ้าหนี้อันได้แก่ธนาคารมหานคร กรุงศรีอยุธยา ไทยพาณิชย์ ทหารไทย กสิกรไทย และแม้แต่นครหลวงไทยก็ติดร่างแหกับเขาไปด้วยที่จะเข้าไปให้การช่วยเหลือให้โรงงานสามารถเปิดหีบได้ในปีนั้น

" การตกลงให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้นำในการให้การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนและเข้าไปควบคุมดูแลกิจการในระหว่างการเปิดหีบปีนั้น เงินที่ได้มาก็เอามาแบ่งสันกันระหว่างเจ้าหนี้ตามสัดส่วน " อำนวย ปะติเส บอก

แต่เนื่องจากราคาน้ำตาลยังไม่กรีะเตื้องขึ้นเงินที่ได้มาก็ไม่เพียงพอที่จะให้จัดสรรกันระหว่างเจ้าหนี้บรรดาเจ้าหนี้เริ่มหมดกำลังใจที่จะเจรจากันต่อไปอีก ธนาคารกรุงศรีเริ่มรุกก่อนใครอื่น โดยยื่นโนติสบอกกล่าวให้โรงงานน้ำตาลไทยชำระหนี้และจะบังคำจำนอง ยิ่งสร้างบรรยากาศกดดันเจ้าหนี้คนอื่นให้ระวังตัวมากขึ้นและไม่เห็นประโยชน์ในการเจรจากันอีกต่อไป

ไม่มีเจ้าหนี้รายไหนให้การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้เปิดหีบในฤดูกาลเปิดหีบต่อมา คือ 2529 / 2530 อีกต่อไป โรงงานน้ำตาลไทยของวิเทศก็หลายเป็นเศษเหล็ก เพราะไม่สามารถเปิดหีบตามปรกติในปีนั้นได้

เมื่อแบงก์เจ้าหนี้ไม่สามารถเจรจาตกลงกันเองได้ สุนทร โภคาชัยวัฒน์ เจ้าของสำนักงานทนายความชัยวัฒน์ ซึ่งคุนเคยกับวิเทศมานานในฐานที่เขาเป็นที่ปรึกษาบริษัทค้าผลิตผลที่วิเทศเป็นประธานอยู่ก็ถูกขอร้องให้เข้ามาช่วยหาแนวทางในการกู้สถานการณ์กันต่อไป โดยร่วมอำนวยปะติเส ซึ่งเป็นผู้จัดการค้าผลผลิตน้ำตาลที่คุ้นเคยกับวิเทศมากอีกคนหนึ่ง

ทั้งสองต้องทำงานกันอย่างหนักในฐานตัวแทนของลูกหนี้ เพื่อหาทางแก้ไขและฟื้นฟูสถานการณ์ให้ดีขึ้น

" คือถ้างานนี้เราพลาดในรอบนี้ก็ถือว่าจบเกมกัน โรงงานน้ำตาลไทยก็จะกลายเป็นเศษเหล็กไม่มีค่า เพราะเครื่องจักรที่ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้เดินเครื่องติดต่อกัน 2 ปีเครื่องก็จะทำงานไม่ได้อีกต่อไป " สุนทร โภคาชัยวัฒน์ กล่าวกับ " ผู้จัดการ "

สุนทรกับอำนวยใช้เวลาทั้งปีที่ไม่ได้เปิดหีบอ้อยนั้นเจรจากับเจ้าหนี้ทีละราย ๆ เพื่อเสนอทางเลือกให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ว่าจะเอาอย่างไรกับลูกหนี้รายนี้

ธนาคารไทยพาณิชย์เคยจะเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟู แต่ต้องถอยกลับไปเมื่อเจอธนาคารกรุงศรีขู่ว่าจะฟ้องอยู่ไม่ขาดระยะ การเจรจาล่วงเลยมาปีเศษแต่ก็ไม่บรรลุผล

"แต่ยังงัยโรงงานก็ต้องเปิดหีบให้ได้ ก็พอดีที่คุณวิเทศไปได้คนในวงการเดียวกันเข้ามาให้การช่วยเหลือ คือ ประพันธ์ ศิริวิริยกุล เจ้าของโรงน้ำตาลนครสวรรค์ และไทยเอกลักษณ์ กับ สมชาย ถวิลเติมทรัพย์ เจ้าของโรงน้ำตาลหนองใหญ่เข้ามาช่วยไว้ทัน " สุนทรกล่าวถึงการรอดตายอย่างหวุดหวิดของโรงงานน้ำตาลไทยของวิเทศ

อำนวย ปะติเส กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูโรงงานน้ำตาลไทยค่อนข้างโดดเดียว ซึ่งต่างจากกรณีของโรงน้ำตาลกลุ่มบ้านโป่งของ วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ และกลุ่มวังขนายของ อารีย์ ชุนฟุ้ง ที่รัฐบาลและเจ้าหนี้ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ทั้งนี้เพราะว่าปัญหาทางโรงงานน้ำตาลไทยเกิดขึ้นทามกลางโรงงานอีกจำนวนมากมายในเขต 7 ที่ต้องการให้มีคู่แข่งลดน้อยลงอยู่แล้วด้วย และปัญหาของโรงงานน้ำตาลไทยไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวไร่อ้อยที่มีโรงงานให้เลือกทั่งมากมายและผลของมันก็จะไม่กระทบต่อรัฐบาลเหมือนกรณีอื่น ๆ

อีกประการหนึ่งนั้นหนี้ของโรงงานน้ำตาลไทยไม่ได้เกิดขึ้นจากการใช้แพ็คกิ้งเครดิตซ้อน ซึ่งแบงก์ชาติจะต้องเดือดร้อนใจเข้าช่วยแก้ไขปัญหาด้วยในฐานคนคุมสินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิตเหมือนรายอื่น ๆ แต่โครงสร้างเจ้าหนี้ของโรงงานน้ำตาลค่อนข้างกระจัดกระจายเป็นเป้าหมายคนละทิศคนละทาง และค่อนข้างมีความหวาดระแวงซึ่งกันและกันว่าตนเองจะเสียเปลียบเจ้าหนี้รายอื่น

ประกอบกับปัญหามันเกิดขึ้นในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภายในธนาคารเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นกรณีของธนาคารมหานครก็เป็นช่วงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึ่งเข้ามายึดการบริหารภายในของธนาคารเองจึงไม่ค่อยเรียบร้อยดี ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารไทยพาณิชย์ก็กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงเพื่อกระจายอำนาจภายใน

ทัศนคติและการเจรจาของเจ้าหนี้จึงดูไม่ค่อยต่อเนื่อง !

"ในฤดูกาลเปิดหีบ 2531/2532 ถ้าไม่ได้ประพันธ์กับสมชัยเข้ามาช่วยไว้ก่อนก็เหมือนว่าผมกับว่าผมไม่เหลืออะไรเลย ทั้งสองจึงถือว่ามีพระคุณต่อผมอย่างมากในช่วงที่มีวิกฤติ ซึ่งทั้งสองคิดว่าผมนี่เคยช่วยเหลือส่วนรวมมานานโดยไม่เคยหาประโยชน์ใส่ตัว เมื่อผมไปร้องขอให้เขามาช่วยเขาก็ตกลง โดยไม่คิดเอาประโยชน์จากผมเลย" วิเทศเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงความช่วยเหลือของเพื่อนต่างวัยทั้งสอง

ประพันธ์และสมชัยได้เข้ามาช่วยให้โรงงานน้ำตาลไทยจนจนเปิดหีบได้ทั้งด้านเงินทุนหมุนเวียนปละการบริหาร จนทุกอย่างผ่านไปด้วยความเรียบร้อยในปีนั้น ซึ่งเป็นความโชคดีที่เป็นช่วงที่ราคาน้ำตาลกำลังจะเงยหน้าขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ราคาน้ำตาลตลาดโลกจากที่ตกต่ำกว่าสิบเซนต์ต่อปอนด์ ก็เริ่มกระเตื้องขึ้นมาอยู่ในจุดที่สูงกว่า 10 ในปี 2531 ทำให้โรงงานไทยมีกำไรเป็นกอบเป็นกำพอที่จะนำมาแบ่งเฉลี่ยใช้หนี้บรรดาแบงก์ทั้งหลาย ก่อนที่จะมีการเจรจากันใหม่อีกครั้งหนึ่ง

"เราได้นำเอากำไรที่ได้มาทั้งหมดในปีนั้นมาเฉลี่ยใช้หนี้แบงกืทุกแบงก์ เมื่อยอดหนี้ลดลงประกอบกับแนวโน้มราคาน้ำตาลจะดีขึ้นเรื่อยๆในปีนี้การเจรจาในลำดับต่อมาจึงมีท่าทีที่ดีขึ้นมาก" อำนวย ปะติเส กล่าว

การเจรจากันครั้งสุดท้ายจบลงดวยการที่ธนาคารมหานครรับซื้อหนี้ทั้งหมดของโรงงานนน้ำตาลไทยไว้เพียงผู้เดียว เพราะโดยลำพังธนาคารมหานครนั้นเป็นเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอยู่แล้วจึงค่อนข้างเสียเปรียบเจ้าหนี้อื่น การยอมทำเช่นนั้นก็ทำให้ธนาคารมหานครกลายเป็นธนาคารเจ้าหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันขึ้นมาทันที ในขณะที่แบงก์อื่นๆก็ยอมลดหนี้ที่มหานครจะต้องซื้อลงถึง 30%

แม้มหานครจะจ่ายเงินเพิ่มอีกถึง 500 ล้านบาท ก็ยังดีกว่าปล่อยให้หนี้หายไปเฉยๆ ถึง 500 ล้านบาทเช่นกัน!

พร้อมกับฟื้นฟูฐานะของโรงงานน้ำตาลไทย ก็ได้ตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาชื่อ "บริษัทน้ำตาลไทยกาญจนบุรี"เพื่อรับโอนทรัพย์สินจากบริษัทโรงงานน้ำตาลไทยทั้งหมดแล้วมาจดจำนองกับมหานครใหม่มนมูลหนี้ประมาณ 900 ล้านบาทซึ่งเป็นยอดหนี้ที่เหลือจากเจ้าหนี้ต่างๆยอมลดลงให้แล้ว

บริษัทไทยกาญจนบุรีมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาทถือหุ้นโดยกลุ่มของวิเทศ ว่องวัฒนะสิน เหมือนเดิม แต่ในคณะกรรมการนั้นให้มีเจ้าหน้าที่ของแบงก์มหานครร่วมอยู่ด้วย ธนาคารมหานครจะสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในการเปิดหีบอ้อยในปีนี้อีกต่อไป และทุกปีจนกว่าบริษัทน้ำตาลไทยกาญจนบุรีจะชำระหนี้หมด

เงื่อนไขในการชำระหนี้ใหม่กำหนดไว้ประมาณ 10 ปี โดยอำนวย ปะติเสบอกว่าเป็นตัวเลขที่ได้มาจากการคำนวณโดยใช้ฐานภาวะเศรษฐกิจปกติ ซึ่งจะตกประมาณปีละ 100 ล้านบาท แต่ถ้าหากเศรษฐกิจ โดยเฉพาะน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มจะดีขึ้นเรื่อยๆ อยู่อย่างนี้อาจจะใช้ระยะเวลาเพียง 3-4 ปีก็ชำระหมด

"เพราะโรงงานน้ำตาลไทยหรือไทยกาญจนบุรีในตอนนี้มีกำลังผลิตสูงถึงวันละ 12,000 ตันอ้อยและมีประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยค่อนข้างสูง คือสูงกว่าทุกโรงงานในเขต 7 จนได้รับรางวัลมา 4 ปีซ้อน ถ้าราคาน้ำตาลมันดีขึ้นอย่างนี้หนี้ก็จะชำระได้หมดเร็ว" อำนวยกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ในขณะที่ วิเทศ ว่องวัฒนะสิน ยังกล่าวด้วยความระแวดระวังว่าปีนี้ปริมาณอ้อยจะลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 15% เพราะฝนทิ้งช่วงในตอนต้นฤดูกาลเพาะปลูกที่ผ่านมา "ซึ่งอาจจะมีผลกระทบถึงปริมารน้ำตาลของเราบ้าง" เขากล่าว

อย่างไรก็ตาม 3 ปีเต็มๆที่ วิเทศ ยิ่งเก็บตัวเงียบจากการที่เขาเป็นคนเก็บตัวมากอยู่แล้ว โดยมีเพียง สุนทร โภคาชัยพัฒน์ กับอำนวย ปะติเส เป็นคนออกหน้าวิ่งเต้นแทนเขามาโดยตลอด แทบจะเรียกได้ว่าทั้งสองได้กลายเป็นเถ้าแก่โรงงานน้ำตาลไปซะแล้ว

ทั้งสองได้ส่ง สุนทร คุณชัยมัง มือดีในวงการอ้อยและน้ำตาลคนหนึ่งเข้ามาช่วยวิเทศในการบริหารโรงงานน้ำตาลไทยกาญจนบุรีที่ตั้งขึ้นมาใหม่

สุนทร คุณชัยมัง เป็นคนรุ่นใหม่ที่เกิดในวงการอ้อยและน้ำตาลจากผลพวงของนโยบาย 70/30 ของ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในช่วงปี 2525 เป็นต้นมา โดยเขาเข้ารับงานที่สำนักงานกลาง ซึ่งถูกส่งไปดูแลการผลิตน้ำตาลของโรงงานต่างๆทั่วประเทศ ตามโครงสร้างการแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 ก่อนที่จะเข้ามาประจำในสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ และย้ายไปเป็นผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์และรักษาการผู้อำนวยการกองทุนอยู่ปีเศษก่อนที่จะเข้ามาช่วยวิเทศตามโครงการกอบกู้สถานะของโรงงานน้ำตาลไทย

วิเทศเป็นคนสุภาพ ใจเย็น ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น และทุ่มเทตัวเองทำงานเพื่อส่วนรวมของวงการอ้อยและน้ำตาล แต่ชอบเก็บตัวดังที่สุนทร โภคาชัยพัฒน์ และอำนวย ปะติเส พูดถึงบุคลิกภาพที่แท้จริงของวิเทศ แล้วดูเหมือนจะมีอีกส่วนหนึ่งที่ทั้งสองเห็นสอดคล้องกันอีกก็คือ "วิเทศขาดคนช่วยงานอย่างมาก"

ตัววิเทศเองนั้นแต่งงานเมื่ออายุล่วงเลยถึง 45 ปีแล้ว เพราะความตรากตรำทำงานหนักของเขา ยุพา ว่องวัฒนะสิน ผู้เป็นภรรยาของเขายังเป็นคนธรรมะธรรมโม แม้จะมีเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นสายเลือดของแม่ค้า แต่เธอกลับเป็นคนที่ชอบเสียงขับกล่อมทำนองเสนาะ และเพลงไทยเดิม

นิสัยอันอ่อนช้อยนี้ส่งผลถึงลูกชายคนโตของเธอ บัณฑิต ว่องวัฒนะสิน ซึ่งกลายเป็นคนเรียบง่ายเหมือนผู้เป็นแม่ ชอบเล่นดนตรีไทย ไม่ว่าจะเป็น ซออู้ ซอด้วง และระนาด ตามผู้เป็นแม่ไปด้วยในขณะที่อยู่ในวัยเพียง 20 ปีเศษๆเท่านั้นเอง

ลูกสาวคนหัวปีของเขาเพิ่งจะอายุ 25 ปีในปีนี้ กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน จบปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะบัญชี จุฬาฯสาขาการเงินธนาคารและเกียรตินิยม ปริญญาโทบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา สาขาธุรกิจระหว่างประเทศและการเงิน พึ่งได้กลับมาช่วยงานผู้เป็นพ่อเมื่อปลายปีที่ผ่านมานี้นี่เอง

เธอคงจะเป็นอนาคตและความหวังของครอบครัว "ว่องวัฒนะสิน" อย่างมากทีเดียวในฐานะลูกคนโตแม้จะเป็นผู้หญิง ขณะนี้เธอำลังเคี่ยวกรำอยู่กับการเรียนรู้งานทุกอย่างในบริษัทเพื่อให้ทันกับการลุกขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งของผู้เป็นพ่อ

แม้วิเทศจะขาดคนช่วยงานสักปานใดก็ตามเขาไม่เคยให้ลูกๆมาช่วยงานครอบครัว โดยให้ทิ้งการเรียนไปเสียสักคนหนึ่ง เช่นเดียวกับเถ้าแก่คนอื่นๆที่พยายามให้ลูกๆได้เรียนรู้งานตั้งแต่เล็กๆอยู่ข้างตัวอย่างน้อยคนหนึ่ง

ดูเขาจะเป็นคนที่เห็นความสำคัญในการศึกษาของลูกๆ มาก เขาบอกกับลูกสาวของเขาว่าความรู้คือทรัพย์สมบัติที่ไม่มีวันหมดสิ้นไป แต่ทรัพย์สินเงินทองเป็นสิ่งที่หามาได้แต่ก็หมดไปได้ไม้แน่นอน ฉะนั้นเขาจึงพยายามให้ลูกๆของเขาได้รับการศึกษามากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ลูกคนที่สองของเขาที่เป็นชายขณะนี้กำลังเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจที่บอสตันเช่นเดียวกัน หลังจากที่เรียนจบวิศวะสาขาอุตสาหกรรม จากจุฬาฯไปแล้ว

คนที่สาม อุมาพร ว่องวัฒนะสิน กำลังเรียนบริหารธุรกิจสาขาการจัดการ คนที่สี่ นพพร ว่องวัฒนะสิน เรียนนิติศาสตร์ และคนสุดท้าย เจษฎา ว่องวัฒนะสิน กำลังเรียนเศรษฐศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้ง 3 คน

คนที่ช่วยงานธุรกิจของเขาในช่วงเวลาที่ผ่านมานอกจาก ยงเกียรติ เกียรติศรีธารา แล้วก็มีเพียงเพียงหลานๆของเขาเพียง 3 คนเท่านั้นคือ เทพ ฐิตะเมธากุล อภิชาติ ว่องวัฒนะสิน และเกียรติ สัตยกฤษสกุล ซึ่งรับผิดชอบชอบงานในสำนักงานเสียส่วนใหญ่ และว่ากันว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก

วิเทสเคยเชิญ ดร.ทะนง ลำไย เข้ามาเป็นที่ปรึกษาเพื่อวางระบบงานใหญ่อยู่ถึง 4 ปี แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากหลานๆ ของเขาเท่าที่ควร สิ่งที่ดร.ทนงทำได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาก็คือระบบข้อมูลและคอมพิวเตอร์

โรงงานน้ำตาลไทยและมิตรเกษตร นับว่าเป็นโรงงานแห่งแรกในประเทศไทยที่นำระบบคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ และมีการออนไลน์ข้อมูลจากโรงงานที่กาญจนบุรีต่อเชื่อมเข้ากับสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ เพื่อให้สำนักงานใหญ่และโรงงานได้ทราบข้อมูลของกันและกันทุกระยะ โดยเฉพาะข้อมูลในด้านโงงานที่เกี่ยวกับจำนวนอ้อย จำนวนน้ำตาล การเงิน และสต็อกต่างๆในโรงงานแต่ละวันจะถูกส่งตรงเข้าสำนักงานใหญ่โดยระบบออนไลนืนี้

"ธรรมดาการจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ให้ค่อยเป็นค่อยไป" วิเทศพูดเพียงสั้นๆเมื่อถูกถามถึงหลานๆของเขา

แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือว่าการที่ วิเทศ ว่องวัฒนะสิน ยอมจ่ายเงินเพื่อลงทุนกับการวางระบบการบริหารและการจัดการภายใน ไปด้วยจำนวนเงินไม่น้อยนั้นเพื่อเป็นการเตรียมการเพื่อสู่การขยายใหญ่อาณาจักรของเขาอย่างแน่นอน

"ตอนนั้นคิด แต่ตอนนี้ไม่คิดแล้ว หาเงินใช้หนี้อย่างเดียว" วิเทศ พูดกับ "ผู้จัดการ" สั้นๆเหมือนคนที่ยอมรับสถานะภาพของตัวเองอย่างคนเข้าใจโลก

ในวันนี้ถ้าถามวิเทศว่าช่วงไหนเป็นช่วงที่เขาสบายใจที่สุด เขาก็จะตอบว่าช่วงที่ทำโรงเลื่อยสบายที่สุด เพราะไม่ต้องวุ่นวายอะไรมากในขณะที่เขาทำงานกับผู้เป็นพ่อและพี่ชาย แต่ถ้าถามว่าช่วงไหนที่มีความสุขและภูมิใจมากที่สุดในชีวิตเขาก้จะตอบว่าช่วงที่ธุรกิจของเขาขยายตัวมากที่สุดคือระหว่างปี 2517 เป็นต้นมาจนถึงปี 2520 ซึ่งเป็นช่วงที่เขาทำธุรกิจอ้อยและน้ำตาลได้ครบวงจร ซึ่งมีทั้งโรงงานน้ำตาล บริษัทส่งออก คลังสินค้า และบริษัทเงินทุน

จากนั้นมาก็เป็นช่วงที่เขากำลังมองหาลู่ทางจะลงทุนในธุรกิจอื่นๆที่เขายังไม่เคยทำมาก่อน แต่เพียงโครงการแรกคือธุรกิจเหมืองแร่ก็ทำให้เขาแย่ไปซะแล้ว

มันคงไม่ใช่ความผิดที่เขาคิดจะทำเช่นนั้นเพียงแต่เขาพลาดไปเสียก่อนเท่านั้นเอง

"ผมบริหารเงินผิดพลาด" เขายอมรับอย่างหน้าชื่นกับความผิดพลาดที่ผ่านมา เพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้นก็จะทำให้เขาล้มทั้งยืน เพราะถ้าหากจะถามเขาว่าช่วงไหนที่เขาสลดหดหู่ที่สุด เขาก็จะตอบทันทีโดยไม่ต้องคิดว่าช่วงที่คำรณ เตชะไพบูลย์ หนีออกนอกประเทศโดยไม่บอกกล่าวสักคำ

มันเหมือนกับคนที่สายตาดีๆมองเห็นอะไรสว่างไสวไปหมด แต่กลับพลันมืดสนิทลงไปในพริบตาเดียว โดยไม่รู้สึกระคายเคืองมาก่อนเลย

แล้ววันนี้เขาก็กลับมามองเห็นอะไรลางๆอีกครั้งหนึ่ง คนที่ล้มแล้วกลับลุกขึ้นมาได้ใหม่นับว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด แต่สำหรับเขาก้าวสู่วัยเลย 70 แล้วเช่นนี้ มันก็สร้างความสงสัยแก่ผู้คนอยู่ไม่น้อยทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us