Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532
เถ้าแก่เลี้ยงผู้เริ่มบทแรกของเฮี่ยงเซ้ง             
โดย ขุนทอง ลอเสรีวานิช
 


   
search resources

ปัญจพลไฟเบอร์
เลี้ยง เตชะวิบูลย์
Pulp and Paper




นับย้อนหลังราวห้าสิบปีที่แล้ว กิมเลี้ยง แซ่แต้ ก็คงไม่นึกว่าโรงตอกไม้เล็กๆที่เขาได้ตั้งขึ้นมาจะขยายตัวกลายมาเป็นโรงกล่องกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

กิมเลี้ยง แซ่แต้ คือชื่อสกุลเดิมของเลี้ยง เดชะวิบูลย์ เขาเป็นคนจีนที่เกิดในหมู่บ้านเหมยฮัว อำเภอเตี้ยเอี๊ย จังหวัดกวางตุ้ง ที่ตามพ่ออพยพมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่อายุได้เพียง 7 ขวบเท่านั้น

หนึ่งปีต่อมา กิมเลี้ยงก็กลับไปเรียนหนังสือที่เมืองจีน และกลับมาไทยอีกครั้งนึงเมื่อตอนอายุ 12 ปี

ในวัย 12 ปีกิมเลี้ยงก็เริ่มต้นชีวิตการทำงานแล้ว เช่นเดียวกับลูกจีนทั้งหลายเมื่อ 60-70 ปีก่อน งานแรกของกิมเลี้ยงคือเป็นเด็กรับใช้ในบริษัทของชาวเดนมาร์กแห่งหนึ่ง มีหน้าที่ทำความสะอาด และงานอื่นจิปาถะตามแต่ผู้เป็นนายจ้างจะเรียกใช้

ความวิริยะอุตสาหะเฉกเช่นคนจีนทั้งหลายทำให้กิมเลี้ยงเปแนที่รักใคร่ของนายจ้าง เมื่อจะเดินทางกลับประเทศก็ได้เสนอให้กิมเลี้ยงไปด้วย เพื่อไปเรียนหนังสือที่เดนมาร์ก แต่คนที่มีดวงจะต้องลิขิตชะตาชีวิตของตัวเองด้วยตัวเองอย่างกิมเลี้ยงปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าไม่อยากจากบ้านไปอยู่แดนไกล

ก่อนที่ที่นายจ้างชาวเดนมาร์กจะเดินทางกลับประเทศได้ฝากฝังกิมเลี้ยงให้เข้าทำงานกับบริษัทไทยอินดัสตรี้จำกัด ไทยอินดัสตรี้นี้คือเลเวอร์ บราเธอร์ในปัจจุบันนั้นเอง ตอนนั้นสินค้าหลักของไทยอินดัสตรี้ คือสบู่กรดตราธงและสบู่ตราซันไลต์

งานที่ไทยอินดัสตรี้มอบหมายให้กับกิมเลี้ยงคือ เป็นเสมียนแผนกขายทำหน้าที่ส่งของและเก็บเงิน ด้วยเงินเดือนในขั้นเริ่มต้น 15 บาท กิมเลี้ยงทำงานที่ไทยอินดัสตรี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลาถึง 11 ปี จนเงินเดือนขึ้นไปถึง 30 บาทในปี พ.ศ.2482

"คนเรามีดวงที่จะรวยซะอย่าง เรื่องนี้เป็นเรื่องโชคชะตาของคน" คนเก่าคนแก่ที่เคยร่วมงานกับกิมเลี้ยงที่ไทยอินดัสตรี้พูดถึงเส้นทางชีวิตของเขาในระยะต่อมา

ไทยอินดัสตรี้ตอนนั้นใช้ลังไม้ใส่สบู่ให้กับลูกค้า โดยมีคนจีนคนหนึ่งชื่อลิม ตั้งโรงตอกลังไม้ขึ้นในบริษัทไทยอินดัสตรี้ส่งขายให้ กิจการของไทยอินดัสตรี้ขยายตัวจนความต้องการลังไม้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กิมเลี้ยงมองเห็นช่องทางก็เลยเกิดความคิดที่จะตั้งโรงตอกลังไม้ของตัวเองขึ้นมาบ้าง

"เฮี่ยงเซ้ง" คือชื่อโรงตอกลังไม้ขนาดเล็กที่กิมเลี้ยงลงทุนด้วยเงิน 200 บาทตั้งขึ้นมาที่ตรอกโรงหมู วัดสามจีนเมื่อพ.ศ. 2482 เพื่อส่งลังไม้ใส่สบู่ให้กับไทยอินดัสตรี้ มีคนงานประมาณ 10 คน ตัวกิมเลี้ยงนั้นยังคงทำงานที่ไทยอินดัสตรี้ต่อไป

จนอีกสองปีต่อมา เมื่อเฮี้ยงเซ้งเริ่มขยายขึ้น เขาจึงตัดสินใจลาออกเพื่อดำเนินกิจการของตัวเองอย่างเต็มที่ แต่(จัดการไทยอินดัสตรี้ตอนนั้นคือมิสเตอร์นิโคลสัน ยับยั้งให้อยู่ต่อไปเพราะกลัวว่า กิมเลี้ยงจะไปทำงานกับบริษัทอื่นที่เป็นคู่แข่ง

ข้อแลกเปลี่ยนที่นิโคลสันให้กับกิมเลี้ยงเพื่อดึงให้อยู่ต่อคือ ไทยอินดัสตรี้จะรับซื้อลังไม้จากเฮี่ยงเซ้งทั้งหมด รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินสำหรับการขยายกิจการของเฮี่ยงเซ้งให้ทันกกับความต้องการของไทยอินดัสตรี้

พ.ศ. 2485 เฮี่ยงเซ้งเริ่มใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการทำงานเป็นครั้งแรก จากเดิมที่ใช้แต่แรงงานล้วนๆ ในการทำลังไม้ก็เริ่มสั่งเครื่องเลื่อยไม้มาใช้ โดยนิโคสันออกเงินให้ก่อน ราคาเครื่องจักรสมัยนั้นประมาณ 1,000 บาท

สงครามโลกครั้งที่สองทำให้เฮี่ยงเซ้งต้องหยุดชะงักลง เมื่อไทยอินดัสตรี้ปิดกิจการลงเพราะภัยจากสงครามเมื่อการสู้รบยุติลง นิโคลสันเข้ามาเปิดไทยอินดัสตรี้อีกครั้งหนึ่ง เฮี่ยงเซ้งก็เริ่มธุรกิจของตัวเองต่อไป คราวนี้กิมเลี้ยงไม่ได้เป็นลูกจ้างของไทยอินดัสตรี้อีกต่อไป เขากลายเป็นเเถ้าแก่เฮี่ยงเซ้งนับตั้งแต่นั้นมา

แต่ความสัมพันธ์ที่มีกับนิโคลสันก็ยังมีเหมือนเดิม ไทยอินดัสตรี้ยังคงใช้ลังไม้จากเฮี่ยงเซ้งแต่เพียงผู้เดียว และยังมีคำสั่งขอให้มีตัวแทนจำหน่ายทั้งหมดส่งลังไม้ใส่สบู่กลับมาให้เฮี่ยงเซ้งซ่อมแซมใหม่ แล้วขายให้กับไทยอินดัสตรี้อีกครั้งหนึ่ง

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กล่องกระดาษเริ่มเข้ามาในประเทศไทย นิโคลสันเองก็ต้องให้เฮี่ยงเซ้งหันไปผลิตกล่องกระดาษแทนลังไม้เหราะว่ามีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการขนส่ง และเป็นการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับสินค้าซึ่งวเริ่มมีสินค้าใหม่ๆ ที่มีราคาแพงเพิ่มขึ้นเช่นสบู่หอมลักส์เป็นต้น

กิมเลี้ยงไม่เห็นด้วย เพราะว่ายังไม่กล้าเสี่ยงกับของใหม่ๆ อย่างเช่นการผลิตกล่องกระดาษ เขาเห็นว่าลังไม้ยังใช้ได้อยู่ ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ตอนนั้นลูกชายคนโตของกิมเลี้ยงคือ คิมตั๊กหรือสุทัศน์ ยังเรียนหนังสือชั้นมัธยมอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แต่ก็ได้ช่วยเหลือกิจการของเฮี่ยงเซ้งบ้างแล้ว นิโคลสันเมื่อผลักดันทางพ่อให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ก็หันเข้าหาทางลูกให้ไปโน้มน้าวพ่อให้เปลี่ยนใจ

นิโคลสันพาสุทัศน์ไปดูกิจกรรมที่ผลิตกล่องกระดาษเพื่อให้เกิด ความมั่นใจว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำการผลิตกล่องในสมัยนั้นแม้จะเริ่มใช้เครื่องจักรแต่ก็ยังเป็นเครื่องที่ทำงานด้วยกำลังคนร้อยเปอร์เซนต์ โรงกล่องที่มีมาก่อนเฮี่ยงเซ้งนั้นมีอยู่สองรายคือ สิงห์ทอง ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูล "สุรพงษ์ชัย" ที่ในภายหลังขายหุ้นให้กับกลุ่มไทยกล้าส ก่อนที่กลุ่มปูนซีเมนต์ไทยจะเข้าไปซื้อหุ้น เมื่อ พ.ศ.2514 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสยามรุ่งบรรจุภัณฑ์

อีกรายหนึ่งคือ บริษัทโรงกล่องกระดาษไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตกล่องเบียร์ส่งให้กับบุญรอดบริเวอรี่มาตั้งแต่แรกและเปลี่ยนชื่อเป็นสยามผลิตภัณฑ์กระดาษ

การได้ไปเห็นการผลิตกล่องกระดาษด้วยตัวเองทำให้สุทัศน์มีความมั่นใจและนิยมชมชอบกับการทำกล่องกระดาษ เขาจึงเป็นอีกแรงหนึ่งที่เสนอให้พ่อเปลี่ยนไปทำกล่องกระดาษแทนลังตอกไม้ เมื่อถูกรบเร้าจากทั้งนิโคลสันและลูกชาย กิมเลี้ยงจึงเปลี่ยนใจยอมตามความต้องการ โดยตั้งเงื่อนไขกับนิโคลสันสามข้อคือ

หนึ่ง ไทยอินดัสตรี้ต้องให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน สอง ต้องให้ความช่วยเหลือในเรื่องเทคนิคการผลิตรวมทั้งการจัดซื้อเครือ่งจักร และ สาม ไทยอินดัสตรี้ ต้องรับซื้อกล่องกระดาษของเฮี่ยงเซ้งทั้งหมด

นิโคลสันติดต่อกับไปที่ลอนดอนเพื่อขออนุมัติจากทางสำนักงานใหญ่ ซึ่งก็ได้รับอนุญาต เครื่องผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกเครื่องแรกของเฮี่ยงเซ้งจึงถูกสั่งเข้ามาติดตั้งในโรงงานใหม่ที่ถนนเชื้อเพลิง คลองเตย ในชื่อของห้างหุ้นส่วนโรงงานกล่องเฮี่ยงเซ้ง จำกัด รายชื่อผู้ก่อตั้งเริ่มจากกิมเลี้ยงและสุทัศน์แล้ว อีกคนหนึ่งคือ "ยี่เสี่ย" สุธีลูกชายยยคนที่สองของกิมเลี้ยงร่วมอยู่ด้วย

คนสำคัญที่มีส่วนอย่างมากในการก่อตั้งโรงงานกล่องเฮี่ยงเซ้งคือ อุเทน เตชะไพบูลย์ ซึ่งเป็นคนแซ่แต้ที่มาจากอำเภอเตี้ยเอี้ยเช่นเดียวกัน ในฐานะของคนแซ่เดียวกันจึงนับถือกันเหมือนญาตพี่น้องในแบบที่คนจีนเรียกกันว่า "กากี่นั้ง"

ในตอนนั้นอุเทนเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารศรีนคร และให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินทุนหมุนเวียนกับเฮี่ยงเซ้ง จนเป้นแรงผลักดันให้กิมเลี้ยงตัดสินใจตั้งโรงกล่องกระดาษนอกเหนือไปจากยอมรับเงื่อนไขของนิโคสันแล้ว และธนานคารศรีนครก็เป็นแหล่งสนับสนุนทางการเงินให้กับเฮี่ยงเซ้งตราบจนทุกวันนี้

เฮี่ยงเซ้งในยุคที่หันมาทำกล่องกระดาษจึงเริ่มต้นขึ้นอย่างมั่นคงแน่นหนาทั้งในด้านการเงินที่มีศรีนครเป็นฐาน ในเรื่องการผลิตที่ไทยอินดัสตรี้ ให้ความช่วยเหลืออยู่ และในเรื่องตลลาดที่มีไทยอินดัสตรี้เป็นหลักประกันแน่นอน

การตกปากรับคำของนิโคลสันนั้นในด้านหนหึ่งเป็นเรื่องของความชอบพอในนิสัย ความมานะของกิมเลี้ยงจนเกิดแรงจูงใจให้สนับสนุนให้เกิดขึ้นมาของเฮี่ยงเซ้ง แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นความจำเป็นของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอย่างไทยอินดัสตรี้ ที่ต้องมีธุรกิจบรรจุภัณฑ์อย่างเฮี่ยงเซ้งเข้ามารองรับสินค้าของตนที่จะนำสู่ตลาด

การสนับสนุนทที่นิโคลสันมีต่อเฮี่ยงเซ้งจึงเป็นทั้งเรื่องของน้ำใจและการพึ่งพากันในทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในเงื่อนไขทางธุรกิจ

บทบาทสำคัญของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อย่างเช่นเฮี่ยงเซ้งที่มีต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อื่นเช่นไทยอินดัสตรี้ในปี พ.ศ. 2502 นั้นยิ่งทวีความสำคัญขึ้นเมื่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายตัว การตั้งโรงตอกลังไม้ การตั้งโรงกล่องกระดาษของกิมเลี้ยง จึงเป็นทางเลือกที่ถูกต้องที่สุดในการเข้ามาสู่อุตสาหกรรมเช่นนี้

จะโดยความตั้งใจหรือเป็นความบังเอิญของโชคชะตาก็ตามแต่ การเลือกในครั้งนี้นั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากต่อความใกญ่ของเฮี่ยงเซ้งในปัจจุบัน

กิมเลี้ยงหรือเถ้าแก่เลี้ยงที่หลายๆคนอาจจะเรียกเสียใหม่ว่าเจ้าสัวเลี้ยงในวันนี้ที่มีอายุ 76 ปี ถึงจะอยู่ในตำแหน่งประธานบริษัทปัญจพลไฟเบอร์คอนเทนเนอร์ แต่ก็วางมือบริหารงานมาหลายปีแล้ว เหลือไว้แต่หน้าที่การให้คำแนะนำปรึกษาและเป็นหลักในการประสานความเข้าใจของลูกๆทั้งห้าคน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us