Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 ธันวาคม 2551
ขอ.แพ้คดีเสี่ยงภัยนกแอร์             
 


   
www resources

โฮมเพจ สายการบินนกแอร์

   
search resources

สกาย เอเชีย, บจก. - สายการบินนกแอร์
Law
Low Cost Airline




เปิดฉากคดีแรก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความผู้บริโภค ศาลแพ่งพิพากษา “กรมการขนส่งทางอากาศ ” จ่าย 5 หมื่นบาทชดใช้ “เจิมศักดิ์” ค่าความหวาดกลัวต่อการเสี่ยงภัย หลังใช้สิทธิยื่นฟ้องที่สนามบินนครศรีธรรมราชบกพร่องไม่ตั้งเครื่องตรวจค้นวัตถุระเบิดและโลหะผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่อง ส่วน “นกแอร์” ให้ยกฟ้องไม่ต้องร่วมรับผิด ชี้มีหน้าที่แค่เตรียมเครื่องบินให้บริการ

วันนี้ (17 ธ.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 416 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดี หมายเลขดำ ผบ.1/2551 ที่นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว.เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด และกรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการสนามบินนครศรีธรรมราช จำเลยที่ 1-2 เรื่องละเมิด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความผู้บริโภค พ.ศ.2551 กรณีที่ไม่ได้จัดให้มีเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและโลหะหนัก เพื่อตรวจค้นตัวผู้โดยสารที่จะขึ้นเครื่องสนามบินจังหวัดนครศรีธรรมราช ในเที่ยวบินสายการบินนกแอร์ ที่ DD 7811 วันที่ 16 ส.ค.51 ซึ่งโจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ใช้บริการดังกล่าวเดินทางจากจังหวัดนครศรีธรรมราช มายังกรุงเทพฯ โดยเมื่อโจทก์สอบถามเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอยืมเครื่องตรวจวัตถุระเบิดไป และยังไม่ได้นำมาคืนในวันดังกล่าว โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองจัดให้มีการตรวจจับวัตถุระเบิดและโลหะกับผู้โดยสารทุกคนอย่างเคร่งครัดในทุกๆ สนามบิน หากขาดเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิดและโลหะจะต้องยุติการให้บริการจนกว่ามาตรการความปลอดภัย และเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิดและโลหะจะทำงานอย่างครบถ้วน และขอให้จำเลยทั้งสอง ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ต่อความเสี่ยงภัยที่จะต้องได้รับอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย โดยคำนวณเป็นค่าขาดรายได้โจทก์ จำนวน 4.5 ล้านบาท และค่าที่ภรรยาโจทก์จะต้องขาดไร้อุปการะ 1 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 5.5 ล้านบาท

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่ 2 ฝ่ายนำสืบแล้ว ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เนื่องจากเห็นว่าตามกฎหมายให้จำเลยที่ 2 ซึ่งต้องดูแลสนามบินในฐานะหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการให้บริการท่าอากาศยาน เป็นผู้ดูแลและจัดเตรียมความพร้อมต่อการรักษาความปลอดภัยสนามบิน ซึ่งถือเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ ขณะที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเอกชนผู้ให้บริการสายการบิน มีหน้าที่ดูแลให้ความสะดวกต่อผู้ใช้บริการในการบินโดยมีหน้าที่ต้องเตรียมเครื่องบินให้พร้อมบริการเท่านั้น ดังนั้นจึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ ที่ต้องเกิดความวิตกกังวลว่าจะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย เป็นเงิน 50,000 บาท ที่บกพร่องไม่นำเครื่องตรวจวัตถุระเบิดฯ มาติดทันทีเมื่อได้รับคืนจาก ม.วลัยลักษณ์ ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบว่า หลังจากมหาวิทยาลัยยืมเครื่องตรวจวัตถุระเบิดไปใช้ดูแลความปลอดภัยในงานวันรับปริญญาบัตรแล้วได้ส่งคืนเมื่อวันที่ 15 ส.ค.51 แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยังทิ้งเวลาไว้อีกจึงนำเครื่องมาติดตั้งในวันที่ 17 ส.ค.51 ส่วนคำขอที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดให้มีการตรวจจับวัตถุระเบิดและโลหะกับผู้โดยสารทุกคนอย่างเคร่งครัดในทุกๆสนามบิน นั้น เมื่อศาลวินิจฉัยแล้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ดำเนินการ ขณะที่ทางนำสืบไม่ปรากฏว่าสนามบินแห่งอื่นได้พบข้อบกพร่องเช่นเดียวกันนี้ จึงมีให้ยกคำขอดังกล่าว

ภายหลัง นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า รู้สึกพอใจต่อผลคำพิพากษาที่จะเป็นบรรทัดฐานให้สนามบินต้องดูแลเข้มงวดเรื่องการดูแลความปลอดภัยเพื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ อย่างไรก็ดี ตนยังติดใจกรณีของสายการบินนกแอร์ที่เห็นว่าควรต้องร่วมรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการสายการบินในฐานะผู้บริโภคที่จ่ายค่าตั๋วให้บริษัท นกแอร์ฯ แล้ว บริษัทได้นำเงินส่วนหนึ่งจ่ายให้กรมการขนส่งที่ใช้บริการสนามบินด้วย ซึ่งในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาที่ตนเคยใช้บริการ พบว่า นอกจากสนามบินจะต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยแล้ว สายการบินเองยังมีจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยตรวจผู้โดยสารก่อนจะขึ้นเครื่องด้วย ดังนั้น ตนจะพิจารณาและหารือกับมูลนิธิผู้บริโภคว่าควรจะอุทธรณ์ในประเด็นที่ต้องการให้สายการบินนกแอร์ ร่วมรับผิดชอบในการจัดอุปกรณ์ตรวจวัตถุระเบิดเพื่อดูแลความปลอดภัยผู้ใช้บริการหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นบรรทัดฐานสำหรับสายการบินต่างๆ ด้วย โดยการยื่นฟ้องไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินค่าเสียหาย แต่ตนต้องการให้ทั้งสายการบิน และสนามบินดูแลเรื่องความปลอดภัย

นายเจิมศักดิ์ ยังกล่าวถึงการยื่นฟ้องคดีของผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความผู้บริโภค ด้วยว่า เมื่อผู้บริโภคมีช่องทางตามกฎหมายที่จะรักษาสิทธิแล้ว ก็น่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย โดยกฎหมายนี้ในการยื่นฟ้องผู้บริโภค ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และการพิจารณาคดีใช้เวลาไม่นาน ตัวอย่างคดีของตนศาลใช้เวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ขณะที่เมื่อฟ้องคดีแล้วจะเป็นภาระของฝ่ายผู้ประกอบการที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐาน โดยการนำสืบนั้นศาลยังสามารถที่จะเรียกพยานมาไต่สวนได้เองด้วย ดังนั้น กฎหมายนี้จึงสร้างความสะดวกและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างยิ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้นายเจิมศักดิ์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นคดีแรกที่ยื่นฟ้องตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความผู้บริโภค พ.ศ.2551 หลังจากกฎหมายฉบับนี้ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 ส.ค.51 โดยการฟังคำพิพากษาวันนี้ฝ่ายบริษัท นกแอร์ฯ และกรมการขนส่งทางอากาศ ได้มอบอำนาจให้ตัวแทนเดินทางมาศาล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us