|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กบข. รับสภาพผลตอบแทนทั้งปีเป็นลบ หลังหุ้นทั้วโลกรวมถึงไทยผันผวนหนัก ฉุดเงินลงทุนสูญ ประเมินผลตอบแทนทั้งปีนี้ ได้เห็นติดลบ 6-7% เดินหน้าปรับกลยุทธ์การลงทุนปีหน้า เน้นกระจายความเสี่ยง ลงทุนพันธบัตรระยะสั้นและ Private Equity พร้อมรอลุ้นราคาหุ้นดีดตัวก่อนภาวะเศรษฐกิจโลกจะฟื้น ช่วยพลิกผลตอบแทนเป็นบวก
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยถึงผลตอบแทนตลอดปี 2551นี้ อาจติดลบที่ร้อยละ 6-7 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดลบจากการลงทุนในตลาดหุ้นที่มีการปรับลดมูลค่าลงมาก จากวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลกตกต่ำ โดยวิกฤติดังกล่าวได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยลดลงจากต้นปีถึงร้อยละ 50-55 ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศลดลงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30-35 ทั้งนี้ผลตอบแทนการลงทุนของ กบข. ย้อนหลัง 12 เดือน ( ตุลาคม 2550 – กันยายน 2551) ติดลบร้อยละ 4.45
อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าเชื่อว่าอัตราผลตอบแทนของ กบข. จะพลิกกลายเป็นบวกได้ จากราคาหุ้นที่ดีดตัวก่อนภาวะเศรษฐกิจโลกจะฟื้น ขณะเดียวกันมองว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้ย่ำแย่เมื่อเทียบกับวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของประเทศปีหน้าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.0-2.0
ทั้งนี้ กบข.กำลังอยู่ระหว่างการทบทวนสัดส่วนการลงทุนใหม่ ซึ่งจะมีความสอดคล้องกับโครงสร้างตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป และเน้นการกระจายความเสี่ยงมากขึ้นผ่านการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น และการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกต่างๆ เช่น กองทุน Private Equity ที่ลงทุนในหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่เป็นอาคารเช่าและอพาร์ทเมนท์ที่มีการทำสัญญาระยะยาว โดยเฉพาะอาคารสำนักงานที่เป็นพื้นที่ให้เช่าซึ่งให้ผลตอบแทนอยู่ที่ร้อยละ 6-8 มาโดยตลอด
นายวิสิฐกล่าวเพิ่มเติมว่า โดยปกติกองทุนเงินออมระยะยาวนั้น สมาชิกควรดูผลตอบแทนเป็นแบบพิจารณาย้อนหลัง 3 ปี 5 ปี ซึ่งไม่ควรดูเป็นรายปี เพราะต้องยอมรับว่าในปีนี้เป็นปีที่ไม่ปกติ ขณะที่ในช่วงที่ผ่านมา สมาชิก กบข. ได้รับผลตอบแทนสะสม โดยหากเป็นสมาชิก กบข. ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุนช่วงปี 2540-2550 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ร้อยละ 8.24 ขณะที่ผลตอบแทนสุทธิย้อนหลัง 3 ปี ( ปี2548-2550 ) อยู่ที่ร้อยละ 6.47 และย้อนหลัง 5 ปี ( ปี 2546-2550 ) อยู่ที่ร้อยละ 6.61
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กบข. ระบุว่า ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นกับตลาดเงินโลกจากวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพเมื่อปลายปี 2550 ทำให้กลยุทธ์การลงทุนและการบริหารความเสี่ยงของ กบข. ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวในปีหน้า จำเป็นต้องระมัดระวังการลงทุนในต่างประเทศ และทบทวนกลยุทธ์การลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยยึดแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นหลัก โดยในช่วงวิกฤตินี้จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) การหลีกเลี่ยงสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง และให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนคงที่เป็นหลัก
"ในปีหน้าการบริหารความเสี่ยงการลงทุน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะวิกฤติภาคการเงินและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตทั้งของตัวบริษัทที่เราจะเข้าไปลงทุน และเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้จะมีมากขึ้น ทำให้เราจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ และติดตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่เป็นระบบ มีคู่มือบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่มีการทบทวนเป็นประจำ” นายวิสิฐกล่าว
ทั้งนี้ กบข. ยังได้ชะลอการนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติมในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ กบข. จะได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ขยายเพดานการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อรับมือกับภาวะการปรับตัวลงแรงของตลาดหุ้นทั่วโลก จากการที่มีเงินทุนไหลออกจากตลาดทุนของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ โดยปัจจุบัน กบข. ได้หันมาลงทุนในตราสารหนี้และถือเงินสดเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีอีกมิติหนึ่งของการควบคุมความเสี่ยงในการสร้างผลตอบแทนในช่วงที่ราคาสินทรัพย์มีความผันผวนมากกว่าปกติเช่นในปัจจุบัน โดย กบข. ได้เน้นการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคงที่ เช่น การลงทุนในตลาดตราสารหนี้รัฐบาลหรือการลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี เพื่อหวังผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลมากกว่าผลตอบแทนจากการเคลื่อนไหวของราคาการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากตลาดเงินและตลาดทุน ที่สามารถสร้างรายได้อย่างแน่นอนจะกลายเป็นแหล่งการลงทุนทางเลือกที่ดี ได้แก่ การลงทุนในส่วนอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค เป็นต้น
|
|
|
|
|