Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532
ตลาดวาณิชธนกิจไทยเริ่มน่าสนใจ แต่ …..             
 

   
related stories

ข้อมูลบุลคล ธีระ วรรณเมธี

   
search resources

ธีระ วรรณเมธี
Consultants and Professional Services




ตลาดวาณิชธนกิจหรือที่คนอเมริกาเรียก INVESTMENT BANK ส่วนคนอังกฤษเรียก MERCHANT BANK นั้น เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในประเทศไทย ตลาดนี้มีหลายประเภท เช่นการออกหุ้นใหม่ การนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ฯ การให้คำปรึกษาทางการเงินการควบหรือซื้อกิจการ รวมไปถึงกลไกทางด้านหนี้สินและการร่วมกันจัดหาเงินกูสำหรับโครงการใหญ่ ๆ

ในเรื่องการออกหุ้นใหม่นั้น ผมเห็นว่าตลาดนี้นั้นค่อนข้างเจริญพอสมควรมีคนทำการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นเป็นจำนวนมาก แต่ที่จริงการจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นที่ทำกันในประเทศไทย และยังมีเทคนิคและวิธีการเสนอขายที่ไม่ซับซ้อนเท่าใดนักเมื่อเทียบกับตลาดที่มีความซับซ้อนอย่างในลอดดอน เช่นเรื่องการเสนอขายต่อบุลคลทั่วไปหรือที่เรรียกว่า PUBLIC OFFERING นั้นในเมืองไทยยังไม่ได้เสนอขายต่อบุลคลทั่วไปอย่างแท้จริง คือต้องมีการลงประกาศและตีพิมพ์ใบแจ้งชื่อ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสซื้อ อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้เรายังไม่มีกฎระเบียบอะไรอย่างแน่ชัดที่จะบอกว่าการทำ PUBLIC OFFERING ควรจะทำการอย่างไร ต่างจากการทำ PRIVATE PLACEMENT อย่างไร

ส่วนในด้านของการให้คำปรึกษาทางการเงินก็เริ่มมามากขึ้น ผมคิดว่าที่เมืองไทยมีลักษณะหนึ่งที่เหมือนกับตลาดอื่นในเอเชียคือบริษัทจำนวนมากเป็นกิจการในครอบครัว หุ้นส่วนข้างมากจะถือไว้ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ซึ่งพวกเขามักจะไม่ชอบจะให้ใครมารู้อะไรมากนักอันนี้ก็เป็นอุปสรรค์ต่อการทำธุรกิจ ให้คำปรึกษาทางการเงิน ซึ่งไม่ใช่แต่เมืองไทยเท่านั้น ที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ก็มี

นอกจากนี้ บรรดานักธุรกิจที่ต้องการปรึกษาทางการเงินมักจะไม่ชอบให้คิดค่าบริการ แต่มักจะให้เราหากำไรเอาจากการรับจำหน่ายและประกันการจำหน่ายหุ้น ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกันทั้งนี้การให้คำปรึกษาเตรียมบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้นเป็นหน้าที่หนึ่งซึ่งต่างจากการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น ซึ่งหน้าที่อย่างหลังนี้มีเรื่องปัจจัยการเสี่ยงต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยธุรกิจให้คำปรึกษาทางการเงิน อีกแบบหนึ่งที่เริ่มพัฒนาขึ้นมาบ้างแล้ว คือ เวนเจอร์ แคปิตอล หมายถึงบริษัทเล็ก ๆ ที่เริ่มโตขึ้นแต่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ และไม่สามารถเข้าตลาด ฯ ได้ภายใน 2-3 ปีถัดมา แต่บริษัทเหล่าจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพื่อการขายกิจการ พวกเขาอาจไม่มีเครดิตมากพอที่จะกูจากเแบงก์ หรือแบงก์อาจจะมองว่าเสี่ยงเกินไปที่จะปล่อยให้กู้ เวนเจอร์ แคปิตอล สามารถให้คำปรึกษา และหาแหล่งเงินกู้ที่ยินดีจะลงทุนเสี่ยงร่วมกับพวกเขาได้ แต่เขาจะต้องเปิดเผยข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นแผนการตลาด การผลิต การจัดจำหน่าย

ปัญหาเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเป็นอุปสรรคสำคัญในเรื่องการทำธุรกิจการให้คำปรึกษาทางการเงินดำเนินไปไม่ราบรื่น นักลงทุนที่สนใจจะร่วมทุนด้วยนั้นจำเป็นที่จะต้องรู้ข้อมูลอย่างละเอียดเพราะเขาต้องลงทุนในอัตราเสี่ยงที่สูงมาก เขาจึงควรจะรู้ทุกอย่าง ขนาดที่วัฒนธรรมการบริการธุรกิจแบบครอบครัวทำให้ผู้บริหารไม่ยอมรับให้คนนอกเข้ามารู้เรื่องอะไร ๆ ที่เป็นเรื่องภายใน อย่างไรก็ดี ลักษณะเช่นนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้วเพราะตอนนี้ เริ่มมีนตักบริหารในเจเนอเรชั่นที่ 3 เข้ามาบ้างแล้ว คนรุ่นนี้เริ่มสนใจที่จะหานักบริหารมืออาชีพเข้ามาร่วมงานด้วย ดังนั้นแนวโน้มในระยะยาวเมื่ออุปสรรคเหล่านี้หมดไปการดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษาทางการเงินคงจะมีอนาคตสดใสแน่

ในเรื่องของธุรกิจการควบหรือซื้อกิจการนั้น ความคิดที่จะใช้วิธีการนี้ยังไม่แพร่หลายนัก อย่างไรก็ดีตลาดด้านนี้กำลังที่จะพัฒนา ซึ่งในระยะนี้ยังมีช่องว่าให้คนทำอีกมาก ส่วนเรื่อง DEBT INSTRUMENT เช่น การทำ SWAPS ผมคิดว่าที่นี้มีนร้อยเพราะว่าคนไม่ค่อยสนใสใจเล่น พวกที่ทำกันจริง ๆ คือพวกแบงก์ทำกันเอง การที่จะพัฒนาด้านตลาดได้นั้นต้องมี INSURANCE FUND ที่จำเป็นต้องลงทุนในตลาดพันธบัตร ทั้งกองทุนเหล่านี้เริ่มลงทุนเขาก็มีเทคนิคการป้องกันความเสี่ยงของเขาเอง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้แหละที่จะพัฒนาตลาดให้มีความซับซ้อนมากขึ้น

การที่จะพัฒนาธุรกิจ MERCHANT BANK ให้ก้าวหน้าได้นั้น กิจการอย่างหนึ่งที่ควรอนุญาตให้ทำคือ การนำเงินเข้าและออกประเทศได้โดยไม่ต้องติดขัดกฎระเบียบที่ยุ่งยากยากซับซ้อนเกินความจำเป็น แต่ที่เมืองไทยมีการควบคุมเงินตราต่างประเทศ และอนุญาตเพียงนำเงินเข้ามาในประเทศเท่านั้น ธุรกิจของ MERCHANT BANK จริง ๆ แล้วพอมีลักษณะที่เป็น INTERNATIONALIZATION มันทำให้ธุรกิจนี้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดเลยทีเดียว

สำหรับเรื่อง SYNDICATED LOAN ในสมัยก่อนก็นับว่าเกี่ยวข้องกับ MERCHANT BANK ด้วย แต่สมัยก่อนนั้นไม่ค่อยที่จะมีความเสี่ยงอะไรมากพวกธนาคารพาณิชย์ก็เลยมองว่าทำไมต้องให้พวก MERCHANT BANK ทำแล้วเรียกเก็บค่าบริการโดยไม่ได้มีความเสี่ยงอะไรเลย แต่เป็นการจับคู่ผู้กู้และผู้ให้กู้ธรรมดา ๆ ซึ่งไม่ได้ให้ VALUEADDED อะไร

ทั้งนี้การที่ MERCHANT BANK จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำ SYNDICATED LOAN ได้นั้นจะต้องมี VALUE ADDED ให้ด้วยเช่นอาจจะทำเป็น PACKAGE ให้ลูกค้าเลยคือให้คำแนะนำในเรื่องของ DEBT และ EQUITY ให้ ซื้อตัว EQUITY นี่จริง ๆ และมันให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ามาก ในโครงสร้างของ SYNDICATED LOAN ที่เราทำให้แต่ละอันนั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น และก็มี VALUE ADDED อยู่ในนั้น

อะไรที่มี VALUE ADDED นี้เราสามารถเรียกค่าบริการที่สูงมากขึ้นได้ แต่อะไรที่มันเป็นเรื่องสามัญหรือง่าย ๆ ไม่ค่อยมี VALUE ADDED ที่เราเรียกค่าบริการไม่ได้ MERCHANT BANK ควรจะพัฒนาไปสู่ HIGHER VALUE ADDED PRODUCT

ผมคิดว่า VALUE ADDED เป็นเรื่องจำเป็นในธุรกิจ MERCHANT BANK ตัว VALUE ADDED ที่มี2 อย่างคือ ) เราบอกลูกค้าว่าเขาได้ VALUE ADDED ซึ่งมันเหมือนกับได้ แต่มันไม่ได้จริงๆ อันนี้มันเกี่ยวกับการตลาดที่ทุกคนต้องหาธุรกิจเข้าทำกัน 2 ) เราให้ VALUE ADDED จริง ๆ เช่น บริษัทหนึ่งมาบอกว่าเขาอยากทำอย่างนี้ นี่เป็นความคิดของเขา เรามีความเห็นอย่างไรบ้าง ถ้าเผื่อเราเห็นว่านี้เป็นยุทธศาสตร์ที่งี่เง่ามาก ไม่น่าทำเลยบริษัทจะต้องพังถ้าทำอย่างนั้น ในความเห็นของผม VALUE ADDED ในกรณีนี้คือ จากฐานข้อมูลกการวิจัยทั้งหลายที่เราค้นคว้ามา บริษัทไม่ควรจะทำอย่างนี้ผมต้องบอกเขา นี้ซี่ที่ผมเรียกว่าเป็น REAL VALUE ADDED เพราะเราช่วยให้ลูกค้าทำสิ่งที่ดีกว่าที่เขาจะคิดทำได้ หรือหากเขาจะทำสิ่งที่ผิดแล้วเราสามารถดึงเขาออกมาได้นี้คือการให้ VALUE ADDED ในธุรกิจ MERCHANT BANK อย่างแท้จริง ซึ่งในเมืองไทยยังทำกันน้อยมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us