Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532
เชียรช่วง กัลยาณมิตร "วันนี้เขาเป็น VENTURE CAPITALIST แล้ว"             
 


   
search resources

เชียรช่วง กัลยาณมิตร
Electronic Components




เชียรช่วงเป็นคนไทยอีกคนหนึ่งที่เคยมีประสบการณ์อันยาวนานในการศึกษาและทำงานในสหรัฐอเมริกา แล้วหวนกลับมาบ้านเกิดเมืองนอนในฐานะมันสมองคนหนึ่งของธุรกิจเอกชนไทย เขาจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยพอร์ตแลนด์โอเรกอน ในสาขาวิศวกรรมวางระบบและบริหารงานผลิต ก่อนที่จะเข้าไปทำงานในฐานะวิศวกรรมผู้วางระบบการผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ย่านซิลิคอนแวลเล่ย์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ

สมัยอยู่สหรัฐฯ เขาภาคภูมิใจในงานออกแบบ CAD/CAM ให้กับบริษัท OMARK ที่โอเรกอนมาก เพราะถือว่าผลงานนี้เป็นจุดเปลี่ยนฐานะอาชีพให้คนอเมริกันยอมรับในความสามารถของคนไทย ซึ่งมีผลดันให้เขาขึ้นสู่ตำแหน่งสูงขึ้นเป็น PROJECT ENGINEER / TASK MANAGER ในบริษัท GTE SYLVANIA ที่ยิ่งใหญ่ในแคลิฟอร์เนีย

ความเป็นมืออาชีพในฐานะนักวางระบบและออกแบบงานผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังเติบโตอย่างขีดสุดในสหรัฐฯ ทำให้เขาหมุนเวียนเปลี่ยนแหล่งทำงานในหลายบริษัทแถบแคลิฟอร์เนียจาก GTE เขาไปทำที่บริษัท VARIAN ที่พาร์โล อัลโต ในฐานะ PROGRAM MANAGER ผู้วางระบบและประยุกต์งานผลิต AUTOMATED MANUFACTURING

ในปี 1987 เขาก็ตัดสินใจร่วมเป็นหุ้นส่วนกับนักธุรกิจอเมริกันในบริษัท CIMATION / THOR ที่ซาน ลีอัลโด ในตำแหน่ง PRESIDENT แต่ก็อยู่ได้เพียงปีเดียวก็ออกไปหุ้นส่วนกับ US PACIFIC RIM CORP. ที่แฟร์ม็องต์ ผลิตสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ แต่หุ้นส่วนแตกคอกัน ทำให้การเป็นหุ้นส่วนกับอเมริกันมีระยะเวลาสั้น ๆ มาก

เชียรช่วงกลับเมืองไทยเมื่อปีที่แล้ว เหตุผลไม่ใช่เพราะล้มเหลวในหุ้นส่วน หากเพราะเขาต้องการให้อุตสาหกรรมผลิตอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นในเมืองไทยเหมือนเช่นที่เป็นมาแล้วในฮ่องกงและไต้หวัน "ฮ่องกงและไต้หวันมีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่โตมาก กระบวนการผลิตของมันสามารถกระจายแหล่งผลิตไปยังครัวเรือนต่าง ๆ ได้มากมาย เฉพาะที่ไต้หวันมีแหล่งผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เกือบ 2,500 บริษัท สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มันเข้าไปเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ในยุคสมัยใหม่นี้ทุกอย่าง และที่สำคัญกว่านั้น สามารถส่งออกไปยังตลดาใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐฯ และยุโรป ทำเงินตราเข้าประเทศมากมายมหาศาล" เขาแสดงคุณค่าของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่กลั่นออกมาจากประสบการณ์อันยาวนานแล้วให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

เขาไม่ต้องการเป็นลูกจ้างใครในเมืองไทย หากต้องการเป็น VENTURE CAPITALIST กับนักอุตสาหกรรมคนไหนก็ได้ที่เข้าใจปรัชญาและอุดมการณ์ของเขา บริษัท PEMCO ก่อตั้งขึ้นเมื่อกลางปีนตี้ร่วมหุ้นระหว่างเขากับทอมมี่ ยังส์ นักธุรกิจสัญชาติฮ่องกงที่เข้ามาทำธุรกิจ TRADING ในเมืองไทยเป็นเวลา 19 ปีแล้ว ในนามบริษัท THAI TRADE CENTER ทอมมี่มีพี่ชายและเพื่อนนักธุรกิจอยู่ที่ฮ่องกงมีสายสัมพันธ์กับผู้นำธุรกิจฮ่องกงที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น โรเบิร์ต ลี (ROBERT LI) ประธานสมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ฮ่องกง

"เป้าหมายตลาดของ PEMCO อยู่ที่ดึงนักอุตสาหกรรมฮ่องกงเข้ามาลงทุนร่วมกับนักอุตสาหกรรมไทย โดยมีผลเป็นตัวเชื่อมและ PEMCO เป็นหุ้นส่วนจำนวนหนึ่ง" เชียรช่วงพูดถึงเป้าหมายตลาดของบริษัท PEMCO ให้ฟัง

เชียรช่วงและทอมมี่ทราบดีว่า กลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำของฮ่องกงที่เขามีเส้นสายติดต่ออยู่กำลังเตรียมแหล่งลงทุนใหม่นอกฮ่องกง ซึ่งกำลังจะตกเป็นของจีนในปี 1997 เขาจึงไม่รีรอปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

แต่ปัญหามีอยู่ว่า จะเอาอุตสาหกรรมอะไรเข้ามาลงทุนในไทย และจะเอาพื้นที่อุตสาหกรรมที่ใดเป็นแหล่งตั้งโรงงาน ?

จนกระทั่งเขาได้พบและมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในบ้านเรากับสงครามชีวประวัติ ดำรง นักอุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งบริษัท จงสถิตย์ ปัญหาที่มีอยู่ในเรื่องสถานที่ก็แก้ตกไปได้ เมื่อสงครามมีที่ดินขนาดใหญ่ 600 ไร่อยู่ที่บางบอน เขตบางขุนเทียน ฝั่งธนบุรี

จุดนี้คือที่มาของโครงการเมืองอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในสวนอุตสาหกรรมจงสถิตย์ ที่เชียรช่วงและสงครามได้เปิดการแถลงข่าวไปแล้วเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนนี้เอง

เมืองอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นความฝันของเชียรช่วงมานานแล้ว เหตุผลหนึ่งเขาเป็นนักวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ระดับมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในอาชีพนี้มานาน สอง - เขามีข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะไต้หวันและฮ่องกงที่ใช้สิทธิ GSP ของสหรัฐฯ ส่งเข้าไปขายในตลาดสหรัฐฯ ปีละหลายพันล้านดอลลาร์ โดยที่ประเทศไทยโดยคนไทยเองกลับใช้สิทธิอุตสาหกรรมนี้น้อยมาก ปล่อยให้ญี่ปุ่น ฮ่องกง และไต้หวัน ที่มาตั้งอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น IC และ PCB ในบ้านเราใช้สิทธินี้แทน และสาม - เขาต้องการให้คนไทยมีความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจนี้เนื่องจากเขามีความเชื่ออย่างมากว่า อนาคตธุรกิจอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตอย่างมาก และจะช่วยยกระดับผลิตภาพการผลิตให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล

"อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ในบ้านเราเวลานี้ ผมกล้าพูดได้เลยว่า 80% นำ CKD จากต่างประเทศเข้ามาประกอบในบ้านเราด้วยค่าจ้างแรงงานราคาถูกและสิทธิประโยชน์ส่งเสริมจาก BOI ผมเห็นว่า วิธีการแบบนี้ไม่ถูกต้อง เราต้องลด CKD ลงให้เหลือ 20% เพื่อ 80% ที่เหลือจะสามารถส่งเสริมให้คนไทยมีโอกาสได้ผลิตของป้อนให้อย่างที่ไต้หวันและฮ่องกงทำเวลานี้ประเทศทั้ง 2 แห่งนี้มีหน่วยผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระจายอยู่ทั่วประเทศนับพัน ๆ แห่ง" เชียรช่วงพูดถึงเหตุผลในการนำอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาในไทย

เมืองอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรม 4 กลุ่ม คือ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเด็กเล่น นาฬิกา และชิ้นส่วน และ FOREIGN TRADE ZONE ธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งหมดนี้ PEMCO จะมีส่วนเข้าไปถือหุ้นด้วยจำนวนหนึ่งทุกโครงการอย่างน้อยโครงการละ 10%

เชียรช่วงเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า แนวคิดตัวแบบสวนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบนี้ เขาจำลองมาจากสวนอุตสาหกรรมที่ไต้หวัน "ซิน ตู ไซพาร์ค" คือ ผู้พัฒนาที่ดินอุตสาหกรรมจะร่วมลงทุนด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ขายกำไรจากที่ดิน

ที่ดินสวนอุตสาหกรรมแห่งนี้เป็นของสงคราม แต่อยู่ในรูปบริษัทที่ชื่อ THAILAND ELECTRONIC CITY CO., LTD. (TEC) โดยมี PEMCO ถือหุ้นร่วมกับกลุ่มบริษัทจงสถิตย์ของสงครามและธนาคารกสิกรไทย

วันนี้ของเชียรช่วง คือ วันที่เขาสามารถพูดได้เต็มปากว่า เขาเป็น VENTURE CAPITALIST เต็มตัวแล้ว

เพียง 3 เดือนที่เขาปั้น PEMCO ร่วมกับทอมมี่ เขาสามารถจับกลุ่มสหพัฒน์ลงทุนร่วมกับกลุ่ม SWISS HI-TECH ผลิตชิ้นส่วนนาฬิกาส่งออก และสหพัฒน์ร่วมกับแซมซุงผลิต PCB ส่งออกคิดเป็นมูลค่าเกือบ 1,000 ล้านบาทแล้ว

เขาเพียงแต่ปั้นโครงการ TEC ให้เต็มโครงการเท่านั้น เขาก็จะเป็นคนไทยคนแรกที่สร้างสวนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นจริง

และ THAILAND : THE FIFTH TIGER OF ASIA ที่เป็นสโลแกนของ TEC ก็จะปรากฎเป็นจริง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us