Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532
MICRONETIC + MSE เบื้องหลังคือปูนใหญ่             
 


   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ไมโครเนติค
มิดเวสต์ สต๊อกเอ็กซเช้นจ์
Computer




หลังจากที่มิดเวสต์ สต๊อกเอ็กซเช้นจ์ (เอ็มเอสอี) ได้รับเลือกเป็นผู้ติดตั้งและรับผิดชอบการเปลี่ยนระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของดิตอล อีควีปเม้นท์คอร์ป (ดีอีซี) แล้วนั้น ไมโครเนติก ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ของตัวแทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ดีอีซีในประเทศไทยจึงร่วมเป็นผู้มีผลประโยชน์ในงานนี้ขึ้นมาด้วยฝ่ายหนึ่งโดยทันที

คอมพิวเตอร์ดีอีซีมูลค่ากว่า 300 ล้านบาทสำหรับตลาดหลักทรัพย์และโบรกเกอร์อีก 19 รายที่อยู่ในโครงการได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากเอ็กซิมแบงก์ ไมโครเนติกเป็นผุ้รับผิดชอบจัดหามาให้ทั้งสิ้น

ไม่เพียงแค่นี้ ไมโครเนติกและเอ็มเอสอียังมีข้อเสนอให้โบรกเกอร์อีก 16 รายที่ไม่ได้ร่วมในโครงการของเอ็กซิมแบงก์ รวมทั้งซับ-โบรกเกอร์ทั้งหลายที่ต้องการจะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้ทันกับความก้าวหน้าของตลาดฯและโบรกเกอร์ด้วย

ข้อเสนอมีว่าไมโครเนติกจะให้ "ราคาพิเศษ" สำหรับโบรกเกอรืและซับ-โบรกเกอร์ที่สนใจจะใช้ดีอีซี โดยราคาพิเศษที่ว่านี้จะยืนอยู่จนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2532

ทั้งนี้ไมโครเนติกและเอ็มเอสอีได้ร่วมกันจัดพูดคุยปรึกษากับบรรดาโบรกเกอร์และซับ-โบรกเกอร์แต่ละกลุ่มเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อทำความเข้าใจในขนาดและประสิทธิภาพของเครื่องท่แต่ละรายจำเป็นต้องใช้ก่อนที่จะดำเนินการสั่งซื้อกับไมโครเนติก เพราะขั้นตอนการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่เท่าเทียมกันทำให้โบรกเกอร์และซับ-โบรกเกอร์ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องขนาดเดียวกันหมด

DAN MAGUEIRE-VICE PRESIDENT ของเอ็มเอสอี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ในครั้งนี้ และตัวเขาเองนั้นก็เคยมีประสบการณ์ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์อัมสเตอร์ดัมมาแล้ว กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า ในปลายเดือนพฤษจิกายนคณะเจ้าหน้าที่จากเอ็มเอสอีจะเดินทางเข้ามาประจำในไทย และหากสามารถหาที่ตั้งสำนักงานที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ก็จะเป็นการสะดวกอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ MARY JOEVICE PRESIDENT อีกคนหนึ่งของเอ็มเอสอี ซึ่งมีอาวุโสกว่า MAGUIRE และเป็นที่ปรึกษาของ MAGUIRE ในครั้งนี้ก็จะเดินทางเข้ามาร่วมพูดคุยปรึกษารายละเอียดในการประสานงานจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วย 3 ฝ่ายคือเอ็มเอสอี,ไมโครเนติกและตลาดหลักทรัพย์ฯ

MAGUIRE กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ด้วยว่าโบรกเกอร์ 16 รายที่อยู่ในโครงการใช้ระบบซีทีซีไอให้ความสนใจที่จะเปลี่ยนมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของดีอีซีตามแบบที่ตลาดฯใช้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างเต็มที่ว่าระบบคอมพิวเตอร์ของตนจะไม่เกิดปัญหาเมื่อต่อเข้ากับระบบเดียวกันของตลาดฯ และบางรายอยู่ระหว่างการตัดสินใจ

ตัว MAGUIRE นั้นจัดเป็นคนหนุ่มไฟแรงคนหนึ่งในโครงการ เขาเข้าร่วมงานกับเอ็มเอสอีในตำแหน่ง PROGRAMMER เมื่อปี1980 และขึ้นสู่ตำแหน่ง VICE PRESIDEN รับผิดชอบฝ่าย SYSTEMS PLANNING & DEVELOPMENT มเอมกราคม 1989 นี่เอง

ในระหว่างทำงานกับเอ็มเอสอี MAGUIRE ได้มีโอกาสศึกษา COMPUTER SCIENCE PROGRAM ที่ NORTH WESTERN UNIVERSITY หรือ KELLOG อันลือชื่อเมื่อปี 1988 ครั้นสำเร็จการศึกษาเขาก็ได้รับการ PROMOTE ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารแทบจะทันที

ส่วนไมโครเนติกซึ่งเป็น REPRESENTATIVE AGENT นั้น แม้ภายนอกจะดูเงียบๆ ไม่โฉ่งฉ่างแในวงการคอมพิวเตอร์ด้วยแล้ว ไม่เงียบเลย

ไมโครเนติกจัดตั้งตั้งแต่ปี 2520 เป็นตัวแทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่างๆเพิ่งจะทำกำไรได้เป็นครั้งแรกใน 8 ปีต่อมาเพราะมีโอกาสทำโครงการใหญ่ๆที่มีมูลค่าสูง โดยเฉพะในปี 2528 นั้นไมโครเนติกเริ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน DATACOMMUNICATION มีผลงานติดตั้งระบบ SWITCHING ให้กับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง

ในจังหวะนี้เองที่ไมโครเนติกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยกลกุ่มบุนนาคในนามบริษัทไพบูลย์สมบัติ จำกัดเข้ามาถือหุ้นเป็นจำนวนมาก นับถึงพฤษภาคม 2532 มีรวมทั้งสิ้น 39,197 หุ้นจากจำนวนหุ้นทั้งหมด 80,000 หุ้นจดทะเบียน 8 ล้านบาท

ครั้นในปี 2531 ทางกลุ่มปูนซีเมนต์ไทยหรือแนใหญ่ในนามของบริษัทอินเตอร์เนชั่นเนิลเอ็นจิเนียริ่งจำกัดได้เข้ามาถือหุ้นร่วมด้วย ราวกับจะเตรียมการเข้ามารับงานใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์กระนั้นจนในที่สุดปูนใหญ่ก็หลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไปในที่สุดด้วยจำนวน 40,796 หุ้นเมื่อพฤษภาคม 2532

จากนั้นปูนใหญ่ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาบริหารคือ ดร.ปกรณ์ อดุลยพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายคอมพิวเตอร์ของปูนฯและเป็นอดีตอาจารย์แห่ง ASIAN INSTITUTE OF TECHNOLOGY (AIT) เข้ามานั่งควบตำแหน่งผู้จัดการไมโครเนติกและดร. มิลินทวณิช ผู้ถือหุ้นไมโครเนติกระยะแรกกลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง

ว่ากันว่า ทั้งสองเข้ามาเพื่อรับผิดชอบโครงการจัดหาคอมพิวเตอร์ดีอีซีที่ตลาดฯโดยตรง!

โครงการเปลี่ยนระบบซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดฯครั้งนี้ มไว่าจะออกหัวหรือก้อยปูนใหญ่ก็นอนมาอย่างสบายใจอยู่ดี

ราวกับว่าปูนใหญ่จจะรู้แวนคูเวอร์ สต็อก เอ็กซเช้นจ์ที่เสนอให้ใช้คอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มจะพลาดการประมูลซึ่งเท่ากับบริษัทเอสทีซี คอมพิวเตอร์ของปูนฯจะไม่ได้ออเดอร์ใหญ่ชิ้นนี้

มันคล้องจองกันอย่างไรอย่างนั้นทีเดียว!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us