Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532
ธุรกิจกับศิลปะ เรื่องของกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์             
 


   
search resources

ทิสโก้, บง. - TISCO
ศิวะพร ทรรทรานนท์
ปรีชา เถาทอง
Crafts and Design




ธุรกิจกับศิลปะเป็นสองสิ่งซึ่งโดยเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญของแต่ละฝ่ายแล้วไม่น่าที่จะต้องมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันแต่อย่างใด ด้วยความที่ธุรกิจนั้นเป็นเรื่องของเงินๆทองๆ ที่รู้กันในรูปของผลกำไร ขาดทุน ในขณะที่ศิลปะเป็นเรื่องของผลงานสร้างสรรค์จากจินตนาการที่จะสัมผัสเข้าถึงได้ด้วยอารมณ์ความรู้สึก

แต่ชีวิตไม่ได้มีเพียงด้านเดียว นักธุรกิจย่อมมีอารมณ์สุนทรีย์ในการเสพงานศิลปะ ได้เช่นเดียวกับที่ศิลปินผู้สร้างงานก็ไม่ปฏิเสธเงินทองที่เป็นค่าตอบแทนแลกเปลี่ยนกับผลงานความคิดของตน

ธุรกิจกับศิลปะจึงเข้ามาเกี่ยวข้องกันบนพื้นฐานความต้องการที่สอดคล้องกันทั้งสองฝ่าย

งานศิลปะทุกวันนี้มีสภาพที่กลายเป็นสินค้าขายคล่องมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เมื่อบริษัทธุรกิจใหญ่ๆ หลายแห่งหันมาสนใจสะสมงานศิลปะกันมากขึ้น จะเพียงแค่ตบแต่งภาพพจน์ให้ดูเป็นผู้มีรสนิยมมากขึ้น หรือจะเป็นความสนใจชื่นชมอย่างแท้จริงก็ตาม แต่แนวโน้มก็เป็นนิมิตหมายอันดีกับวงการศิลปินบ้านเราที่จะได้ขยายตลาดผู้บริโภคงานศิลปะให้กว้างขวางขึ้น

ฝ่ายผู้ผลิตงานศิลปะเองก็ยอมรับในบทบาทด้านนี้ของธุรกิจที่ทำให้ศิลปินมีกำลังใจสร้างสรรค์งานออกมา

"สมัยที่ผมเรียนอยู่ ใครขายงานได้ชิ้นหนึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้อแงเลี้ยงแลองกันทั่วทั้งมหาวิทยาลัย" ศสิลปินละแวกหน้าพระลานท่านหนึ่งย้อนความหลังกลับไปในยุคที่กลุ่มผู้เสพงานศิลปะยังจำกัดอยู่ในแวดวงแคบๆ

ศิวะพร ทรรทรานนท์ กรรมการผู้อำนวยการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ เป็นผู้หนึ่งที่นิยมชมชอบในงานศิลปะ และไม่ลังเลใจกับการควักกระเป๋าซื้องานชั้นเยี่ยมมาสะสมไว้ จนทำให้ทิสโก้ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่รวบรวมงานศิลปะของศิลปินชั้นแนวหน้าไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งไม่แพ้ชื่อเสียงการเป็นสถาบันการเงินชั้นนำ

แต่งานศิลปะจะซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ ก็ยังมีความแตกต่างจากสินค้าทั่วไปที่ผู้ซื้อเมื่อซื้อไปแล้วจะนำไปใช้สอยอย่างไรก็เป็นสิทธิโดยเด็ดขาดของผู้ซื้อแต่เพียงฝ่ายเดียวสำหรับงานศิลปะนั้น ศิลปินยังได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายในเรื่องของลิขสิทธิ์อยู่ ถึงแม้ว่าจะได้ขายกรรมสิทธิ์ของงานชิ้นนั้นไปแล้ว เว้นแต่จะได้มีการโอนสิทธิกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

งานศิลปะหลายชิ้นที่ศิวะพรซื้อเอาไว้ ถูกนำมาใช้เป็นแบบในการโฆษณาทิสโก้ ทั้งในรูปของสิ่งตีพิมพ์และโฆษณาทางโทรทัศน์ หนึ่งในจำนวนที่เป็นแบบโฆษณาทางโทรทัศน์เป็นผลงาานของปรีชา เถาทอง ศิลปินที่มีผลงานด้านจิตรกรรมไทยเป็นที่ยอมรับกันทั้งในและต่างประเทศ

เดือนสิงหาคม 2532 ปรีชาทำหนังสือไปถึงศิวะพรทักท้วงในเรื่องการนำงานของตนไปโฆษณาทางทีวี โดยปรีชาอ้างว่าการกระทำของศิวะพรนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ว่ากันว่าศิวะพรนั้นเสียความรู้สึกเอามากๆ กับการทักท้วงของปรีชา เพราะถือว่าตนนั้นซื้องานมาโดยถูกต้องก็น่ามีสิทธิ์ที่สมบูรณ์ไม่ควรจะต้องเสียเงินสำหรับการนำไปใช้ทำโฆษณาให้กับปรีชาอีก และยิ่งเสียความรู้สึกยิ่งขึ้นอีกเมื่อรับรู้มาว่า งานที่ปรีชาขายให้ตนในราคา 8,000 บาทนั้น เป็นงานไม่ได้เป็นงานที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียว หากแต่ปรีชายังได้ทำออกมาอีกหลายกอบปี้ขายให้กับคนอื่นๆ

งานชิ้นดังกล่าวเป็นงานภาพพิมพ์ที่มีชื่อว่า วัด 2530 ซึ่งต้นแบบเป็นส่วนหนึ่งของงานจิตรกรรมซึ่งเป็นผลงานของปรีชาที่ได้รับรางวัลเหรียญทองในการประกวดงานศิลปะแห่งชาติครั้งที่ 23 และได้ตัดเอาส่วนนำมาเป็นแบบในการทำภาพพิมพ์ชิ้นดังกล่าว ศิวะพรซื้องานชิ้นนี้มาเมื่อปีที่แล้ว

"ศิลปินมีสิทธิทำได้ เขารับทราบแล้วก่อนที่จะซื้อขายกัน" ปรีชาพูดถึงงานก๊อบปี้งานชิ้นนี้ออกมาหลายๆ ชิ้นว่า เป็นลักษณะของงานภาพพิมพ์ที่ศิลปินจะพิมพ์ภาพออกมากี่ชิ้นก็ได้สำหรับงานชิ้นนี้นั้นมีอยู่ 50 ก๊อบปี้ ขายให้กับญี่ปุ่นไป 20 ก๊อบปี้ ที่เหลือขายในเมืองไทยและเหลือเก็บเอาไว้เอง 2 ก๊อบปี้ ดังนั้นจะมีคนที่มีกรรมสิทธิ์ในภาพพิมพ์เดียวกับศิวะพรอีก 47 คน

สำหรับเรื่องของการทักท้วงเรื่องลิขสิทธิ์นั้น ปรีชาบอกว่าเป็นความเข้าใจผิดในเรื่องระหว่าง "กรรมสิทธิ์" กับ "ลิขสิทธิ์"

กรรมสิทธิ์นั้นหมายถึงสิทธิ์ในการครอบครอง เป็นเจ้าของงานศิลปะที่ได้ซื้อไป ส่วนลิขสิทธิ์นั้นเป็นแนวความคิดที่ศิลปินค้นคว้าสร้างสรรค์มาซึ่งจะตกอยู่กับตัวศิลปินผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนั้น การซื้องานศิลปะเป็นการซื้อกรรมสิทธิ์ไป เอาไปเก็บไว้ชื่นชม แต่ผู้ซื้อไม่ได้ลิขสิทธิ์นั้นไป เว้นแต่จะได้มีการโอนลิขสิทธิ์ไปด้วย โดยการระบุเป็นลายลักษณ์อักษร

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มีบทคุ้มครองลิขสิทธิ์ของผู้สร้างงานศิลปะไว้ โดยถือว่าการนำงานนั้นไปโฆษณา ทำซ้ำจำหน่ายจ่ายแจก โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

"ผมไม่ได้เรียกร้องเอาเงินทอง แต่ที่ทำเป็นเรื่องของความถูกต้อง ท่านผู้ซื้ออาจจะไม่ทราบ ผมก็ทักท้วงไปว่าควรจะให้เกียรติกันบ้างโดยขอให้ทิสโก้ลงข่าวในหนังสือพิมพ์ชี้แจงทีมาของโฆษณา โดยรวมเอาประวัติ แนวคิดของแต่ละท่านลงไปด้วยและให้ใส่ชื่อเจ้าของงานและที่มาของแนวคิดลงไปในโฆษณานั้นด้วย ไม่ได้พูดถึงเรื่องเงินทองเลย" ปรีชาตบท้ายอรรถาธิบายในเรื่องกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ไว้อย่างนี้พร้อมกับเสนอทางออกว่า ควรจะมีการทำสัญญาโอนมอบลิขสิทธิ์กันให้เรียบร้อยไปเลย

ปกติแล้วโฆษณาที่เป็นสิ่งตีพิมพ์ของทิสโก้จะระบุชื่อศิลปินเจ้าของงานและชื่องานลงไปด้วยทุกครั้ง แต่สำหรับโฆษณาทางโทรทัศน์นั้น ผู้คลุกคลีอยู่ในวงการโฆษณาท่านหนึ่งอธิบายว่า อาจจะติดขัดที่เทคนิคการผลิต

เรื่องนี้จบลงด้วยการที่ทิสโก้ถอนโฆษณาชิ้นนี้ออกไป เหลือไว้แต่ความหมางใจเล็กๆระหว่างบุคคลทั้งสองซึ่งเกิดขึ้นมาเพราะความไม่รู้มากกว่าที่จะมีเจตนาเป็นอย่างอื่น

สังคมธุรกิจที่ซับซ้อนขึ้นพลอยทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยอย่างเช่นการซื้องานศิลปะที่หลายแห่งทำนานมาแล้ว และหลายแห่งเริ่มทำตามมีความซับซ้อน และแง่มุม รายละเอียดเพิ่มขึ้นไปจากเดิมด้วย ดังเช่นกรณีนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us