Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 ธันวาคม 2551
โรบินสัน ปรับกลยุทธ์ สร้างจุดต่าง ขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

   
search resources

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, บมจ.
Shopping Centers and Department store




โรบินสันเตรียมสร้างแบรนด์อะแวร์เนสขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ไม่เคยเดินเข้าห้างโรบินสัน หลังปรับโฉมสาขาให้ทันสมัยภายใต้กลยุทธ์ Robinson Revolution ที่เน้นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้บริโภค ควบคู่ไปกับสร้างความแตกต่างของสินค้าด้วยไพรเวตแบรนด์ นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดสาขาใหม่อีก 2 แห่งในปีหน้าที่ ชลบุรี และขอนแก่น

สมรภูมิค้าปลีกที่มีเซ็นเทรัลและเดอะมอลล์เป็นผู้นำในตลาดดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ในขณะที่บรรดาดิสเคานต์สโตร์ต่างพยายามยกระดับตัวเองให้เป็นที่ยอมรับในตลาดมากขึ้น ทำให้โรบินสันต้องสปีดตัวหนีบรรดาดิสเคานต์สโตร์ แม้ว่าจะเป็นคนละเซกเมนต์กัน แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผู้บริโภคเดินชอปปิ้งในหลายๆห้างมากขึ้นเพื่อเปรียบเทียบทั้งคุณภาพและราคา แต่ในส่วนของกลุ่มผู้บริโภคที่มองหาสินค้าแบรนด์เนมก็มักจะโฟกัสไปที่ห้างเซ็นทรัล และเดอะมอลล์ รวมถึงสยามพารากอนและดิ เอ็มโพเรียมเป็นหลัก

ดังนั้นเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในสุญญากาศ โรบินสันจึงต้องปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากบรรดาดีพาร์ตเมนต์สโตร์ที่อยู่ในระดับที่เหนือกว่า และดิสเคานต์สโตร์ที่พยายามอัปเกรดตัวเองให้เทียบเคียงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โดยโรบินสันชูกลยุทธ์ Robinson Revolution ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์ย่อยที่จะตอบสนองการเลือกซื้อสินค้าและการใช้ชีวิตของผู้บริโภค

Robinson Revolution ประกอบด้วย5 กลยุทธ์ย่อยโดยกลยุทธ์แรกคือ New Store Experience การสร้างประสบการณ์ใหม่ในการชอปปิ้ง การปรับภาพลักษณ์โรบินสันให้ทันสมัยโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ภายใต้ แนวคิด New Store Experience โดยการปรับรูปแบบร้านตั้งแต่ การจัดวางสินค้าให้สอดคล้องกับรูปแบบของพฤติกรรมการเลือกซื้อ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการค้นหา ตลอดจนการออกแบบแสงไฟในร้านเพื่อสร้างบรรยากาศที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์อยากซื้อและทำให้สินค้ามีความโดดเด่นมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเอ็ดดูเคตผู้บริโภคด้วยทิปเคล็ดลับในการติดตามกระแสแฟชั่น เพื่อนำเสนอทางเลือกให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยสินค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ทางห้างได้ลงสินค้าตั้งแต่เดือนตุลาคม เนื่องจากผู้บริโภคจะเริ่มสำรวจราคาและมองหาสินค้าที่จะมอบให้กันในวันปีใหม่ แม้ยังไม่ซื้อในช่วงนี้ แต่การสร้างบรรยากาศในห้างจะช่วยสร้างอารมณ์ในการชอปปิ้งให้เกิดขึ้นท่ามกลางปัจจัยลบทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

กลยุทธ์ที่ 2 คือ Fashion and Differentiation เป็นการพัฒนาสินค้าแฟชั่นที่แตกต่างทันสมัย และไม่สามารถหาได้จากที่ใด ด้วยการพัฒนาสินค้าไพรเวตแบรนด์ ซึ่งเน้นการออกแบบที่ทันมัย การใช้วัสดุระดับพรีเมี่ยม และการผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งนี้จะมีการเพิ่มสินค้าไพรเวตแบรนด์ให้ครอบคลุมทุกไลน์สินค้า โดยมีการนำเข้าสินค้าแบรนด์ดังจากต่างประเทศ เพื่อให้เป็นสินค้า Only @ Robinson อาทิ แผนกเสื้อผ้าสตรี ที่นำเข้าแบรนด์ Goelia, Allure Noir, Voir Shoez โดยในช่วงกลางปีที่ผ่านมา โรบินสันได้ทุ่มงบ 12 ล้านบาทในการทำตลาดไพรเวตแบรนด์ผ่านแคมเปญ Rita’s Choice โดยมี ศรีริต้า เจนเซ่น เป็นผู้การันตีสินค้า เพื่อสร้างความมั่นใจ และสร้างการจดจำไปสู่ผู้บริโภค โดยโรบินสันคาดหวังว่าไพรเวตแบรนด์จะช่วยสร้างดีมานด์ใหม่ๆให้เกิดขึ้น แทนการชิงส่วนแบ่งในตลาดเดิมๆ ซึงนอกจากสินค้าจะมีความแตกต่างจากท้องตลาดโดยคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าแล้ว ยังมีราคาในระดับกลางที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าสินค้าแบรนด์เนม

นอกจากไพรเวตแบรนด์ที่เป็นสินค้าแฟชั่นแล้ว ยังมีแผนกโฮม หรือเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น ผ้าขนหนู, ชุดเครื่องครัว, อุปกรณ์ทำอาหาร, ชุดเครื่องนอน ตลอดจนแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กในครัวเรือน ที่มีการสร้างแบรนด์ใหม่ คุณภาพระดับพรีเมี่ยม ภายใต้ยี่ห้อ “Cuizimate” เน้นความทันสมัย มีดีไซน์ เพื่อเจาะตลาด ครอบครัวยุคใหม่

“ปัจจุบันสินค้าไพรเวตแบรนด์ของโรบินสันมีการเติบโตสูงถึง 30% จากไพรเวตแบรนด์กว่า 30 แบรนด์ โดยจะเน้นหนักในกลุ่มแฟชั่นซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 16% ของรายได้แผนกแฟชั่น ทั้งนี้ไพรเวตแบรนด์ของโรบินสันยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ Exclusive Brand เป็นการนำเข้าแบรนด์สินค้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่ายที่โรบินสันเพียงแห่งเดียว ส่วนอีกกลุ่มคือ Private Label ซึ่งเป็นแบรนด์ที่โรบินสันสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มทำรายได้ในสัดส่วนที่เท่ากันคือ 50:50” สิรินิจ โชคชัยฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน กล่าว

กลยุทธ์ที่ 3 คือ Targeted & Inspired Marketing เป็นแนวคิดการตลาดที่เน้นการสร้างความต้องการใหม่ๆ มากกว่าการตอบสองความต้องการเดิมๆ โดยเป็นการทำตลาดแบบเจาะลึกซึ่งจะใช้ Customer Research และ Data Mining Tool เพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น ความแตกต่างของแต่ละกลุ่ม แต่ละบุคคล รวมไปถึงอิทธิพลในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังศึกษาวิธีการนำเสนอใหม่ๆ เช่นการสร้าง fashion theme ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อให้ภาพโรบินสันมีความล้ำสมัยนำเทรนด์

ในส่วนของกลยุทธการสื่อสาร จะเน้นการสร้างแบรนด์อะแวร์เนสผ่านทั้ง Above the line เช่น TV Tie-in, ป้ายโฆษณา, Banner, นิตยสาร และการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด Below the line ด้วยการจัดอีเวนต์เพื่อเจาะตลาดลูกค้ารุ่นใหม่ โดยปีนี้โรบินสันใช้งบการตลาดสูงถึง 280 ล้านบาท มากกว่าปีที่ผ่านมาอีก 20% โดยเป็นงบการตลาดปรกติ 220 ล้านบาท และงบสร้างแบรนด์อะแวร์เนสอีก 60 ล้านบาท โดยมีการทำกิจกรรมการตลาดมากถึง30-40 ครั้ง ซึ่งมากกว่าปีก่อน 50% โดยกิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงเนื่องจากลูกค้ากว่า 70% ของโรบินสันเป็นผู้หญิงยุคใหม่ทั้งผู้หญิงทำงาน และแม่บ้าน ที่มีไลฟ์สไตล์ของการแต่งตัวและแต่งบ้าน ซึ่งมีความถี่ในการมาใช้บริการประมาณเดือนละ 2 ครั้ง

กลยุทธ์ที่ 4 คือ Service Excellent เน้นการบริการที่เหนือความคาดหวัง เพื่อชนะใจลูกค้าโดยมีการสร้างมาตรฐานใหม่ของการบริการที่มอบให้เฉพาะตัวบุคคลมากขึ้น

กลยุทธ์สุดท้ายคือการทำ Sustainable CSR หรือการรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งในปีนี้ โรบินสัน ได้จัดสรรงบประมาณ และเปิดโอกาสให้พนักงานและลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น เช่น โครงการ “โรบินสัน แต้ม 80 ฝัน ให้ 80 โรงเรียน” และโครงการสร้าง โรงเรียน “I Love My School–หนูรักโรงเรียน”

นอกจากกลยุทธ์ Robinson Revolution แล้ว บริษัทยังมีแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้น ซึ่งโรบินสันเคยประกาศว่าจะขยายสาขาเพิ่มอีก 6 แห่งในอีก 2 ปีข้างหน้าจากปัจจุบันที่มีอยู่ 21 สาขา โดยในปีหน้าจะมีการเปิดสาขาใหม่ 2 แห่งที่ชลบุรี และ ขอนแก่น โดยใช้งบในการลงทุนสาขาใหม่และการรีโนเวตสาขาเก่ารวมกันกว่า 1,400 ล้านบาท โดยการรีโนเวตสาขาเก่าจะใช้คอนเซ็ปต์ของ New Experience Store โดยเฉพาะในต่างจังหวัด จะเน้นการทำให้เป็น โรบินสัน เป็น “จุดศูนย์รวม” ของจังหวัดนั้นๆ โดยมีสาขาเชียงใหม่เป็นต้นแบบ เพื่อสนองไลฟ์สไตล์ลูกค้า มีสินค้าแบรนด์อินเตอร์ให้ลูกค้าอัปเดตแฟชั่นทันสมัยทัดเทียมกับห้างที่อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ โดยจะนำรูปแบบใหม่นี้ ไปปรับปรุงสาขาอื่นๆ เพื่อยกระดับให้โรบินสันเป็น “The Most preferred Department Store”

“ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของโรบินสันเกิดจากการบริหารสินค้าและการส่งเสริมการขายเฉพาะในแต่ละสาขา รวมถึงการทำกิจกรรมร่วมกับศูนย์การค้าเพื่อสร้างบรรยากาศในการชอปปิ้ง ประกอบกับการปรับปรุงสาขาอย่างต่อเนื่อง และการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงกลุ่มมากขึ้น” ปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน กล่าว

โรบินสันคาดว่ากลยุทธ์ Robinson Revolution และ การขยายสาขาใหม่จะช่วยผลักดันให้บริษัทมีการเติบโตที่สูงกว่าจีดีพี ซึ่งหากปีหน้าจีดีพีของไทยกลับมาอยู่ที่ 4% โรบินสันก็คาดว่าจะสามารถสร้างการเติบโตได้ 8% สำหรับในปีนี้บริษัทคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้ 12,500 ล้านบาทคิดเป็นการเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 11% จากเดิมที่ตั้งเป้าเติบโตไว้เพียง 8% ทว่าหลังจบยอดขายใน 3 ไตรมาสปรากฏว่าบริษัทมีอัตราการเติบโตสูงถึง 12%

ล่าสุดโรบินสันได้ร่วมกับ ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จัดแคมเปญ His&Her Big Reward: Only @ Robinson โดยผู้บริโภคที่ถือบัตรสมาชิก His& Her ของ ไอ.ซี.ซี.ฯ ซึ่งมีเกือบ 1 ล้านราย จะได้รับส่วนลด 10-30% เมื่อซื้อสินค้าในเครือไอ.ซี.ซี.ฯที่จำหน่ายในโรบินสัน นอกจากนี้ยังสามารถสะสมแต้มผ่านบัตร The 1 Card ในเครือเซ็นทรัลได้อีก เป็นการ On Top สิทธิประโยชน์ให้ผู้บริโภค และยังเป็นการ Cross Target ไปสู่ฐานลูกค้าของไอ.ซี.ซีฯ เพื่อขยายฐานไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ให้กว้างขึ้น นอกเหนือจากการขยายตลาดด้วยตัวเองผ่านกลยุทธ์ Robinson Revolution โดยคาดว่าเฉพาะแคมเปญดังกล่าวจะสามารถผลักดันยอดขายได้ 315 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us