|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดเงินส่อเค้าติดหล่ม หลังแบงก์พร้อมใจกดดอกเบี้ยฝากตามนโยบายรัฐ ผลักผู้มีเงินฝากหาแหล่งเงินออมใหม่ แม้หุ้นกู้เอกชนดอกเบี้ยสูง แต่สัญญาณเริ่มไม่ดีจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ทางกว้างเปิดสู่พันธบัตรรัฐที่จ่อคิวขาย นักการเงินเตือนอย่าปล่อยให้เอกชนไร้ทางออกจะซ้ำเติมคนตกงานมากขึ้น
หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรลงแรงถึง 1% เมื่อ 3 ธันวาคม 2551 ส่งผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวลงมาอยู่ที่ระดับ 2.75% นับว่าเป็นการส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากลงมาที่ราว 0.5% โดยเริ่มที่ธนาคารไทยพาณิชย์มีผลเมื่อ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา และธนาคารขนาดใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย กสิกรไทยและธนาคารทหารไทยก็ได้ปรับลดตามมา
จนทำให้อัตราเงินฝากประจำ 3 เดือนปรับลดลงมาอยู่ที่ 1.35-1.5% ขึ้นไป และดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี(MLR) เหลือที่ 6.75-7% จากเดิม 7.25%
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงินในครั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพของวิกฤติการเงินของโลกและปัญหาการเมืองภายในประเทศ ที่กระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในปี 2552 ที่คาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจของไทยอาจโตน้อยกว่า 3% หรือบางแห่งมองถึงไม่มีการเติบโตเลย รวมถึงปัญหาการปิดตัวลงของธุรกิจบางแห่งที่อาจส่งผลต่อการเลิกจ้างงานที่อาจสูงถึง 1 ล้านคน
แม้ว่าการลดอัตราดอกเบี้ย นับว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยให้เศรษฐกิจของไทยถดถอยน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือช่วยให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจดีขึ้น ช่วยบรรเทาภาระของภาคธุรกิจและบุคคลที่ยังมีภาระในการผ่อนชำระหนี้ต่าง ๆ แต่ในอีกด้านหนึ่งแล้วการลดอัตราดอกเบี้ยย่อมส่งผลกระทบผู้ฝากเงินไม่น้อย
นับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในประเทศไทยเมื่อปี 2540 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเริ่มทยอยปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอด เพิ่งจะกระเตื้องขึ้นในช่วงที่ผ่านมาอันเนื่องมาจากการแข่งขันกันระดมเงินออมของธนาคารพาณิชย์และการเสนอขายพันธบัตรภาครัฐ รวมถึงพระราชบัญญัติสถาบันประกันเงินฝากมีผลบังคับใช้
วิกฤตการเงินในสหรัฐที่ลามไปยังประเทศในแถบยุโรป ส่งผลให้เกิดการถอนเงินลงทุนออกจากทุกประเทศ ทำให้ทุกประเทศประสบปัญหาด้านสภาพคล่อง แม้ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นที่สูงกว่าผลตอบแทน 1 ปีก็เป็นตัวบ่งบอกได้ว่าปัญหานี้ยังคงอยู่
เร่งสร้างความมั่นใจ
“สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ในทางจิตวิทยาแล้ว เมื่อผลตอบแทนจากการฝากเงินมีน้อย ผู้คนก็มักจะนำเอาเงินฝากเหล่านั้นมาลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วผลอาจไม่เป็นอย่างที่ประเมินกันไว้เสมอไป หากสถานการณ์แวดล้อมอื่นไม่เอื้ออำนวย” นักการเงินรายหนึ่งกล่าว
ตราบใดที่มีการคาดการณ์กันถึงตัวเลขการว่างงานและเศรษฐกิจแทบจะไม่เติบโตเลยนั้นจะเป็นตัวขวางไม่ให้ผู้คนนำเงินที่มีอยู่มาใช้หรือลงทุนมากนัก เนื่องจากไม่มั่นใจในสถานการณ์ในวันหน้าว่าสถานภาพการทำงานของพวกเขาจะเป็นอย่างไร ดังนั้นดีที่สุดคือการใช้จ่ายอย่างประหยัดและไม่พยายามก่อหนี้ใหม่หรือลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งภาครัฐบาลใหม่ต้องหาทางแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนเพื่อให้เศรษฐกิจของไทยเดินหน้าต่อไปได้
จากนี้ไปการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์แม้จะมีความมั่นคง หลังจากที่รัฐบาลพลังประชาชนได้ยืดระยะเวลารับประเงินเงินฝาก 100% ออกไปอีก 3 ปี แต่ผลตอบแทนที่ระดับ 1.5% สำหรับฝากประจำนั้นถือเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำ ผู้มีเงินฝากคงต้องมองหาแหล่งลงทุนใหม่ ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่เป็นอยู่
หุ้นกู้ผลตอบแทนสูง-เสี่ยง
แน่นอนว่าขณะนี้จะมีแหล่งลงทุนในลักษณะเดียวกับการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ และให้ผลตอบแทนสูงกว่ามีเพียงหุ้นกู้ภาคเอกชนที่เสนอขายกันอย่างต่อเนื่อง ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเช่นปีละ 5% สำหรับการถือ 3 ปี แต่จากนี้ไปผลตอบแทนของหุ้นกู้ย่อมต้องปรับลดลงตามดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่คงสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์แน่
ผู้ที่ต้องการจะหนีจากเงินฝากไปลงทุนในหุ้นกู้เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูง ควรทำความเข้าใจกับหุ้นกู้ให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน เนื่องจากการลงทุนดังกล่าวรัฐบาลไม่ค้ำประกันเหมือนกับเงินฝาก หากบริษัทผู้ออกหุ้นกู้มีปัญหาด้านการเงินผู้ลงทุนก็ต้องแบกรับความเสี่ยงกันเอง
สำหรับสถานการณ์ของหุ้นกู้ในระยะนี้ไม่สดใสนัก หลังจากมีบางบริษัทที่ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง อันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเมือง ทั้งในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม สายการบินและกลุ่มอื่น ๆ สะท้อนถึงระดับความเสี่ยงของโอกาสในการได้รับการชำระหนี้
เห็นได้จากผู้บริหารของกองทุนรวมที่ได้เพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนในหุ้นกู้จากเดิมที่เริ่มต้นตั้งแต่ระดับ BBB ขึ้นมาเป็นตั้งแต่ระดับ A ขึ้นไป ดังนั้นหากผู้ลงทุนใช้หลักการเดียวกับกองทุนรวมย่อมเป็นการลดความเสี่ยงจากการลงทุนไปได้ไม่น้อย
ทั้งนี้เพราะในปีหน้าประเทศไทยน่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น หากเศรษฐกิจไม่ฟื้นย่อมมีผลต่อสถานะของผู้ออกหุ้นกู้ได้เช่นกัน
ปูทางพันธบัตร
อย่างไรก็ตามทางออกของผู้มีเงินออมยังมีตัวเลือกที่ปลอดภัยมากกว่าหุ้นกู้ นั่นคือพันธบัตรรัฐบาลเพียงแต่ต้องรอการเสนอขายอย่างเป็นทางการ ซึ่งอัตราผลตอบแทนย่อมต่ำกว่าหุ้นกู้เอกชนเนื่องจากมีความมั่นคงมากกว่า
เชื่อว่าในปีหน้าพันธบัตรรัฐบาลน่าจะได้รับความนิยมจากผู้มีเงินออมค่อนข้างมาก ท่ามกลางบรรยากาศที่เอื้ออำนวยทั้งในเรื่องผลตอบแทนที่ต่ำจากการฝากเงินและความมั่นคง ขณะที่หุ้นกู้เอกชนเองที่ประสบปัญหาจากการที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่ออาจต้องปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้สูงขึ้นเพื่อจูงใจนักลงทุน นั่นหมายถึงต้นทุนของเงินย่อมสูงขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตัวบริษัทนัก
หากปล่อยให้อัตราผลตอบแทนระหว่างหุ้นกู้และพันธบัตรมีส่วนต่างกว้างมาก จนทำให้ภาคเอกชนไม่สามารถระดมเงินต้นทุนต่ำได้ จนก่อให้เกิดการปิดกิจการก็จะไปซ้ำเติมปัญหาการว่างงานอีก
นี่คือสิ่งที่จะเป็นปัญหาในอนาคตหากภาครัฐไม่เข้ามาดำเนินการให้เกิดความสมดุลในภาคตลาดเงิน ยิ่งจะเป็นการซ้ำเติมภาวะภาวะเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
|
|
|
|
|