Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 ธันวาคม 2551
นครหลวงไทยพับแผนขายแบงก์พลิกโฉมพนง.-สาขารุกสินเชื่อบ้าน-SMEs             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์
Banking and Finance




"แบงก์นครหลวงไทย" ยอมรับต้อง พับเก็บโครงการขายหุ้นกองทุนฟื้นฟูฯผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ให้กับผู้สนใจ และไม่มีเวลาจะรอให้ใครมาซื้อหรือขาย เพราะแบงก์ยังต้องปรับตัวตลอดเวลา หลังผ่านช่วงเวลา 2 ปีของการเปลี่ยนแปลง ก็ถึงเวลาพลิกโฉมวัฒนธรรมคนแบงก์ และเนรมิตรสาขาใหม่ ก่อนจะรุกสินเชื่อบ้านและเอสเอ็มอี ในปีหน้าใกล้เคียงกับปีนี้ อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ...

เป็นเวลาร่วม 2 ปีที่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารนครหลวงไทย คนใหม่ "ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์" เข้ามาปัดฝุ่น รื้อถอน โครงสร้างภายใน วัฒนธรรมองค์กร จนเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นตามลำดับ

ในปี 2551 เป็นต้นมา ซีอีโอ คนใหม่ต้องสาละวนอยู่กับการปรับปรุงขั้นตอนทำงาน ตลอดจนองค์ความรู้ให้กับพนักงานแบงก์ ที่เคยยึดติดการทำงานในรูปแบบวัฒนธรรมเดิมๆ ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก และแบงก์ต่างๆ ก็ปรับตัวจนมองไม่เห็นเค้าโครงเดิมด้วยซ้ำ

นับจากปลายปีนี้ เป็นต้นไป แบงก์นครหลวงไทย ได้เริ่มต้นการปรับโฉมเครื่องแบบใหม่ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงสาขาต้นแบบ 26 แห่ง ก่อนจะค่อยๆทยอยไปจนกว่าจะครบ 408 สาขา เพื่อลบภาพลักษณ์เก่าๆในสายตาลูกค้าและผู้คนทั่วไป

ชัยวัฒน์ ถึงกับบอกว่า ธนาคารนครหลวงไทย ต้องพับเก็บโครงการขายหุ้น ของกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบการเงิน ผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารนครหลวงไทยให้กับพันธมิตรผู้สนใจไปก่อน

" ธนาคารนครหลวงไทยคงไม่รอว่า ใครจะขายหรือซื้อ เพราะเราต้องตื่นตัว ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา และพนักงานแบงก์เราก็ต่างไปจากเมื่อ 2 ปีก่อนอย่างสิ้นเชิง"

การปรับเปลี่ยนรูปโฉมคนทำงานแบงก์ พร้อบกับเนรมิตรสาขาใหม่ให้ดูทันสมัยและกว้างขวาง โอ่โถง คือ การสื่อไปถึงลูกค้าถึงภาพลักษณ์ใหม่ และวิถีชีวิตใหม่ของคนแบงก์นครหลวงไทยนับจากนี้เป็นต้นไป

" ชุดใหม่จะสะท้อนเอกลักษณ์ที่แท้จริงว่า คนแบงก์นี้ เป็นคนยุคใหม่ ทันสมัย ชัดเจนและใส่ใส องค์กร"

ชัยวัฒน์ บอกว่า นี่คือ แผนต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้งบไปกับการฝึกอบรมพนักงานที่มากกว่าเดิม จากทุกปีใช้ไม่ถึง 20 ล้านก็ เพิ่มเป็น 50 ล้านบาท เพื่อให้พนักงานเข้าใจนโยบายของแบงก์ โดยเฉพาะ สินค้า การตลาด การขายและเทคนิคบริหารจัดการแบบใหม่ๆ

" เรายังไม่เคยโฆษณาในลักษณะมวลชนหรือ แมสเลย แต่ปีนี้อาจจำเป็นเพราะปีนี้ธุรกิจรีเทล ซึ่งประกอบด้วย สินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล เติบโตรวดเร็วมาก ขณะที่ค่าธรรมเนียมก็เติบโตขึ้นทุกไตรมาส"

ชัยวัฒน์ บอกว่า ปีนี้สินเชื่อเพื่อการเคหะ ขยายตัวเร็ว และมีแผนจะต่อยอดไปยังสินเชื่อ โปรเจ็กต์ ไฟแนนซ์ โดยมองไปที่การรับรู้รายได้ของโครงการ รู้คุณภาพลูกค้า ตั้งแต่เริ่มดาวน์ เพราะสินเชื่อจะกินทุนต่ำ

ในทุกปี สินเชื่อเพื่อการเคหะธนาคารนครหลวงไทยจะอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท โดยปีหน้าคาดจะขยายตัว 1 หมื่นล้านบาท ขณะที่สินเชื่อทั้งระบบน่าจะเติบโต 4-5% เพราะฐานสินเชื่อยังเล็กอยู่

" ในปี 2552 สินเชื่อจะเติบโตแบบเน้นคุณภาพ นอกจากนั้น สินเชื่อ โพสต์ไฟแนนซ์ ก็จะลุยต่อเนื่อง โดยจะจับมือกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จะมีการโอนการอีก นอกจากนั้นก็จะต่อยอดสินเชื่อลูกค้าเก่าในธุรกิจเอสเอ็มอีด้วย"

สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ในปีหน้า ชัยวัฒน์ บอกว่า ตั้งใจจะมีการขยายตัวค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่อยากรับความเสี่ยงมาก ดังนั้นจึงต้องขอเฝ้าติดตามดูสถานการณ์ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 ก่อน ซึ่งถ้าการเติบโตมีประสิทธิภาพก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะขยายตัวมากขึ้น


" ปีหน้าเป็นการพิสูจน์ว่า ใครแท้ ไม่แท้ โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ใครสายป่านไม่ยาวพอก็อาจจะลำบาก ก็ต้องดูว่ารายใด มีการใช้โครงการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปที่จะทำให้ลดต้นทุนได้มาก"

ชัยวัฒน์บอกว่า แบงก์จำเป็นจะต้องทบทวนในบางเซ็กเตอร์ ว่าเซ็กเตอร์ไหนควรเฝ้าระวัง แบงก์จึงต้องลงลึกในการวิเคราะห์รายละเอียดตัวลูกค้าว่า อุตสาหกรรมกลุ่มไหนน่าห่วงมากหรือน้อย

" เราห่วงอุตสาหกรรมเหล็ก และธุรกิจโรงแรม ในสองส่วนนี้จึงต้องปล่อยสินเชื่อค่อนข้างรอบคอบ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมในจุดท่องเที่ยว อย่างสมุย และภูเก็ตที่มีสาขาของเราค่อนข้างมาก"

นโยบายสำคัญที่ต้องทบทวนอีกอย่าง ก็คือ บอร์ดธนาคารให้นโยบายดูแลลูกค้าปัจจุบันเป็นหลัก โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อต้องเอาไปใช้ให้ตรงวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี

" เมื่อ 2 ปีก่อนผมเข้ามา เรามีปัญหาคุณภาพสินเชื่อเยอะมาก ที่ผ่านมาจึงต้องปรับปรุงก่อน"

ชัยวัฒน์บอกว่า สำหรับลูกค้ารายใหญ่ไปแล้วร่วม 1.3 แสนล้านบาท กำลังรอการเบิกใช้ ปัจจุบันมีการเบิกใช้ 40% ซึ่งมีทั้งโครงการเขื่อนน้ำงึมใน ลาว สิ้นปีนี้ก็จะมีบริษัทน้ำมันจากอเมริกา และบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการทำอาหารสัตว์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us