Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 ธันวาคม 2551
บลจ.โฟกัสเรตติ้งหุ้นกู้ ขอเน้นปลอดภัยสบายใจไว้ก่อน             
 


   
search resources

ศุภกร สุนทรกิจ
Investment




ธุรกิจ บลจ.เน้นลงทุนระมัดระวัง โฟกัสไปที่ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ และลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเป็นสำคัญ เลี่ยงตราสารหนี้ต่างประเทศ เหตุเสี่ยงเกิน ส่วนจะลงหุ้นกู้ในประเทศก็ต้องเรตติ้งระดับ A ขึ้นไป หวั่นการเมืองกระทบเครดิตประเทศและบริษัทเอกชน

เอกชนชี้ “รัฐบาล” ตัวแปรสำคัญ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเดินหน้า ระบุสเปกต้องหน้าตาดี-เชื่อถือได้ พร้อมแนะจับจังหวะช่วงราคาน้ำมัน-วัสดุก่อสร้างปรับลด เดินหน้าโครงการลงทุนภาครัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว ไม่ใช่เอาใจแต่รากหญ้า มองการลดอาร์/พี 1% ของธปท. ถือว่าเหนือความคาดหมาย แนะเลี่ยงลงทุนหุ้นกู้เอกชนกลุ่มเสี่ยง ทั้งลีสซิ่ง การเงิน อสังหาริมทรัพย์และปิโตรเคมี

ศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด กล่าวถึงการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(อาร์/พี 1 วัน)ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลง 1% ว่า สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดตราสารหนี้ค่อนข้างมาก เพราะมีการคาดการณ์ว่าน่าจะปรับลดเพียง 0.5% เท่านั้น การปรับลดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทาง ธปท. ต้องการที่จะใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน หลังจากที่เสรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

นอกจากนี้ ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทยเอง ยังทำให้การใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชนหายไปด้วย และผลของการปิดสนามบินจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่ง ธปท.มีความจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างแรง

อย่างไรก็ตาม การจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้าอีกหรือไม่นั้น ขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจจริงที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการพิจารณาของ ธปท. ซึ่งหากต้องการให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น ก็อาจจะใช้วิธีลดการดูดซับสภาพคล่องโดยลดการออกพันธบัตรลงร่วมด้วย

ทั้งนี้แนวโน้มความกังวลต่อวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะทำให้ตราสารหนี้มีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ต้องระวังการถูกปรับลดอันดับเครดิต (ดาวน์เกรด) ซึ่งในปีหน้า จะเห็นภาคเอกชนระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้มากขึ้น เพราะการไประดมทุนในต่างประเทศทำได้ยากขึ้น

นอกจากนี้ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยถูกปรับลดอันดับเครดิตลง ซึ่งจะติดตามมาด้วยการปรับลดอันดับเครดิตบริษัทเอกชน ทำให้กองทุนต้องมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้โดยใช้ความระมัดระวังมากขึ้น จากเดิมที่มีกรอบนโยบายที่ลงทุนในหุ้นกู้ที่มีเรทติ้ง BBB- ซึ่งเป็นระดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ขึ้นไป ก็ขยับขึ้นมาที่เรทติ้ง A ขึ้นไป ด้าน กำพล อัศวกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนตัวแทนขาย บลจ.ทหารไทย กล่าวว่า มีตราสารหนี้ต่างประเทศของหลายๆประเทศที่ให้ดอกเบี้ยสูง แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมากเช่นกัน เพราะปัจจุบันค่าเงินมีความผันผวนสูง และไม่เป็นไปตามกลไกปกติ ดังนั้น ถึงแม้ผลตอบแทนจะสูงแต่หักลบอัตราแลกเปลี่ยนไปแล้วอาจจะไม่คุ้มกัน

สำหรับในปีหน้ากองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท จะเริ่มทยอยครบอายุ ดังนั้นจะมีเงินลงทุนไหลกลับมากขึ้น ซึ่งก็มีแนวโน้มว่าจะกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเช่น พันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้คุณภาพดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us