Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 ธันวาคม 2551
ทัวร์บักโกรกขอเงินกู้4,050ล. ก.ท่องเที่ยวถกแบงก์16ธ.ค.นี้             
 


   
search resources

Tourism
สมาพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย




แอตต้าคาดการณ์ เฉพาะบริษัทนำเที่ยว ต้องการเงินกู้เพิ่มไม่น้อยกว่า 500 ราย คิดเป็นวงเงินรวม กว่า 4,050 ล้านบาท ขณะที่ กระทรวงการท่องเที่ยวเตรียมเชิญธนาคารแห่งประเทศไทย และ สถาบันการเงิน ร่วมรับฟังปัญหา และ วงเงินสินเชื่อ ที่เอกชนต้องการ ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ ก่อนนำรายละเอียดเสนอกรมบัญชีกลาง ของบสนับสนุนสินเชื่อ เป็นลำดับต่อไป

นายอภิชาติ สังฆอารี กรรมการ สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (เฟสต้า) เปิดเผยว่า ได้หารือกับสมาชิกเฟสต้าทั้ง 6 สมาคม ได้แก่ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า), สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว(ทีทีเอเอ), สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.), สมาคมโรงแรมไทย, สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย และสมาคมรถเช่าไทย เพื่อถามความต้องการว่า ในแต่ละ สมาคม มีสมาชิกที่ต้องการเงินทุนจำนวนกี่ราย เป็นวงเงินเท่าใด โดยมอบให้ สมาคมโรงแรมไทย เป็นผู้รวบรวมรายละเอียด ในกลุ่มของผู้ที่ต้องการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ในวงเงินที่สูงกว่า 100 ล้านบาท

ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ที่ต้องการเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท ล่าสุด แอตต้าได้สำรวจแล้ว เฉพาะในกลุ่มที่เป็นสมาชิก เฟสต้า มีจำนวนราว 1,300 ราย แบ่งเป็น บริษัทนำเที่ยว 800-900 ราย สำหรับกลุ่มนี้คาดว่าจะมีผู้ที่ต้องการสินเชื่อ ประมาณ 500 ราย ในวงเงินกู้เฉลี่ยรายละ 4 ล้านบาท ดังนั้นเฉพาะ กลุ่มบริษัทนำเที่ยว คาดว่าจะต้องการเงินกู้รวม 4,050 ล้านบาท

ทั้งนี้หลักเกณฑ์การปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน จะพิจารณาเช่นใด ขึ้นอยู่กับประวัติการกู้เงินและผ่อนชำระในอดีตของบริษัทนำเที่ยวในแต่ละรายด้วย หากเครดิตดี ประวัติดี เป็นที่น่าเชื่อถือ สถาบันการเงินเขาก็จะยินดีปล่อยกู้ให้ แต่หากเครดิตไม่ดี แอตต้าจะเป็นผู้รับรองให้ แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องไปหาผู้ประกอบการในบริษัทนำเที่ยวมาอีก 2 ราย มาเซ็นรับรองไขว้กัน ซึ่งหลักเกณฑ์ที่กล่าวมา เบื้องต้น สถาบันการเงินหลายแห่ง รับได้กับกฎเกณฑ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม การขอร้องของผู้ประกอบการขณะนี้ คือ ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาต่อรองกับธนาคารพาณิชย์ ในการขอลดอัตราดอกเบี้ยลง 2-3% จากปกติที่คิดในอัตราประมาณ 6-7% โดยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่ลดให้แก่ผู้ประกอบการนั้น ภาครัฐจะรับภาระเป็นผู้จ่ายให้แก่ธนาคารพาณิชย์เอง นอกจากนั้นยังต้องการขอร้องให้ในปีแรก จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยแล้ว มาเริ่มจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในปีที่สอง ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 3-4 ปี เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้แก่ภาคเอกชนในช่วงปีแรก ที่อาจได้รับผลกระทบจากทั้งวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง

ก.ท่องเที่ยวถกแบงก์16ธ.ค.นี้

ทางด้านนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะเชิญตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ,ธนาคารพาณิชย์,ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอีแบงก์) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) มาร่วมรับฟังข้อมูลจากภาคเอกชน ที่ได้ให้ไปรวบรวม ปัญหา และความต้องการขอสินเชื่อ ใน 6 กลุ่มธุรกิจภาคการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ภัตตาคาร บริษัทนำเที่ยว ร้านขายของที่ระลึก ตลอดจนสินค้าและบริการท่องเที่ยวอื่นๆ เป็นต้น

โดยในรายละเอียดที่ภาคเอกชนจะต้องมานำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ คือ เรื่องของความจำเป็นในการต้องการขอสินเชื่อ,วงเงินสินเชื่อที่ต้องการ, รายได้ที่ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างให้แก่ประเทศ, การเสียภาษีของภาคเอกชน รวมถึงการจ้างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้ภาคการเงินได้เห็นภาพของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวว่า มีผลกับเศรษฐกิจของประเทศอย่างไรบ้าง โดยข้อมูลทั้งหมด กระทรวงฯและภาคเอกชน จะรวบรวมนำไปชี้แจงต่อสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง ให้รับทราบด้วย โดยวงเงินที่รัฐจะใส่มาช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวคาดว่าจะประมาณ 15,000-20,000 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us