Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532
สุนทร โภคาชัยพัฒน์ รวยเงียบๆจากอาชีพทนายความแท้ๆ             
 


   
search resources

สุนทร โภคาชัยพัฒน์
Consultants and Professional Services
สำนักงานชัยพัฒน์ทนายความ




"กะล่อน รอบจัด เชื่อไม่ได้ ชอบค้าความ ชอบยุยงให้ชาวบ้านเขาทะเลอะเบอะแว้งกันอยู่เป็นนิจ ขี้เมาหัวราน้ำ เล่นการพนัน และไม่มีความมั่นคงในอาชีพการงาน" บรรดาเถ้าแก่และพ่อแม่ผู้มีลูกสาวคนสวยทั้งหลายจะบอกอย่างนี้ เมื่อถูกถามว่าคุณมีความเห็นอย่างไรต่อพวกทนายความ และถ้าถามบรรดาสาวเจ้าทั้งหลายก็มักจะมีความเห็นค่อนข้างจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันว่าเขี้ยวลื่นเหมือนปลาไหล ไม่มีทางตามเขาได้ทัน"

ซึ่งมันก็คงมีส่วนจริงและไม่จริงอยู่บ้างในความเห็นทั้งหมด โดยเฉพาะในสภาวการเริ่มต้นพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจและการเมืองอย่างบ้านเรา

มีคนกล่าวว่าในประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดนั้นแพทย์จะถูกเรียกร้องหามากที่สุด ต่อเมื่อประเทศเริ่มพัฒนาวิศวกรจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น และสุดท้ายเมื่อการพัฒนาถึงขั้นอิ่มตัวผู้คนถึงจะหันมาดูและหาทางคุ้มครองสิทธิของตนเองให้ความสำคัญใช้บริการทนายความ

แต่ปัจจุบันบ้านเมืองสยามกำลังจะพุ่งสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พระราชบัญญัติสภาทนายความพึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาแห่งรัฐเมื่อปี 2529 หรือเพียง 2 ปีเศษที่ผ่านมา องค์กรที่เป็นตัวแทนของอาชีพนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับคนก็พึ่งจะหัดพูดอ้อๆแอ้ๆ เท่านั้นเอง นับว่าล้าหลังมาก เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่มีคำคำว่าทนายความเกิดในประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติการปกครอง พ.ศ. 2475

มีทนายความที่จดทะเบียนรับอนุญาตว่าความไว้กับสภาทนายความในปัจจุบันเกือบ 30,000 คนแม้จะดูน้อยนักเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศที่มีถึง 50 กว่าล้านคน ซึ่งหลากหลายอาชีพและอยู่ภายใต้กฎหมายแห่งรัฐนับหมื่นฉบับรวมถึง ประกาศ ระเบียบ คำสั่งของกระทรวงทบวงกรมต่างๆอันใช้บังคับเช่นกฎหมาย

และในขณะที่กฎหมายนั้นกำหนดให้ทุกคนต้องรู้กฎหมาย เพราะความไม่รู้กฎหมาย จะมาอ้างเป็นข้อยกเว้นไม่ได้

และยิ่งดูน้อยลงไปอีกถ้าเชื่อตามที่มีคนกล่าวกันว่าในบรรดาทนายความที่จดทะเบียนไว้ทั้งหมดนั้นนั้นมีคนที่มีกิจกรรมทางอาชีพจริงๆเพียงไม่ถึง 5,000 คน และถ้าจะกล่าวเข้ามาให้แคบเข้าเรื่อยๆ ก็มักจะได้ยินชื่อทนายความหรือสำนักงานกฎหมายเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่เป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของประชาชนในวงกว้าง

ถ้าเป็นสำนักงานของคนไทยจริงๆและอยู่ในแวดวงธุรกิจก็มักจะมีเพียง ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน สนอง ตู้จินดา ชมพู อรรถจินดา มารุต บุญนาค คนึงและปรก มานะ พิทยาภรณ์ ประพนธ์ ศาตะมาน ประธาน ดวงรัตน์ และคำนวณ ชโลปภัม นอกนั้นก็อยู่ในระดับจำชื่อจำนวนสกุลกันยังถูกๆผิดๆกันอยู่

ในจำนวนที่มีชื่อกันอยู่น้อยนิดนี้ก็มักจะไม่ค่อยได้ยินชื่อสำนักงานชัยพัฒน์ทนายความหรือขื่อของ สุนทร โภคาชัยพัฒน์กันเท่าใดนัก

แต่ก็พอให้เห็นอีกภาพหนึ่งของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความจริงๆที่แอบรวยอยู่เงียบๆ และก็พอสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาอีกด้านหนึ่งของวิชาชีพนี้ว่าคำกล่าวข้างต้นนั้นหกำลังจะถูกเบี่ยงเบนไปในทางที่ดีขึ้นด้วย

"ผู้จัดการ" พึ่งจะได้สัมผัสกับ สุนทร โภคาชัยพัฒน์ จริงๆเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยงานศึกษาค้นคว้าของเรามักจะพบชื่อของเขาอยู่บ่อยๆ นั้น เป็นมูลเหตุจูงใจอยากจะรู้จักเขามากขึ้น

สุนทร โภคาชัยพัฒน์ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความจริงๆในความหมายที่แม้วันนี้วัยของเขาจะล่วงเลย 50 ปีไปแล้ว เขาก็ยังไปขึ้นศาลว่าคดีและเตรียมงานทุกอย่างด้วยตัวเอง และไม่หันไปลงทุนทางด้านอื่นๆเช่นบางคน ซึ่งไม่ว่าจะลงขันกันตั้งค็อกเทลเลานจ์ทำคอนโดมิเนียม ทำธุรกิจบ้านพักตากอากาศ หรือเก็งกำไรค้าขายที่ดิน กระทั่งเป็นนายหน้าชาวต่างประเทศในการทำธุรกิจต่างๆ ไม่ถือหุ้นและเป็นกรรมการในบริษัทข้ามชาติต่างๆหรือแม้แต่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิก หรือที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งที่โอกาสก็เปิดให้เขาไม่น้อยครั้งทีเดียว

หรือจะเรียกว่าคนที่รวยจากอาชีพทนายความจริงๆ นั้นยังมีน้อย!

"ผู้จัดการ" พบชื่อของเขาเป็นที่ปรึกษาในบริษัทใหญ่ๆเกือบจะทุกกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งเจ้าตัวขอร้องให้เปิดเผยชื่อบริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นหลุ่มธุรกิจบรรเทิงขนาดใหญ่ที่ไดดดด้รับสัมปทานทำโทรทัศน์ของรัฐ กลุ่มธุรกิจค้าเหล้า กลุ่มธุรกิจค้าอ้อยและน้ำตาล กลุ่มธุรกิจธนาคาร สถาบันการเงินและบริษัทประกันภัย กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันซึ่งเป็นธุรกิจข้ามชาติ

"ตอนนี้มีทรัพย์สินเงินทองถึง 100 ล้านได้ไหมครับ" สุนทรก็ได้แต่ยิ้มไม่รับและไม่ปฏิเสธเมื่อ "ผู้จัดการ" ถามเอาตรงๆเพราะเมื่อดูจากภาวะงาน รายชื่อของลูกค้า และทุนทรัพย์ที่เขาดูแลอยู่ ประกอบกับที่เขาบอกว่าเขาเป็นทนายความที่ไม่เห็นด้วยกับการคิดค่าทนายถูกๆ ก็ไม่น่าคลาดเคลื่อนจากตัวเลขนี้นัก

สำนักงานชัยพัฒน์ทนายความไม่ถึงกับตั้งอยู่บนอาคารใหญ่ๆขนาดความสูง 20-30 ชั้นเหมือนสำนักกฎหมายของชาวต่างประเทศ แต่ยังคงอยู่ในห้องแถวเก่าแก่บนถนนตะนาวย่านศาลเจ้าพ่อเสือ อันเป็นย่านที่ชุกชุมและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสำนักงานทนายความ

แต่สิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะความเป็นสำนักงานที่ไม่ใช่ทนายห้องแถวของ "ชัยพัฒน์ทนายความ" นั้นจะเห็นก็ต่อเมื่อเดินเข้าไปในสำนักงานแล้วเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งภายใน และระบบออฟฟิศออโตเมชั่น ตลอดทั้งการจัดการภายใน ซึ่งสุนทรเองบอกว่าเขาให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มาก

สุนทรยอมรับว่าเขาถึงจุดอิ่มตัวในแง่ของฐานะความมั่นคง แต่ในแง่ของวิชาชีพเขาไม่เคยอิ่มตัวเลย โดยเฉพาะเรื่องความรู้และข่าวสาร เขาจะต้องทำตัวให้ทันมันตลอดเวลา

"ผมเป็นสมาชิกข่าวสารทั้งที่เป็นข่าวสารด้านความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกฎหมายโดยตรง และข่าวสารความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเกือบทุกอย่าง ไม่งั้นผมจะช่วยลูกความไม่ได้มาก" สุนทรกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

สุนทร โภคาชัยพัฒน์ เติบโตมาจากลูกคนจีนแถวค้าขายย่านเวิ้งนครเกษมธรรมดาๆครอบครัวหนึ่งพ่อส่งเขาเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเผยอิง อันเป็นที่นิยมส่งลูกเข้าเรียนภาษาจีนของพ่อแม่คนในเมืองไทยสมัยนั้น (2494) ซึ่งนักเรียนรุ่นเดียวกับเขาที่เผยอิงก็คือดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารนครหลวงไทยในปัจจุบัน

ณ ที่เผยอิงนี่เองที่สุนทรบอกว่าทำให้เขาได้เปรียบทนายคนอื่นๆ ซึ่งพูดภาษาจีนไม่ได้เพราะเป็นที่รู้จักกันอยู่ว่าพ่อค้านักธุรกิจในเมืองไทยส่วนใหญ่นั้นเป็นคนจีน หลังจากนั้นครอบครัวของเขาก็อพยพลงไปอยู่นราธิวาส และเขาก็ได้เรียนภาษาจีนกลางเพิ่มเติมอีก จนถึงระดับมัธยมเขาจึงได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ และสอบเทียบ ม.6 ได้ก่อนจึงไปเข้าที่โรงเรียนพาณิชย์พระนครและก็สอบเทียบ ม.8 ได้อีกจึงสมัครเข้าเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรุ่น 2501

นักศึกษาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รุ่นนี้ล้วนแต่เป็นใหญ่เป็นโตในปัจจุยบันเช่น ชวน หลีกภัย สมัคร สุนทรเวช หรืออย่าง มีชัย ฤชุพันธ์ และอีกหลายคน

"แต่อาชีพการงานของผมไม่ค่อยจะมีเรื่องรบกวนพรรคพวกเท่าไหร่ ภาระของแต่ละคนก็รัดตัว จึงไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันนัก" หัวหน้าสำนักงานชัยพัฒน์ทนายความกล่าว

เมื่อจบกฎหมายธรรมศาสตร์ในปี 2504สุนทร โภคาชัยพัฒน์ก็เข้าทำงานเป็นทนายความประจำสำนักงานทนายความชมพู อรรถจินดา ซึ่งเขาบอกว่า ณ ที่แห่งนี้ได้ให้อะไรมากมายแก่เขา ท้งในแง่ของวิชาความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพตลอดทั้งความสัมพันธ์กับลูกความกลุ่มต่างๆ

สมัยนั้นสำนักงานทนายความชมพู อรรถจินดา จัดว่าเป็นสำนักงานทนายความในระดับแนวหน้าในแวดวงการค้าธุรกิจเลยทีเดียว เช่นเดียวกับสำนักงานทนายความมนูกิจของ ประสิทธิ กาญจนวัฒน์ และสำนักงานกฎหมายสะพานเหลืองของวรรณ ชันซื่อ สำนักงานเหล่านี้ล้วนกว้างขวางในกลุ่มพ่อค้าคนจีนในยุคนั้น

"อาจารย์ชมพูท่านก็ไว้ใจผมมาก ท่านคงเห็นว่าผมชอบคดีทางแพ่งและเป็นคนใจเย็นรอบคอบ ท่านจึงมอบหมายงานให้ผมทำมาก ผมต้องรับผิดชอบคดีธนาคาร 4 แห่งในบรรดาธนาคารที่เป็นลูกความของสำนักงานอยู่ทั้งหมด 16 แห่งเป็นทนายดูแลคดีบริษัทประกันภัยอีก 3 แห่ง บริษัทรถยนต์อีก 2 แห่ง และบริษัทน้ำมันอีกแห่งหนึ่งและคดีใหญ่ๆท่านก็มักจะโยนให้ผมเป็นคนรับผิดชอบ" สุนทรพูดถึงอดีตการเริ่มต้นเป็นทนายให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

หัวหน้าสำนักงานชัยพัฒน์ทนายความกล่าวว่าการที่เขาได้รับความไว้วางใจให้ทำคดีใหญ่ๆของสำนักงานอยู่เรื่อยๆนั้น ทำให้เขามีโอกาสศึกษาค้นคว้ามาก และได้เรียนรู้ประสบการณ์จากทนายรุ่นพี่ๆซึ่งเป็นทนายมีชื่อเสียงและได้มาเป็นทนายยยฝ่ายตรงข้ามกับเขา

"ผมเป็นคนที่เตรียมคดีนานมาก ถ้าจะเร่งผมให้ทำเร็วๆผมคงทำไม่ได้ เพราะผมต้องการค้นคว้าอย่างรอบคอบและรอบด้าน อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ผมเสียเปรียบ ทนายคู่กรณีน้อยมาก" สุนทรกล่าว

สุนทรอยู่กับสำนักงานชมพู อรรถจินดา นานถึง 13 ปี ซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่เดือนละ 600 บาท และรายได้อีกส่วนหนึ่งจากส่วนแบ่งทำคดีแต่ละคดี เขาพอจะสมทบทุนได้บ้างจึงแยกตัวออกมาตั้งสำนักงานขงอตัวเองกับเพื่อนอีก 6 คนเมื่อปี 2519 ซึ่งก็คือสำนนักงานชัยพัฒน์ทนายความในปัจจุบันเพื่อนรุ่นเดียวกันก็คือ ศิริ อาบทิพย์ ซึ่งปัจจุบันได้แยกตัวออกไปตั้งสำนักงานเองแล้ว และเพื่อนรุ่นน้องอีก 4 คนคือ สัมฤทธิ์ มีวงค์โคตร ปัจจุบันแยกออกไปตั้งสำนักงานเองเช่นกัน และทำสยามจดหมายเหตุด้วยในปัจจุบัน ส่วนรุ่นน้องอีกคนคือ ไทย สุภาณิชยรภาธน์ ยังอยู่ด้วยกันมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อพูดถึงโอกาสที่ทำให้สุนทรสร้างเนื้อสร้างตัวมาถึงทุกวันนี้ สุนทรบอกว่าเขาแย่กว่ารุ่นพี่ที่ดังๆหลายคนซึ่งบางงคนอาจจะเป็นทนายดูแลทรัพย์สินให้แก่ขุนนางใหญ่ๆหรือกลุ่มธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ร่ำรวยกันแล้ว แต่สำหรับเขานั้นต้องทำงานหนัก ลูกความที่ได้มาก็ถูกแนะนำกันมาเป็นทอดๆ จึงกระจายออกไปกว้างขวางทุกกลุ่มอุตสาหกรรมตัวเขาเองก็ไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางการเมืองหรือธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาก่อน หรือแม้แต่ฐานะทางสังคมที่จะต้องเข้าไปเป็นกรรมการสมาคมต่างๆก็ไม่เคย

แต่บางคนก็บอกว่าลักษณะที่ลูกความกระจายอย่างเขา ยิ่งดีกว่าคนอื่นๆที่กระจุกอยู่แต่ในกลุ่มเดียว!

"ปัจจุบันผมก็ไม่เคยออกสังคม กะว่าชีวิตจะได้สบายขึ้นได้พักผ่อนบ้าง แต่ก็มีเรื่องยุ่งเกิดขึ้นกับลูกความเราอยู่เรื่อย ซึ่งเรื่องแต่ละเรื่องต้องใช้เวลาการทำงานกันเป็นปีๆ นี่พอเรื่องช่อง 3 เพิ่งเสร็จ เรื่องบริษัทน้ำตาลไทยก็เข้ามาแทน เรื่องน้ำตาลกำลังว่าจะเรียบร้อย กำลังจะมีเรื่องใหม่เกิดขึ้นอีกแล้วซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มากเหมือนกัน" สุนทรพูดถึงงานของเขา

งานของสุนทร โภคาชัยพัฒน์แม้จะหนักไปทางด้านให้คำปรึกษาและวางแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยหลีกเลี่ยงการฟ้องร้องกันให้มากที่สุดเท่าที่จะควบคุมได้ แต่เรื่องไหนจำเป็นจะต้องขึ้นโรงขึ้นศาล สุนทรก็ขึ้นว่าความที่ศาลด้วยตนเอง

สุนทรบอกว่างานกฎหมายในบ้านเรายังเป็นลักษณะความเชื่อถือเฉพาะตัว การพิจารณาว่าเรื่องไหนจะต้องขึ้นว่าคดีเองหรือไม่นั้นไม่ได้ดูจากค่าจ้าง แต่จะดูความจำเป็น อย่างคือ หนึ่ง ลูกความเก่าแก่ซึ่งลูกความวิตกกังวนมาก ต้องขอร้องให้เขาเป็นคนทำเองทั้งๆ ที่บางเรื่องในสายตาของเขาไม่ใช่เรื่องที่น่าห่วงก็ตาม สอง ความซับซ้อนของปัญหาและเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งถ้าทนายคนอื่นทำอาจจะพลาดได้ สาม เรื่องที่ท้าทาย ซึ่งมักจะเป็นเรื่องที่ปิดตายแพ้ แต่เขาจะพยายามแก้ไขปัญหาอย่างช้าๆ ตามสไตล์ของเขาและ สี่ ซึ่งอันนี้ถือเป็นมารยาทเลยก็คือว่าลูกความเก่าที่เขาเคยรุ่งโรจน์มาก่อน แต่เมื่อเขาต้องตกอับ มันเป็นเรื่องขวัญและกำลังใจของลูกความด้วยทรี่เขาจะต้องทำด้วยมือของเขาเอง

"หลักของผมที่ยึดถือมากก็คือ ความเป็นกลาง ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายจะมีทนายความหรือไม่ก็ตาม ผมจะต้องให้เรื่องมันจบลงโดยที่ทุกฝ่ายพอใจ" สุนทรกล่าว

สำนักงานชัยพัฒน์ทนายความขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่แยกตัวมาตั้งเองใหม่ๆเพียง 3 ปีต่อมาเขาก็มีทนายความประจำซึ่งกินทั้งเงินเดือนและส่วนแบ่งจากการทำคดีถึง 36 คนซึ่งเป้นตัวเลขทีสุนทรบอกว่าเขาจะจำกัดจำนวนทนายความไว้เพียงระดับนี้ เขาบอกว่าเหนื่อยที่จะต้องดูแลคนมากๆและอยากจะให้ทนายของเขามีงานรับผิดชอบและรายได้อย่างเพียงพอในเกณฑ์ที่ดี

"บางทีผมก็คิดจะลงทุนทำธุรกิจอื่นอยู่เหมือนกัน แต่คิดไปคิดมางานในสำนักงานก็ทำไม่ค่อยจะทันอยู่แล้ว ความที่จะต้องรับผิดชอบงานในวิชาชีพให้ดีที่สุดก็เลยไม่สามารถจะไปทำอย่างอื่นได้ส่วนเรื่องจะไปมีหุ้นกับลูกค้านั้นผมถือเป็นมารยาทเลยว่าไม่ให้มี เพราะไม่เช่นนั้นจะขาดความเป็นกลางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ" สุนทรกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ปัจจุบัน สุนทร โภคาชัยพัฒน์ จึงใช้ชีวิตอยู่กับงานที่ยุ่งๆ แต่เงียบๆ โดยมีศรภรรยาเป็นเลขาฯคู่ใจลูกชายคนโตที่จบปริญญาโทด้านเศรษฐกิจก็ทำงานอยู่กับทิสโก้ ส่วนลูกอีกสามคนก็กำลังเรียนปริญญาตรีและโทอยู่สหรัฐอเมริกากันทุกคน แต่ปรากฎว่าไม่มีคนเรียนทางด้านกฎหมายเลยสักคน ในหนึ่งสัปดาห์เขาจะให้เวลากับการออกสังคมเพียง 2 วันเท่านั้น ซึ่งนั่นจะต้องเป็นงานที่สำคัญจริงๆ ส่วนที่เหลือจะให้แก่ครอบครัว ซึ่งก็คือภรรยาและลูกชายคนโต โดยทำอาหารเย็นด้วยกันในบ้านหลังราคาหลายล้านบาทที่หมู่บ้านเลคไชค์วิลล่า

สุนทร โภคาชัยพัฒน์ อาจจะไม่ใช่ตัวอย่างเดียวของผู้ประกอบวิชาชีพธุรกิจทนายความในยุคปัจจุบัน ในเมื่อโลกธุรกิจกำลังเจริญรุดหน้าไปอย่างมากๆ เช่นทุกวันนี้ แล้วคนก็หันมาสนใจกติกาทางการค้ามากขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us