|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อีลิท ขยาดการเมืองป่วน กระทบธุรกิจ หั่นงบทำตลาดปี 52’ เหลือ 300 ล้านบาทเศษ จากปี 51’ที่ใช้ไป 460 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายปีหน้า 100 ใบ ส่วนปีนี้พลาดเป้าตามคาด อ้างการเมืองไม่นิ่ง เป็นเหตุให้ประเทศขาดความน่าเชื่อถือ ส่งผลลูกค้าอีลิทหาย ด้านบอร์ดทีพีซี สั่ง ทำแผนระยะยาว เร่งสำรวจความต้องการลูกค้า พร้อมหาพันธมิตรเพิ่ม
นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ประธานคณะกรรมการบริหาร และรักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยพริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) ผู้ดำเนินโครงการ บัตรไทยแลนด์อีลิท เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับลดงบประมาณ ที่จะใช้ทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ในปี 2552 ราว 300 ล้านบาทเศษ ซึ่งลดลงกว่า 100 ล้านบาท จากปี 2551 ที่ใช้งบทั้งหมดประมาณ 460 ล้านบาท เพราะเชื่อว่า ปีหน้าประเทศไทย ยังต้องเร่งมือในเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นในสายตาชาวต่างชาติให้กลับมาก่อน ดังนั้น หาก ทีพีซี ทุ่มเงิน ในการทำตลาดไปมากก็คงสูญเปล่า เพราะ ถ้าต่างชาติและนักลงทุน ยังไม่เชื่อมั่นประเทศไทย เขาก็จะยังไม่สมัครเข้าเป็นสมาชิกอีลิทการ์ดแน่นอน
“เราจะเดินแผนธุรกิจแบบประคับประคอง ไม่ให้ ชื่ออีลิท หายออกไปจากตลาด แต่จะไม่โหมหนัก เช่น เลือกพื้นที่ในการทำตลาด เล็งให้ตรงกับตลาดที่เป็นเป้าหมาย ออกโรดโชว์ พอประมาณ ไม่มากเหมือนที่ผ่านมา เพราะคงขายไม่ได้มากนัก จากปัจจัยหลายๆอย่างที่เกิดขึ้น ประกอบกับ ทีพีซี ไม่ใช่หน่วยงานที่จะสามารถของบประมาณจากภาครัฐได้ เราต้องบริหารจัดการเงินสด ที่เรามีอยู่กว่า 600 ล้านบาท ในการลงทุน เพื่อต่อยอดธุรกิจของเราต่อไป ซึ่ง ในภาวะเศรษฐกิจโลก และ ผลของการปิดสนามบิน คง ต้องใช้เวลา ในการเยียวยาเรียกความเชื่อมั่นให้กลับมา ลูกค้าจึงจะยอมจ่ายเงิน 1.5 ล้านบาท เพื่อซื้อสิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกของอีลิท”
ทั้งนี้ แผนธุรกิจของ ทีพีซี ในปีหน้า ขณะนี้ ยัง ไม่สรุปชัดเจน ต้องรอให้การเมืองนิ่ง มีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และ ขอรอฟังนโยบายจากรัฐบาลว่า จะให้ความสำคัญกับภาคการท่องเที่ยวมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น การประชุมจึงเป็นเรื่องของการหารือ และ ขอข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการบอร์ด ถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจ ในปีหน้า เท่านั้น ซึ่ง จะต้องมีมากกว่า 1 แนวทาง หรือ 1 แผนให้เลือก เพราะ ต้องยอมรับว่า สถานการณ์ภายในประเทศไทยเปลี่ยนเร็วมาก เช่น จากการประชุมบอร์ดในครั้งก่อน ที่นัดจะมีการประชุมกำหนดแผนธุรกิจ ขณะนั้นยังไม่มีเหตุการณ์ปิดสนามบิน แต่วันนี้ ได้ผ่านเหตุการณ์ปิดสนามบิน และก็เปิดใช้สนามบินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังจะจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ อย่างนี้ เป็นต้น ทำให้ ทีพีซี ยังกำหนดแผนชัดเจนไปเลยที่เดียวไม่ได้ แต่ แผนที่จะออกมานี้ต้องสามารถรับมือกับวิกฤตในปีหน้าได้
สำหรับ ปีหน้า บริษัทตั้งเป้ายอดขายที่ 100 ใบ มีรายได้เข้าบริษัทราว 400 ล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากยอดขายบัตรสมาชิก อีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้จากการบริการ และ การลงทุนอื่นๆ สำหรับปีนี้ เฉพาะเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีสมาชิกใหม่ 6 ราย คาดว่า ธ.ค. จะได้เพิ่มอีก 10 ราย ทำให้ ทั้งปีมียอดขายรวมกว่า 100 ราย และ มียอดสมาชิก สะสมรวมทั้งหมดเป็นกว่า 2,600 ราย อย่างไรก็ตามหากภาวะทุกอย่างกลับเป็นปกติ ทีพีซี ก็พร้อมทุ่มงบการตลาด เพื่อดึงสมาชิกใหม่เข้ามาให้มากที่สุด
ด้านนายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในฐานะ กรรมการ ในบอร์ด บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด ทีพีซี เห็นตรงกันว่า ต้องการ ให้ ทีพีซีได้ปรับปรุงแผนธุรกิจในระยะยาว โดยคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นสำคัญ โดย ทีพีซี จะต้องทำวิจัยและศึกษาตลาดอย่างรอบคอบ ให้รู้ถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า เพื่อจะได้จัดทำข้อเสนอ หรือสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ตรงใจ เพราะ การทำงานของ ทีพีซีในอดีต ยังไม่ได้ให้ความสำคัญตรงจุดนี้เท่าที่ควร ทำให้ข้อเสนอ ที่ส่งไปยังลูกค้า อาจไม่ตรงความต้องการและไม่น่าสนใจ เป็นเหตุให้ทำยอดขายได้ไม่ดีพอ
นอกจากนั้นยังต้องการให้ ทีพีซี เร่งหาพันธมิตร ที่นอกเหนือ จาก กอล์ฟ และ สปา แต่อาจเป็นกลุ่มบริการอื่นๆ เช่น โรงพยาบาล ร้านอาหาร เป็นต้น โดยไม่จำเป็นต้องให้สมาชิกใช้ฟรี แต่ ขอให้ พันธมิตรที่เข้าร่วมนั้น ได้จัดบริการพิเศษให้แก่สมาชิก
|
|
|
|
|