Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 ธันวาคม 2551
สภาพัฒน์ห่วงว่างงาน9แสนนศ.จบใหม่ซีด             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Economics




สภาพัฒน์คาดการณ์แนวโน้มการว่างงานปี 52 อยู่ที่ 9 แสนคน ผลจากเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้ประกอบการรถยนต์รายใหญ่ปลดคนงาน เผยสำนักประกันสังคมอาจต้องควักเงินทดแทนไม่ต่ำกว่า 3 พันล้าน ชี้นักศึกษาจบใหม่ 3 แสนคน เตะฝุ่นยาว แนะรัฐบาลใหม่เร่งฟื้นวิกฤต ปรับทิศทางการศึกษาใหม่

นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงรายงานความเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วงไตรมาส 3 (ก.ค.-ก.ย.) ปี 2551 ว่า สภาพัฒน์ฯ คาดแนวโน้มการว่างงานในปี 52 จะอยู่ที่ประมาณ 9 แสนคน หรือ 2.0-2.5% ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะการที่ผู้ประกอบการรถยนต์รายใหญ่ในไทยประกาศจะปรับลดพนักงานลง หลังจากที่ยอดขายตลาดรถยนต์หดตัวจนส่งผลกระทบต่อการผลิต รวมทั้งจำนวนผู้จบการศึกษาใหม่ในปีหน้าจะเข้ามาในตลาดแรงงานเพิ่มอีก

จากอัตราการว่างงานของคนไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ทำให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะต้องจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงาน

"หากมีการถูกเลิกจ้างจริง 6 แสนคน จะต้องมีภาระจ่ายเงินทดแทน ประมาณ 3,000 ล้านบาท สูงกว่ากระแสรายรับจากเงินสมทบ แต่สามารถที่จะชดเชยได้เนื่องจากมีระดับกองทุนสะสมประมาณ 40,000 ล้านบาท" นางสุวรรณีกล่าวและคาดว่าผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในช่วงครึ่งแรกของทุกปี จะหางานลำบากมากขึ้น อาจจะมีแรงงานใหม่ที่ว่างงานประมาณ 3 แสนคน ดังนั้นจะต้องมีการใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสจากการถูกเลิกจ้างงานหรือชะลอการผลิต โดยเร่งเพิ่มผลิตภาพพลังคนในด้านการศึกษา และเร่งลงทุนปรับทิศทางการพัฒนาการศึกษาทั้งอย่างเป็นองค์รวมและมีการบูรณาการปัจจัยสนับสนุนให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาของสถานศึกษา ควบคู่กับการสร้างสังคมการเรียนรู้ในชุมชน

ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวยังไม่นับรวมเหตุการณ์ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตัวเลขการว่างงานตั้งแต่ไตรมาส 4/51

ทั้งนี้ ตัวเลขการว่างงานในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5.3 แสนคน โดยอัตราการว่างงานเฉพาะในไตรมาส 3/51 อยู่ที่ 1.2% ลดลงจากไตรมาส2/51 ซึ่งอยู่ที่ 1.6% ส่วนการปิดสนามบินเมื่อช่วงปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา มองว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวเลขการจ้างงาน ไม่เฉพาะในภาคการท่องเที่ยวแต่จะมีผลถึงภาคอุตสาหกรรมส่งออก,อัญมณี และเครื่องใช้ไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่อาจลดลงไปจะได้รับการทดแทนจากการท่องเที่ยวในประเทศที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจในประเทศที่ยังขยายตัวได้น่าจะช่วยดูดซับแรงงานได้บางส่วน โดยคาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ยังอยู่ที่ 4.5% และปี52 ที่ 3-4%

“แม้ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ในการบริโภคเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ และยาสูบจะลดลง แต่กับเด็กอายุ 15-24 ปี กลับเพิ่มขึ้น ทำค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในปี 2551 สูงขึ้นทั้งค่ายาและค่ารักษา และทำให้ค่าใช้จ่ายครัวเรือน ปี 2551 อยู่ที่ 556,226 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่ 541,929 ล้านบาท” นางสุวรรณีเปิดเผย

ขณะเดียวกันปัญหาทางสังคม อื่นๆ เช่น ความเจ็บป่วยที่เกิดกับโรคไข้เลือดออกที่ คร่าชีวิตกับคนทุกวัย หลังจากที่ผ่านมาระมัดระวังแต่กับเด็ก รวมทั้งโรคชิคุกุนยา หรือโรคติดเชื้อจากอุบัติเหตุซ้ำ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็เป็นโรคที่คล่าชีวิตคนไทยไปมากเช่นกัน

ทางด้าน อัตราการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ มีการแจ้งหายสูงถึง 5,036 คดี เป็น 1 ใน 3 ของคดีลักทรัพย์ เนื่องจากมีเครือข่ายที่ทำเป็นขบวนการ มีแหล่งรับซื้อ ทำให้สามารถจับกุมได้เพียงร้อยละ 18.5 ของคดีที่แจ้ง ส่วนการจับกุมคดีอื่นๆ ทั้งยาเสพติดกลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนที่มีความผิดเกี่ยวกับคดีทางด้านทรัพย์จำนวน 3,572 คดี อายุระหว่าง 15-18 ปี ถึงร้อยละ 84

สภาพัฒน์ยังให้ความสำคัญกับอิทธิพลของสื่อที่มีต่อเด็กและเยาวชนไทย โดยเฉพาะโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ท กำลังเป็นภัยต่อตัวเด็กเองแม้จะมีทั้งสื่อและสร้างสรรค์และทำลาย ดังนั้นสังคมจึงต้องร่วมกันขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในอนาคต ซึ่งทุกภาคส่วนต้องรับผิดชอบร่วมกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us