|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สภาพัฒน์เล็งเลื่อนแถลงจีดีพีไตรมาส 4 เร็วกกว่า 1 เดือน เพื่อให้ทันสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ปกติ จี้ภาครัฐเป็นตัวนำเศรษฐกิจทั้งการลงทุนเมกะโปรเจกต์และกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ แนะรัฐบาลใหม่เร่งนโยบายไทยเที่ยวไทย กระตุ้นตลาดในประเทศ ใช้โอกาสช่วงเทศกาลปีใหม่นำร่อง
นายปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า นาย อำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สอบถามว่า สศช.สามารถที่จะเลื่อนการแถลงรายงานผลอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 (จีดีพี) (ต.ค.-ม.ค.) ปี 2551 ให้เร็วขึ้นมาเป็นเดือนมกราคม 2552ได้หรือไม่ เนื่องจากวาระเดิมที่จะแถลง คือเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยเห็นว่า ปัจจัยหลักจากวิกฤติการเมืองที่มีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้เกิดผลกระทบจากการท่องเที่ยว ดังนั้นจะรายงานตัวเลขจีดีพีของไตรมาส 4 และตัวเลขจีดีพีทั้งปี 2551 ได้หรือไม่
ด้านนางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่า แม้ปัญหาการเมือง จากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ จะทำให้เกิดผลกระทบกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวภายนอกที่ลดลง และมิติการลดการจ้างงานบางส่วน แต่หากมีการทดแทนภาคการท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น เช่นกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวในประเทศ ในลักษณะไทยเที่ยวไทย อัตราความเจริญเติบโตด้านการท่องเที่ยวก็อาจจะกลับมา
“หยุดยาว 2-3 วันที่ผ่านมา จะสังเกตเห็นได้ว่า การท่องเที่ยวในประเทศมีนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ทั้ง เขาใหญ่ หรือ อ.ปาย เป็นต้น”
ก่อนหน้านี้ สศช.คาดว่า จะปรับลดประมาณการเติบโตทั้งปีของปี 2551 จากร้อยละ 5.2-5.7 เหลือร้อยละ 4.5 การส่งออกปี 2552 จะชะลอตัว ส่งออกด้านปริมาณเติบโตลดจากปี 2551 จาก ร้อยละ 7.6 เหลือเพียง ร้อยละ 4.4 ดุลการค้าเพิ่มขึ้น จากขาดดุล 1,000 ล้านดอลลาร์เป็นขาดดุล 6,500 ล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลเพิ่มจากร้อยละ 0.4 เป็นร้อยละ 1.2 เงินเฟ้อ ลดจากร้อยละ 5.6 เหลือร้อยละ 2.5-3.5 แต่อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นจากปีนี้ ที่ร้อยละ 1.4 เป็นร้อยละ1.5-2.5 ของจีดีพี โดยว่างงานประมาณ 1.2 ล้านคน
สศช.เห็นว่า รัฐบาลจะต้องหาทางรับมือเศรษฐกิจด้วย การเร่งรัดการลงทุนเมกะโปรเจกต์ต่างๆ มุ่งเน้นในการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศโดย รวมถึงการกระจายงบด้านการดูแลสังคม สาธารณสุข การกระตุ้นการท่องเที่ยว การบริหารเศรษฐกิจปีหน้า ภาครัฐต้องเป็นตัวนำ เพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากการส่งออกชะลอตัวมาก รวมทั้งให้ลำดับความสำคัญกับการดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มด้อยโอกาส และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการพึ่งพาตนเองในระยะยาวและการเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นและการกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนเพื่อเตรียมสภาพคล่องให้มีเพียงพอจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปี 52 มีแนวโน้มชะลอลงจากปี 2551 การลงทุนภาคเอกชนจะยังชะลอตัวต่อเนื่องเนื่องจากความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจจะยังต่ำในภาวะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงต่ำสุด อย่างไรก็ตามคาดว่าในครึ่งหลังของปี ภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลกจะผ่านพ้นช่วงต่ำสุดไปแล้วในครึ่งแรกของปีและเริ่มปรากฏผลของการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังผ่อนคลายที่ได้ดำเนินมาในช่วงครึ่งหลังปี 2551 และต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2552
ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2552 คาดว่าภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ๆ จะยังคงอยู่ในช่วงของการแก้ปัญหาภาคการเงิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินตึงตัวมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศต่าง ๆ มากขึ้นโดยเป็นผลกระทบที่จะต่อเนื่องเป็นวงกว้างมากขึ้นจากสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น และลุกลามไปยังประเทศในเอเชียและยุโรปตะวันออก รวมทั้งประเทศจีนและอินเดียที่จะต้องเผชิญกับการชะลอตัวของการส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญที่จะรุนแรง
|
|
|
|
|