Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532
LAZARD FRERES ธุรกิจครอบครัวรายสุดท้ายในวอลล์สตรีท             
 


   
search resources

วอลล์สตรีท, บง
Lazard Freres
มิเชล เดวิด-วีลล์




ยุคหนึ่งของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเคยเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า INVESTMENT BANK หลายบริษัทเป็นกิจการที่ตกทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ยุคนั้นคนในวงการยังได้ยินชื่อ "บิลลี่ ซาโลมอน" ควบคุมบริษัท SALOMON BROTHERS และ "บ๊อบบี้ เลห์แมน" บริหารกิจการ LEHMAN BROTHERS และก็ดี ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา กิจการของตระกูลที่มีอิทธิพลเหนือตลาดหุ้นวอลล์สตรีมาโดยตลอดเติบโตกลายเป็นบริษัทมหาชนระดับยักษ์กันไปหมดแล้ว

ทุกวันนี้จะมี INVESTMENT BANK ก็แห่งเดียวเท่านั้นคือ LAZARD FRERES & CO. ที่ยังทำธุรกิจในวอลล์สตรีท โดยมีตระกูล "เดวิด-วีลล์" เป็นเจ้าของ และคาดหมายกันว่า "มิเชลเดวิด - วิลล์" จะเป็นสมาชิกตระกูลที่ควบคุมกิจการของบริษัทเป็นคนสุดท้าย

พูดง่าย ๆ ตอนนี้ฐานะของเขาไม่ผิดกับ THE LAST EMPEROR ของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท

คงมีเปอร์เซ็นต์ความเป็นไปได้สูงมากว่าถ้าผมตายหรือปลดเกษียณไปแล้ว บริษัทนี้จะหลุดจากความควบคุมของตระกูลผม" มิเชล เดวิด - วีลล์ยอมรับ "ตอนนี้ผมก็เริ่มทำใจยอมรับความคิดนี้ไปทีละน้อย ๆ แล้ว"

แต่กว่าเวลานั้นจะมาถึงคงอีกนานทีเดียว เพราะแม้เขาจะเป็นหุ้นส่วนอาวุโสของ LAZARD มาครบทศวรรษแล้ว เดวิด-วีลล์ก็เพิ่งจะอายุ 55 สุขภาพยังสมบูรณ์แข็งแรงดี ยุคแห่งการอยู่ในอำนาจของเขาคงต่อเนื่องไปจนถึงศตวรรษที่ 21 เป็นแน่

ยิ่งกว่านั้นเดวิด-วีลล์ยังอาจได้ชื่อว่าเป็น INVESTMENT BANKER ผู้มีรายได้สูงสุด จากการประเมินของนิตยสารบิสซิเนสวีคที่ยืนยันว่าหุ้นในส่วนที่เขาถืออยู่ใน LAZARD นั้นทำกไรเมื่อปีที่แล้วราว 25 ล้านดอลลาร์

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา INVESTMENT BANK ผู้มีรายได้สูงสุด จากการประเมินของนิตยสารบิสซิเนสวีคที่ยืนยันว่าหุ้นในส่วนที่เขาถืออยู่ใน LAZARD นั้นทำกำไรเมื่อปีที่แล้วราว 25 ล้านดอลลาร์

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา INVESTMENT BANK คู่แข่งที่มีกิจการขนาดใหญ่และเงินหนาพากันเมินมองไม่เห็น LAZARD อยู่ในสายตาเพราะดูถูกว่าเป็นกิจการเล็ก และการบริหารไม่คล่องตัวจากที่สืบทอดกิจการมาจากยุคแห่งความรุ่งเรืองที่ร่วงโรยไปแล้วตามกาลเวลา…แต่ท่ามกลางความงุ่นงงของทุกคน LAZARD FRERE กลับผงาดขึ้นมาโดดเด่นในวอลล์สตรีทจนผิดตา

นับจากช่วงทศวรรษที่แล้วที่ INVESTMENT BANK ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จกิจการก้าวหน้าไปด้วยดี ต่างก็แข่งกันขยายกิจการอย่างบ้างคลั่งเมื่อมาเจอภาวะวิกฤติจาก BLACK MONDAY เมื่อ 19 ตุลาคมปีที่แล้ว บริษัทเหล่านี้ต้องหาทางลดค่าใฃ้จ่ายอย่างเร่งด่วนที่สุดด้วยการปลดพนักงานออกนับร้อย ๆ คน ด้วยหวังว่าจะกลับไปรุ่งโรจน์ได้เหมือนเดิมอีก ขณะเดียวกัน LAZARD FRERES ที่ทุกคนมองข้ามความสำคัญเพราะเป็นกิจการขนาดเล็กกลับมั่นคงและเติบใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

โดยเฉพาะกับตัวเดวิด - วีลล์ที่ทุกคนเคยเข้าใจผิดมองว่าเป็นผู้บริหารหัวอนุรักานิยมเต็มปากนั้น เดี๋ยวนี้เขาได้พิสูจน์ให้ตัวเองแล้วว่า เป็นผู้บริหารที่สุขุมที่สุและมือฉมังที่สุดในยุทธจักร INVESTMENT BANKING ของอเมริกา

"พวกเราที่เวียนว่ายอยู่กับวอลล์สตีทล้วนได้ประโยชน์จากการศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในรอบ 10 ปีก่อน เลยทำให้ธุรกิจของเราโกยกำไรได้มากกว่าที่เคยเป็นมา" มิเชล เดวิด-วีลล์ เล่าเหตุการณ์แห่งความสำเร็จของ LAZARD ขณะที่คู่แข่งส่วนใหญ่กำลังดิ้นรนกันสุดฤทธิ์ "แต่แทนที่พวกเขาจะสังหวรณ์ว่าการบูมของอุตสาหกรรมนี้มีสาเหตุหลักจากแรงผลักดันภายนอก อาทิ อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขากลับเชื่อมั่นว่าที่สามารถทำเงินได้มหาศาลเป็นเพราะพวกเขาสติปัญญาล้ำเลิศ แล้วพยายามพิสูจน์ความสามารถของตัวเองด้วยการเร่งสร้างความเติบโตให้กับกิจการ ทั้ง ๆ ที่โดยความเป็นจริงนั้นไม่มีใครวิเศษเก่งกาจไปกว่าเหตุการณ์แวดล้อมในยุคสมัยที่พวกเขาทำกิจการอยู่เลย"

ขณะที่คู่แข่งต้องดิ้นรน และเขม็งเกลียวกับการรวบรวมเงินทุนนับพันล้านดอลลาร์ที่พวกเขาใช้ในการเก็งกำไรและลงทุน เพื่อเทคโอเวอร์กิจการบริษัทต่าง ๆ มากขึ้น LAZARD กลับใช้เงินทุนพวกนี้น้อยมาก 90% ของรายได้แต่ละปีจะนำไปแบ่งจ่ายเป็นเงินปันส่วนให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมด "เราปฏิเสธไม่ยอมอยู่ในภาวะจำเป็นต้องใช้เงินทุนเสมอ" เดวิด - วีลล์ สรุป

ขณะที่คู่แข่งต้องดิ้นรนและเขม็งเกลียวกับการรวบรวมเงินทุนนับพันล้านดอลลาร์ที่พวกเขาใช้ในการเก็งกำไร่และลงทุนเพื่อเทคโอเวอร์กิจการบริษัทต่าง ๆ มากขึ้น LAZARD กลับใช้เงินทุนพวกนี้น้อยมาก 90% ของรายได้แต่ละปีจะนำไปแบ่งจ่ายเป็นเงินปันส่วนให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมด "เราปฏิเสธไม่ยอมอยู่ในภาวะจำเป็นต้องใช้เงินทุนเสมอ" เดวิด - วีลล์ สรุป

จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อ LAZARD FRERES ไม่กระโจนออกไปเสี่ยงมาก กำไรที่ได้ก็จะเพิ่มเป็นทวีคูณ เดวิด - วีลล์ถึงกับยอมขัดนโยบายไม่เปิดเผยฐานะการเงินด้วยการแย้มตัวเลขว่าปี 2530 ทำกำไรก่อนหักภาษี 134 ล้านดอลลาร์ ยิ่งเมื่อพิจารณาผลกำไรต่อหัวเทียบกับจำนวนพนักงานบริษัทแล้ว LAZARD นำโด่งเหนือคู่แข่งสำคัญทั้งหมด เช่น FIRST BOSTON CORP มีกำไรก่อนหักภาษีเพียง 120 ล้านดอลลาร์ขณะที่มีพนักงาน 5,500 คน เทียบกับ LAZARD ที่มีพนักงานเพียง 730 คน และ FIRST BOSTON CORP มีทุนจดทะเบียน 1.5 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ของ LAZARD เพียง 100 ล้านดอลลาร์

LAZARD มีวิธีทำเงินแบบเก่าแก่ด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมจากการให้บริการคำแนะนำทางการเงิน MERGERS - AND - ACQUISITIONS จนได้ชื่อว่าเป็นสิงห์ร้ายผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจนี้มากที่สุดรายหนึ่งของวอลล์สตรีท โดยเฉพาะ เฟลิกซ์ จี. โรฮาติน นักเจรจาต่อรองมือหนึ่งของ LAZARD นั้นชื่อเสียงกระฉ่อนที่สุดในวงการ และถ้าพูดว่าเขาเป็น INVESTMENT BANKER ผู้มีสายสัมพันธ์กับลูกค้าในอเมริกาดีที่สุดก็คงไม่ผิดนัก

กุญแจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ LAZARD คือยึดมั่นในนโยบายตระหนี่ถี่ถ้วนอย่างคงเส้นคงวา แม้จะอยู่ในยุคธุรกิจทั้งระบบต่างยึดวิถีทางการใช้จ่ายค่อนข้างสุรุ่ยสุร่าย LAZARD FRERES ก็ยังคงเดินตามเส้นทางของตนสม่ำเสมอไม่หลงระเริงตามไปด้วย

ในยุคมิเชล เดวิด - วีลล์ คือ THE LASTEMPEROR นี้ไม่เพียงแต่จะถือเป็นยุคทองของ LAZARD FRERES & CO. ในอเมริกาเท่านั้นเขายังเป็นประธานฝ่ายปฏิบัติการของ LAZARD FRERES & CIE. ซึ่งเป็น INVESTMENT BANK เลื่องชื่อที่สุดของฝรั่งเศสด้วย แม้ LAZARD ในปารีสจะมีผู้ถือหุ้นนับสิบรายและมีขนาดเพียง 1 ใน 4 ของ LAZARD ในอเมริกา แต่ถือว่าเป็นกิจการทำกำไรก่อนหักภาษีราว 70 ล้านดอลลาร์

เดวิด - วีลล์ยังเข้าไปควบคุมกิจการ LAZARD BROTHERS ในลอนดอนที่เข้ามาอยู่ในเครือของ LAZARD เมื่อปี 2527 โดยอ้อมด้วย และปีที่แล้วก็มีกำไรถึง 58 ล้านดอลลาร์

กิจการ LAZARD ทั้ง 3 แห่งที่ว่านี้อยู่ภายใต้โครงสร้างการเป็นเจ้าของร่วมกันอย่างซับซ้อนของหลายกิจการที่รวมทั้ง PEARSON บริษัทยักษ์ใหญ่ของอังกฤษเจ้าของหนังสือพิมพ์ FINANCIAL TIMES ด้วย

อาจพูดได้ว่าเดวิด - วีลล์คือนักธุรกิจผู้เดินทางด้วยเครื่องคองคอร์ดบ่อยครั้งที่สุด เพื่อทุ่มเวลา 2 ใน 3 ของทั้งหมดให้กับงานบริหารในนิวยอร์ก แต่ที่พำนักกลับอยู่ที่ปารีส ซึ่งเขาก็เฮเลนเป็นเจ้าของทาวน์เฮ้าส์หรูหราที่สุดแห่งหนึ่งในตำบล FAUBOURG ST. GERMAIN ของปารีส ทั้งคู่มีสไตล์การครองชีวติตามแบบฉบับขุนนางฝรั่งเศสทุกอย่าง จากที่มีลูกสาวล้วน 4 คน แม้ว่าจะแต่งงานออกเรือนไปแล้ว 3 คน แต่ทุกคนยังอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่อยู่ดี และ "เดวิด - วีลล์" ก็ได้ชื่อว่าเป็นตระกูลมั่งคั่งที่สุดตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศสซึ่งคาดว่ามีมูลค่าความมั่งคั่งถึงหลักพันล้านดอลลาร์

เดวิด - วีลล์เก็บตัวเงียบ ๆ ไม่ต่อยสุงสิงกับวงสังคมชั้นสูงประเภทฟู่ฟ่าทั้งในแมนฮันตันและปารีสก็จริง แต่ในแวดวงผู้ได้ชื่อว่ามีวัฒนธรรมชั้นสูงของทั้งสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกแล้ว เขาเป็นผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งทีเดียว อย่างที่ปารีสเขาเป็นสมาชิกสถาบันศิลปะแห่งฝรั่งเศสและเป็นผู้อำนวยการของสมาคมพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง ส่วนในนิวยอร์กเดวิด - วีลล์ก็อยู่ในคณะทรัสตีของ METROPOLITAN MUSEUM OF ART, THE GUGGENHEIM และห้องสมุด MORGAN LIBRARY โดยส่วนตัวแล้วเขายังรักษาประเพณีของตระกูลไว้อย่างเหนียวแน่นในแง่การเป็นนักสะสมผลงานทางศิลปะล้ำค่าคนหนึ่ง

ลุยงานตลอด 24 ชั่วโมง

เดวิล - วีลล์ เป็น INVESTMENT BANKER ที่เตรียมพร้อมเพื่องานตลอดเวลา แม้เมื่ออยู่ในระหว่างวันพักผ่อนเขาก็ต้องให้แน่ใจว่ามีโทรศัพท์อยู่ใกล้ตัวเสมอ จุดนี้แฟรงค์จี ซาร์บหุ้นส่วนคนหนึ่งผู้เคยได้รับยกย่องว่าเป็น "ซาร์แห่งการพลังงาน" สมัยอดีตประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด และ ปัจจุบันรับผิดชอบแผนกกิจการระหว่างประเทศของ LAZARD ในนิวยอร์กเล่าว่า "ไม่เคยมีครั้งไหนที่ผมจะไม่สามารถคุยกับมิเชลได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงจุดไหนของโลกและเวลาใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน"

LAZARD ในนิวยอกร์และปารีสเป็นกิจการที่มีอิทธิพลมหาศาลมากเมื่อทเยบกับขนาดกิจการที่ไม่ใหญ่โตอะไรนัก โดยเฉพาะในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา LAXARD PARIS เข้าไปมีบทบาทในการเจรจาซื้อขายกิจการครั้งสำคัญในฝรั่งเศสเกือบทุกครั้ง และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในศึกเทคโอเวอร์แห่งทศวรรษของยุโรปด้วยการดำเนินยุทธวิธีให้ SOCIETE GENERALE DEBELGIQUE ปกป้องตัวเองจากการเทคโอเวอร์ของคาร์โล เดอเบเนเด็ตตี้ ประธานกรรมการบริหารของบริษัทโอลิเว็ตตี้ในอิตาลีสำเร็จ "เราอาจไม่ถึงกับผูกขาดยุทธวิธี M & A (MERGERS AND ACQUISTIONS) ในฝรั่งเศสไว้ทั้งหมด" หุ้นส่วนคนหนึ่งซึ่งประจำอยู่ในปารีสออกตัว "แต่เราเข้าไปมีอิทธิพลเหนือความเคลื่อนไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น" และอยู่อันดับ 6 ของกิจการ INVESTMENT BANKING ในอเมริกาบทบาทที่ว่ายังต่อเนื่องมาถึงปีนี้ด้วย โดยเฉพาะจากศึกเทคโอเวอร์ครั้งสำคัญที่ทั่วโลกจับตามองคือ บริดจ์สโตน คอร์ปยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยางรถยนต์อันดับ 1 ของญี่ปุ่นเปิดเกมรุกเข้าเทคโอเวอร์ไฟร์สโตน ไทร์ แอนด์รับเบอร์ ในราคา 2.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นการซื้อกิจการครั้งมโหฬารที่สุดของปีนี้ก็เป็นผลงานของ LAZARD FRERES ที่เป็นกุนซือให้บริดจ์สโตนนันเอง

เมื่อพูดถึงการบริหารงานภายในของ LAZARD เองอาจกล่าวได้ว่าช่วงนี้กำลังก้าวสู่จุดหัวเลี้ยวหัวต่อครั้งสำคัญหรือกำลังเริ่มต้นยุค "หลังเฟลิกซ์" ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นกระบวนการสลับซับซ้อนมาก เพราะขณะนี้ เฟลิกซ์ โรฮาติน ก็ยังทรงอิทธิพลในกิจการของ LAZARD อย่างมาก และยังเป็นดาวเด่นของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเหมือนที่เคยเป็นมา

แต่ขณะเดียวกันวัฒนธรรมองค์กรต่าง ๆ ที่เฟลิกซ์ปลูกฝังมาตลอดจะไม่อาจคงอยู่คู่กิจการต่อไปได้ ต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงตามมาอย่างแน่นอน

จากความจริงที่ว่าเฟลิกซ์โรฮาตินนั้นสูงวัยขึ้นมากและอายุครบ 60 แล้ว คงไม่มีเรี่ยวแรงจะไล่ตามธุรกิจใหม่ ๆ แบบจี้ติด ๆ ได้เหมือนเมื่อก่อน เวลาที่มีอยู่ก็ต้องอุทิศเพื่องานสังคมเป็นส่วนใหญ่ จากที่เป็นสมาชิกคณะกรรมการเศรษฐกิจแห่งชาติและเป็นประธานกรรมการของ MUNICIPAL ASSISTANCE CORP ในนิวยอร์ก แม้แต่เอริค เจ.กลีเชอร์ ผู้รับผิดชอบแผนก M & A ของมอร์แกน สแตนลีย์ยังให้ความเห็นว่า เมื่อมีธุรกิจใหม่ ๆ วิ่งเข้าหาเฟลิกซ์ โรฮาติน LAXARD คงไม่เอะอะปึงปังเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว กับการที่ LAZARD จำเป็นต้องกะเก็งหาบริษัทลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาอยู่ในมือได้ถูกต้องนั้นไม่ได้ เพิ่งมาเริ่มเอาในยุคเดวิด - วีลล์เข้าควบคุมกิจการแต่เป็นมานานแล้วเพราะ M & A เป็นธุรกิจที่เหี้ยนโหดเลือดเย็นอย่างไม่น่าเชื่อ คือในเวลาเดียวกับที่บริษัทลำพองใจในชัยชนะยิ่งใหญ่ที่สุดของตน จากการเป็นตัวแทนเจรจาต่อรองให้ลูกค้าแล้วรับเงินค่าธรรมเนียมมหาศาลมาเข้ากระเป๋า แต่นั่นหมายถึงการที่ตนต้องสูญเสียเอกสิทธิ์การเป็นตัวแทนของลูกค้าตลอดไปด้วย ยกตัวอย่างง่าย ๆ จากเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งถือว่า LAZARD ประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดจากการรับเงินค่าธรรมเนียมก้อนโตจากลูกค้า 4 รายที่ทำธุรกิจกันมานานเต็มที่ คือ อาร์ซีเอ, เปียทริซ, เฟลอน และ โอเวนส์ - อิลลินอยส์ด้วยการเป็นตัวแทนเจรจาต่อรองกับบริษัทที่มาติดต่อขอซื้อกิจการจนกระทั่งในที่สุดกิจการทั้ง 4 บริษัทนี้ถูกเทคโอเวอร์โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่อุดหนุนกิจการ INVESTMENT BANKING รายอื่นซึ่งเป็นคู่แข่งของ LAZARD อยู่ด้วย หมายความว่า LAZARD รับเงินค่าธรรมเนียมก้อนโตมาเพื่อแลกกับการสูญเสียลูกค้าสำคัญ ๆ ตลอดไป และลูกค้าพวกนี้ก็ต้องเข้าไปอยู่ในมือของบริษัทคู่แข่ง ให้ตนเจ็บช้ำอีก

กระโจนเข้าทำธุรกิจใหม่ ๆ อย่าง INVESTMENT BANKING จึงเปรียบเสมือนดาบสองคมสำหรับ LAZARD เพราะการดำเนินแบบมายืนคร่อมอยู่ตรงเส้นกึ่งกลางระหว่างการทำหน้าที่เป็น "ตัวแทน" และเป็น "ตัวการ" จะยังไม่สามารถประสบความสำเร็จด้วยดีได้ พูดง่าย ๆ คือสักวันหนึ่งมันต้องมาถึงยุคที่แม้จะให้บริการคำแนะนำเที่ยงตรงปราศจากอคติเพียงใดก็ตามจะไม่อาจสู้กับอำนาจแห่งน้ำเงินได้

ตัวอย่างชัดที่สุดจากเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ไมเคิล ดิงแมน ประธานฝ่ายปฏิบัติการของเฮนลีย์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นลูกค้าสำคัญรายหนึ่งที่นิยมชมชอบ LAZARD FRERES มานาน "เราติดต่อธุรกิจกับ INVESTMENT BANK มาแล้วก็มากมาย แต่ผมต้องยอมรับ LAXARD เพราะพวกเขามีทัศนคติกมากมองเกมระยะยาวที่เยี่ยมมากผมคิดว่า LAZARD เป็นบริษัทดีที่สุดในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท" ดิงแมน พูดด้วยความชื่นชม

แต่เมื่อเฮนลี่ย์ กรุ๊ปใช้บริการของ LAZARD ให้เจรจาขอซื้อกิจการของ PNEUMOABEX CORP. มานานถึง 2 ปีก็ยังไม่บรรลุผลเสียที สุดท้ายเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดิงแมนเลยเปลี่ยนใจหันไปหา WASSERSTEIN, PERELLA & CO. น้องใหม่ของงการที่เพิ่งตั้งมาได้เพียง 6 เดือน ทุกอย่างก็สมความตั้งใจเมื่อ WASSERSTEIN PERELLA ใช้วิธีควักกระเป๋าตัวเองครึ่งหนึ่งของมูลค่าการซื้อกิจการ 1.2 พันล้านดอลลาร์มาช่วยสนับสนุนทางการเงินให้เฮนลีย์ กรุ๊ปเพื่อให้สามารถเจรจาตกลงกันด้วยดี

ขณะเดียวกัน LAZARD PARIS ก็พยายามลบรอยด่างของตัวเองที่เสียชื่อไป เมื่อครั้งเป็นตัวแทนของซีแกรมเจรจาซื้อกิจการมาร์แตล ผู้ผลิตคอนญักของฝรั่งเศสที่ตกลงกันในราคา 1 พันล้านแตล ผู้ผลิตคอนญักของฝรั่งเศสที่ตกลงกันในราคา 1 พันล้านดอลลาร์แล้วถูกบรรดานายแบงก์ฝรั่งเศสวิพากษ์วิจารณ์กันหนักว่า LAZARD น่าจะกดราคาต่ำกว่านี้ได้ "เราคิดว่า LAZARD จะทำงานได้ประสิทธิภาพมากกว่านี้ แต่ก็ไม่เป็นอย่างที่หวัง" เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของซีแกรมบ่นด้วยความผิดหวัง

นายแบงก์คู่แข่งบางคนในปารีสถึงกับวิเคราะห์ว่า เพราะผลงานการซื้อมาร์แตลที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักนี่เองที่เป็นเหตุให้มิชลินผู้ผลิตยางรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสที่ปัจจุบันอยู่อันดับ 2 ของโลก และเป็นลูกค้าเก่าแก่ที่สุดดีที่สุดรายหนึ่งของ LAZARD เกิดแขยงแปรพักตร์ไปใช้บริการของ SALOMON BROTHERS ให้เป็นตัวแทนในการร่วมมือกับพิเรลลี่ผู้ผลิตยางรถยนต์ของอิตาลีเสนอซื้อกิจการของไฟร์สโตน์แข่งกับบริดจ์สโตนของญี่ปุ่น แต่ความหวังที่มิชลินกับพิเรลลี่จะเข้าตลาดยางรถยนต์ในอเมริกาด้วยการร่วมทุนกันซื้อกิจการไฟร์สโตนต้องเป็นหมัน เมื่อบริดจ์สโตนเป็นฝ่ายมีชัยในที่สุด ที่สำคัญยักษ์ผู้ผลิตยางรถยนต์ของญี่ปุ่นใช้บริการของ LAZARD NEW YORK แล้วได้ชัยชนะขณะที่มิชลินเมิน LAXARD PARIS แล้วตกเป็นฝ่ายปราชัย

เมื่อภาวะการแข่งขันในกิจการ INVESTMENT BANKING ทั้งในยุโรปและอเมริกาสูงมา LAZARD ก็ต้องคิดหามาตรการหลายอย่างเพื่อให้ต่อสู้ยืนหยัดอยู่ได้ ส่วนหนึ่งก็โดยวิธีทำให้ LAZARD ทั้งในนิวยอร์ก ปารีส และลอนดอนร่วมมือประสานงานกันใกล้ชิดยิ่งขึ้น จากที่สำนักงานใหญ่ในนิวยอร์กส่ง INVESTMENT BANKER 2 คน ไปประจำที่ลอนดอนเพื่อสะดวกแก่การประสานงาน

ขณะเดียวกัน LAZARD ในนิวยอร์กก็กำลังจะประสบความสำเร็จในการหาแหล่งเงินทุน 1.5 พันล้านดอลลาร์ให้ CROSSROADS PARTNERS ซึ่งเป็นกองทุนที่ LAZARD เข้าไปจัดการและบริหารโดย CROSSROADS มีหน้าที่คอยเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทที่กิจการย่ำแย่และต้องการปกป้องตัวเองจากการถูกเทคโอเวอร์ หุ้นที่ซื้อจะอยู่ในระหว่าง 10-30% ซึ่งจะซื้อได้ในราคาถูกมาก ๆ และถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน นักลงทุนใน CROSSROADS จะได้กำไรงามไปตาม ๆ กันเมื่อขายหุ้นที่ซื้อไว้ออกไป

ปูมหตระกูลเดวิด - วีลล์กับลาซาร์ด

เชล เดวิด - วีลล์เป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของเจ้าของกิจการ เขาได้ชื่อว่าสามารถปรับตัวและเต็มไปด้วยไฟแห่งการทำงานไม่แพ้คนรุ่นบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งกิจการ ปู่ทวดของเขาเป็นหุ้นส่วนและลูกเขยของหนึ่งในสามพี่น้องตระกูล "ลาซาร์ด" (LAZARD) ผู้อพยพจากฝรั่งเศสไปปักหลักในสหรัฐอเมริกาแล้วเปิดห้างขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่นิวออร์ลีนส์เมื่อปี 2390 ต่อมาตระกูลนี้หันมาทำกิจการธนาคารทั้งในปารีส ลอนดอนและนิวยอร์กแต่โชคร้ายที่สามพี่น้องไม่มีทายาท "ชาย" ไว้สืบตระกูลอำนาจการบริหารธุรกิจทุกอย่างจึงตกอยู่ในมือของตระกูล "เดวิด - วีลล์"

เดวิด เดวิด - วีลล์ปู่ของมิเชลเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารในปารีส และเป็นเจ้าของผลงานทางศิลปะล้ำค่าที่สุดรายหนึ่งของยุโรป แต่ในปี 2462 ตระกูลนี้เสียอำนาจการควบคุมกิจการธนาคารในลอนดอนให้ S. PEARSON & SON ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยไป ขณะเดียวกันกิจการ LAZARD ในนิวยอร์กก็ไม่รุ่งเท่าทีควรแค่พออยู่ได้เรื่อย ๆ เท่านั้น จนกระทั่ง เดวิด เดวิด - วีลล์ ส่ง ANDRE MEYER หุ้นส่วนหนุ่มไฟแรงความสามารถสูงจากปารีสไปคุมงานโดยตรง ทำให้ LAZARD ก้าวสู่ยุคใหม่และเป็นเจ้าแห่งธุรกิจ M & A ตลอดทศวรรษ 1950 และ 1960

มิเชล เดวิด - วีลล์เกิดและโตในปารีส ย้ายไปอยู่นิวยอร์กหลังจบการศึกษาจาก INSTITUT DES SCIENCES POLITIQUES ปี 2501 แล้วเข้าฝึกงานในกิจการของตระกูล

มี ANDRE MEYER เป็นเทรนเนอร์โดยตรง ปี 2508 มิเชลย้ายกลับไปประจำปี LAZARD PARIS ซึ่ง ปิแอร์ เดวิด - วีลล์ผู้เป็นพ่อควบคุมอยู่ พอพ่อเสียชีวิตปี 2518 มิเชลก็รับช่วงบริการงานต่อในตำแหน่ง CEO (CHIEF EXECUTIVE OFFICER) และอีก 2 ปีให้หลังเขาเข้ารับตำแหน่งเดียวกันนี้อีก สำหรับสำนักงานในนิวยอร์กเมื่อ ANDRE MEYER เสียชีวิตปี 2522

เดวิด - วีลล์รับช่วงบริหารขณะกิจการอยู่ในสภาพย่ำแย่เต็มทีทั้งหุ้นส่วนและลูกค้าพากันตีจาก LAZARD NEW YORK ไปหมดในช่วง ANDRE MEYER มือตกเพราะสูงวัยบริหารได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนครั้งอดีต เห็นได้จากผลประกอบการปี 2521 ที่ LAZARD เกือบจะไม่มีกำไรเลย "คิดย้อนหลังไปถึงช่วงนั้นแล้วดูเหมือนโชคไม่เข้าข้างผมเลย แต่ผมไม่เคยลังเลใจแม้แต่น้อย ถ้าพูดว่าดอนนั้นลำบากละก็แน่นอน แต่ถ้าพูดถึงความลังเลใจละก็ไม่" เดวิด - วีลล์ฟื้นความหลัง

ปัญหาเริ่มแรกของมิเชลอยู่ที่หุ้นส่วนแทบจะไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเขาเลย เพราะความสุภาพตามาแบบฉบับเขาทำให้คนที่ได้รู้จักเข้าใจผิดคิดว่าเขาเป็นคนอ่อน โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ ANDRE MEYER ผู้บริหารคนก่อนที่โผงผางและใช้อำนาจกร้าวมาก หุ้นส่วนของ LAZARD คนหนึ่งถึงกับเคยเปรียบเทียบว่า ถ้า MEYER เป็น "กำปั้นเหล็ก" ละก็ เดวิด - วีลล์ก็คือ "กำปั้นเหล็กหุ้นนวม" เราดี ๆ นี่เอง

ความสุภาพถือเป็นเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตัวของเดวิด - วีลล์เลยทีเดียว เห็นได้จากช่วงแรก ๆ ของการเข้าบริหารงานในนิวยอร์กเมื่อเขาไปดึงตัว INVESTMENT BANKER 4 คนจาก LEHMAN BROTHERS ที่ได้ชื่อว่าเป็นพันธมิตรกับ LAZARD มาหลายทศวรรษและเขารู้ดีว่าวิธีนี้ผิดประเพณีปฏิบัติของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทด้วย เดวิด - วีลล์จึงแสดงความสุภาพตามนิสัยด้วยการชิงโทรศัพท์ไปคุยกับประธานกรรมการของ LEHMAN เป็นการส่วนตัวแล้วอธิบายให้รับรู้เรื่องราวทั้งหมดโดยดี

ประตูห้องของเดวิด - วีลล์ เปิดกว้างสำหรับหุ้นส่วนที่ต้องการคำแนะนำจากเขาเสมอ แต่เขาไม่เหมือน MEYER ในแง่ไม่ต้องการรายละเอียดจากการเสนอรายงานของหุ้นส่วนทุกครั้งเสมอไปและผู้ที่ทำงานด้วยยืนยัว่า ไม่เคยได้ยินเขาขึ้นเสียงใช้อารมณ์เลย "มิเชลเป็นคนอดทนจริง ๆ " ไมเคิล ซาโลมอน ผู้เคยเข้าไปลองใจเจ้านายหนหนึ่งเล่า จากที่เดวิด - วีลล์ทุนนั่งฟังซาโลมอนระบายความเสียใจ หงุดหงิดใจที่เดินแต้มการซื้อขายหุ้นซึ่งเป็นหน้าที่รับผิดชอบของเขาโดยตรงผิดพลาด

เดวิด - วีลล์เองก็พูดถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า "ผมชอบไมค์ ซาโลมอน มาก ผมจะไม่ทนนั่งฟังคนที่จะมาคุยอวดเรื่องกำไรที่ได้แต่ผมยินดีนั่งฟังคนอย่างไมค์ ซาโลมอนที่ต้องการความเห็นอกเห็นใจ

เมื่อมองลักษณะของหุ้นส่วนใน LAZARD อย่างเป็นทางการแล้วจะมี 2 ประเภทเท่านั้นคือหุ้นส่วนระดับอาวุโสและหุ้นส่วนทั่วไปแต่ถ้ามองอย่างไม่เป็นทางการแล้วจะแบ่งระดับสถานภาพของหุ้นส่วนลดหลั่นกันลงไปอีก อย่าง เฟลิกซ์ โรฮาติน นั้นมีสถานภาพเด่นาชัดว่ารองจากเดวิด - วีลล์คนเดียวก็จริง แต่ขอบข่ายอำนาจของเขาจำกัดมาก เพราะลักษณะโครงสร้างการบริหารใน LAZARD ที่ไม่ได้แบ่งแยกเป็นระบบอย่างเด่นชัดและตัวเขาเองก็ไม่สนใจการใฃช้อำนาจนักจากที่เขายืนยันเสมอว่า เขาเป็นคนสุดท้ายที่จะมีอำนาจสั่งการใด ๆ ในบริษัท

แต่ในทางปฏิบัติแล้วถ้า LAZARD จะมีตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย INVESTMENT BANKING ตำแหน่งนี้ต้องตกอยู่กับ เฟลิกซ์ โรฮาติน จากที่เขาควบคุมธุรกิจ m & a ทั้งหมดและติดต่อใกล้ชิดกับ CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ 30 แห่งในอเมริกาเสมอไม่ว่าจะเป็นไครส์เลอร์, อัลลายด์-ซิกนอล, วอเนอร์ คอมมิวนิเคชั่นส์, ไทม์ และเอ็มซีเอ.

โรฮาตินกับเดวิด - วีลล์ยังสนิทสนมรักใคร่กันเป็นพิเศษด้วยโรฮาตินเป็นลูกชายของนายแบงก์ยุโรป มีบ้านเกิดอยู่ที่เวียนนาแล้วย้ายไปปักหลักในอเมริกาตั้งแต่ยังเด็ก พร้อมข้อได้เปรียบที่พูดภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันคล่องมาก เข้างานกับ LAZARD ปี 2490 แล้วประสบความสำเร็จในงานอาชีพอย่างรวดเร็ว โรฮาตินกับเดวิด-วีลล์เป็นหุ้นส่วนกันเมื่อปี 2504 เห็นใจเพื่อจะได้แก้ไขทำในสิ่งถูกต้อง"

แต่ความมีน้ำอดน้ำทนของเดวิด - วีลล์ต้องไม่เอามาปะปนกับการวางตัวในฐานะผู้พึงได้รับความเคารพเหมือนเป็น "จักรพรรดิ" ไม่ใช่ "นักประชาธิปไตย" เพราะตลอดหลายปีที่ผ่านมาเขาไม่เคยเข้าร่วมการประชุมสามัญประจำปี ไม่เคยไว้ใจระบบบริหารงานด้วยคณะกรรมการบริหาร เดวิด-วีลล์เป็นคนกำหนดประเพณีของตัวเองขึ้นมาว่า ทุกเดือนตุลาคมของทุกปีเขาจะเรียกหุ้นส่วนเข้าพบเป็นรายตัวแล้วจึงตัดสินใจว่าแต่ละคนควรได้รับเงินปันผลประจำปีกี่เปอร์เซ็นต์ เขาให้เหตุผลที่ทำอย่างนี้

"ในฐานะของการเป็นหุ้นส่วนอาวุโส จึงเป็นวิจารณญญาณของผมแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้ตัดสินใจโดยลำพังคนเดียว"

ดูเหมือนพวกหุ้นส่วนจะชอบสไตล์การบริหารแบบราชาของเดวิด-วีลล์ที่มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการตัดสินเพียงผู้เดียวเสียด้วย เพราะมันทำให้พวกเขาโล่งใจไม่ต้องรับภาระงานบริหารไม่ยุ่งยากโดยเฉพาะที่ LAZARD แล้วเห็นว่างานบริการเป็นเรื่องน่ารำคาญมากกว่าจะเป็นหนทางแห่งอำนาจ อีกอย่างหนึ่งหุ้นส่วนของ LAZARD จะเข้าไปจัดการเกี่ยวกับการติดต่อเจรจาไม่สนใจงานบริหารจุกจิกเลย "ที่นี่เรามีศูนย์รวมอยู่จุดเดียวเท่านั้นคือตัวของมิเชล" หลุยส์ เพิร์ลมัทเทอร์ ผู้ลาออกจากเมอร์ริลล์ ลินช์แล้วมาอยู่กับ LAZARD ในปี 2521 เล่าให้ฟัง "อำนาจสูงสุดของเขาทำให้เราทุกคนมีอิสระที่จะวิ่งเต้นทำงานเต็มที่"

เสาหลักของบริษัท

ตั้งแต่เริ่มแรกที่เข้าทำงานกับ LAZARD โรฮาตินก็ร่วมงานกับ ANDRE MEYER อย่างใกล้ชิดจนเป็นมือขวาผู้รู้ใจ MEYER ต้องการให้เขาเป็นทายาทสืบทอดงานบริหารต่อไป แต่โรฮาตินปฏิเสธเสียงแข็งว่างานบริการไม่เหมาะกับเขาขณะเดียวกันคนเก่าแก่ใน LAZARD เล่าว่า แม้โรฮาตินจะไม่ยอมรับตำแหน่งแต่เขาก็คอยปัดแข้งปัดขาคนนอกที่ MEYER ชักนำเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงตลอดเวลา จนกระทั่งในที่สุดเดวิด-วีลล์ เข้ามาแก้ปัญหารับตำแหน่งแทน MEYER ไป

"ความสนิทสนมระหว่างผมกับเฟลิกซ์กลายเป็นเสาหลักแห่งความสำเร็จของกิจการ" เดวิด-วีลล์ยอมรับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดวิด-วีลล์ขยายประเภทธุรกิจของ LAZARD ให้หลากหลายนอกเหนือไปจากธุรกิจหลักด้านการเงินที่ทำอยู่เดิม ความจำเป็นต้องพึ่งพาโรฮาตินก็น้อยลงไปเรื่อย ๆ ปี 2524 เดวิด-วีลล์จ้างผู้จัดการฝ่ายการเงินจากบริษัทออพเพนไฮเมอร์ 6 คน ให้เข้ารับผิดชอบแผนกบริหารเงินของ LAZARD ซึ่งไม่สลักสำคัญนักในตอนนั้น แต่นักบริหารหน้าใหม่เหล่านี้กลับสามารถเข้าไปผลักดันให้ผลประกอบการของ LAZARD ดีขึ้นทันตาเห็นและดึงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ ๆ เข้ามาอยู่ในมือมากมาย ทำให้บริษัทมีสินทรัพย์ปี 2524 คิดเป็นมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับปีก่อนหน้านั้นที่มีเพียง 880 ล้านดอลลาร์

แผนกบริหารเงินของ LAZARD ซึ่งมีพนักงานเพียง 120 คนสามารถสร้างกำไรเฉลี่ยแล้วมากถึงปีละ 25% ของกำไรทั้งหมดเลยทีเดียว เพราะการทำธุรกิจประเภทนี้คล้ายธุรกิจให้คำปรึกษาด้าน M & A ในแง่ LAZARD ใช้เงินลงทุนเข้าไปเสี่ยงน้อยมาก ผิดกับธุรกิจค้าหลักทรัพย์อย่างสิ้นเชิง แม้จะสามารถทำกำไรให้ปีละ 25% ของทั้งหมดเหมือนกันก็ตาม

เดวิด-วีลล์ตั้งแผนกค้าหลักทรัพย์ขึ้นมาด้วยวิธีการเดียวกับแผนกบริหารเงิน โดยเลือกซื้อตัวนักบริหารเฉพาะที่มีความสามารถสูงเท่านั้น เห็นได้จากปี 2524 ที่เดวิด-วีลล์ซื้อตัว "เดมอน เมซซาแคปปา" ผู้อำนวยการฝ่ายค้าหลักทรัพย์ของมอร์แกน สแตนลีย์เข้ามาร่วมงานด้วย พอถึงปี 2527 เขาก็ประกาศให้รับรู้ทั่วกันว่าเมซซาแคปปาคือผู้ทรงอิทธิพลอันดับ 3 ของบริษัทรองจากตัวเขาเองและเฟลิกซ์ โรฮาติน ปัจจุบันเมซซาแคปปามีโบรกเกอร์ในความควบคุม 60 คน ในจำนวนนี้มี 10 คนเป็นหุ้นส่วนของ LAZARD ด้วย

LAZARD ทำธุรกิจค้าหลักทรัพย์ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษในส่วนของการประกันการขายหลักทรัพย์ออกใหม่ LAZARD ทำให้ลูกค้าเพียง 30 ราย โดยเน้นว่าโบรกเกอร์ของตนต้องรู้จักลูกค้าในมือดีทุกแง่มุม แม้ LAZARD จะไม่ติด 20 อันดับแรกของบริษัทประกันการขายหลักทรัพย์ออกใหม่ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท แต่ผลงานที่ทำไปแล้วก็เด่นน่าจับตามอง เช่น ปีที่แล้วเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นหัวหอกระดมเงินกู้แบบ SYNDICATE 1.3 พันล้านดอลลาร์ในรัฐหลุยเซียน่า

ที่น่าสังเกตอีกอย่างคือธุรกิจค้าหลักทรัพย์ในมือ LAZARD เป็นแบบซื้อขายล่วงหน้าทั้งหมด ซึ่งหมายความว่ารายได้หลักมาจากเงินค่าธรรมเนียมและคอมมิชชั่นมากกว่าจะเก็งกำไรจากการศึกษาทิศทางของตลาดหุ้น

LAZARD มีทุนแท้จริงเท่าไรไม่มีใครรู้ได้ ตัวเลขที่เปิดเผยเป็นทางการจะรู้แค่ว่าในช่วง 2 ทศวรรษที่ ANDRE MEYER บริหารกิจการในนิวยอร์ก ทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 17.5 ล้านดอลลาร์มาตลอดปี 2520 เดวิด - วีลล์จึงเปิดเผยว่าทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 80 ล้านดอลลาร์แล้ว ปัจจุบัน LAZARD มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านดอลลาร์อยู่อันดับ 39 ของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท

แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีใครใส่ใจว่า LAZARD มีทุนแท้จริงอยู่เท่าไรแน่ "คนทั่วไปไม่สนใจเรื่องพวกนี้หรอกครับ" เดวิด-วีลล์อธิบาย "แต่ที่แน่ ๆ เรามีกิจการที่มีสินทรัพย์มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์หนุนหลังอยู่"

เดวิด-วีลล์หมายถึง EURAFRANCR บริษัทมหาชนของฝรั่งเศสที่ LAZARD FRERES ถือห้นุอยู่ส่วนหนึ่งและเป็นผู้ควบคุมกิจการโดยมีเดวิด-วีลล์เป็น CEO

EURAFRANCE เป็นบริษัทผู้จัดการผลประโยชน์ของ EURAMARCHE เครือกิจการซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของฝรั่งเศสและ SOVAC บริษัทปล่อนสินเชื่อรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสรวมทั้งถือหุ้นใหญ่ในกิจการพัฒนาที่ดินและบริษัทประกันภัยด้วย

EURAFRANCE มีหุ้น 20.8% ใน LAZARD PARTNERS ซึ่งเป็นโฮลดิ้งคัมปะที่เดวิด-วีลล์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2527 เพื่อให้กิจการ INVESTMENT BANKING ทั้งในปารีส นิวยอร์ก และลอนดอนประสานกันใกล้ชิดยิ่งขึ้น และเพื่อให้ LAZARD BROTHERS ในลอนดอนกลับเข้ามาเป็นของตระกูลเดวิด-วีลล์อีกครั้ง โดย PEARSON ซึ่งถือหุ้นใหญ่ 79.4% ใน LAZARD BROTHERS ยอมแลกหุ้นส่วนนี้กับหุ้น 50% ที่ตระกูลเดวิด-วีลล์ถืออยู่ใน LAZARD PARTNERS ทำให้เดวิด-วีลล์กลายเป็นเจ้าของ LAZARD BROTHERS ในลอนดอนเต็ม 10% และยังมีหุ้นใน LAZARD นิวยอร์กและปารีสอีกแห่งละ 12% อย่างไรก็ตาม เดวิด-วีลล์ยังเป็นผู้บริหารสูงสุดของ LAZARD PARTNERS ในฐานะประธานกรรมการบริหารอยู่ดี

เดือนเมษายนที่ผ่านมา เดวิด-วีลล์กับลอร์ด ไมเคิล เบลคแน่มประธานกรรมการของ PEARSON เพิ่งตกลงต่ออายุสัญญาความร่วมมือดังกล่าวข้างต้นออกไปอีก 21 ปี พร้อมกันนี้ก็มีการแก้ไขเงื่อนไขบางอย่างให้เหมาะสม คือถ้า PEARSON เกิดไม่ต้องการหุ้นใน LAZARD PARTNERS ที่ตนถืออยู่ 50% ฝ่าย LAZARD มีสิทธิซื้อหุ้นส่วนนั้นมาเป็นของตนได้ และนับจากฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมาเมื่อเจ้าอาณาจักรสื่อมวลชนรูเพิร์ท เมอร์ด็อคเชื้อสายออสเตรเลียเสียปัจจุบันถือสัญชาติอเมริกันซื้อหุ้นใน PEARSON เพิ่มเป็น 20% นั้นเดวิด-วีลล์ ซึ่งมีตำแหน่ง DIRECTOR อยู่ใน PEARSON ด้วย ก็ออกโรงช่วยลอร์ดเบลคแน่มหุ้นส่นของเขาทันที โดยให้บริษัท EURAFRANCE และกิจการอื่น ๆ ที่อยู่ในความควบคุมของตระกูลเดวิด-วีลล์เข้าซื้อหุ้น PEARSON 10% ทันที

สร้างฐานให้มั่นคง

เดวิด-วีลล์ หวังจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับฐานราก่ของอาณาจักรตนด้วยการขยายขอบเขตการเป็นหุ้นส่วนระหว่าง PEARSON กับ LAZARD ออกไปเรื่อย ๆ "LAZARD PARTNEARS มีความสำคัญมากเพราะมันจะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจว่า ใครจะขึ้นมาแทนที่ผมหรือว่าควรขายกิจการอกไปให้หมด" เดวิด-วีลล์พูดถึงอนาคต

แต่เรื่องเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่เดวิด-วีลล์ติดตามอย่างใกล้ชิดไม่ยอมให้คลาดสายตาคือธุรกิจ M&A ซึ่งยังคงทำกำไรให้ LAZARD ในนิวยอร์กถึงครึ่งหนึ่งของกำไรทั้งหมด และหลักประกันความรุ่งเรืองของกิจการนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการพยายามวงลูกค้าออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ เดวิด-วีลล์ก็ประจักษ์ความจริงในข้อนี้ดีเมื่อไม่นานมานี้จึงทุ่มซื้อตัวไอร่า แฮร์ริสนักบริหารอาวุโสมือฉมังจาก SALOMON BROTHERS หลังจากอกหักเมื่อครั้งเกี้ยวบรูซวาสเซอร์สทีนอดีตดาวเด่นจาก FIRST BOSTON มาอยู่ด้วยไม่สำเร็จเพราะฝ่ายหลังยืนยันออกมาตั้งกิจการของตัวเอง

การที่วาสเซอร์สทีนยืนกรานตั้งบริษัทขึ้นเองคือ WASSERS TEIN PERCLLA นั้น จะว่าไปแล้วการตัดสินใจครั้งนี้ทำให้บรรดาผู้บริหารอาวุโสน้อยของ LZARD ถอนใจเฮือกด้วยความโล่งใจไปตามกันดังที่มีคนหนึ่งเล่าว่า "วิธีที่ทำกับวาสเซอร์สทีนนี้น่ากลัวมาก เพราะทำให้มองดูเมหือนมิเชลกำลังหันไปยึดนโยบายนำเข้าผู้บริหารระดับสูงมากกว่าจะส่งเสริมหใคนในก้าวขึ้นมา"

ปัจจุบันพนักงานชั้นผู้น้อยใน LAZARD ต้องเผชิญกับปัญหาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพเมื่อมีที่ว่างในตำแหน่งสูงรองรับน้อยมาก แม้บางคนจะทำงานมาแล้วนับสิบปีจนอายุล่วงเลยเข้าวัยปลาย 30 หรือต้น 40 พวกเขาก็ยังไม่มีโอกาสก้าวขึ้นไปไหน ยังอยู่ในความควบคุมของผู้บริหารอาวุโสอย่างเฟลิกซ์ โรฮาติน, หลุยส์ เพิร์ลมัทเทอร์, วอร์ด ดับบลิว. วูดส์. โจนาธาน โอเวอร์รอน และ อีกหลายคนเหมือนเดิม ผู้บริหารพวกนี้จะมีอำนาจควบคุมการติดต่อธุรกิจกับลูกค้าทั้งหมดอย่างแท้จริง

นอกจากนี้พวกหุ้นส่วนอาวุโสน้อยของ LAZARD จะได้รับการปันส่วนผลกำไรเพียงน้อยนิดเท่านั้น ถึงอย่างไรในยุคเดวิด-วีลล์บริหารงานจำนวนหุ้นส่วนของบริษัทก็ยังเพิ่มขึ้นจาก 25 เป็น 54 รายแล้วในปัจจุบัน ส่วนหุ้นที่เดวิด-วีลล์ถืออยู่ใน LAZARD เพิ่มขึ้นหลายเปอร์ในรอบหลายปีที่ผ่านมาคือรวมแล้วถืออยู่ราว 20%, หุ้นของเฟลิกซ์ โรฮาตินยัง 6% ไม่เปลี่ยนแปลง และหุ้นส่วนระดับอาวุโสในธุรกิจ M&A ต่างมีหุ้นราว 2-3% มีเหลือสำหรับหุ้นส่วนรายใหม่อีกไม่มากนัก หุ้นส่วนหน้าใหม่ส่วนใหญ่จะเริ่มเข้ามาถือหุ้นที่ระดับ 0.25% ก่อน

อย่างไรก็ตาม ลูกค้าใหม่ ๆ ที่เข้ามาอยู่ในมือของ LAZARD จะเริ่มถูกระจายให้หุ้นส่วนอาวุโสน้อยรับผิดชอบมากขึ้นอันเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารธุรกิจใหม่ของบริษัท โดยหุ้นส่นอาวุโสน้อยเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มมีหัวหน้าเป็นหุ้นส่วนอาวุโสค่อนข้างน้อยเช่นกัน ซึ่งโรฮาตินอธิบายว่า "ตอนนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการทุกอย่างให้ลูกค้ากระจายวงกว้างออกไปและเป็นการส่งเสริมให้พนักงานออกข้างนอกหาลูกค้ามาเพิ่มมากขึ้นด้วย"

ตัวอย่างเห็นชัดที่สุดคือกรณีของลูกค้าหน้าใหม่รายใหญ่อยางริดจ์สโตนซึ่งโรฮาตินเข้าไปมีบทบาทในการดึงมาอยู่ในมือน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นผลงานของทีมหุ้นส่วนอาวุโสน้อย 8 คนที่นำโดย เจ. รอเบิร์ต เลิฟจอย ทำให้เดวิด-วิลล์มอบลูกค้ายักษ์ใหญ่อย่างบริดจ์สโตนให้อยู่ในความรับผิดชอบของเลิฟจอยไปเลย

ตลอดทศวรรษภายใต้ยุคของเดวิด-วีลล์ LAZARD รุ่งโรจน์ขึ้นมาได้ เพราะไม่หลงระเริงไปกับเกมการเงินฟู่ฟ่าแห่งทศวรรษ 1980 ด้วยการไม่ยอมพ่ายแพ้แก่กิเลสแห่งความละโมบ ปัญหาคือตอนนี้เดวิด-วีลล์เองจะปราชัยให้ความละโมบส่วนตัวหรือไม่เมื่อเห็นว่าตระกูลของตนกำลังจะหมดอำนาจในกิจการของบริษัทไปเรื่อย ๆ

และเท่าที่ฟังจากน้ำเสียงของเดวิด-วีลล์ ความห่วงใยผูกพันที่เขามีต่อ LAZARD ไม่ได้อยู่ที่ทรัพย์สินเงินทองอย่างเดียวเท่านั้น LAZARD คือตระกูลของผม ผมเกลียดที่ต้องเห็นการสลายตัวของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งหมายรวมถึงคู่แข่งของเราด้วย การสลายตัวของ LEHMAN (ถูก SHEARSON ซื้อเมื่อปี 2527) ทำให้ผมตกตะลึงแข็งทื่อไปหมด LAZARD นั้นอายุถึง 140 ปี ผ่านมาหมดแล้วทั้งยุดรุ่งเรืองและตกอับ เจอมาแล้วทั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือสงครามถึงคุณเจอความหายนะทุกรูปแบบที่มนุษย์พึงได้เจอ แต่หน้าที่พื้นฐานของคุณคือต้องอยู่รอดให้ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us