|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กทพ.เดินเครื่องรีแบรนด์ดิ้งครั้งใหญ่ ลดความสับสนทำงานซ้ำซ้อนกับรฟม. พร้อมเร่งเส้นทางพิเศษ 5 โครงการ คาดทยอยแล้วเสร็จปีหน้า เผยหลังปรับค่าผ่านทางยอดผู้ใช้บริการลดลง 5% แต่รายได้เพิ่มเป็นวันละ 17 ล้านบาท
นับเป็นเวลากว่า 36 ปีที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)ให้บริการทางพิเศษ เพื่อแก้ปัญหาจราจรทั้งในกรุงเทพมหานคร(กทม.)และปริมณฑล ซึ่งที่ผ่านมาได้ก่อสร้างทางพิเศษมาแล้วเป็นระยะทางกว่า198 กม.และจะเพิ่มเส้นทางเดินรถอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการใช้ทางที่เพิ่มขึ้นมากตามปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน
ทั้งนี้ กทพ.ก่อตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่290 (ปว.290) เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2515 มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาจราจรในกทม.และปริมณฑลที่ว่าด้วยการก่อสร้างและบริหารกิจการทางพิเศษซึ่งประกอบด้วย ทางพิเศษและระบบขนส่งมวลชน แต่ทั้งนี้เนื่องจากบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับหน้าที่ของกทพ. เช่น การก่อสร้างรถไฟฟ้า
ดังนั้น กทพ. จึงได้ตราพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2550 ขึ้น โดยกำหนดให้ กทพ.มีหน้าที่ก่อสร้างทางพิเศษอย่างเดียวและให้ตัดหน้าที่เกี่ยวกับกิจการขนส่งมวลชนพิเศษออก เนื่องจากซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการก่อสร้างรถไฟฟ้า นอกจากนี้ กทพ. ยังได้เปลี่ยนโลโก้ใหม่ จากเดิมที่เป็นตรา ETA (Expressway and Rapid Transit Authority of Thailand) เป็น EXAT (Expressway Authority of Thailand ) และปรับเปลี่ยนตราเครื่องหมายใหม่ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติใหม่
สำหรับตราเครื่องหมายของ กทพ. มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง 2 เส้น เปรียบเสมือนเส้นทางพิเศษ โดยสีน้ำเงินที่ซ้อนอยู่บนเส้นทางธรรมดาของสีแดงทอดยาวออกไปข้างหน้า หมายถึง องค์กรที่ให้บริการทางพิเศษกับประชาชนด้วยความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ด้านขวามีอักษรว่า EXAT ด้านล่างมีอักษรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
เผชิญ ไพโรจน์ศักดิ์ ผู้ว่าการ กทพ. กล่าวว่า เพื่อให้การดำเนินงานของกทพ.มีความคล่องตัวและสร้างความชัดเจนในหน้าที่ของกทพ. อีกทั้งเพื่อให้ผู้ใช้ทางไม่สับสนระหว่างการดำเนินงานของ รฟม.และกทพ. ว่าองค์กรไหนก่อสร้างทางพิเศษหรือสร้างรถไฟฟ้า จึงได้แก้พรบ.การทางพิเศษขึ้นใหม่ โดยกทพ.มีหน้าที่ก่อสร้างทางพิเศษเพียงอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่สร้างรถไฟฟ้า และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรฟม. นอกจากนี้ ยังได้ปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่ ให้สอดคล้องกับบทบาทของกทพ.ด้วย
สำหรับโครงการก่อสร้างทางพิเศษในปีนี้มี 4 โครงการที่อยู่ระหว่างกำลังดำเนินการ ประกอบด้วย โครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร โครงการเชื่อมต่อทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับทางพิเศษบูรพาวิถี โครงการยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมต่อกับทางพิเศษบุรพาวิถี โครงการติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ ของทางด่วนขั้นที่ 1-2 และทางด่วนฉลองรัช ทุกโครงการจะทยอยแล้วเสร็จในเดือนก.พ.2552 ซึ่งจะทำให้โครงข่ายทางพิเศษมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะทำให้ กทพ. มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละประมาณ 8 ล้านบาท เนื่องจาก กทพ. จะเริ่มเก็บค่าผ่านทางโครงการทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ (วงแหวนรอบนอกด้านใต้) และจะปรับอัตราค่าผ่านทางในโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อเชื่อมขยายเส้นทางมาจากสายรามอินทรา-อาจณรงค์
นอกจากนี้ในปี 2552 กทพ. มีโครงการก่อสร้างทางพิเศษเพิ่มขึ้น 1 โครงการ คือ โครงการเชื่อมต่อทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม วงเงิน 2,473 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะประกาศขายเอกสารประกวดราคาในเดือนธ.ค.นี้ และจะแล้วเสร็จในปี 2554 ทั้งนี้เชื่อว่าจะมีบริษัทรับเหมาก่อสร้างให้ความสนใจซื้อเอกสารประกวดราคามากกว่า 5 ราย และปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบันจะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการนี้
ส่วนปริมาณจราจรโดยเฉพาะในเส้นทางพิเศษวงแหวนรอบนอกด้านใต้ ปัจจุบันอยู่ที่ 1.5 แสนคันต่อวัน ขณะที่ปริมาณการจราจรโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ อยู่ที่ 6 หมื่นคันต่อวัน คาดว่าหลังจากปรับค่าผ่านทาง กทพ.จะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 6 แสนบาทต่อวัน
สำหรับปรับอัตราค่าผ่านทางโครงการทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 โครงการทางพิเศษบูรพาวิถี ในเดือนก.ย.ที่ผ่านมา พบว่าปริมาณจราจรลดลง 5% อยู่ที่ 1.1 ล้านคันต่อวัน แต่รายได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 17 ล้านบาท จากเดิม 15 ล้านบาท
|
|
|
|
|